พบผลลัพธ์ทั้งหมด 126 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตัดไม้หวงห้ามและครอบครองโดยไม่ติดตราค่าภาคหลวง ถือเป็นความผิดสองกระทง ต้องเรียงกระทงลงโทษ
ไม้ยางเป็นไม้หวงห้ามไม่ว่าจะขึ้นอยู่ในที่ใดในราชอาณาจักรการตัดฟันลงจะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือได้รับสัมปทาน จำเลยตัดฟันไม้ยางซึ่งแม้จะขึ้นอยู่ในที่ดินของจำเลยเองก็มีความผิด การครอบครองไม้ที่ตัดฟันลงดังกล่าวโดยไม่มีรอยตราค่าภาคหลวงหรือรอยตรารัฐบาลขายย่อมเป็นความผิดด้วย ไม้ดังกล่าวจึงเป็นไม้ที่ต้องริบ
ความผิดฐานตัดฟันลงซึ่งไม้ยางอันเป็นไม้หวงห้ามแล้วครอบครองไม้นั้น เป็นการกระทำสองกรรมต่างกันเป็นความผิดสองกระทงซึ่งมีกำหนดโทษเท่ากัน คือ จำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาทถึง 20,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามบทมาตราต่าง ๆ ทั้งสองกระทง แล้วพิพากษาจำคุก 6 เดือนและปรับ 2,000 บาท โดยมิได้กล่าวว่าลงโทษตามมาตราใด นั้น เป็นการลงโทษในอัตราโทษขั้นต่ำของความผิดกระทงเดียวโดยมิได้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 ข้อ 2ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นให้ลงโทษเรียงกระทงความผิดให้ถูกต้องได้แต่จะแก้โทษให้หนักขึ้นไม่ได้ เพราะโจทก์มิได้อุทธรณ์
ความผิดฐานตัดฟันลงซึ่งไม้ยางอันเป็นไม้หวงห้ามแล้วครอบครองไม้นั้น เป็นการกระทำสองกรรมต่างกันเป็นความผิดสองกระทงซึ่งมีกำหนดโทษเท่ากัน คือ จำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาทถึง 20,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามบทมาตราต่าง ๆ ทั้งสองกระทง แล้วพิพากษาจำคุก 6 เดือนและปรับ 2,000 บาท โดยมิได้กล่าวว่าลงโทษตามมาตราใด นั้น เป็นการลงโทษในอัตราโทษขั้นต่ำของความผิดกระทงเดียวโดยมิได้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 ข้อ 2ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นให้ลงโทษเรียงกระทงความผิดให้ถูกต้องได้แต่จะแก้โทษให้หนักขึ้นไม่ได้ เพราะโจทก์มิได้อุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1862-1863/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์โดยสุจริตและต่อเนื่อง ย่อมไม่มีความผิดอาญา
จำเลยได้ครอบครองที่พิพาทถึง 30 ปี ได้เสียภาษีบำรุงท้องที่และได้รับ น.ส.3 ต่อมาทางราชการได้รังวัดปักหลักเขตทำเลเลี้ยงสัตว์สาธารณะ จำเลยได้ฟ้องเจ้าพนักงานเป็นคดีแพ่ง เมื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน จำเลยยอมรับว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ และฝ่ายเจ้าพนักงานยินยอมให้จำเลยครอบครองที่พิพาทไปก่อน โดยจะดำเนินการให้ทางราชการถอนสภาพที่พิพาทนั้น เปิดโอกาสให้จำเลยจับจองครอบครองที่พิพาท แม้จะยังมิได้มีพระราชกฤษฎีกาให้เพิกถอนที่ดินดังกล่าวก็ตาม ก็เป็นพฤติการณ์ที่ทำให้จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าจำเลยเข้าครอบครองโดยชอบ หาได้จงใจฝ่าฝืนกฎหมายไม่ จึงขาดเจตนาอันเป็นองค์ประกอบความผิดทางอาญา จำเลยไม่มีความผิด (อ้างฎีกาที่ 1462/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1862-1863/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในการกระทำความผิดทางอาญา: การครอบครองที่ดินโดยสุจริตและพฤติการณ์ที่ทำให้เข้าใจผิด
จำเลยได้ครอบครองที่พิพาทถึง 30 ปี ได้เสียภาษีบำรุงท้องที่และได้รับ น.ส.3. ต่อมาทางราชการได้รังวัดปักหลักเขตทำเลเลี้ยงสัตว์สาธารณะ จำเลยได้ฟ้องเจ้าพนักงานเป็นคดีแพ่ง เมื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน จำเลยยอมรับว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ และฝ่ายเจ้าพนักงานยินยอมให้จำเลยครอบครองที่พิพาทไปก่อน โดยจะดำเนินการให้ทางราชการถอนสภาพที่พิพาทนั้น เปิดโอกาสให้จำเลยจับจองครอบครองที่พิพาท แม้จะยังมิได้มีพระราชกฤษฎีกาให้เพิกถอนที่ดินดังกล่าวก็ตาม ก็เป็นพฤติการณ์ที่ทำให้จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าจำเลยเข้าครอบครองโดยชอบ หาได้จงใจฝ่าฝืนกฎหมายไม่ จึงขาดเจตนาอันเป็นองค์ประกอบความผิดทางอาญา จำเลยไม่มีความผิด (อ้างฎีกาที่ 1462/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1862-1863/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในการครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์ หากเข้าใจโดยสุจริต ย่อมไม่มีความผิดทางอาญา
จำเลยได้ครอบครองที่พิพาทถึง 30 ปี ได้เสียภาษีบำรุงท้องที่และได้รับ น.ส.3. ต่อมาทางราชการได้รังวัดปักหลักเขตทำเลเลี้ยงสัตว์สาธารณะ. จำเลยได้ฟ้องเจ้าพนักงานเป็นคดีแพ่ง. เมื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน จำเลยยอมรับว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ และฝ่ายเจ้าพนักงานยินยอมให้จำเลยครอบครองที่พิพาทไปก่อน. โดยจะดำเนินการให้ทางราชการถอนสภาพที่พิพาทนั้น เปิดโอกาสให้จำเลยจับจองครอบครองที่พิพาท. แม้จะยังมิได้มีพระราชกฤษฎีกาให้เพิกถอนที่ดินดังกล่าวก็ตาม.ก็เป็นพฤติการณ์ที่ทำให้จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าจำเลยเข้าครอบครองโดยชอบ หาได้จงใจฝ่าฝืนกฎหมายไม่. จึงขาดเจตนาอันเป็นองค์ประกอบความผิดทางอาญา. จำเลยไม่มีความผิด.(อ้างฎีกาที่ 1462/2509).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185-195/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษา: ห้ามแก้ไขคำพิพากษาถึงที่สุด แม้มีการอ้างข้อเท็จจริงใหม่
คดีที่ศาลพิพากษาให้ลงโทษปรับและให้จำเลยออกจากป่าที่แผ้วถาง เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา กล่าวคือ ยังครอบครองป่าที่ศาลสั่งให้ออกอยู่ โจทก์จึงมีคำขอต่อศาลให้บังคับคดี ศาลย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีแก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 297 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โดยไม่จำเป็นจะต้องให้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยในทางแพ่งขึ้นมาใหม่ จำเลยจะอ้างว่าตนได้ครอบครองที่ป่ามาช้านานจนกลายเป็นที่นา ดังนี้ถือว่า เป็นการอ้างข้อเท็จจริงมาใหม่ขัดกับข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติในทางพิจารณา หากจะฟังข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างมา ก็เท่ากับให้ดำเนินคดีกับจำเลยใหม่ ซึ่งจะมีผลเป็นการแก้คำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ย่อมเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 190 โดยห้ามมิให้แก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งอ่านแล้ว นอกจากถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185-195/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการอ้างข้อเท็จจริงใหม่ขัดกับคำพิพากษาถึงที่สุด ศาลมีอำนาจบังคับคดีได้โดยไม่ต้องฟ้องใหม่
คดีที่ศาลพิพากษาให้ลงโทษปรับและให้จำเลยออกจากป่าที่แผ้วถางเมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษากล่าวคือ ยังคงครอบครองป่าที่ศาลสั่งให้ออกอยู่ โจทก์จึงมีคำขอต่อศาลให้บังคับคดีศาลย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาขั้นบังคับคดีแก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 297 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โดยไม่จำเป็นจะต้องให้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยในทางแพ่งขึ้นมาใหม่ จำเลยจะอ้างว่าตนได้ครอบครองที่ป่ามาช้านานจนกลายเป็นที่นาดังนี้ถือว่า เป็นการอ้างข้อเท็จจริงมาใหม่ขัดกับข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติในทางพิจารณาหากจะฟังข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างมา ก็เท่ากับให้ดำเนินคดีกับจำเลยใหม่ ซึ่งจะมีผลเป็นการแก้ไขคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้วย่อมเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 190โดยห้ามมิให้แก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งอ่านแล้วนอกจากถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185-195/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาเดิม แม้จำเลยอ้างการครอบครองต่อเนื่อง ศาลไม่ต้องฟ้องขับไล่ใหม่
คดีที่ศาลพิพากษาให้ลงโทษปรับและให้จำเลยออกจากป่าที่แผ้วถาง. เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา.กล่าวคือ ยังคงครอบครองป่าที่ศาลสั่งให้ออกอยู่ โจทก์จึงมีคำขอต่อศาลให้บังคับคดี. ศาลย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาขั้นบังคับคดีแก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 297 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15. โดยไม่จำเป็นจะต้องให้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยในทางแพ่งขึ้นมาใหม่. จำเลยจะอ้างว่าตนได้ครอบครองที่ป่ามาช้านานจนกลายเป็นที่นา.ดังนี้ถือว่า เป็นการอ้างข้อเท็จจริงมาใหม่ขัดกับข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติในทางพิจารณา. หากจะฟังข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างมา ก็เท่ากับให้ดำเนินคดีกับจำเลยใหม่ ซึ่งจะมีผลเป็นการแก้ไขคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้วย่อมเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 190.โดยห้ามมิให้แก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งอ่านแล้ว.นอกจากถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานทำไม้ในป่า และการนำไม้เคลื่อนที่โดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า "ฯลฯ จำเลยนี้บังอาจทำไม้โดยตัดฟัน ฯลฯ ไม้เต็ง ฯลฯ อันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ.2505 ฯลฯ โดยมิได้รับอนุญาต ฯลฯ" ถือได้ว่าครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว หาจำต้องบรรยายโดยใช้คำว่า "ในป่า" ประกอบคำว่า "ทำไม้" หรือ "ตัดฟันไม้" ด้วยไม่
พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 39 นั้นบังคับเฉพาะการนำไม้ที่ทำออกตามใบอนุญาตเคลื่อนที่ภายหลังที่ได้นำไปถึงที่อันระบุไว้ในใบอนุญาต หรือการนำไม้ที่ทำออกโดยไม่ต้องรับอนุญาตเคลื่อนที่ภายหลังไปถึงด่านป่าไม้ด่านแรกตามความในมาตรา 38 เท่านั้น ส่วนการนำไม้ห้วงห้ามที่ทำโดยไม่ได้รับอนุญาตเคลื่อนที่หาเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 39 ไม่ (อ้างฎีกาที่ 1018/2496 และฎีกาที่ 341/2498)
พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 39 นั้นบังคับเฉพาะการนำไม้ที่ทำออกตามใบอนุญาตเคลื่อนที่ภายหลังที่ได้นำไปถึงที่อันระบุไว้ในใบอนุญาต หรือการนำไม้ที่ทำออกโดยไม่ต้องรับอนุญาตเคลื่อนที่ภายหลังไปถึงด่านป่าไม้ด่านแรกตามความในมาตรา 38 เท่านั้น ส่วนการนำไม้ห้วงห้ามที่ทำโดยไม่ได้รับอนุญาตเคลื่อนที่หาเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 39 ไม่ (อ้างฎีกาที่ 1018/2496 และฎีกาที่ 341/2498)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำไม้ในป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต การบรรยายฟ้อง และขอบเขตการบังคับใช้มาตรา 39 พ.ร.บ.ป่าไม้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า "ฯลฯ จำเลยนี้บังอาจทำไม้โดยตัดฟัน ฯลฯ ไม้เต็ง ฯลฯ อันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ.2505 ฯลฯ โดยมิได้รับอนุญาต ฯลฯ" ถือได้ว่าครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว หาจำต้องบรรยายโดยใช้คำว่า "ในป่า" ประกอบคำว่า "ทำไม้" หรือ"ตัดฟันไม้" ด้วยไม่
พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 39 นั้น บังคับเฉพาะการนำไม้ที่ทำออกตามใบอนุญาตเคลื่อนที่ภายหลังที่ได้นำไปถึงที่อันระบุไว้ในใบอนุญาต หรือการนำไม้ที่ทำออกโดยไม่ต้องรับอนุญาตเคลื่อนที่ภายหลังไปถึงด่านป่าไม้ด่านแรกตามความในมาตรา 38 เท่านั้น ส่วนการนำไม้หวงห้ามที่ทำโดยไม่ได้รับอนุญาตเคลื่อนที่ หาเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 39 ไม่ (อ้างฎีกาที่ 1018/2496 และฎีกาที่ 341/2498)
พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 39 นั้น บังคับเฉพาะการนำไม้ที่ทำออกตามใบอนุญาตเคลื่อนที่ภายหลังที่ได้นำไปถึงที่อันระบุไว้ในใบอนุญาต หรือการนำไม้ที่ทำออกโดยไม่ต้องรับอนุญาตเคลื่อนที่ภายหลังไปถึงด่านป่าไม้ด่านแรกตามความในมาตรา 38 เท่านั้น ส่วนการนำไม้หวงห้ามที่ทำโดยไม่ได้รับอนุญาตเคลื่อนที่ หาเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 39 ไม่ (อ้างฎีกาที่ 1018/2496 และฎีกาที่ 341/2498)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 282/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมต่างวาระ: การตัดไม้และการมีไม้ไว้ในครอบครองถือเป็นคนละกรรม
ฟ้องระบุวันเวลากระทำผิดอันเดียวกัน กล่าวหาว่าจำเลยได้ตัดฟันไม้หวงห้าม 1 ต้นโดยมิได้รับอนุญาต และได้มีไม้นั้นไว้ในครอบครองโดยไม้นั้นเป็นไม้ที่ยังมิได้แปรรูปฯ ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 11,69,73 ตามที่ได้แก้ไขดังนี้ถือว่ากล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิด 2 กรรม
การตัดฟันไม้ และการมีไม้ที่ตัดฟันไว้จะเป็นกรรมเดียววาระเดียวกันไม่ได้
การตัดฟันไม้ และการมีไม้ที่ตัดฟันไว้จะเป็นกรรมเดียววาระเดียวกันไม่ได้