พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเช่าและค่าใช้จ่ายส่วนกลาง, ความเคลือบคลุมของฟ้อง, สัญญาจองสิทธิการเช่าปิดอากรแสตมป์, การยกเลิกสัญญา
ค่าภาษีและค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายอื่นที่โจทก์ได้จัดขึ้นเพื่อรักษาความปลอดภัย รักษาความสะอาดไอเย็น แสงสว่าง สิ่งอื่นใดเพื่ออำนวยความสะดวกอันเป็นส่วนกลางที่ใช้ร่วมกันค่าใช้จ่ายด้านการโฆษณาและส่งเสริมการขาย ตามข้อตกลงในสัญญาจองสิทธิการเช่า มีลักษณะเป็นค่าใช้จ่ายอันเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า จึงมีอายุความเช่นเดียวกับ ค่าเช่าทรัพย์สินที่ค้างชำระ ตามป.พ.พ. มาตรา 193/33 (3) คือ มีอายุความ 5 ปี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาจองสิทธิการเช่าร้านค้ากับโจทก์ ต่อมาจำเลยผิดสัญญาเช่าโดยค้างชำระค่าเช่าและค่าใช้จ่ายอื่นตั้งแต่เดือนธันวาคม 2537 ถึงเดือนสิงหาคม 2539 เมื่อคิดหักกับเงินค่าตอบแทนสิทธิการเช่าที่จำเลยชำระแล้วและเงินค่าเช่าและค่าใช้จ่ายอื่นที่โจทก์ยกเว้นให้ในเดือนกันยายน 2537 ถึงเดือนตุลาคม 2537 จำเลยต้องชำระหนี้แก่โจทก์จำนวน 8,342,661.82 บาท ตามหนังสือแจ้งให้จำเลยชำระหนี้เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 ซึ่งตามหนังสือดังกล่าวก็ได้ระบุไว้ว่าหลังจากทำสัญญาจองสิทธิการเช่าแล้ว โจทก์กับจำเลยได้ตกลงเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาเช่าและอัตราค่าเช่าใหม่ เมื่ออ่านคำฟ้องประกอบกับเอกสารท้ายคำฟ้องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องแล้ว ย่อมเข้าใจได้ว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเช่าใหม่จากที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาจองสิทธิการเช่า จึงทำให้หนี้ค่าเช่าและค่าใช้จ่ายอื่นที่โจทก์เรียกร้องตามคำฟ้องไม่ตรงกับอัตราค่าเช่าและค่าใช้จ่ายอื่นที่กำหนดไว้ในสัญญาจองสิทธิการเช่า ซึ่งจำเลยก็ให้การว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเช่าใหม่ เพียงแต่อ้างว่าได้เปลี่ยนคู่สัญญาไปแล้วเท่านั้น แสดงว่าจำเลยเข้าใจคำฟ้องของโจทก์และสามารถต่อสู้คดีได้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญาจองสิทธิการเช่าจะบันทึกสัญญาเช่าซึ่งจะต้องปิดอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่ง ป.รัษฎากรหรือไม่ก็ตาม แต่จำเลยให้การรับว่าได้ทำสัญญาจองสิทธิการเช่าตามฟ้องกับโจทก์ มิได้ปฏิเสธถึงความถูกต้องของสัญญาจองสิทธิการเช่าดังกล่าว แม้สัญญาจองสิทธิการเช่าดังกล่าวมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118
บันทึกข้อตกลงยกเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่าระบุว่าโจทก์และจำเลยประสงค์จะยกเลิกสัญญาการเช่า โดยตกลงให้โอนเงินค่าตอบแทนสิทธิการเช่าไปเป็นเงินประกันสัญญาการเช่าพื้นที่และสัญญาอื่นที่จะทำขึ้นต่อไป จึงได้ทำบันทึกดังกล่าวและลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานต่อหน้าพยานเป็นสำคัญแสดงว่าโจทก์และจำเลยตกลงกันว่าจะต้องทำสัญญายกเลิกจองสิทธิการเช่ากันเป็นหนังสือ เมื่อโจทก์และจำเลยยังมิได้ลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลงยกเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่า ย่อมถือไม่ได้ว่าได้มีการทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวแล้ว จึงหามีผลเป็นการเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่าทันทีไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาจองสิทธิการเช่าร้านค้ากับโจทก์ ต่อมาจำเลยผิดสัญญาเช่าโดยค้างชำระค่าเช่าและค่าใช้จ่ายอื่นตั้งแต่เดือนธันวาคม 2537 ถึงเดือนสิงหาคม 2539 เมื่อคิดหักกับเงินค่าตอบแทนสิทธิการเช่าที่จำเลยชำระแล้วและเงินค่าเช่าและค่าใช้จ่ายอื่นที่โจทก์ยกเว้นให้ในเดือนกันยายน 2537 ถึงเดือนตุลาคม 2537 จำเลยต้องชำระหนี้แก่โจทก์จำนวน 8,342,661.82 บาท ตามหนังสือแจ้งให้จำเลยชำระหนี้เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 ซึ่งตามหนังสือดังกล่าวก็ได้ระบุไว้ว่าหลังจากทำสัญญาจองสิทธิการเช่าแล้ว โจทก์กับจำเลยได้ตกลงเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาเช่าและอัตราค่าเช่าใหม่ เมื่ออ่านคำฟ้องประกอบกับเอกสารท้ายคำฟ้องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องแล้ว ย่อมเข้าใจได้ว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเช่าใหม่จากที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาจองสิทธิการเช่า จึงทำให้หนี้ค่าเช่าและค่าใช้จ่ายอื่นที่โจทก์เรียกร้องตามคำฟ้องไม่ตรงกับอัตราค่าเช่าและค่าใช้จ่ายอื่นที่กำหนดไว้ในสัญญาจองสิทธิการเช่า ซึ่งจำเลยก็ให้การว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเช่าใหม่ เพียงแต่อ้างว่าได้เปลี่ยนคู่สัญญาไปแล้วเท่านั้น แสดงว่าจำเลยเข้าใจคำฟ้องของโจทก์และสามารถต่อสู้คดีได้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญาจองสิทธิการเช่าจะบันทึกสัญญาเช่าซึ่งจะต้องปิดอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่ง ป.รัษฎากรหรือไม่ก็ตาม แต่จำเลยให้การรับว่าได้ทำสัญญาจองสิทธิการเช่าตามฟ้องกับโจทก์ มิได้ปฏิเสธถึงความถูกต้องของสัญญาจองสิทธิการเช่าดังกล่าว แม้สัญญาจองสิทธิการเช่าดังกล่าวมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118
บันทึกข้อตกลงยกเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่าระบุว่าโจทก์และจำเลยประสงค์จะยกเลิกสัญญาการเช่า โดยตกลงให้โอนเงินค่าตอบแทนสิทธิการเช่าไปเป็นเงินประกันสัญญาการเช่าพื้นที่และสัญญาอื่นที่จะทำขึ้นต่อไป จึงได้ทำบันทึกดังกล่าวและลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานต่อหน้าพยานเป็นสำคัญแสดงว่าโจทก์และจำเลยตกลงกันว่าจะต้องทำสัญญายกเลิกจองสิทธิการเช่ากันเป็นหนังสือ เมื่อโจทก์และจำเลยยังมิได้ลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลงยกเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่า ย่อมถือไม่ได้ว่าได้มีการทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวแล้ว จึงหามีผลเป็นการเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่าทันทีไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6014/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายยังไม่เกิดขึ้นเมื่อคู่สัญญาไม่ลงนาม แม้จะมีการเสนอราคาและทำสัญญาเบื้องต้น
โจทก์ยื่นซองประกวดราคาเสนอขายเครื่องดูดฝุ่นให้จำเลยต่อมาจำเลยมีหนังสือเชิญโจทก์ไปทำสัญญา โจทก์ส่งผู้แทนไปลงนามในสัญญาซื้อขายแล้ว แต่ผู้อำนวยการของจำเลยยังไม่ลงนามเนื่องจากยังมีการต่อรองราคากันอยู่และปรากฏเงื่อนไขในการประกวดราคาว่า ถ้าโจทก์ไม่ไปทำสัญญากับจำเลยจำเลยจะริบหลักประกัน แสดงว่าสัญญาที่มุ่งจะทำนี้จะต้องทำเป็นหนังสือ เมื่อจำเลยยังไม่ลงนามในสัญญา ต้องถือว่ายังไม่มีสัญญาต่อกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 366 วรรคสอง สัญญาซื้อขายจึงยังไม่เกิดขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5331/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงจะซื้อขายที่ดินยังไม่สมบูรณ์ แม้มีการวางเงินมัดจำ ต้องทำตามเจตนาทำสัญญาเป็นหนังสือ
โจทก์จำเลยตกลงจะซื้อขายที่ดินกัน ตามเอกสารหมาย จ.1โดยโจทก์วางเงินมัดจำในวันทำสัญญาจำนวนหนึ่ง และมีข้อตกลงว่าอีก 5 วัน ต่อมาจะมีการวางมัดจำเพิ่มเติม รวมทั้งจะทำหนังสือกันอีกครั้งเพื่อระบุรายละเอียดต่าง ๆ ได้แก่ การชำระเงินส่วนที่เหลือการกำหนดวันโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง ค่าภาษี ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายในการโอน การขนย้ายบ้านและการรื้อถอนทรัพย์ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดิน การกำหนดค่าปรับในกรณีผิดสัญญา ข้อตกลงเกี่ยวกับการที่จะเข้าไปทำประโยชน์ รวมทั้งหากที่ดินที่จะซื้อขายมีเนื้อที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง โดยจะทำเป็นหนังสือให้ทนายความเป็นผู้ทำสัญญาเพิ่มเติม ข้อตกลงตามเอกสารดังกล่าวจึงไม่ใช่หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท ตาม ป.พ.พ.มาตรา 366 วรรคสอง ส่วนการที่โจทก์วางมัดจำแก่จำเลยแล้วนั้น เมื่อคู่สัญญากำหนดจะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยวิธีทำเป็นหนังสือ ก็ต้องเป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญาจะนำเอาวิธีอื่น เช่น การวางเงินมัดจำมาวินิจฉัยว่าเป็นข้อตกลงจะซื้อจะขายกันแล้วโดยบริบูรณ์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5331/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต้องทำเป็นหนังสือ การวางมัดจำยังไม่ถือเป็นสัญญาบริบูรณ์
โจทก์จำเลยตกลงจะซื้อขายที่ดินกันตามเอกสารหมายจ.1โดยโจทก์วางเงินมัดจำในวันทำสัญญาจำนวนหนึ่งและมีข้อตกลงว่าอีก5วันต่อมาจะมีการวางมัดจำเพิ่มเติมรวมทั้งจะทำหนังสือกันอีกครั้งเพื่อระบุรายละเอียดต่างๆได้แก่การชำระเงินส่วนที่เหลือการกำหนดวันโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองค่าภาษีค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการโอนการขนย้ายบ้านและการรื้อถอนทรัพย์ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินการกำหนดค่าปรับในกรณีผิดสัญญาข้อตกลงเกี่ยวกับการที่จะเข้าไปทำประโยชน์รวมทั้งหากที่ดินที่จะซื้อขายมีเนื้อที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงโดยจะทำเป็นหนังสือให้ทนายความเป็นผู้ทำสัญญาเพิ่มเติมข้อตกลงตามเอกสารดังกล่าวจึงไม่ใช่หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา366วรรคสองส่วนการที่โจทก์วางมัดจำแก่จำเลยแล้วนั้นเมื่อคู่สัญญากำหนดจะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยวิธีทำเป็นหนังสือก็ต้องเป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญาจะนำเอาวิธีอื่นเช่นการวางเงินมัดจำมาวินิจฉัยว่าเป็นข้อตกลงจะซื้อจะขายกันแล้วโดยบริบูรณ์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6102/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายเกิดมีขึ้นเมื่อวางมัดจำ แม้ไม่มีสัญญาเป็นหนังสือ
โจทก์ตกลงซื้อตึกแถวจากจำเลยและได้วางมัดจำไว้แล้วและข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์จำเลยมีการตกลงกันว่าจะทำสัญญาจะซื้อจะขายเป็นหนังสือ ดังนั้นแม้จะยังไม่ได้ทำสัญญากันเป็นหนังสือ ก็ถือว่าสัญญาจะซื้อจะขายเกิดมีขึ้นแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องคดีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายข้าวพิพาท: หลักฐานไม่ครบถ้วน ฟ้องบังคับคดีไม่ได้
สัญญาซื้อขายข้าวระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้มีกฎหมายกำหนดแบบให้ต้องทาเป็นหนังสือ ทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1มิได้ตกลงให้ทำสัญญาซื้อขายกันเป็นหนังสือ เมื่อจำเลยที่ 1และโจทก์ได้ตกลงซื้อขายข้าวกันตามที่ได้เสนอเสนอสนองและตกลงกันได้ตามโทรพิมพ์ และสำเนาโทรพิมพ์ เมื่อคำเสนอและคำสนองของโจทก์และจำเลยที่ 1 ในการซื้อขายข้าวถูกต้องตรงกันสัญญาขายข้าวระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ย่อมเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์แล้ว โจทก์และจำเลยที่ 1 หาจำต้องทำสัญญาซื้อขายข้าวเป็นหนังสือไม่ สัญญาซื้อขายข้าวระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ที่ตกลงกันเป็นราคาห้าร้อยบาทหรือกว่านั้นขึ้นไป เมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อไว้ในโทรพิมพ์ดังกล่าวแต่อย่างใด สัญญาซื้อขายข้าวจึงไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นฝ่ายต้องรับผิดเป็นสำคัญ ทั้งไม่มีการวางประจำ และไม่มีการชำระหนี้บางส่วนโดยจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่มีหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ตามสัญญาซื้อขายข้าวได้ การที่โจทก์ผู้ซื้อชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 ผู้ขายโดยโจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตกับธนาคารต่างประเทศ มายังธนาคารในประเทศไทยนั้นต้องถือว่าธนาคารต่างประเทศเป็นเพียงตัวแทนของผู้ซื้อในต่างประเทศและธนาคารในประเทศไทยเป็นตัวแทนของธนาคารต่างประเทศอีกต่อหนึ่ง แม้ผู้ซื้อในต่างประเทศจะได้ชำระเงินเพื่อเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตแล้ว ก็เป็นเพียงการชำระเงินให้แก่ตัวแทนของตนเท่านั้น หาอาจจะถือว่าเป็นการชำระหนี้ให้แก่ผู้ขายหรือตัวแทนของผู้ขายหรือไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้ขายยังไม่ได้ไปรับเงินจากธนาคารตามเลตเอตร์ออฟเครดิตนั้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ชำระราคาสินค้าข้าวตามสัญญาซื้อขายข้าวให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3251/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่า: การเสนอและสนองสัญญา, การปฏิบัติตามสัญญา, ความเสียหายจากการผิดสัญญา, การได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจ
การที่จำเลยตกลงให้โจทก์เช่าอาคารสืบต่อจากผู้เช่าเดิมโดยถือตามสัญญาเช่าฉบับเดิม และโจทก์ได้ชำระหนี้ค่าเช่าที่ค้างและค่าเช่าล่วงหน้าให้แก่จำเลยตามเงื่อนไขที่จำเลยเสนอกับเข้าครอบครองทรัพย์ที่เช่าแล้ว โจทก์จำเลยจึงมีความผูกพันต่อกันในฐานะผู้เช่ากับผู้ให้เช่าตามสัญญาเช่าเดิมการที่โจทก์จำเลยตกลงเปลี่ยนแปลงรายการการชำระเงินในภายหลังหามีผลเป็นการยกเลิกสัญญาเช่าฉบับเดิมไม่ แม้โจทก์จะยังมิได้ชำระเงินกินเปล่างวดแรกและไปลงนามทำสัญญาเช่ากับจำเลยตามข้อตกลงเดิมในวันที่ 1 กรกฎาคม 2531แต่จำเลยก็มีหนังสือถึงตัวแทนโจทก์เสนอให้โจทก์แจ้งความประสงค์เข้าทำสัญญาตามข้อตกลงนั้นได้ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2531ซึ่งภายในระยะเวลาที่บ่งไว้นี้ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิที่จะถอนคำเสนอได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 354โจทก์จึงมีสิทธิที่จะแสดงเจตนาเข้าทำสัญญาตามข้อตกลงเดิมในวันใดก็ได้ภายในวันที่ 14 กรกฎาคม 2531 เมื่อจำเลยปฏิเสธไม่ยอมให้ทำสัญญาเช่าตามข้อตกลงเดิม โจทก์ก็ได้แสดงเจตนาเข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยตามข้อตกลงเดิม โดยนำเงินกินเปล่างวดแรกที่ถึงกำหนดชำระแล้วไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2531 ภายในกำหนดเวลาที่จำเลยกำหนดไว้ถือได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่จำเลยจะต้องรับผูกพันตามข้อตกลงที่ทำกันไว้ ทำให้เกิดสัญญาเช่าขึ้น การที่จำเลยเสนอเงื่อนไขขึ้นมาใหม่โดยลดระยะเวลาการเช่าลงกับเพิ่มเงินกินเปล่าขึ้น โจทก์มิได้สนองรับจึงไม่เกิดสัญญาขึ้นใหม่และไม่มีผลลบล้างข้อตกลงเดิม โจทก์จำเลยตกลงกันที่จะทำสัญญาเช่าไว้เป็นหนังสือ และยังไม่มีการลงนามในสัญญาเช่าอันจะมีผลให้สาระสำคัญของสัญญาตามที่ตกลงกันไว้กลายเป็นสัญญาเช่าที่เป็นหนังสือ แต่เมื่อเงื่อนไขอันเป็นสาระสำคัญของสัญญานั้น โจทก์ได้ตรวจแก้ไขและจำเลยก็ยอมรับแล้ว จึงไม่มีเหตุให้เป็นที่สงสัยว่าอาจจะมีข้อความใดที่ตกหล่นหรือเกินเลยไปจากคู่สัญญามุ่งทำสัญญากันแต่อย่างใด ทั้งคำเสนอและคำสนองของคู่สัญญาก็มีความชัดแจ้งและถูกต้องตรงกันทุกประการแล้ว จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นกรณีที่ยังมิได้มีสัญญาต่อกัน กรณีที่มีการตกลงให้ทำสัญญากันไว้เป็นหนังสือแต่ให้ถือว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำขึ้นเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคสอง นั้นมีได้เฉพาะเมื่อกรณีเป็นที่สงสัยเท่านั้น เมื่อไม่มีกรณีเป็นที่สงสัยจะบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 366 วรรคสอง ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5582/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินเช่าหลังสัญญาหมดอายุ และผลของการเจรจาทำสัญญาใหม่ที่ไม่เป็นผล
โจทก์ก่อสร้างอาคารพาณิชย์และตลาดสดลงในที่ดินที่เช่าจากจำเลยที่ 3 ก่อนที่สัญญาเช่าจะสิ้นสุดลง 3 เดือน เป็นการก่อสร้างภายในกำหนดสัญญาเช่า โจทก์มีอำนาจทำได้ตามสัญญาเช่าข้อ 2 หากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงโดยจำเลย-ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ต่อจากจำเลยที่ 3 ไม่ต่อสัญญาให้โจทก์ โจทก์ต้องรื้อถอนอาคารพาณิชย์และตลาดสดออกไปภายในกำหนด 2 เดือน ตามสัญญาเช่าข้อ 5 ดังนั้นอาคารพาณิชย์และตลาดสดจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินตามป.พ.พ. มาตรา 109 เดิม (มาตรา 146) กรณีไม่ใช่เป็นเรื่องบุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตหรือไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1310 และมาตรา 1311
หลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงโจทก์ขอต่ออายุสัญญาเช่า ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เจรจาเพื่อทำสัญญาเช่าใหม่กัน โจทก์ได้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์และตลาดสดต่อมาจนเสร็จโดยฝ่ายจำเลยไม่ได้ทักท้วง กลับยอมให้โจทก์ทำสัญญาให้จำเลยที่ 11 ถึงที่ 17 เช่าอาคารพาณิชย์และรับค่าเช่าจากผู้เช่าแผงในตลาดสด ทั้งยังรับค่าเช่าจากโจทก์ตลอดมาจนกระทั่งวันที่ 13 มกราคม 2527 จึงบอกเลิกสัญญาพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ยอมให้โจทก์ใช้ประโยชน์ในที่ดินต่อไปเป็นการชั่วคราวในระหว่างเจรจาทำสัญญาเช่าใหม่ในลักษณะเช่นเดียวกับการเช่าบรรดาผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่โจทก์ได้รับจากผู้เช่าอาคารพาณิชย์และผู้เช่าแผงในตลาดสดก่อนที่จะมีการบอกเลิกสัญญาย่อมเป็นสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์
เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดแล้วโจทก์และฝ่ายจำเลยได้เจรจากันหลายครั้งแต่ไม่อาจลงนามในสัญญากันได้ เนื่องจากมีปัญหาข้อขัดข้องหลายประการ จึงฟังได้โดยชัดแจ้งว่าทั้งสองฝ่ายมีความมุ่งหมายที่จะทำสัญญาเป็นหนังสือแต่ยังมิได้ทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกัน สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาที่โจทก์อ้างจึงยังไม่เกิดขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1และที่ 2 จดทะเบียนให้โจทก์เช่าที่ดินตามฟ้อง
จำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้ว โจทก์ต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างคืออาคารพาณิชย์และตลาดสดออกไปจากที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนใด ๆ ทั้งสิ้น การที่โจทก์มิได้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปภายในเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาถือได้ว่าโจทก์อยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยละเมิด โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 ทั้งไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าอาคารพาณิชย์พิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 11 ถึงที่ 17
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 กล่าวอ้างว่า อาคารพาณิชย์เลขที่169 /1-8 และตลาดสดเลขที่ 169 ซึ่งปลูกสร้างบนที่ดินของจำเลยที่ 1 เป็นของจำเลยและฟ้องแย้งขอให้ขับไล่โจทก์พร้อมบริวารออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวโดยได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินเป็นของจำเลยที่ 1 แต่สิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นของโจทก์ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรพิพากษาให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวออกไปจากที่ดินของจำเลยที่ 1 เสียด้วย
หลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงโจทก์ขอต่ออายุสัญญาเช่า ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เจรจาเพื่อทำสัญญาเช่าใหม่กัน โจทก์ได้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์และตลาดสดต่อมาจนเสร็จโดยฝ่ายจำเลยไม่ได้ทักท้วง กลับยอมให้โจทก์ทำสัญญาให้จำเลยที่ 11 ถึงที่ 17 เช่าอาคารพาณิชย์และรับค่าเช่าจากผู้เช่าแผงในตลาดสด ทั้งยังรับค่าเช่าจากโจทก์ตลอดมาจนกระทั่งวันที่ 13 มกราคม 2527 จึงบอกเลิกสัญญาพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ยอมให้โจทก์ใช้ประโยชน์ในที่ดินต่อไปเป็นการชั่วคราวในระหว่างเจรจาทำสัญญาเช่าใหม่ในลักษณะเช่นเดียวกับการเช่าบรรดาผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่โจทก์ได้รับจากผู้เช่าอาคารพาณิชย์และผู้เช่าแผงในตลาดสดก่อนที่จะมีการบอกเลิกสัญญาย่อมเป็นสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์
เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดแล้วโจทก์และฝ่ายจำเลยได้เจรจากันหลายครั้งแต่ไม่อาจลงนามในสัญญากันได้ เนื่องจากมีปัญหาข้อขัดข้องหลายประการ จึงฟังได้โดยชัดแจ้งว่าทั้งสองฝ่ายมีความมุ่งหมายที่จะทำสัญญาเป็นหนังสือแต่ยังมิได้ทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกัน สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาที่โจทก์อ้างจึงยังไม่เกิดขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1และที่ 2 จดทะเบียนให้โจทก์เช่าที่ดินตามฟ้อง
จำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้ว โจทก์ต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างคืออาคารพาณิชย์และตลาดสดออกไปจากที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนใด ๆ ทั้งสิ้น การที่โจทก์มิได้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปภายในเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาถือได้ว่าโจทก์อยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยละเมิด โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 ทั้งไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าอาคารพาณิชย์พิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 11 ถึงที่ 17
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 กล่าวอ้างว่า อาคารพาณิชย์เลขที่169 /1-8 และตลาดสดเลขที่ 169 ซึ่งปลูกสร้างบนที่ดินของจำเลยที่ 1 เป็นของจำเลยและฟ้องแย้งขอให้ขับไล่โจทก์พร้อมบริวารออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวโดยได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินเป็นของจำเลยที่ 1 แต่สิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นของโจทก์ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรพิพากษาให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวออกไปจากที่ดินของจำเลยที่ 1 เสียด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5582/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างบนที่ดินเช่า: สิทธิของเจ้าของสิ่งปลูกสร้างเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุด
โจทก์ก่อสร้างอาคารพาณิชย์และตลาดสดลงในที่ดินที่เช่าจากจำเลยที่ 3 ก่อนที่สัญญาเช่าจะสิ้นสุดลง 3 เดือน เป็นการก่อสร้างภายในกำหนดสัญญาเช่า โจทก์มีอำนาจทำได้ตามสัญญาเช่าข้อ 2 หากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงโดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ต่อจากจำเลยที่ 3 ไม่ต่อสัญญาให้โจทก์ โจทก์ต้องรื้อถอนอาคารพาณิชย์และตลาดสดออกไปภายในกำหนด 2 เดือน ตามสัญญาเช่าข้อ 5 ดังนั้นอาคารพาณิชย์และตลาดสดจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109 เดิม (มาตรา 146)กรณีไม่ใช่เป็นเรื่องบุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตหรือไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1310 และมาตรา 1311 หลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงโจทก์ขอต่ออายุสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เจรจาเพื่อทำสัญญาเช่าใหม่กันโจทก์ได้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์และตลาดสดต่อมาจนเสร็จโดยฝ่ายจำเลยไม่ได้ทักท้วง กลับยอมให้โจทก์ทำสัญญาให้จำเลยที่ 11 ถึงที่ 17เช่าอาคารพาณิชย์และรับค่าเช่าจากผู้เช่าแผงในตลาดสด ทั้งยังรับค่าเช่าจากโจทก์ตลอดมาจนกระทั่งวันที่ 13 มกราคม 2527 จึงบอกเลิกสัญญา พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ยอมให้โจทก์ใช้ประโยชน์ในที่ดินต่อไปเป็นการชั่วคราวในระหว่างเจรจาทำสัญญาเช่าใหม่ในลักษณะเช่นเดียวกับการเช่าบรรดาผลประโยชน์ต่าง ๆที่โจทก์ได้รับจากผู้เช่าอาคารพาณิชย์และผู้เช่าแผงในตลาดสดก่อนที่จะมีการบอกเลิกสัญญาย่อมเป็นสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดแล้วโจทก์และฝ่ายจำเลยได้เจรจากันหลายครั้งแต่ไม่อาจลงนามในสัญญากันได้ เนื่องจากมีปัญหาข้อขัดข้องหลายประการ จึงฟังได้โดยชัดแจ้งว่าทั้งสองฝ่ายมีความมุ่งหมายที่จะทำสัญญาเป็นหนังสือแต่ยังมิได้ทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกันสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาที่โจทก์อ้างจึงยังไม่เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคสองโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จดทะเบียนให้โจทก์เช่าที่ดินตามฟ้อง จำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้ว โจทก์ต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างคืออาคารพาณิชย์และตลาดสดออกไปจากที่ดินของจำเลยที่ 1โดยไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนใด ๆ ทั้งสิ้น การที่โจทก์มิได้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปภายในเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาถือได้ว่าโจทก์อยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยละเมิดโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8ทั้งไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าอาคารพาณิชย์พิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 11 ถึงที่ 17 จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 กล่าวอ้างว่า อาคารพาณิชย์เลขที่169/1-8 และตลาดสดเลขที่ 169 ซึ่งปลูกสร้างบนที่ดินของจำเลยที่ 1 เป็นของจำเลยและฟ้องแย้งขอให้ขับไล่โจทก์พร้อมบริวารออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวโดยได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินเป็นของจำเลยที่ 1 แต่สิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นของโจทก์ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรพิพากษาให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวออกไปจากที่ดินของจำเลยที่ 1 เสียด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5480/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน - การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการประกวดราคา - ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
การที่บุคคลใดจะเข้าประกวดราคาตามใบแจ้งความประกวดราคาหรือไม่ ย่อมเป็นเรื่องที่บุคคลนั้นจะต้องพิจารณาเองว่าสมควรเข้าประกวดราคาเช่นนั้นหรือไม่ ใบแจ้งความประกวดราคาของโจทก์ระบุว่าโจทก์ไม่จำต้องสนองรับการเสนอราคาใดก็ตามที่ส่งมาโดยไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผลดังนั้นแม้จำเลยที่ 1 มีสิทธิเสนอราคางานเสาเข็มเจาะระบบอื่นนอกเหนือจากระบบตามใบแจ้งความประกวดราคาของโจทก์ โจทก์ก็มีสิทธิที่จะไม่พิจารณาและไม่สนองรับการเสนอราคาเสาเข็มเจาะระบบอื่นดังกล่าวของจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องให้เหตุผลแก่จำเลยที่ 1 แต่อย่างใด การแจ้งความประกวดราคาของโจทก์ดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดไม่ยอมทำสัญญาจ้างงานเสาเข็มเจาะตามที่ได้ตกลงในการประกวดราคา จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ ในการประกวดราคาจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ผิดเงื่อนไขในการประกวดราคาโดยไม่ยอมเข้าทำสัญญากับโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเอาหลักประกันอันเป็นเบี้ยปรับตามเงื่อนไขที่กำหนดในใบแจ้งความประกวดราคา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคสอง ส่วนความเสียหายของโจทก์ที่เกิดจากการที่โจทก์เริ่มงานเสาเข็มเจาะล่าช้าทำให้งานโครงการของโจทก์เสร็จช้าไปก็ดี ความเสียหายที่เกิดจากการที่โจทก์ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ผู้ควบคุมงานรายใหม่เพิ่มขึ้นก็ดีความเสียหายอันเกิดจากความล่าช้าเพราะเกิดอุปสรรคในการสร้างงานเสาเข็มเจาะของผู้รับจ้างรายใหม่ก็ดี การว่าจ้างผู้รับจ้างรายใหม่ทำให้โจทก์ต้องจ่ายเงินค่างวดเร็วขึ้นและทำให้โจทก์ต้องรับภาระในการจ่ายดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารมากขึ้นก็ดี ค่าใช้จ่ายในการเตรียมเอกสารและค่าปรึกษาด้านกฎหมายและเอกสารในการทำสัญญาใหม่ก็ดี ต่างเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นหรือจะเกิดขึ้นจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างงานเสาเข็มเจาะกับโจทก์ทั้งสิ้น แต่ตามใบแจ้งความประกวดราคาได้ความว่าสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาเป็นหนังสือตามแบบในการประกวดราคาฉะนั้น แม้จำเลยที่ 1 และโจทก์ได้แสดงเจตนาเสนอสนองถูกต้องตรงกันแต่จำเลยที่ 1 ยังมิได้ลงนามในสัญญาจ้างงานเสาเข็มเจาะ สัญญาจ้างงานเสาเข็มเจาะระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงยังไม่เกิดขึ้นโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายต่าง ๆ อันเกิดจากการผิดสัญญานั้นได้ การต่อรองในเรื่องราคาและเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการลดราคาค่าว่าจ้างลง มิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเงื่อนไขในการประกวดราคาใหม่ เพราะโจทก์มีสิทธิต่อรองราคาเช่นนั้นตามใบแจ้งความประกวดราคา ข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย