คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1656

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 173 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 336/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมสมบูรณ์แม้มีผู้รับทรัพย์ลงนามเป็นพยาน แต่สิทธิรับทรัพย์เป็นโมฆะ
การที่ผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมลงนามเป็นพยานในพินัยกรรมด้วยนั้นมีผลทำให้เป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้นไม่ได้แต่สภาพแห่งการลงนามเป็นพยานในพินัยกรรมนั้นและพินัยกรรมนั้นยังสมบูรณ์อยู่สำหรับผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมที่ไม่ได้ลงนามเป็นพยานด้วยผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมลงนามเป็นผู้รับมอบทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้นได้ไม่ถือว่าการลงนามนั้นเป็นพยานในพินัยกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1783/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมแบบพิมพ์นิ้วมือ: การรับรองลายพิมพ์นิ้วมือและสติของผู้ทำพินัยกรรม
พินัยกรรมแบบธรรมดา มีพยาน 4 คนลงลายมือชื่อไว้ท้ายลายพิมพ์นิ้วมือของเจ้ามรดก แต่ปรากฏว่าก่อนถึงลายเซ็นของพยานมีข้อความระบุไว้ด้วยว่าผู้ส่งพินัยกรรมได้ลงชื่อหรือพิมพ์นิ้วมือต่อหน้าข้าพเจ้าด้วย ดังนี้ ไม่จำเป็นจะต้องมีพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือโดยตรงต่างหากอีก
เรื่องสติของผู้ทำพินัยกรรมดีหรือไม่ ย่อมเป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องพิจารณาในเมื่อมีการโต้เถียงกัน ตามกฎหมายไม่ได้บังคับว่าพินัยกรรมจะต้องมีข้อความว่าพยานรับรองสติของผู้ทำพินัยกรรม
ตามปกติการพิมพ์ลายนิ้วมือก็ควรจะมีลายนิ้วมือปรากฏอยู่ด้วย แต่ลายพิมพ์นิ้วมือของเจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรมแม้จะไม่มีลายนิ้วมือเพราะเป็นโรคเรื้อน แต่เมื่อมีพยานลงลายมือชื่อรับรองถูกต้อง และข้อเท็จจริงก็ฟังได้ว่าเจ้ามรดกได้พิมพ์ลายนิ้วมือไว้จริงแล้ว ลายพิมพ์นิ้วมือนั้นย่อมใช้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1769/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือนาซาร์: พินัยกรรมภายใต้กฎหมายอิสลาม ผลย้อนหลังและการแบ่งมรดก
ผู้ตายทำพินัยกรรม (นาซาร์) ปรารถนาจะให้ทรัพย์แก่โจทก์เมื่อตาย และโจทก์ยังไม่ได้ทรัพย์นั้นโดยการครอบครอง ทรัพย์นั้นยังคงเป็นของผู้ตายอยู่จนกระทั่งตาย และเป็นทรัพย์มรดกที่จะแบ่งปันตามกฎหมายอิสลาม (โจทก์จำเลยและผู้ตายเป็นอิสลามศาสนิก และ เป็นคดีของศาลจังหวัดปัตตานี) เมื่อทรัพย์นั้นเป็นมรดกดะโต๊ะยุติธรรมต้องใช้กฎหมายอิสลามมาปรับแก่คดี
เจ้ามรดกทำหนังสือนาซาร์ไว้ หนังสือนี้เป็นพินัยกรรมหรือไม่ การแบ่งมรดกจะต้องแบ่งตามหนังสือนาซาร์หรือจะตกได้แก่ทายาท เป็นเรื่องของกฎหมายอิสลาม ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลาม
เมื่อดะโต๊ะยุติธรรมวินิจฉัยว่าหนังสือนาซาร์นี้เป็นพินัยกรรมมีผลเมื่อผู้ทำยกให้ตายแล้วแต่มิใช่พินัยกรรมธรรมดาที่เรียกว่า "วาซียะ" เพราะผลนั้นย้อนหลังไปถึงวันที่กำหนดคือ ก่อนเจ็บตาย 3 วัน ซึ่งเป็นอำนาจของพินัยกรรมชนิดนี้ตามกฎหมายอิสลามก็ต้องเป็นไปตามนั้นและคำวินิจฉัยย่อมเด็ดขาด ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยใหม่ว่าเป็นการยกให้โดยมองผลย้อนหลังไม่ได้ เพราะหนังสือนี้มีผลเมื่อผู้ทำตาย จึงไม่เป็นการยกให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1358/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พิพากษาพินัยกรรมโมฆะเนื่องจากไม่ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนด และข้อตกลงสละมรดกที่ไม่สมบูรณ์
พินัยกรรมตามแบบมาตรา 1656 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้นจึงจะสมบูรณ์ จึงต้องฟังข้อเท็จจริง (ให้) ได้ (ความ) ว่า มีการกระทำถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด มิใช่เพียงแต่ฟังตามตัวหนังสือที่เขียนขึ้นไว้ พินัยกรรมที่มีบันทึกผู้รู้เห็นเป็นพยาน 5 คน แต่คนหนึ่งในจำนวนนี้ไม่ได้ลงชื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างพยานที่ลงชื่อ 4 คนนี้มาสืบว่า 3 คนในจำนวนนี้เซ็นชื่อลับหลังผู้ทำพินัยกรรม คงมีคนเดียวที่ผู้ทำพินัยกรรมพิมพ์ลายมือต่อหน้า ดังนี้ แม้จะเป็นการสืบพยานแก้ไขข้อความในเอกสาร แต่ก็เป็นการนำสืบเพื่อแสดงความไม่สมบูรณ์ของเอกสารนั้น ย่อมนำสืบได้
ก.จำเลยกับ ฮ.บุตรของเจ้ามรดกตกลงแบ่งมรดกกัน โดย ก.จำเลยตกลงแบ่งที่ดินหมายเลข 4 ให้ฮ. ฮ.ก็ตกลงแบ่งที่ดินหมายเลข 5 ให้ ก. จำเลย และต่างทำเป็นหนังสือสละมรดกโดยต่างทำให้แก่กัน เมื่อปรากฏว่า ก.ไม่ใช่ทายาทของเจ้ามรดก เพราะเป็นแต่สะใภ้ไม่มีอำนาจแบ่งมรดกได้ ข้อตกลงนี้ก็ไม่สมบูรณ์ และหนังสือนี้เป็นแต่ข้อตกลงในการแบ่งทรัพย์มรดกเท่านั้น มิใช่เป็นการสละมรดกตามกฎหมาย เพราะยังมีข้อผูกพันจะต้องแบ่งมรดกบางส่วนตอบแทนให้ ฮ. ทายาทอื่นที่มิใช่คู่สัญญาหามีสิทธิจะอ้างข้อตกลงนี้ (หนังสือที่ฮ.ทำ) เป็นประโยชน์แก่ตนไม่
พินัยกรรมที่ทำขึ้นผิดแบบตามมาตรา 1656 เป็นโมฆะตามมาตรา 1705 ไม่เป็นพินัยกรรมเสียแล้ว ความเสียเปล่านี้ผู้มีส่วนได้เสียจะกล่าวอ้างขึ้นก็ได้ หาต้องฟ้องขอให้เพิกถอนไม่ ตามมาตรา 1710 ใช้เฉพาะเมื่อเป็นพินัยกรรมแล้วเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1358/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของพินัยกรรม, หนังสือสละมรดกที่ไม่สมบูรณ์, และผลของพินัยกรรมที่ทำผิดแบบ
พินัยกรรมตามแบบมาตรา 1656 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานทั้งสองนั้นต้องลงลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้นจึงจะสมบูรณ์ จึงต้องฟังข้อเท็จจริง (ให้) ได้ (ความ) ว่า มีการกระทำถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด มิใช่เพียงแต่ฟังตามตัวหนังสือที่เขียนขึ้นไว้ พินัยกรรมที่มีบันทึกผู้รู้เห็นเป็นพยาน 5 คน แต่คนหนึ่งในจำนวนนี้ไม่ได้ลงชื่อ คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างพยานที่ลงชื่อ 4 คนนี้มาสืบว่า 3 คนในจำนวนนี้เซ็นชื่อลับหลังผู้ทำพินัยกรรม คงมีคนเดียวที่ผู้ทำพินัยกรรมพิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้า ดังนี้ แม้จะเป็นการสืบพยานแก้ไขข้อความในเอกสารแต่ก็เป็นการนำสืบเพื่อแสดงความไม่สมบูรณ์ของเอกสารนั้น ย่อมนำสืบได้
ก. จำเลย กับ ฮ. บุตรของเจ้ามรดก ตกลงแบ่งมรดกกัน โดย ก. จำเลยตกลงแบ่งที่ดินหมายเลข 4 ให้ ฮ. ฮ. ก็ตกลงแบ่งที่ดินหมายเลข 5 ให้ ก. จำเลย และต่างทำเป็นหนังสือสละมรดกโดยต่างทำให้แก่กัน เมื่อปรากฏว่า ก. ไม่ใช่ทายาทของเจ้ามรดก เพราะเป็นแต่สะใภ้ไม่มีอำนาจแบ่งมรดกได้ ข้อตกลงนี้ก็ไม่สมบูรณ์ และหนังสือนี้เป็นแต่ข้อตกลงในการแบ่งทรัพย์มรดกเท่านั้น มิใช่เป็นการสละมรดกตามกฎหมาย เพราะยังมีข้อผูกพันจะต้องแบ่งมรดกบางส่วนตอบแทนให้ ฮ.ทายาทอื่นที่มิใช่คู่สัญญามีสิทธิจะอ้างข้อตกลงนี้ (หนังสือที่ ฮ.ทำ) เป็นประโยชน์แก่ตนไม่
พินัยกรรมที่ทำขึ้นผิดแบบตามมาตรา 1656 เป็นโมฆะตามมาตรา 1705 ไม่เป็นพินัยกรรมเสียแล้ว ความเสียเปล่านี้ผู้มีส่วนได้เสียจะกล่าวอ้างขึ้นก็ได้ หากต้องฟ้องขอให้เพิกถอนไม่ มาตรา 1710 ใช้เฉพาะเมื่อเป็นพินัยกรรมแล้วเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิมรดก & การเสนอคดี: แม้มิขอคืนทรัพย์ ศาลต้องรับคดีและคิดค่าขึ้นศาลตามราคาทรัพย์สินที่พิพาท
การที่โจทก์กล่าวในฟ้องว่าตนมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายนั้น ย่อมหมายความว่าสิทธิของโจทก์ก็คือสิทธิที่จะรับมรดกของผู้ตายให้ตกทอดมายังตนตั้งแต่เจ้ามรดกตาย ดังนั้น แม้โจทก์จะขอเพียงให้ทำลายพินัยกรรม หาได้ขอให้ศาลพิพากษาให้เอาทรัพย์ที่จำเลยโต้แย้งคืนมาเป็นของโจทก์ไม่ก็ตาม แต่โจทก์ก็บรรยายฟ้องแล้วว่า ก่อนตายเจ้ามรดกมีทรัพย์สินเป็นมรดกหลายอย่าง ทุกข์ของโจทก์ที่ตั้งข้อพิพาทก็คือ กล่าวอ้างว่าที่ดิน 2 แปลงตามโฉนดเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ โดยตกทอดมาจากผู้ตาย แต่จำเลยเอาไปเสีย โดยอ้างว่าผู้ตายทำพินัยกรรมยกให้ อย่างนี้แสดงว่าโจทก์ได้กล่าวอ้างให้ปรากฏแล้วว่าได้มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโจทก์เสนอคดีต่อศาลได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
ทุกข์ของโจทก์ที่กล่าวมาก็คือ การที่ไม่ได้ที่ดิน 2 แปลงนั้นจึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 150 ประกอบตาราง 1(1) ต้องคิดค่าขึ้นศาลตามราคาทรัพย์สินที่พิพาท การที่โจทก์ไม่ได้ขอเรียกกรรมสิทธิ์ที่ดิน 2 แปลงนั้นเป็นความผิดของโจทก์เอง จะเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์หาได้ไม่ (อ้างคำสั่งที่ 1559/2492)ส่วนจะพิพากษาให้เกินคำขอได้หรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 25/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แม้โจทก์มิได้ขอคืนทรัพย์ แต่การฟ้องมีประเด็นโต้แย้งสิทธิในทรัพย์สิน จึงต้องคิดค่าขึ้นศาลตามราคาทรัพย์
(1) การที่โจทก์กล่าวในฟ้องว่าตนมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย นั้น ย่อมหมายความว่า สิทธิของโจทก์ก็คือ สิทธิที่จะรับมรดกของผู้ตายให้ตกทอดมายังตนตั้งแต่เจ้ามรดกตาย ดังนั้น แม้โจทก์จะขอเพียงให้ทำลายพินัยกรรม แต่หาได้ขอให้ศาลพิพากษาให้เอาทรัพย์ที่จำเลยโแย้งคืนมาเป็นของโจทก์ไม่ก็ตาม แต่โจทก์ก็บรรยายฟ้องแล้วว่า ก่อนตายเจ้ามรดกมีทรัพย์สินเป็นมรดกหลายอย่าง ทุกข์ของโจทก์ที่ตั้งข้อพิพาท ก็คือ กล่าวอ้างว่าที่ดิน 2 แปลงตามโฉนดเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ โดยตกทอดมาจากผู้ตาย แต่จำเลยเอาไปเสีย โดยอ้างว่าผู้ตายทำพินัยกรรมยกให้ อย่างนี้แสดงว่าโจทก์ได้กล่าวอ้างให้ปรากฎแล้วว่าได้มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน โจทก์เสนอคดีต่อศาลได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55
(2) ทุกข์ของโจทก์ที่กล่าวมา ก็คือ การที่ไม่ได้ที่ดิน 2 แปลงนั้น จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 150 ประกอบตาราง (1) 1 ต้องคิดค่าขึ้นศาลตามราคาทรัพย์สินที่พิพาท การที่โจทก์ไม่ได้ขอเรียกกรรมสิทธิ์ที่ดิน 2 แปลงนั้น เป็นความผิดของโจทก์เอง จะเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์หาได้ไม่ (อ้างคำสั่งที่ 1559/2493) ส่วนจะเป็นการพิพากษาให้เกินคำขอหรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 25/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิมพ์ลายนิ้วมือทับรอยเดิมในพินัยกรรม ไม่ถือเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลง
ผู้ทำพินัยกรรม (เจ้ามรดก) ได้พิมพ์ลายนิ้วมือทับรอยพิมพ์นิ้วมือที่ลงไว้ไม่ชัดอีกครั้งหนึ่ง แม้ลายพิมพ์นิ้วมือนี้จะเลอะเลือนจนดูไม่ชัด ก็ไม่กลายเป็นแกงได และการกระทำเช่นนี้หาเป็นการขูดลบตกเติมแก้ไขเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 81/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์พินัยกรรมปลอม สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่ได้รับการรับรอง
โจทก์อ้างว่า ผู้วายชนม์ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ จำเลยต่อสู้ว่า พินัยกรรมนั้นปลอม เช่นนี้ เป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องนำสืบให้ได้ความว่า พินัยกรรมที่อ้างนี้ไม่ปลอม
การเชื่อฟังพยานหลักฐานในข้อที่ว่าลายมือชื่อในพินัยกรรมเป็นลายมือ ชื่ออันแท้จริงของผู้ทำพินัยกรรมหรือไม่ นั้น ตามปกติควรเชื่อคำประจักษ์พยานยิ่งกว่าคำผู้เชี่ยวชาญ การพิสูจน์หลักฐาน เพราะประจักษ์พยานเป็นผู้ได้ยินกับหูเห็นด้วยตาของตนเอง ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงเหตุผลต่าง ๆ ประกอบให้พอเชื่อฟังได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 81/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์พินัยกรรมปลอมและสิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่ได้รับการรับรอง
โจทก์อ้างว่า ผู้วายชนม์ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์จำเลยต่อสู้ว่าพินัยกรรมนั้นปลอมเช่นนี้เป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องนำสืบให้ได้ความว่า พินัยกรรมที่อ้างนี้ไม่ปลอม
การเชื่อฟังพยานหลักฐานในข้อที่ว่าลายมือชื่อในพินัยกรรมเป็นลายมือชื่ออันแท้จริงของผู้ทำพินัยกรรมหรือไม่นั้น ตามปกติควรเชื่อคำประจักษ์พยานยิ่งกว่าคำผู้เชี่ยวชาญการพิสูจน์หลักฐานเพราะประจักษ์พยานเป็นผู้ได้ยินกับหูเห็นด้วยตาของตนเองทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงเหตุผลต่างๆประกอบให้พอเชื่อฟังได้ด้วย
of 18