คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 527/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำไม้และสนับสนุนการเก็บหาของป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ: ความผิดฐานสนับสนุนและการลงโทษ
ไม้ฟืนเป็นไม้ที่ไม่เหมาะสมจะนำไปใช้ทำประโยชน์อย่างอื่นนอกจากเป็นเชื้อเพลิงพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ.2507มาตรา4ก็ได้ให้คำนิยามของคำว่าไม้กับคำว่าของป่าไว้แยกต่างหากจากกันและไม้ฟืนถูกกำหนดให้เป็นของป่าอย่างหนึ่งไม้ฟืนจึงไม่ใช่ไม้ตามความหมายของมาตรา4แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเมื่อจำเลยนำไม้ฟืนออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติจึงไม่มีความผิดฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ไม้ฟืนของกลางที่จำเลยรับจ้างบรรทุกรถยนต์มานั้นถูกเก็บกองอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติความผิดฐานเก็บหาไม้ฟืนซึ่งเป็นของป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติจึงยังไม่ขาดตอนการที่จำเลยหลบหนีไปเพราะพบเห็นเจ้าหน้าที่แสดงว่าจำเลยทราบดีว่าไม้ฟืนของกลางอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติจำเลยรับจ้างบรรทุกไม้ฟืนอันเป็นของป่าซึ่งมีผู้กระทำผิดนำมากองไว้เพื่อจะนำออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติจึงเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ผู้กระทำความผิดฐานเก็บหาของป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาตถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าวตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ.2507มาตรา14,31วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา86ซึ่งเป็นการกระทำกรรมเดียวกับความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ.2484มาตรา29ทวิ71ทวิลงโทษบทหนักที่สุดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ.2507.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 527/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำไม้และเก็บหาของป่าในเขตป่าสงวน การสนับสนุนความผิด และการลงโทษตามกฎหมายป่าสงวนและป่าไม้
ไม้ฟืนเป็นไม้ที่ไม่เหมาะสมจะนำไปใช้ทำประโยชน์อย่างอื่นนอกจากเป็นเชื้อเพลิง พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507มาตรา 4 ก็ได้ให้คำนิยามของคำว่าไม้กับคำว่าของป่าไว้แยกต่างหากจากกัน และไม้ฟืนถูกกำหนดให้เป็นของป่าอย่างหนึ่ง ไม้ฟืนจึงไม่ใช่ไม้ตามความหมายของมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเมื่อจำเลยนำไม้ฟืนออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติ จึงไม่มีความผิดฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ไม้ฟืนของกลางที่จำเลยรับจ้างบรรทุกรถยนต์มานั้นถูกเก็บกองอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ความผิดฐานเก็บหาไม้ฟืนซึ่งเป็นของป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติจึงยังไม่ขาดตอน การที่จำเลยหลบหนีไปเพราะพบเห็นเจ้าหน้าที่ แสดงว่าจำเลยทราบดีว่าไม้ฟืนของกลางอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ จำเลยรับจ้างบรรทุกไม้ฟืนอันเป็นของป่าซึ่งมีผู้กระทำผิดนำมา กองไว้เพื่อจะนำออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติจึงเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ผู้กระทำความผิดฐานเก็บหาของป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าวตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14,31 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 ซึ่งเป็นการกระทำกรรมเดียวกับความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 29 ทวิ71 ทวิ ลงโทษบทหนักที่สุดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ. 2507.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1064/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปรรูปไม้เพื่อการค้าในเขตควบคุมต้องได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ แม้มีใบอนุญาตโรงงาน
การไสไม้ ตัดไม้ บังใบ แม้จะกระทำต่อไม้ที่แปรรูปแล้ว แต่ก็ย่อมทำให้รูปและขนาดของไม้เปลี่ยนไป ไม่มากก็น้อย จึงเป็นการแปรรูปไม้ตามกฎหมาย
แม้จำเลยจะได้รับใบอนุญาตตั้งโรงงานไสไม้และซอยไม้จากกระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งออกตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512 แต่เมื่อโรงงานของจำเลยตั้งอยู่ในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2482 มาตรา 48 ซึ่งแก้ไขแล้ว คือจำเลยจะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1064/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปรรูปไม้และการปฏิบัติตามกฎหมายป่าไม้ แม้ได้รับอนุญาตโรงงานแล้ว
การไสไม้ ตัดไม้ บังใบ แม้จะกระทำต่อไม้ที่แปรรูปแล้ว แต่ก็ย่อมทำให้รูปและขนาดของไม้เปลี่ยนไปไม่มากก็น้อย จึงเป็นการแปรรูปไม้ตามกฎหมาย
แม้จำเลยจะได้รับใบอนุญาตตั้งโรงงานไสไม้และซอยไม้จากกระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งออกตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512 แต่เมื่อโรงงานของจำเลยตั้งอยู่ในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2482 มาตรา 48 ซึ่งแก้ไขแล้ว คือจำเลยจะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ไม้ดุมเกวียน-กำเกวียน-กีบเกวียน ไม่ถือเป็นไม้แปรรูป หากมีไว้เพื่อใช้ประกอบล้อเกวียน
ไม้หวงห้ามที่เป็นดุมเกวียน กำเกวียน และกีบเกวียน ซึ่งมีสภาพเป็นเครื่องใช้และจำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายแก่ผู้ใช้เกวียน เอาไปใช้แทนส่วนที่หักและพร้อมที่จะนำเอาไปใช้ได้ทันทีนั้น นับได้ว่าเป็นเครื่องใช้ประกอบเป็นล้อเกวียนมิใช่เป็นวัตถุที่จะเอาไปเปลี่ยนแปลงทำเป็นสิ่งอื่นต่อไปจึงมิใช่ไม้ แปรรูปตามพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2503 มาตรา 4 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 3054/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1561/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ไม้แปรรูปประกอบล้อเกวียนยังไม่เป็นเครื่องใช้ ไม่อยู่ในข้อยกเว้นตามกฎหมายป่าไม้
จำเลยมีไม้หวงห้ามทำเป็นซี่ล้อ ดุมล้อ คันชัก และฝักขามสำหรับประกอบเป็นล้อเกวียนและเกวียนเพื่อจำหน่าย เมื่อยังมิได้ประกอบเป็นล้อเกวียนหรือเกวียน จึงไม่อยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้คงถือว่าเป็นไม้แปรรูปตามพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2503มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1862-1863/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์ หากเข้าใจโดยสุจริต ย่อมไม่มีความผิดทางอาญา
จำเลยได้ครอบครองที่พิพาทถึง 30 ปี ได้เสียภาษีบำรุงท้องที่และได้รับ น.ส.3. ต่อมาทางราชการได้รังวัดปักหลักเขตทำเลเลี้ยงสัตว์สาธารณะ. จำเลยได้ฟ้องเจ้าพนักงานเป็นคดีแพ่ง. เมื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน จำเลยยอมรับว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ และฝ่ายเจ้าพนักงานยินยอมให้จำเลยครอบครองที่พิพาทไปก่อน. โดยจะดำเนินการให้ทางราชการถอนสภาพที่พิพาทนั้น เปิดโอกาสให้จำเลยจับจองครอบครองที่พิพาท. แม้จะยังมิได้มีพระราชกฤษฎีกาให้เพิกถอนที่ดินดังกล่าวก็ตาม.ก็เป็นพฤติการณ์ที่ทำให้จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าจำเลยเข้าครอบครองโดยชอบ หาได้จงใจฝ่าฝืนกฎหมายไม่. จึงขาดเจตนาอันเป็นองค์ประกอบความผิดทางอาญา. จำเลยไม่มีความผิด.(อ้างฎีกาที่ 1462/2509).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1862-1863/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์โดยสุจริตและต่อเนื่อง ย่อมไม่มีความผิดอาญา
จำเลยได้ครอบครองที่พิพาทถึง 30 ปี ได้เสียภาษีบำรุงท้องที่และได้รับ น.ส.3 ต่อมาทางราชการได้รังวัดปักหลักเขตทำเลเลี้ยงสัตว์สาธารณะ จำเลยได้ฟ้องเจ้าพนักงานเป็นคดีแพ่ง เมื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน จำเลยยอมรับว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ และฝ่ายเจ้าพนักงานยินยอมให้จำเลยครอบครองที่พิพาทไปก่อน โดยจะดำเนินการให้ทางราชการถอนสภาพที่พิพาทนั้น เปิดโอกาสให้จำเลยจับจองครอบครองที่พิพาท แม้จะยังมิได้มีพระราชกฤษฎีกาให้เพิกถอนที่ดินดังกล่าวก็ตาม ก็เป็นพฤติการณ์ที่ทำให้จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าจำเลยเข้าครอบครองโดยชอบ หาได้จงใจฝ่าฝืนกฎหมายไม่ จึงขาดเจตนาอันเป็นองค์ประกอบความผิดทางอาญา จำเลยไม่มีความผิด (อ้างฎีกาที่ 1462/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1862-1863/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการกระทำความผิดทางอาญา: การครอบครองที่ดินโดยสุจริตและพฤติการณ์ที่ทำให้เข้าใจผิด
จำเลยได้ครอบครองที่พิพาทถึง 30 ปี ได้เสียภาษีบำรุงท้องที่และได้รับ น.ส.3. ต่อมาทางราชการได้รังวัดปักหลักเขตทำเลเลี้ยงสัตว์สาธารณะ จำเลยได้ฟ้องเจ้าพนักงานเป็นคดีแพ่ง เมื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน จำเลยยอมรับว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ และฝ่ายเจ้าพนักงานยินยอมให้จำเลยครอบครองที่พิพาทไปก่อน โดยจะดำเนินการให้ทางราชการถอนสภาพที่พิพาทนั้น เปิดโอกาสให้จำเลยจับจองครอบครองที่พิพาท แม้จะยังมิได้มีพระราชกฤษฎีกาให้เพิกถอนที่ดินดังกล่าวก็ตาม ก็เป็นพฤติการณ์ที่ทำให้จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าจำเลยเข้าครอบครองโดยชอบ หาได้จงใจฝ่าฝืนกฎหมายไม่ จึงขาดเจตนาอันเป็นองค์ประกอบความผิดทางอาญา จำเลยไม่มีความผิด (อ้างฎีกาที่ 1462/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 444/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาว่าไม้เป็นสิ่งปลูกสร้างหรือไม้แปรรูปตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ และการส่งรายงานตรวจพิสูจน์แก่จำเลย
อย่างไรจึงจะเรียกว่าเป็นไม้ที่อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือว่า เป็นไม้แปรรูปตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4(4) วรรคหนึ่ง
ในกรณีที่โจทก์อ้างผู้ชำนาญการพิเศษมาเป็นพยานเพื่อให้เบิกความประกอบรายงานการตรวจพิสูจน์ไม้ของกลางในคดีอาญานั้นไม่จำต้องส่งสำเนารายงานการตรวจพิสูจน์นั้นให้จำเลยทราบล่วงหน้า 3 วัน ก่อนเบิกความ เพราะมิใช่กรณีที่ศาลสั่งให้ผู้ชำนาญการพิเศษทำความเห็นเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 243 วรรคสอง
of 3