คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1656

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 173 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3579/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของพินัยกรรม, การจัดการมรดก, และผลกระทบต่อสิทธิบุคคลภายนอก
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า พินัยกรรมฉบับพิพาทระบุสถานที่ทำพินัยกรรมไม่ตรงความจริง วัน เดือน ปี ที่ระบุไว้ในพินัยกรรมเป็นที่น่าสงสัยทั้งผู้ตายได้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรมโดยพยานมิได้อยู่ในขณะนั้น การทำพินัยกรรมจึงขัดต่อบทบัญญัติ มาตรา 1656 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.พ.พ. มีผลให้พินัยกรรมเป็นโมฆะตามมาตรา 1705 จำเลยมิได้อุทธรณ์ ข้อเท็จจริงจึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าผู้ตายมิได้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรมต่อหน้าพยานอันเป็นข้อเท็จจริงแม้ศาลอุทธรณ์จะหยิบยกปัญหาว่าพินัยกรรมฉบับพิพาทเป็นโมฆะหรือไม่ขึ้นวินิจฉัยก็เป็นการไม่ชอบ จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหานี้ต่อมา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ผู้ตายได้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรมขณะรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลและผู้ตายมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์อยู่และได้ลงลายมือชื่ออย่างมีสติ ผู้ตายเห็นข้อความคำว่าพินัยกรรมและทราบว่าเป็นการลงลายมือชื่อในพินัยกรรม ส่วนที่พินัยกรรมระบุสถานที่ไม่ตรงตามสถานที่จริง และวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรมไม่ตรงตามวันเดือนปีที่แท้จริงนั้น ข้อความดังกล่าวก็ปรากฏอยู่แล้วในขณะที่ผู้ตายลงลายมือชื่อ แม้จำเลยจะเป็นผู้จัดทำมาก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปลอมพินัยกรรม และการลงลายมือชื่อของผู้ตายยังถือไม่ได้ว่าถูกจำเลยฉ้อฉลให้ทำพินัยกรรม จำเลยจึงไม่ถูกกำจัดมิให้รับมรดกตามฟ้อง
โจทก์มิได้ฟ้องผู้รับจำนองเข้ามาด้วย การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้เพิกถอนการจำนองกระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความในคดีต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 เป็นการไม่ชอบ
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาล แม้จำเลยจะโอนที่ดินเป็นของตนแล้วนำไปจำนองกับบุคคลภายนอกเป็นการโอนตามพินัยกรรมที่จำเลยเข้าใจว่าสมบูรณ์ และไม่ปรากฏว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องในการเป็นผู้จัดการมรดกหรือมีเหตุอันจะให้เพิกถอนผู้จัดการมรดก ดังนี้ จำเลยย่อมมีสิทธิจัดการมรดกได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1719 โจทก์จึงไม่มีสิทธิห้ามจำเลยยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3579/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะของพินัยกรรม, การจัดการมรดก, และการเพิกถอนนิติกรรมจำนอง: สิทธิของผู้จัดการมรดก
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า พินัยกรรมฉบับพิพาทระบุสถานที่ทำพินัยกรรมไม่ตรงความจริง วัน เดือน ปี ที่ระบุไว้ในพินัยกรรมเป็นที่น่าสงสัยทั้งผู้ตายได้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรมโดยพยานมิได้อยู่ในขณะนั้น การทำพินัยกรรมจึงขัดต่อบทบัญญัติ มาตรา 1656 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีผลให้พินัยกรรมเป็นโมฆะตามมาตรา 1705 จำเลยมิได้อุทธรณ์ ข้อเท็จจริงจึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าผู้ตายมิได้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรมต่อหน้าพยานอันเป็นข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์จะหยิบยกปัญหาว่าพินัยกรรมฉบับพิพาทเป็นโมฆะหรือไม่ขึ้นวินิจฉัยก็เป็นการไม่ชอบ จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหานี้ต่อมาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ผู้ตายได้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรมขณะรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลและผู้ตายมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์อยู่และได้ลงลายมือชื่ออย่างมีสติ ผู้ตายเห็นข้อความคำว่าพินัยกรรมและทราบว่าเป็นการลงลายมือชื่อในพินัยกรรมส่วนที่พินัยกรรมระบุสถานที่ไม่ตรงตามสถานที่จริง และวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรมไม่ตรงตามวันเดือนปีที่แท้จริงนั้นข้อความดังกล่าวก็ปรากฏอยู่แล้วในขณะที่ผู้ตายลงลายมือชื่อแม้จำเลยจะเป็นผู้จัดทำมาก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปลอมพินัยกรรม และการลงลายมือชื่อของผู้ตายยังถือไม่ได้ว่าถูกจำเลยฉ้อฉลให้ทำพินัยกรรม จำเลยจึงไม่ถูกกำจัดมิให้รับมรดกตามฟ้อง โจทก์มิได้ฟ้องผู้รับจำนองเข้ามาด้วย การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้เพิกถอนการจำนองกระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความในคดีต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 เป็นการไม่ชอบ จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาล แม้จำเลยจะโอนที่ดินเป็นของตนแล้วนำไปจำนองกับบุคคลภายนอกเป็นการโอนตามพินัยกรรมที่จำเลยเข้าใจว่าสมบูรณ์และไม่ปรากฏว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องในการเป็นผู้จัดการมรดกหรือมีเหตุอันจะให้เพิกถอนผู้จัดการมรดกดังนี้ จำเลยย่อมมีสิทธิจัดการมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 โจทก์จึงไม่มีสิทธิห้ามจำเลยยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมสมบูรณ์แม้ไม่มีผู้เขียน และผู้รับประโยชน์อยู่ด้วยขณะทำพินัยกรรม สิทธิยกสินสมรส
ส. ผู้ทำพินัยกรรมฉบับพิพาทลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยาน3 คน ซึ่งพยานทั้งสามคนลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของส.ไว้เป็นการทำพินัยกรรมถูกต้องตามแบบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656 แล้ว แม้จะไม่มีลายมือชื่อผู้เขียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1671แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1705 ก็มิได้กำหนดให้ตกเป็นโมฆะ ฉะนั้น พินัยกรรมฉบับพิพาทจึงสมบูรณ์ตามกฎหมาย กรณีไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าหากผู้รับประโยชน์อยู่ด้วยในขณะทำพินัยกรรมจะมีผลให้พินัยกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ สินสมรสเป็นทรัพย์ที่ ส.มีอยู่ขณะถึงแก่ความตายส.จึงมีอำนาจยกสินสมรสส่วนของตนให้แก่บุคคลใดก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1481

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมสมบูรณ์ แม้ไม่มีผู้เขียนและผู้รับผลประโยชน์อยู่ด้วยขณะทำพินัยกรรม
พินัยกรรมที่ลงลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไว้ต่อหน้าพยาน 3 คน ซึ่งลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656 แม้จะไม่มีลายมือชื่อผู้เขียนตามมาตรา 1671 แต่มาตรา 1705 มิได้กำหนดให้ตกเป็นโมฆะ พินัยกรรมจึงสมบูรณ์ตามกฎหมาย
ผู้รับพินัยกรรมอยู่ด้วยในขณะทำพินัยกรรมก็ไม่มีผลให้พินัยกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ
คู่สมรสมีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินสมรสส่วนของตนให้แก่บุคคลใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำพินัยกรรมถูกต้องตามกฎหมาย แม้ไม่มีลายมือชื่อผู้เขียน และการยกสินสมรส
ส.ผู้ทำพินัยกรรมฉบับพิพาทลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยาน 3 คนซึ่งพยานทั้งสามคนลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของ ส.ไว้ เป็นการทำพินัยกรรมถูกต้องตามแบบตาม ป.พ.พ.มาตรา 1656 แล้ว แม้จะไม่มีลายมือชื่อผู้เขียนตามป.พ.พ.มาตรา 1671 แต่ ป.พ.พ.มาตรา 1705 ก็มิได้กำหนดให้ตกเป็นโมฆะฉะนั้น พินัยกรรมฉบับพิพาทจึงสมบูรณ์ตามกฎหมาย
กรณีไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าหากผู้รับประโยชน์อยู่ด้วยในขณะทำพินัยกรรมจะมีผลให้พินัยกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ
สินสมรสเป็นทรัพย์ที่ ส.มีอยู่ขณะถึงแก่ความตาย ส.จึงมีอำนาจยกสินสมรสส่วนของตนให้แก่บุคคลใดก็ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1481

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6595/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมไม่สมบูรณ์และสิทธิของผู้จัดการมรดก
พินัยกรรมไม่ลงวัน เดือน ปี ในการทำพินัยกรรมจึงมิได้ทำตามแบบที่กฎหมายบัญญัติไว้ ย่อมเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1705 ทรัพย์มรดกของผู้ตายจึงตกได้แก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายเสมือนหนึ่งมิได้มีการทำพินัยกรรมไว้เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ท.บิดาผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรของผู้ตายได้ตายก่อนผู้ตายผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมเป็นผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกแทนที่บิดา จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1711 และ 1713 ดังนั้นเมื่อศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 แต่ผู้เดียวก็ตามก็ยังไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งเพิกถอนผู้คัดค้านที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6595/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมไม่ลงวันเดือนปีเป็นโมฆะ ทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดก ผู้จัดการมรดกชอบด้วยกฎหมาย
พินัยกรรมไม่ลงวันเดือนปีในการทำพินัยกรรมจึงมิได้ทำตามแบบที่กฎหมายบัญญัติไว้ย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1705ทรัพย์มรดกของผู้ตายจึงตกได้แก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายเสมือนหนึ่งมิได้มีการทำพินัยกรรมไว้เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าท.บิดาผู้คัดค้านที่1เป็นบุตรของผู้ตายได้ตายก่อนผู้ตายผู้คัดค้านที่1ย่อมเป็นผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกแทนที่บิดาจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1711และ1713ดังนั้นเมื่อศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้คัดค้านที่1เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้วแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าเจ้าของมรดกได้ทำพินัยกรรมทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านที่2แต่ผู้เดียวก็ตามก็ยังไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งเพิกถอนผู้คัดค้านที่1จากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1727

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6595/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดก ผู้จัดการมรดก
พินัยกรรมไม่ลงวัน เดือน ปี ในการทำพินัยกรรมจึงมิได้ทำตามแบบที่กฎหมายบัญญัติไว้ ย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1705 ทรัพย์มรดกของผู้ตายจึงตกได้แก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายเสมือนหนึ่งมิได้มีการทำพินัยกรรมไว้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ท.บิดาผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรของผู้ตายได้ตายก่อนผู้ตาย ผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมเป็นผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกแทนที่บิดา จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1711 และ 1713ดังนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าเจ้าของมรดกได้ทำพินัยกรรมทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 แต่ผู้เดียวก็ตามก็ยังไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งเพิกถอนผู้คัดค้านที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6595/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมไม่ลงวันเดือนปีเป็นโมฆะ ทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดก ผู้จัดการมรดกเดิมไม่ต้องถูกเพิกถอน
พินัยกรรมไม่ลงวันเดือนปีในการทำพินัยกรรมจึงมิได้ทำตามแบบที่กฎหมายบัญญัติไว้ย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1705ทรัพย์มรดกของผู้ตายจึงตกได้แก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายเสมือนหนึ่งมิได้มีการทำพินัยกรรมไว้เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าท.บิดาผู้คัดค้านที่1เป็นบุตรของผู้ตายได้ตายก่อนผู้ตายผู้คัดค้านที่1ย่อมเป็นผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกแทนที่บิดาจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1711และ1713ดังนั้นเมื่อศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้คัดค้านที่1เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้วแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านที่2แต่ผู้เดียวก็ตามก็ยังไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งเพิกถอนผู้คัดค้านที่1จากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1727

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6289/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือแสดงเจตนาให้ทรัพย์สินหลังเสียชีวิตมีผลเป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายคำว่า"พินัยกรรม" ไว้ว่า "เอกสารแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินหรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตาย"การที่มารดาโจทก์จำเลยทำหนังสือโดยเรียกหนังสือนั้นว่าพินัยกรรมและใช้ถ้อยคำว่า "...ขอ...ยกทรัพย์สินของข้าพเจ้าทั้งหมด...ให้แก่ บ.แต่เพียงผู้เดียว..."นั้น ตามความเข้าใจของสามัญชนที่เห็นข้อความดังกล่าวย่อมเข้าใจว่า ส.เจตนาจะนำทรัพย์สินของ ส.ทั้งหมดให้แก่ บ. เมื่อ ส.ถึงแก่ความตายแล้ว ข้อความในหนังสือไม่ได้แสดงให้เห็นว่า ส.ตั้งใจยกทรัพย์สินของ ส.ให้แก่โจทก์ตั้งแต่ ส.ยังมีชีวิตอยู่ ข้อความในหนังสือดังกล่าวจึงเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายของ ส.เกี่ยวกับทรัพย์สินของ ส. เข้าลักษณะเป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าหนังสือนั้นได้ลงวันเดือนปี ที่ทำขึ้นและ ส.ผู้ทำหนังสือนั้นได้ลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยาน 2 คน และพยานผู้เขียน 1 คน โดยพยานทั้ง 3 คน นั้นได้ลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของ ส.ไว้ในขณะนั้น หนังสือดังกล่าวจึงเป็นพินัยกรรมซึ่งได้ทำขึ้นถูกต้องตามแบบตาม ป.พ.พ. มาตรา 1656 มีผลใช้ได้โดยสมบูรณ์
of 18