คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 366 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3532/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเหมาขัดข้อง: การเพิ่มเติมงานต้องมีข้อตกลงเป็นหนังสือ และงานจำเป็นตามสัญญาไม่ต้องจ่ายเพิ่ม
โจทก์ทำสัญญารับจ้างเหมาปรับปรุงที่ดินกับจำเลยที่ 2 ตามสัญญากำหนดวิธีการถมให้โจทก์ปฏิบัติไว้ เมื่อโจทก์ปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าวแล้วเกิดขัดข้องไม่สามารถทำงานต่อไปได้ โจทก์เลือกทำงานต่อไปด้วยวิธีการใหม่โดยไม่รอทำความตกลงกับจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นการทำงานเพิ่มเติมจากข้อกำหนดในสัญญา แต่ตามสัญญากำหนดไว้ว่าการเพิ่มเติมงานจักต้องคิดและตกลงราคากันใหม่ ถ้าจักต้องเพิ่มค่าจ้างก็ต้องทำความตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกัน เมื่อโจทก์มิได้ตกลงกับจำเลยที่ 2 เป็นหนังสือ จึงนับว่าโจทก์กับจำเลยที่ 2ยังมิได้มีสัญญาต่อกันในส่วนที่โจทก์ทำงานเพิ่มเติมนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าจ้างเพิ่มเติมจากจำเลยที่ 2.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3532/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเหมาปรับปรุงที่ดิน: การเพิ่มเติมงานต้องมีข้อตกลงเป็นหนังสือจึงมีผลผูกพัน
ตามสัญญารับจ้างเหมาปรับปรุงที่ดินที่โจทก์ทำกับจำเลยที่ 2กำหนดวิธีการถมให้โจทก์ปฏิบัติไว้ เมื่อโจทก์ปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าวแล้วเกิดขัดข้องไม่สามารถทำงานต่อไปได้ โจทก์เลือกทำงานต่อไปโดยวิธีการใหม่โดยไม่รอทำความตกลงกับจำเลยที่ 2 อันเป็นการทำงานเพิ่มเติมจากข้อกำหนดในสัญญา ซึ่งตามสัญญากำหนดไว้ว่าการเพิ่มเติมงานจะต้องคิดและตกลงราคากันใหม่ ถ้าจะต้องเพิ่มค่าจ้างก็ต้องทำความตกลงกันเป็นหนังสือไว้ต่อกัน เมื่อโจทก์มิได้ตกลงกับจำเลยที่ 2 เป็นหนังสือ จึงนับว่าโจทก์กับจำเลยที่ 2ยังมิได้มีสัญญาต่อกันในส่วนที่โจทก์ทำงานเพิ่มเติมนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าจ้างเพิ่มเติมจากจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3532/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเหมางานเพิ่มเติม-เปลี่ยนแปลง การตกลงเป็นหนังสือสำคัญ หากไม่มีสัญญาเพิ่มเติมก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าจ้าง
โจทก์ทำสัญญารับจ้างเหมาปรับปรุงที่ดินกับจำเลยที่2 ตามสัญญากำหนดวิธีการถมให้โจทก์ปฏิบัติไว้ เมื่อโจทก์ปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าวแล้วเกิดขัดข้องไม่สามารถทำงานต่อไปได้ โจทก์เลือกทำงานต่อไปโดยวิธีการใหม่โดยไม่รอทำความตกลงกับจำเลยที่ 2 อันเป็นการทำงานเพิ่มเติมจากข้อกำหนดในสัญญา ซึ่งตามสัญญากำหนดไว้ว่าการเพิ่มเติมงาน จักต้องคิดและตกลงราคากันใหม่ ถ้าจักต้องเพิ่มค่าจ้างก็ต้องทำความตกลงกันเป็นหนังสือไว้ต่อกัน เมื่อโจทก์มิได้ตกลงกับจำเลยที่ 2 เป็นหนังสือ จึงนับว่าโจทก์กับจำเลยที่ 2 ยังมิได้มีสัญญาต่อกันในส่วนที่โจทก์ทำงานเพิ่มเติมนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าจ้างเพิ่มเติมจากจำเลยที่ 2.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3532/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเหมาขัดข้อง-เพิ่มเติมงาน: ต้องทำความตกลงเป็นหนังสือจึงมีผลผูกพันตามสัญญา
โจทก์ทำสัญญารับจ้างเหมาปรับปรุงที่ดินกับจำเลยที่ 2 ตามสัญญากำหนดวิธีการถมให้โจทก์ปฏิบัติไว้ เมื่อโจทก์ปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าวแล้วเกิดขัดข้องไม่สามารถทำงานต่อไปได้ โจทก์เลือกทำงานต่อไปด้วยวิธีการใหม่โดยไม่รอทำความตกลงกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นการทำงานเพิ่มเติมจากข้อกำหนดในสัญญา แต่ตามสัญญากำหนดไว้ว่าการเพิ่มเติมงานจักต้องคิดและตกลงราคากันใหม่ ถ้าจักต้องเพิ่มค่าจ้างก็ต้องทำความตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกัน เมื่อโจทก์มิได้ตกลงกับจำเลยที่ 2 เป็นหนังสือ จึงนับว่าโจทก์กับจำเลยที่ 2ยังมิได้มีสัญญาต่อกันในส่วนที่โจทก์ทำงานเพิ่มเติมนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าจ้างเพิ่มเติมจากจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1318/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเกิดสัญญาและการริบเบี้ยปรับตามเงื่อนไขประกวดข้อเสนอ
เงื่อนไขในการประกวดข้อเสนอโครงการปรับปรุงการใช้ประโยชน์ในที่ดินของการรถไฟ ฯ มีว่า "ผู้ชนะการประกวดข้อเสนอจะต้องมาทำสัญญากับการรถไฟ ฯ ภายในระยะเวลา 15 วัน หากไม่มาทำสัญญาจะถือว่าสละสิทธิการรถไฟ ฯ จะริบเงินประกันซอง.........." ดังนี้แสดงว่าสัญญาที่คู่กรณีมุ่งจะทำ นั้นต้องทำเป็นหนังสือ แม้คู่กรณีตกลงกันได้แล้วก็ตาม ตราบใดที่คู่กรณียังไม่ทำสัญญา ต่อกัน ถือได้ว่าสัญญาระหว่างคู่กรณียังไม่เกิดขึ้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคสอง และเมื่อผู้ชนะการประกวดข้อเสนอไม่มาทำสัญญาตามกำหนดการรถไฟ ฯ มีสิทธิริบเงินประกันซองอันเป็นเบี้ยปรับตามเงื่อนไขในการประกวดข้อเสนอดังกล่าวได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 183 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1167/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาต้องทำเป็นหนังสือ: ผลของการตกลงให้ทำสัญญาอีกชั้นหนึ่ง
จำเลยทำคำเสนอจะทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารต่อโจทก์โดยเสนอราคาค่าก่อสร้างหลังละ 500,000 บาท โจทก์ตกลงและมีหนังสือแจ้งให้จำเลยมาทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างกับเจ้าหน้าที่ แต่จำเลยกลับปฏิเสธและแจ้งแก่โจทก์ขอระงับการทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง โจทก์จึงว่าจ้างผู้รับเหมารายอื่นก่อสร้างอาคารดังกล่าวในราคาสูงขึ้นกว่าเดิม ดังนี้เป็นกรณีที่โจทก์ตกลงจะจ้างเหมาจำเลยก่อสร้างตามคำเสนอของจำเลย โดยให้จำเลยไปทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอีกชั้นหนึ่งจึงจะมีผลให้ผูกพันกันได้ ต้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 366 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อยังมิได้กระทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะอาศัยเพียงข้อเสนอของจำเลยและการสนองรับของโจทก์ให้เป็นข้อสัญญาจ้างเหมาที่จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1167/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาต้องทำเป็นหนังสือ: ผลของการตกลงทำสัญญาอีกชั้นหนึ่ง
จำเลยทำคำเสนอจะทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารต่อโจทก์ โดยเสนอราคาค่าก่อสร้างหลังละ 500,000 บาท โจทก์ตกลงและมีหนังสือแจ้งให้จำเลยมาทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างกับเจ้าหน้าที่ แต่จำเลยกลับปฏิเสธและแจ้งแก่โจทก์ขอระงับการทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง โจทก์จึงว่าจ้างผู้รับเหมารายอื่นก่อสร้างอาคารดังกล่าวในราคาสูงขึ้นกว่าเดิม ดังนี้เป็นกรณีที่โจทก์ตกลงจะจ้างเหมาจำเลยก่อสร้างตามคำเสนอของจำเลย โดยให้จำเลยไปทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอีกชั้นหนึ่งจึงจะมีผลให้ผูกพันกันได้ ต้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 366 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อยังมิได้กระทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะอาศัยเพียงข้อเสนอของจำเลยและการสนองรับของโจทก์ให้เป็นข้อสัญญาจ้างเหมาที่จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าเวลาโฆษณาทางวิทยุ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายถูกจำกัดด้วยข้อตกลงและเหตุสุดวิสัย
จำเลยได้อนุมัติและมอบหมายให้กรมการทหารสื่อสารจัดตั้งสถานีวิทยุ วปถ. ตามจังหวัดต่าง ๆ ขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ราชการของจำเลย โดยเป็นที่เข้าใจกันว่ากรมการทหารสื่อสารจะต้องหาทางดำเนินการในเรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เอาเอง และเมื่อกรมการทหารสื่อสารได้จัดตั้งสถานีวิทยุ วปถ. ขึ้นตามที่จำเลยอนุมัติและมอบหมายแล้วจำเลยก็ย่อมรับรู้และได้เข้าควบคุมสถานีวิทยุเหล่านั้นทั้งหมด โดยทางคณะกรรมการที่จำเลยแต่งตั้งและโดยการควบคุมตามสายงานปกติ คือผ่านทางสำนักงานปลัดบัญชีทหารบก ตลอดจนได้เข้าถือประโยชน์จากทรัพย์สินและวัสดุต่าง ๆ ทั้งขอแบ่งผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินงานสถานีวิทยุเหล่านั้นไปเป็นของจำเลยถึงร้อยละ 40 เช่นนี้ การที่กรมการทหารสื่อสารได้ปฏิบัติไปเกี่ยวกับการจัดตั้งและการดำเนินงานของสถานีวิทยุ วปถ. จึงผูกพันกองทัพบกจำเลย รวมทั้งหนี้ซึ่งผู้อำนวยการกรมการทหารสื่อสารได้กู้ยืมเงินโจทก์เพื่อนำไปพัฒนากิจการวิทยุดังกล่าวกับหนี้เงินที่โจทก์ได้ออกทดรองจ่ายให้ไปตามสัญญาที่มีกับกรมการทหารสื่อสารเพื่อนำไปปรับปรุงสถานีวิทยุกระจายเสียง วปถ. ด้วย จำเลยต้องรับผิดชำระเงินดังกล่าวให้โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2509 คณะกรรมการของกรมการทหารสื่อสารได้มีการประชุมกับผู้จัดการทั่วไปของโจทก์ตกลงหลักการให้โจทก์เช่าเวลาโฆษณาของสถานีวิทยุ วปถ. ทุกแห่ง โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 กับได้มอบหมายให้ที่ปรึกษากฎหมายเป็นผู้ร่างสัญญา ซึ่งผู้อำนวยการกิจการวิทยุกระจายเสียงกรมการทหารสื่อสาร ได้มีหนังสือถึงโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.26 ขอให้ยืนยันข้อตกลงดังกล่าวและโจทก์ได้มีหนังสือตอบยืนยันไปแต่ยังไม่ทันถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2509 และยังมิได้มีการลงชื่อในสัญญาซึ่งตกลงว่าจะทำกันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งลงวันที่ 21 กันยายน 2509 ห้ามสถานีวิทยุของส่วนราชการต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงกลาโหมออกอากาศรายการโฆษณาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 เป็นต้นไป กรมการทหารสื่อสารจึงได้จัดให้มีการประชุม รองผู้อำนวยการกิจการวิทยุกระจายเสียงกรมการทหารสื่อสารได้แถลงว่า ข้อผูกพันระหว่างกิจการวิทยุกระจายเสียงกรมการทหารสื่อสารกับผู้เช่าเวลาโฆษณาถือว่าเป็นสิ้นสุดต่อกัน ซึ่งผู้แทนของโจทก์ก็ได้เข้าร่วมประชุมและรับทราบคำแถลงดังกล่าวด้วยโดยมิได้โต้แย้งคัดค้านแต่ประการใด เมื่อสัญญาตามที่ได้ตกลงกันไว้ว่าจะทำยังมิได้ทำขึ้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กับกรมการทหารสื่อสารทหารบกหรือจำเลยมีสัญญาต่อกัน ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรค 2(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 164/2519)
เดิมกรมการทหารสื่อสารตกลงให้โจทก์ทำการรับเหมาเช่าเวลาออกอากาศของสถานีวิทยุ วปถ. จำนวน 12 แห่ง ตั้งแต่ ปี 2507 โดยกรมการทหารสื่อสารขอสงวนสิทธิว่า เมื่อมีคำสั่งของทางราชการกองทัพบกหรือของรัฐบาล สั่งให้ปฏิบัติการใด ๆ ด้วยวิธีการใด ๆ เกี่ยวกับการโฆษณา โจทก์จะต้องถือปฏิบัติตามโดยไม่มีข้อโต้แย้งหรือเงื่อนไขใด ๆ และเมื่อมีเหตุนอกอำนาจใด ๆ บังเกิดขึ้นอันทำให้การกระจายเสียงของ วปถ. ไม่เป็นไปตามปกติแล้วทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันให้ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน และโจทก์จะเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากกรมการทหารสื่อสารไม่ได้ต่อมาการที่โจทก์ไม่อาจเข้าทำการโฆษณาในสถานีวิทยุ วปถ. ได้ตามปกติ เนื่องจากมีคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ห้ามการโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียงก็ดีหรือ การที่กรมการทหารสื่อสารไม่ได้จัดให้โจทก์เข้าเช่าเวลาโฆษณาในตอนหลังเนื่องจากผู้บัญชาการทหารบกได้มีคำสั่งให้กรมการทหารสื่อสารดำเนินการโฆษณาเองก็ดีต้องถือเป็นเหตุนอกเหนืออำนาจของกรมการทหารสื่อสาร ซึ่งกรมการทหารสื่อสารไม่อาจจะจัดการให้เป็นอย่างอื่นได้โจทก์จึงไม่อาจโต้แย้งและไม่มีสิทธิจะเรียกค่าเสียหายใด ๆจากกรมการทหารสื่อสารตามนัยแห่งข้อตกลงเดิมที่โจทก์มีอยู่กับกรมการทหารสื่อสารดังกล่าวข้างต้นได้และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากกรมการทหารสื่อสาร โจทก์ก็ไม่มีสิทธิจะฟ้องเรียกจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1825/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายเกิดขึ้นเมื่อทำสัญญาเป็นหนังสือ แม้ตกลงรับราคาแล้วแต่ยังไม่ผูกพัน หากไม่ทำสัญญา ริบเงินมัดจำได้ แต่ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์ประกาศประกวดราคาจัดซื้อของ เป็นคำเชิญชวนให้ผู้ที่ประสงค์จะเข้าประกวดราคายื่นซองเสนอหนังสือเสนอราคาที่จำเลยยื่นเป็นคำเสนอ โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบว่าตกลงรับราคาที่จำเลยเสนอและให้ไปทำสัญญาเป็นคำสนอง แต่สัญญาซื้อขายยังไม่เกิดขึ้นเมื่อคำบอกกล่าวสนองไปถึงผู้เสนอ สัญญาจะเกิดขึ้นต่อเมื่อโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญากันเป็นหนังสือตามข้อผูกพันที่ระบุไว้ในประกาศประกวดราคา จำเลยไม่ไปทำสัญญากับโจทก์ตามกำหนดเวลา โจทก์ย่อมมีสิทธิริบเงินมัดจำซองประกวดราคาได้ตามข้อตกลงในประกาศประกวดราคา แต่เมื่อยังไม่มีสัญญาซื้อขายต่อกันจำเลยยังไม่มีความผูกพันตามสัญญาซื้อขายที่จะต้องมอบของให้โจทก์ ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องซื้อของจากผู้อื่นแพงกว่าราคาที่จำเลยเสนอเป็นค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาซื้อขาย ไม่ใช่ค่าเสียหายอันเกิดจากข้อตกลงในการประกวดราคา โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชดใช้
of 3