คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 190

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 126 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14087/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการแก้ไขโทษหลังคดีถึงที่สุด: ผลของ พ.ร.บ.ล้างมลทิน และข้อยกเว้น ป.วิ.อ. มาตรา 190
ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2550 ว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2), 66 วรรคสอง จำคุก 7 ปี และปรับ 400,000 บาท เพิ่มโทษกึ่งหนึ่งเป็นจำคุก 10 ปี 6 เดือน และปรับ 600,000 บาท ลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุก 5 ปี 3 เดือน และปรับ 300,000 บาท ต่อมาวันที่ 4 มิถุนายน 2551 จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องว่าจำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์ตาม พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 จึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ได้นั้น เห็นว่า คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษและเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 จนคดีถึงที่สุดแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขการเพิ่มโทษในคดีหลังได้ และเมื่อศาลอ่านคำพิพากษาจนคดีถึงที่สุดแล้ว ศาลนั้นจะแก้ไขคำพิพากษาเกี่ยวกับการเพิ่มโทษหาได้ไม่ เพราะไม่ใช่การแก้ไขถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาดซึ่งขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 190 และกรณีดังกล่าวไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.อ. มาตรา 3 (1) ที่จะทำให้ศาลมีอำนาจยกคดีขึ้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2553)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13063/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วมาขอแก้ไขบทลงโทษในภายหลัง เป็นการขัดต่อหลักวิธีพิจารณาความอาญา
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยแล้ว หากจำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยไม่ถูกต้องหรือจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวนน้อยกว่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 9 ในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 และมาตรา 198 แต่จำเลยมิได้ใช้สิทธิดังกล่าวกลับมายื่นคำร้องขอให้ศาลแก้ไขปรับบทลงโทษและกำหนดโทษจำเลยใหม่ โดยเลี่ยงอ้างว่าเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ดังนี้ หากศาลฟังตามที่จำเลยอ้างแล้ววินิจฉัยให้ใหม่ ย่อมมีผลเป็นการแก้ไข คำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 190 ที่บัญญัติห้ามมิให้แก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งอ่านแล้ว นอกจากแก้ถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9812/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์: ศาลมีอำนาจแก้ไขถ้อยคำผิดพลาดได้ หากไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่มีข้อวินิจฉัยเกี่ยวกับดุลพินิจในการกำหนดโทษของจำเลยที่ 1 ในความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 72 ทวิ วรรคสอง แต่ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 1 ปี สำหรับความผิดฐานดังกล่าว กรณีจึงเป็นความผิดหลงหรืออีกนัยหนึ่งเขียนคำพิพากษาในส่วนที่กำหนดโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานดังกล่าวผิดพลาดไป ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ชอบที่จะแก้ไขถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาดให้ถูกต้องได้โดยมิได้เป็นการแก้ไขคำวินิจฉัยในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 190 ประกอบมาตรา 215 ทั้ง ป.วิ.อ. ได้บัญญัติวิธีพิจารณาในกรณีแก้ไขถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาดไว้แล้ว จึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 143 มาใช้บังคับกับกรณีดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9535/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษทางอาญาหลังศาลตัดสินแล้ว: จำเลยต้องใช้สิทธิอุทธรณ์เท่านั้น การยื่นคำร้องใหม่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 แล้ว หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษแก่จำเลยที่ 1 ไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 1 ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 8 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 แต่จำเลยที่ 1 มิได้ใช้สิทธิดังกล่าว กลับมายื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดโทษจำเลยที่ 1 ใหม่ โดยเลี่ยงอ้างว่าเป็นการบังคับคดีให้ถูกต้องตามกฎหมาย ดังนี้ หากศาลฟังตามที่จำเลยที่ 1 อ้างแล้ววินิจฉัยกำหนดโทษจำเลยที่ 1 ใหม่ ย่อมมีผลเป็นการแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 190 ซึ่งห้ามมิให้แก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งอ่านแล้วนอกจากถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7173/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษจำคุกหลังคดีถึงที่สุดแล้วเป็นไปไม่ได้ แม้จะมีข้อกฎหมายหรือคำพิพากษาใหม่ที่อาจเป็นประโยชน์ต่อจำเลย
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยแล้ว หากจำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำคุกสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้หรือกำหนดโทษไม่ถูกต้อง จำเลยชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาไปยังศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 แต่จำเลยมิได้ใช้สิทธิจนคดีถึงที่สุดไปแล้ว จึงมายื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดโทษจำเลยใหม่ ดังนี้ หากศาลกำหนดโทษจำเลยใหม่ ย่อมมีผลเป็นการแก้ไขคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้วขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 190 ซึ่งห้ามมิให้แก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งอ่านแล้วนอกจากถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7014/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับแก้บทลงโทษหลังคดีถึงที่สุด ศาลไม่อำนาจแก้ไขคำพิพากษา แม้กฎหมายเปลี่ยนแปลง
ขณะจำเลยที่ 3 กระทำความผิดคดีนี้ มาตรา 15 และ มาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 ใช้บังคับแล้ว กรณีจึงมิใช่เรื่องกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดตามบทบัญญัติใน ป.อ. มาตรา 3 แต่เป็นกรณีบังคับใช้กฎหมายลงโทษจำเลยที่ 3 เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วหากจำเลยที่ 3 เห็นว่าศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยที่ 3 ไม่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้ จำเลยที่ 3 ชอบที่ใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 แต่จำเลยที่ 3 มิได้ใช้สิทธิดังกล่าวจนคดีถึงที่สุดไปนานแล้ว จำเลยที่ 3 จึงมายื่นคำร้องขอให้ศาลปรับบทลงโทษและกำหนดโทษจำเลยที่ 3 ใหม่ โดยอ้างข้อกฎหมายตาม ป.อ. มาตรา 3 ดังนี้หากศาลฟังข้อกฎหมายตามที่จำเลยที่ 3 อ้างแล้ววินิจฉัยปรับบทลงโทษและกำหนดโทษจำเลยที่ 3 ใหม่ ย่อมมีผลเป็นการแก้ไขคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้วขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 190 ซึ่งห้ามมิให้แก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งอ่านแล้วนอกจากถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3030/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พ.ร.บ.ล้างมลทิน: การเพิ่มโทษหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้ มิชอบ
พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษาฯ มาตรา 4 บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปก่อนหรือในวันที่ พ.ร.บ. ฉบับนี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณความผิดนั้นๆ ดังนั้น เมื่อความผิดที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ได้ต้องโทษและพ้นโทษแล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ. ดังกล่าวใช้บังคับอันเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดแล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับประโยชน์ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว แม้ พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษาฯ มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และคดีจำเลยที่ 1 จะถึงที่สุดไปก่อนวันที่ พ.ร.บ. ดังกล่าวใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่ปัญหาว่าเมื่อมี พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษาฯ ใช้บังคับแล้วจะเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ได้หรือไม่ เป็นปัญหาในชั้นบังคับคดีเพื่อบังคับให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว ไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่อย่างใด กรณีมีเหตุที่จะไม่เพิ่มโทษจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7790/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พ.ร.บ.ล้างมลทินกระทบโทษเดิม แม้คดีถึงที่สุดแล้ว หากยังไม่เริ่มบังคับคดี ศาลต้องกำหนดโทษใหม่
พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 มาตรา 4 บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีที่ความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าบุคคลนั้นไม่เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ต้องโทษและพ้นโทษในคดีอาญาที่เป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นนำมาเป็นเหตุเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 มิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้นๆ ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงมิอาจเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 93 (8) ได้ แม้คดีจะถึงที่สุดแล้วก็ตาม แต่การบังคับคดียังไม่เสร็จสิ้น เพื่อให้การบังคับคดีเป็นไปโดยถูกต้องตามพระราชบัญญัติดังกล่าว กรณีมีเหตุที่จะไม่เพิ่มโทษและกำหนดโทษจำเลยที่ 1 ใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7654/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทความผิดในคดีกระทำชำเราเด็ก และการลงโทษตามบทที่มีอัตราโทษสูงกว่า การแก้ไขบทโดยไม่แก้โทษเป็นวิธีที่ไม่ชอบ
การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต ศาลชั้นต้นต้องลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ตามฟ้องโจทก์ แม้ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก ซึ่งมีระวางโทษจำคุกต่ำกว่า เป็นการปรับบทผิดโดยพลั้งเผลอ แต่ศาลชั้นต้นก็ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต อันเป็นการถูกต้องตามอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม หากศาลอุทธรณ์ภาค 6 เห็นว่าสมควรแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะแก้เฉพาะในส่วนที่เห็นว่าไม่ถูกต้อง เมื่อศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ไม่ถูกต้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 6 จึงควรแก้ไขโดยปรับบทความผิดให้ถูกต้องเป็นมาตรา 277 วรรคสาม โดยไม่จำเป็นต้องแก้โทษ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่แก้บท แต่กลับไปแก้โทษที่ศาลชั้นต้นพิพากษามาถูกต้องแล้ว จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2530/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพ.ร.บ.ทางหลวง: ศาลฎีกายกข้อกฎหมายล้าสมัย แก้โทษจำเลยตามกฎหมายใหม่
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ.2535 มาตรา 61, 73 แต่ขณะจำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2549 กฎหมายดังกล่าวถูกยกเลิกไปแล้ว โดย พ.ร.บ.ทางหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 มาตรา 25 และมาตรา 29 แต่มาตรา 61 ทั้งพระราชบัญญัติทางหลวงฉบับเดิมและฉบับที่มีการแก้ไขใหม่ ยังบัญญัติเป็นบทความผิด ส่วนบทกำหนดโทษตาม มาตรา 73 บัญญัติเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติทางหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 มาตรา 30 เป็นมาตรา 73/2 ดังนั้น การกระทำของจำเลยตามฟ้องยังคงถือเป็นความผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ เพียงแต่มาตรา 73/2 กำหนดโทษหนักกว่าโทษตามมาตรา 73 ของกฎหมายเดิม การที่โจทก์ยังคงขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ.2535 มาตรา 61 และมาตรา 73 โดยโจทก์ไม่ได้อ้างบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ เป็นเพียงการอ้างบทบัญญัติกฎหมายผิดพลาดไปเท่านั้น
การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติของกฎหมายที่ถูกยกเลิกไปแล้วซึ่งไม่ถูกต้อง เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
of 13