คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1656

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 173 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1211/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมที่ทำผิดแบบแต่เป็นไปตามแบบอื่นได้ใช้บังคับได้ และข้อจำกัดการวินิจฉัยข้อกฎหมายโดยศาลตามมาตรา 142(5)
แม้พินัยกรรมจะทำผิดแบบพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองตามความประสงค์เดิมของผู้ทำพินัยกรรมก็ดี แต่ก็ทำขึ้นถูกต้องตามแบบพินัยกรรมธรรมดาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1656 ทุกประการ ดังนี้ ศาลย่อมยกความสมบูรณ์ตามแบบพินัยกรรมอย่างหลังนี้ ขึ้นใช้บังคับได้โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 136
ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งศาลยกขึ้นวินิจฉัยตัดสินคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) นั้นจะต้องเป็นข้อกฎหมายที่ได้มาจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้นจากพยานนอกเรื่องนอกประเด็นนั้น ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยเป็นข้อกฎหมายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ไม่ได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2492)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1211/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของพินัยกรรมที่ทำตามแบบธรรมดา แม้ผิดแบบเอกสารฝ่ายเมือง และการรับฟังพยานนอกประเด็น
แม้พินัยกรรมจะทำผิดแบบพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองตามความประสงค์เดิมของผู้ทำพินัยกรรมก็ดี แต่ก็ทำขึ้นถูกต้องตามแบบพินัยกรรมธรรมดาตาม ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 1656 ทุกประการ ดังนี้ ศาลย่อมยกความสมบูรณ์ตามแบบพินัยกรรมอย่างหลังนี้ ขึ้นใช้บังคับได้โดยอาศัยบทบัญญัติแห่ง ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 136.
ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งศาลยกขึ้นวินิจฉัยตัดสินคดีได้ตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 142(5) นั้น จะต้องเป็นข้อกฎหมายที่ได้มาจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ ข้อเท็จจริงที่ปรากฎขึ้นจากพะยานนอกเรื่องนอกประเด็นนั้น ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยเป็นข้อกฎหมายตาม ป.ม.วิ.แพ่ง มาตรา 142 (5) ไม่ได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้ามตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 87.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 860/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือมีพยานเซ็นชื่อ ถือเป็นพินัยกรรมสมบูรณ์ แม้ไม่ได้ระบุรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ
พินัยกรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือผู้เป็นเจ้าของและมีพยานเซ็นชื่อ 3 คนว่าเป็นพยานแม้จะมิได้เขียนระบุไว้ว่า ได้รับรองและพิมพ์ลายพิมพ์นิ้วมือของเจ้าของพินัยกรรมก็ดี ยังไม่เป็นเหตุที่จะถือว่า เป็นพินัยกรรมที่ขาดพยานผู้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 860/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือและมีพยานเซ็นชื่อ ถือเป็นพินัยกรรมสมบูรณ์ได้ แม้ไม่ได้ระบุรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ
พินัยกรรม์ลงลายพิมพ์นิ้วมือผู้เป็นเจ้าของและมีพะยานเซ็นชื่อ 3 คนว่าเป็นพะยาย แม้จะมิได้เขียนระบุไว้ว่า ได้รับรองและพิมพ์พิมพ์นิ้วมือของเจ้าของพินัยกรรม์ก็ดี ยังไม่เป็นเหตุที่จะถือว่า เป็นพินัยกรรม์ที่ขาดพะยานผู้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 621/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แบบพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่สมบูรณ์เมื่อพะยานไม่ครบตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเกินประเด็น
คู่ความขอให้ศาลวินิจฉัยเพียงข้อเดียวว่า พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองที่จำเลยอ้าง จะเป็นการชอบด้วยประมวลแพ่ง ฯ มาตรา 1658 หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า พินัยกรรมฉะบับนี้ตกเป็นโมฆะในฐานะเป็นพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง แต่สมบูรณ์ในฐานะเป็นพินัยกรรมธรรมดาตาม ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 136 ดังนี้ เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นที่คู่ความโต้เถียงกัน เพราะคู่ความมิได้แถลงว่า ถ้าพินัยกรรมฉะบับนี้ไม่เป็นพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง ก็ขอให้ศาลวินิจฉัยว่า จะเข้าแบบสมบูรณ์ เป็นพินัยกรรมอย่างอื่นหรือไม่
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองมีปลัดอำเภอลงลายมือชื่อในฐานะเป็นพะยานรับรองพินัยกรรมอีกฐานะหนึ่งกับมีนายสุดเซ็นเป็นพะยานอีกคนหนึ่ง เมื่อตัดชื่อนายสุวัธน์ออกจากฐานะเป็นพะยาน โดยเหตุที่เป็นกรมการอำเภอผู้กระทำกิจการตามหน้าที่ราชการแล้ว ก็คงเหลือแต่นายสุดผู้เดียวลงลายมือชื่อเป็นพะยาน แต่เป็นผู้ที่ได้รับรู้การแจ้งความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรมต่อกรมการอำเภอ พะยานขาดจำนวนไปคนหนึ่ง จึงไม่ครบจำนวนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ พินัยกรรมจึงตกเป็นโมฆะในฐานะพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 621/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แบบพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่สมบูรณ์ ศาลฎีกาตัดสินเกินประเด็น
คู่ความขอให้ศาลวินิจฉัยเพียงข้อเดียวว่าพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองที่จำเลยอ้าง จะเป็นการชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1658หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า พินัยกรรมฉบับนี้ตกเป็นโมฆะในฐานะเป็นพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง แต่สมบูรณ์ในฐานะเป็นพินัยกรรมธรรมดาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 136 ดังนี้เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นที่คู่ความโต้เถียงกัน เพราะคู่ความมิได้แถลงว่าถ้าพินัยกรรมฉบับนี้ไม่เป็นพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง ก็ขอให้ศาลวินิจฉัยว่าจะเข้าแบบสมบูรณ์ เป็นพินัยกรรมอย่างอื่นหรือไม่
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองมีปลัดอำเภอลงลายมือชื่อในฐานะเป็นพยานรับรองพินัยกรรมอีกฐานะหนึ่งกับมีนายสุดเซ็นเป็นพยานอีกคนหนึ่ง เมื่อตัดชื่อนายสุวัธน์ออกจากฐานะเป็นพยาน โดยเหตุที่เป็นกรมการอำเภอผู้กระทำกิจการตามหน้าที่ราชการแล้ว ก็คงเหลือแต่นายสุดผู้เดียวลงลายมือชื่อเป็นพยานแต่เป็นผู้ที่ได้รับรู้การแจ้งความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรมต่อกรมการอำเภอพยานขาดจำนวนไปคนหนึ่งจึงไม่ครบจำนวนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ พินัยกรรมจึงตกเป็นโมฆะในฐานะพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 363/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักษณะของพินัยกรรมที่ถูกต้องตามกฎหมาย และการรับรองของพยาน
ผู้ตายได้ทำเอกสารฉะบับหนึ่งมีข้อกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนว่า ให้ยกเงินสองหมื่นบาทให้แก่ อ. เมื่อตนตาย ดังนี้ เอกสารดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นพินัยกรรม์
ในพินัยกรรม ตอนท้ายมีข้อความว่า (นางลำดวน) ผู้ทำพินัยกรรม์ ได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าผู้รู้เห็นไว้เป็นสำคัญแล้ว ยังมีคำว่า "ต่อหน้า" อยู่ข้างหน้ากึ่งกลางระหว่างลายมือชื่อพะยานกับผู้เขียนอีกด้วย จึงนับได้ว่าเป็นข้อความอันแสดงว่าบุคคลทั้ง 2 นี้ได้ลงชื่อในฐานะเป็นพะยาน ดังนี้ พินัยกรรม์รายนี้นับว่าถูกต้องตาม ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 1656 แล้ว แม้ตามมาตรา 1671 จะมีข้อความว่า ถ้าผู้เขียนข้อความแห่งพินัยกรรม์เป็นพะยาน ก็ให้เขียนข้อความระบุว่าตนเป็นพะยานต่อท้ายลายมือชื่อของตนเช่นเดียวกับพะยานผู้อื่นก็ดี ความมุ่งหมายสำคัญของมาตรานี้ ก็เพื่อให้มีข้อความแสดงว่า ผู้เขียนนั้นเป็นพะยานด้วย ซึ่งในคดีนี้ผู้เขียนก็ได้เบิกความรับรองไว้แล้ว พินัยกรรม์ จึงหาขัดกับมาตรา 1671 ไม่
พะยานจะลงชื่อก่อนหรือหลังผู้ทำพินัยกรรม์ไม่สำคัญ เมื่อได้ความว่า ผู้ทำพินัยกรรม์ได้ลงชื่อของตนในเวลาที่อยู่พร้อมกันในขณะนั้น ก็เป็นการใช้ได้.
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 14/2492)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 363/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรม: ลักษณะถูกต้องตามกฎหมาย แม้ผู้เขียนเป็นพยาน และพยานลงชื่อก่อนหรือหลังผู้ทำพินัยกรรม
ผู้ตายได้ทำเอกสารฉบับหนึ่งมีข้อกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนว่า ให้ยกเงินสองหมื่นบาทให้แก่ อ. เมื่อตนตาย ดังนี้ เอกสารดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นพินัยกรรม
ในพินัยกรรม ตอนท้ายมีข้อความว่า (นางลำดวน)ผู้ทำพินัยกรรมได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าผู้รู้เห็นไว้เป็นสำคัญแล้ว ยังมีคำว่า 'ต่อหน้า' อยู่ข้างหน้ากึ่งกลางระหว่างลายมือชื่อพยานกับผู้เขียนอีกด้วย จึงนับได้ว่าเป็นข้อความอันแสดงว่าบุคคลทั้ง 2 นี้ได้ลงชื่อในฐานะเป็นพยาน ดังนี้ พินัยกรรมรายนี้นับว่าถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1656 แล้ว แม้ตามมาตรา1671 จะมีข้อความว่า ถ้าผู้เขียนข้อความแห่งพินัยกรรมเป็นพยาน ก็ให้เขียนข้อความระบุว่าตนเป็นพยานต่อท้ายลายมือชื่อของตนเช่นเดียวกับพยานผู้อื่นก็ดี ความมุ่งหมายสำคัญของมาตรานี้ ก็เพื่อให้มีข้อความแสดงว่า ผู้เขียนนั้นเป็นพยานด้วย ซึ่งในคดีนี้ผู้เขียนก็ได้เบิกความรับรองไว้แล้ว พินัยกรรม จึงหาขัดกับมาตรา 1671 ไม่
พยานจะลงชื่อก่อนหรือหลังผู้ทำพินัยกรรมไม่สำคัญ เมื่อได้ความว่า ผู้ทำพินัยกรรมได้ลงชื่อของตนในเวลาที่อยู่พร้อมกันในขณะนั้น ก็เป็นการใช้ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/92)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 154/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาต้องอ้างเหตุโต้แย้งคำสั่งศาลก่อน และการพิสูจน์ความสมบูรณ์ของพินัยกรรม
การฎีกาโต้แย้งคำสั่งของศาลที่สั่งก่อนมีคำพิพากษาหรือคำชี้ขาดตัดสินคดีนั้น จะต้องได้โต้แย้งคำสั่งนั้นไว้แล้วจึงจะฎีกาได้ตาม มาตรา226 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ตาม มาตรา1656 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่จำเป็นต้องถามผู้อาพาธ3ครั้ง3หน พินัยกรรมจึงจะสมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงเจตนาในพินัยกรรม: กำหนดการเผื่อตายและวิธีการให้เป็นผลสมบูรณ์ รวมถึงการรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ
ข้อความในพินัยกรรมมีว่า 'เมื่อฉันตายไปแล้วก็ขอให้ทรัพย์ทั้งหมดดังกล่าวแล้ว ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่เด็กหลานของฉันตามที่กล่าวมาแล้วผู้ใดอื่นหรือนายกระจ่างซึ่งเป็นบุตรของฉันจะมาเกี่ยวข้องด้วยไม่ได้เป็นอันขาดฯลฯ' นี้เป็นอันถือได้ว่าเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายไว้โดยพินัยกรรมแล้ว
ในพินัยกรรมที่มีข้อความต่อไปว่า 'และขอให้นางช่วยซึ่งเป็นน้องขอฉัน เป็นผู้แทนฉันจัดการยื่นคำร้องต่ออำเภอมอบกรรมสิทธิ์ทรัพย์ให้' นั้นเป็นการกำหนดวิธีการที่จะให้เป็นผลสมบูรณ์ตามพินัยกรรม เนื่องจากทรัพย์ที่ยกให้บางอย่างเป็นที่ดิน ดังนี้ หาทำให้พินัยกรรมขาดลักษณะของการเป็นพินัยกรรมไม่
พยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือในพินัยกรรมนั้น ไม่จำต้องระบุเขียนลงไว้ว่า ได้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือ เมื่อได้ความว่า เจ้ามรดกกดพิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้าพยาน ก็เป็นการใช้ได้ (อ้างฎีกาที่ 45 พ.ศ.2485)
of 18