พบผลลัพธ์ทั้งหมด 173 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4700/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเติมวันที่ในพินัยกรรมก่อนลงลายมือชื่อไม่ถือเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ทำให้พินัยกรรมสมบูรณ์ตามกฎหมาย
การที่ผู้ทำพินัยกรรมได้เติมวันที่และเดือนในพินัยกรรมที่ ส.พิมพ์มาให้ตามความต้องการแล้วลงลายมือชื่อในพินัยกรรมหลังจากนั้นพยานอีก3คนจึงลงลายมือชื่อมิใช่เป็นการตกเติมแก้ไขเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมทั้งเป็นการเติมก่อนที่ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อในพินัยกรรมจึงไม่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1656วรรคสองพินัยกรรมจึงสมบูรณ์ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3001/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของพินัยกรรมแบบธรรมดาเมื่อพินัยกรรมแบบเอกสารลับไม่สมบูรณ์ และการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
ลายมือชื่อของผู้ร้องอยู่เหนือลายมือชื่อของ ว. และไม่มีข้อความต่อท้ายว่า "ผู้พิมพ์" ส่วนลายมือชื่อของ ว.มีข้อความต่อท้ายว่า "ผู้พิมพ์" และ ว.เบิกความว่าตนเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรม ทั้งโดยปกติน่าจะพิมพ์คนเดียว กรณีจึงมีข้อสงสัยว่า ผู้ร้องเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรมด้วยหรือไม่ ซึ่งต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้ร้องซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียหายในการนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 11 จึงจะฟังว่าผู้ร้องเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรมด้วยหาได้ไม่ กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1653 วรรคแรกอันจะทำให้พินัยกรรมหรือข้อกำหนดในพินัยกรรมเป็นโมฆะตามมาตรา 1705 เมื่อพินัยกรรมได้ทำผิดแบบพินัยกรรมเอกสารลับอันทำให้ตกเป็นโมฆะ แต่พินัยกรรมดังกล่าวก็ได้ทำขึ้นถูกต้องตามแบบพินัยกรรมธรรมดาดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1656ทุกประการ พฤติการณ์แห่งคดีเป็นที่พึงสันนิษฐานได้ว่า ถ้าเดิมทีผู้ทำพินัยกรรมรู้ว่าพินัยกรรมที่ตนทำนั้นไม่สมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบเอกสารลับ ก็คงจะได้ตั้งใจให้สมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบธรรมดา กรณีเข้าลักษณะตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 136เดิม พินัยกรรมจึงสมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบธรรมดาตาม ป.พ.พ.มาตรา 1656และตามพินัยกรรมดังกล่าวระบุให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกและเป็นผู้รับพินัยกรรมผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรม ทั้งได้ความว่าการจัดการมรดกของผู้ตายมีเหตุขัดข้องในการจัดการ ผู้ร้องไม่เป็นบุคคลต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1718 จึงสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามพินัยกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3001/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของพินัยกรรมแบบเอกสารลับและธรรมดา การตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม
ลายมือชื่อของผู้ร้องอยู่เหนือลายมือชื่อของว. และไม่มีข้อความต่อท้ายว่า"ผู้พิมพ์"ส่วนลายมือชื่อของว.มีข้อความต่อท้ายว่า"ผู้พิมพ์"และว.เบิกความว่าตนเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรมทั้งโดยปกติน่าจะพิมพ์คนเดียวกรณีจึงมีข้อสงสัยว่าผู้ร้องเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรมด้วยหรือไม่ซึ่งต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้ร้องซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียหายในการนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา11จึงจะฟังว่าผู้ร้องเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรมด้วยหาได้ไม่กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1653วรรคแรกอันจะทำให้พินัยกรรมหรือข้อกำหนดในพินัยกรรมเป็นโมฆะตามมาตรา1705เมื่อพินัยกรรมได้ทำผิดแบบพินัยกรรมเอกสารลับอันทำให้ตกเป็นโมฆะแต่พินัยกรรมดังกล่าวก็ได้ทำขึ้นถูกต้องตามแบบพินัยกรรมธรรมดาดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1656ทุกประการพฤติการณ์แห่งคดีเป็นที่พึงสันนิษฐานได้ว่าถ้าเดิมทีผู้ทำพินัยกรรมรู้ว่าพินัยกรรมที่ตนทำนั้นไม่สมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบเอกสารลับก็คงจะได้ตั้งใจให้สมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบธรรมดากรณีเข้าลักษณะตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา136เดิมพินัยกรรมจึงสมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบธรรมดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1656และตามพินัยกรรมดังกล่าวระบุให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกและเป็นผู้รับพินัยกรรมผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรมทั้งได้ความว่าการจัดการมรดกของผู้ตายมีเหตุขัดข้องในการจัดการผู้ร้องไม่เป็นบุคคลต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1718จึงสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามพินัยกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1212/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขพินัยกรรมที่ไม่สมบูรณ์ และเจตนาในการยกทรัพย์สินให้ผู้รับพินัยกรรม
การขีดฆ่าชื่อผู้รับพินัยกรรมจากเดิมที่เขียนว่า"ลเมียด"แล้วตกเติมว่า"ละเมียด"ส่วนนามสกุลคงไว้เช่นเดิมมิใช่การขีดฆ่าอันเป็นการเพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรมแต่เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพื่อเขียนชื่อผู้รับพินัยกรรมให้ถูกต้องเมื่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงมิได้ลงวันเดือนปีที่แก้ไขผู้ทำพินัยกรรมและพยานในพินัยกรรมทั้งสองคนมิได้ลงชื่อกำกับจึงไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1656วรรคสองและถือว่าไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำว่า"ลเมียด"ในพินัยกรรมพินัยกรรมคงมีข้อความตามเดิมการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ทำไม่ถูกต้องตามแบบหามีผลทำให้ พินัยกรรมที่ สมบูรณ์อยู่แล้วต้องตกเป็น โมฆะไม่ พินัยกรรมมีข้อความว่า"ข้อ1ข้าพเจ้าถึงแก่ความตายไปแล้วบรรดาทรัพย์สินของข้าพเจ้าที่มีอยู่และที่จะเกิดขึ้นในภายหน้าข้าพเจ้ายอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรมนี้ให้เป็นผู้รับทรัพย์สินตามจำนวนซึ่งกำหนดไว้ดังต่อไปนี้(1)เรือนทรงมลิลามุงกระเบื้องวิบูลศรีพร้อมกระดานพื้น19แผ่นกระดานระเบียงด้านยาว7แผ่น1หลังข้อ2ข้าพเจ้าขอมอบพินัยกรรมให้กับนาง ลเมียดช้างแก้วมณี และขอตั้งให้นาย มานพสุขสวัสดิ์เป็นผู้จัดการมรดกของข้าพเจ้าตามพินัยกรรมนี้"ถ้อยคำในพินัยกรรมดังกล่าวแสดงว่าเจ้ามรดกมีเจตนาทำพินัยกรรมยกเรือนพิพาทให้แก่นาง ละเมียดโจทก์ที่2และตั้งนาย มานพโจทก์ที่1เป็นผู้จัดการมรดกหาใช่มีเจตนาเพียงแต่มอบเอกสารพินัยกรรมให้โจทก์ที่2เก็บรักษาไว้เฉยๆเท่านั้นไม่โจทก์ที่2จึงเป็น ผู้รับพินัยกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมร่วม: เจตนา ยกทรัพย์สินให้กัน และการเป็นพยานในพินัยกรรม
พินัยกรรมที่ผู้ร้องกับผู้ตายทำร่วมกันในฉบับเดียวซึ่งสาระสำคัญของข้อกำหนดพินัยกรรมข้อ (ก) เป็นกรณีที่ผู้ร้องกับผู้ตายแสดงเจตนาไว้ว่า หากผู้ร้องหรือผู้ตายคนใดคนหนึ่งถึงแก่ความตายไปก่อน ให้ทรัพย์สินของผู้ที่ถึงแก่ความตายไปก่อนตกเป็นสินส่วนตัวของผู้ทำพินัยกรรมที่ยังมีชีวิตอยู่แต่เพียงผู้เดียวและให้เป็นผู้มีสิทธิและหน้าที่รวบรวมเก็บรักษาจัดจำหน่ายหรือแบ่งปัน และยกทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่บุคคลใดก็ได้ตามแต่เจ้าของพินัยกรรมผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ จะเห็นสมควรภายใต้ข้อกำหนดซึ่งระบุไว้ในข้อ (ข) แสดงว่าผู้ร้องและผู้ตายมีเจตนาที่จะยกทรัพย์สินให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งหากว่าฝ่ายใดถึงแก่ความตายไปก่อน เพียงแต่กำหนดเงื่อนไขให้ผู้รับพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์สินที่ได้ตามพินัยกรรมให้แก่บุคคลตามที่ระบุไว้ในข้อ (ข) โดยให้ผู้รับพินัยกรรมกำหนดให้มากน้อยเท่าใดตามแต่ใจ กรณีถือได้ว่าเงื่อนไขนั้นเป็นอันไม่มีเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1707 ข้อกำหนดพินัยกรรมในส่วนที่ผู้ตายยกทรัพย์สินให้แก่ผู้ร้องจึงยังคงสมบูรณ์ใช้บังคับได้ มิใช่กรณีที่กำหนดให้ผู้ทำพินัยกรรมที่มีชีวิตอยู่กำหนดทรัพย์สินให้แก่ทายาทมากน้อยตามแต่ใจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1706(3) แต่อย่างใด การที่ผู้ร้องกับผู้ตายทำพินัยกรรมในฉบับเดียวกัน ต่างยกทรัพย์สินให้แก่กันและกัน เมื่อพินัยกรรมดังกล่าวได้ทำเป็นหนังสือลงวันเดือนปีในขณะที่ทำขึ้น และผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนได้ลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น จึงเข้าแบบพินัยกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656 แม้ผู้ร้องกับผู้ตายจะทำพินัยกรรมในเอกสารฉบับเดียวกันก็ไม่ผิดแบบแต่อย่างใดและมิใช่การพนันขันต่อเพราะเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์มรดกของตนเองหรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายในเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตายก่อนตามมาตรา 1646 การที่บุคคลจะเป็นผู้เขียนหรือเป็นพยานในพินัยกรรมนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1671 บัญญัติว่า บุคคลนั้นต้องลงลายมือชื่อของตนทั้งระบุว่าเป็นผู้เขียนหรือเป็นพยานไว้ต่อท้ายลายมือชื่อของตนด้วย ดังนั้น เมื่อผู้ร้องลงลายมือชื่อในฐานะผู้ทำพินัยกรรมไม่มีข้อความว่าเป็นพยาน จึงจะถือว่าเป็นพยานในพินัยกรรมด้วยไม่ได้ พินัยกรรมจึงหาเป็นโมฆะด้วยเหตุที่ผู้ร้องจะเป็นพยานในพินัยกรรมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5332/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีพินัยกรรมโมฆะและการคำนวณทุนทรัพย์ค่าขึ้นศาล
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าพินัยกรรมเป็นโมฆะ เป็นการเรียกร้องให้ทรัพย์ตามพินัยกรรมคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ผู้เป็นทายาท เป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จึงเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ตามราคาทรัพย์ที่ระบุไว้ในพินัยกรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4043/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมทำเองสมบูรณ์ตามกฎหมาย แม้ไม่มีพยาน และมีข้อความระบุผู้รับมรดกชัดเจน
ผู้ตายเป็นผู้เขียนพินัยกรรมด้วยลายมือตนเองทั้งฉบับพินัยกรรมจึงสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1657 โดยหาจำต้องมีพยานพินัยกรรมไม่ ข้อความในบันทึกของผู้ตายมีว่า "ถ้าหากช่วงต่อไปฉันมีอันที่จะต้องตายจากไป ฉันมีทรัพย์สินทั้งหมดที่เห็น ๆ อยู่นี้ ฯลฯในใจจริงนั้นคิดจะยกให้กับต่าย ผู้ซึ่งเป็นลูกสาวของน้าสาวคนเล็กซึ่งฉันเห็นว่าเขาเป็นผู้มีสติปัญญาที่ดี ฉันเพียงแต่คิดว่าฉันจะควรที่ฉันจะยกข้าวของซึ่งเป็นของฉันให้ต่าย ฯลฯ ส่วนข้าวของอย่างอื่นก็แล้วแต่บรรดาญาติจะเห็นสมควรจะให้อะไรแก่เด็กเหล่า บ้างฯลฯ (ทรัพย์สมบัติเหล่านี้ ขอยกเว้นไม่มีการแบ่งให้กับแม่และลูก ๆของแม่ทุกคนโดยเด็ดขาดไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น) ในข้อความทั้งหมดที่เขียนมานี้ ฉันมีสติดีทุกประการ ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากฉันเองก็ขอให้ถือว่านี้คือการสั่งเสีย ฯลฯ แล้วลงชื่อ น.ส.ยุพินฉัตรพงศ์เจริญ(พิน)" ซึ่งตามบันทึกดังกล่าวมีข้อความว่าเมื่อผู้เขียนตายไปทรัพย์สินของตนให้แก่ใครบ้าง มีใครบ้างที่ไม่ยอมให้และลงท้ายด้วยว่ามีสติดี จึงเข้าลักษณะพินัยกรรมตามมาตรา 1646,1647 แล้ว หาใช่บันทึกบรรยายความคิดความรู้สึกในใจเท่านั้นไม่ ผู้คัดค้านฎีกาในข้อกฎหมาย ซึ่งเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีเพราะไม่อาจทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 894/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำพินัยกรรมโดยพิมพ์ลายนิ้วมือ พยานต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าผู้ทำพินัยกรรม เพื่อให้พินัยกรรมมีผลสมบูรณ์
อ.ทำพินัยกรรมโดยพิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้าค. และ ล.พร้อมกัน ส่วน บ. ลงชื่อเป็นพยานในพินัยกรรมภายหลัง เมื่อ ค.และ ล. ลงลายมือชื่อในฐานะพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของ อ.ในขณะที่ทำพินัยกรรมแล้ว พินัยกรรมจึงมีพยานครบ 2 คน มีผลสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5404/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานในพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อ การมีอยู่ด้วยขณะทำพินัยกรรมไม่ถือเป็นพยาน
พยานในพินัยกรรมซึ่งจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้นไม่ได้ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1653วรรคหนึ่ง หมายถึงพยานซึ่งต้องลงลายมือชื่อในแบบพินัยกรรมที่ทำขึ้นนั้น ส่วนการที่จำเลยซึ่งเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั่งอยู่ด้วยในขณะที่ผู้ทำพินัยกรรมทำพินัยกรรม แต่มิได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานในพินัยกรรม หาเป็นพยานในพินัยกรรมตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่ พินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่ตกเป็นโมฆะ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5404/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานทำพินัยกรรม: การมีอยู่จริงกับการลงลายมือชื่อตามกฎหมาย
พยานในพินัยกรรมซึ่งจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้นไม่ได้ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1653วรรคหนึ่ง หมายถึงพยานซึ่งต้องลงลายมือชื่อในแบบพินัยกรรมที่ทำขึ้นนั้น ส่วนการที่จำเลยซึ่งเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั่งอยู่ด้วยในขณะที่ผู้ทำพินัยกรรมทำพินัยกรรม แต่มิได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานในพินัยกรรม หาเป็นพยานในพินัยกรรมตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่ พินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่ตกเป็นโมฆะ.