คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 190

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 126 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 840/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อในคดีความผิดหลายกรรมเกี่ยวกับการยักยอกทรัพย์และปลอมแปลงเอกสาร โดยมีลักษณะแห่งคดีความผิดอย่างเดียวกัน
ขณะที่จำเลยกระทำความผิดคดีนี้และคดีอาญา 35 คดี ดังกล่าว จำเลยเป็นกรรมการกองทุนหมู่บ้านซึ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยด้วยในทุกคดี โดยจำเลยถือโอกาสที่เป็นกรรมการกองทุนหมู่บ้านกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์และเอกสารโดยมีเจตนาเพื่อเบียดบังเอาเงินของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านที่มอบหมายให้จำเลยนำไปชำระหนี้กองทุนหมู่บ้านไปเป็นประโยชน์ส่วนตนลักษณะแห่งคดีและความผิดเป็นอย่างเดียวกัน ซึ่งโจทก์อาจยื่นฟ้องจำเลยทุกกระทงความผิดเป็นสำนวนเดียวกันได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 วรรคหนึ่ง การนับโทษต่อจึงต้องอยู่ในบังคับของ ป.อ. มาตรา 91 (2)
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยและออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดโดยให้นับโทษต่อรวมแล้วเกิน 20 ปี คดีถึงที่สุดแล้ว หากปรากฏว่าการนับโทษต่อขัดต่อ ป.อ. มาตรา 91 (1) ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมมีคำสั่งแก้ไขหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดใหม่ให้ถูกต้องได้ ไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้น เพราะเป็นเรื่องการบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5917/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อในคดีความผิดเกี่ยวกับการยักยอกทรัพย์และปลอมแปลงเอกสาร เมื่อรวมโทษแล้วเกิน 20 ปี
ขณะที่จำเลยกระทำความผิดคดีนี้และคดีอาญาอีก 32 คดี จำเลยเป็นกรรมการกองทุนหมู่บ้าน บ. มีเจตนาเบียดบังเอาเงินของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน บ. ที่มอบหมายให้จำเลยนำไปชำระหนี้กองทุนหมู่บ้าน บ. ไปเป็นประโยชน์ส่วนตน ลักษณะแห่งคดีและความผิดเป็นอย่างเดียวกัน ซึ่งโจทก์อาจยื่นฟ้องจำเลยทุกกระทงความผิดเป็นสำนวนเดียวกันได้ คดีนี้และคดีอาญาอีก 32 คดี จึงมีความเกี่ยวพันกันจนอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 วรรคหนึ่ง การนับโทษต่อจึงต้องอยู่ในบังคับของ ป.อ. มาตรา 91 (2) กล่าวคือ เมื่อรวมโทษจำคุกทุกกระทงแล้วจะเกินกว่า 20 ปี ไม่ได้
แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยและออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดโดยให้นับโทษคดีนี้ต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 111/2547 ของศาลชั้นต้น รวมแล้วเกิน 20 ปี จนคดีถึงที่สุดแล้วก็ตาม หากปรากฏว่าการนับโทษต่อดังกล่าวขัดต่อ ป.อ. มาตรา 91 (2) ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมมีคำสั่งแก้ไขหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดใหม่ เป็นไม่นับโทษต่อจากโทษในคดีดังกล่าวได้ไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่อย่างใด เพราะเป็นเรื่องการบังคับคดีที่ศาลจะต้องออกหมายบังคับคดีถึงที่สุดให้ถูกต้องตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อผิดพลาดในการพิมพ์คำพิพากษาโทษจำคุก ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขได้หากไม่เป็นผลร้ายต่อจำเลย
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2547 ศาลชั้นต้นได้พิจารณาพิพากษาคดีนี้โดยลงโทษจำคุกจำเลยเป็นเวลา 3 ปี และลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุก 1 ปี 6 เดือน ตามร่างคำพิพากษา เอกสารลำดับที่ 13/1 ที่ปรากฏอยู่ในสำนวน แต่เมื่อทำการจัดพิมพ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นตามร่างคำพิพากษาดังกล่าวได้พิมพ์จำนวนโทษจำคุกจำเลยภายหลังจากลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 แล้ว คงจำคุกจำเลยเพียง 6 เดือน ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ลำดับที่ 13/2 ที่ปรากฏในสำนวนนั้น เป็นเรื่องพิมพ์ตัวเลขผิดพลาดตกระยะเวลาไป 1 ปี โทษจำคุกจำเลยจึงเหลือเพียง 6 เดือน ดังนั้น ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวให้ถูกต้องตามความจริงได้โดยไม่ต้องมีคู่ความฝ่ายใดร้องขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 190 ประกอบมาตรา 215 และไม่ถือเป็นผลร้ายแก่จำเลยแต่อย่างใด อีกทั้งไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์หรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5377/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษทางอาญา: เหตุบรรเทาโทษ, การปรับบทลงโทษ, และอัตราโทษขั้นต่ำ
ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยว่าคดีมีเหตุบรรเทาโทษและเห็นสมควรลดโทษให้แก่จำเลยที่ 2 ทั้งมิได้พิพากษาให้ลดโทษแก่จำเลยที่ 2 ข้อที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าควรจะมีข้อความว่ามีเหตุอันควรปรานี มีเหตุบรรเทาโทษ และลดโทษให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นการอ้างข้อเท็จจริงเพิ่มเติมจากคำพิพากษาศาลชั้นต้น ไม่ใช่การแก้ไขถ้อยคำที่พิมพ์ผิดพลาด แต่เป็นการแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งอ่านแล้ว ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 190
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 181(1) คำว่า "เป็นการกระทำในกรณีแห่งข้อหาว่าผู้ใดกระทำความผิดที่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีขึ้นไป" นั้น หมายความว่ากรณีแห่งข้อหาว่าผู้ใดกระทำความผิดจะต้องมีอัตราโทษขั้นต่ำจำคุกสามปีเป็นอย่างน้อยที่สุด แต่การที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์กับพวกโดยมีข้อหาว่าโจทก์กระทำความผิดฐานบุกรุกทำให้เสียทรัพย์และลักทรัพย์ ขอให้ลงโทษตามมาตรา 365(2)(3) ประกอบด้วยมาตรา 362 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ตามมาตรา 358 ซึ่งมีระวางโทษจำคุก ไม่เกินสามปี และมาตรา 335(7) ซึ่งต้องระวางโทษตามมาตรา 335 วรรคหนึ่ง จำคุกตั้งแต่หนึ่งถึงห้าปี อัตราโทษขั้นต่ำแต่ละฐานความผิดดังกล่าวไม่ถึงสามปี การเบิกความเท็จของจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องด้วยกรณีที่ต้องรับโทษหนักขึ้นตามมาตรา 181(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4658/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขชื่อจำเลยในคำพิพากษาและการลงโทษความผิดเครื่องหมายการค้า
โจทก์ฟ้องบริษัทรุ่งชัยอะไหล่เทรดดิ้ง จำกัด เป็นจำเลยที่ 1 ที่คำพิพากษาของศาลชั้นต้นระบุชื่อจำเลยที่ 1 ในช่องคู่ความว่าบริษัทรุ่งชัยเทรดดิ้ง จำกัดจึงเป็นกรณีการพิมพ์ผิดพลาดซึ่งชอบที่จะแก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 190 ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจที่จะแก้ไขคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4658/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดเครื่องหมายการค้า: การแก้ไขชื่อจำเลยที่พิมพ์ผิดพลาด และการเป็นตัวการร่วม
โจทก์ฟ้องและดำเนินคดีแก่บริษัทรุ่งชัยอะไหล่ เทรดดิ้ง จำกัด เป็นจำเลยที่ 1 และนาง ร. กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทดังกล่าวเป็นจำเลยที่ 2 ดังนั้นที่คำพิพากษาศาลชั้นต้นระบุชื่อจำเลยที่ 1 ในช่องคู่ความว่า บริษัทรุ่งชัย เทรดดิ้ง จำกัด จึงเป็นกรณีการพิมพ์ผิดพลาดซึ่งชอบที่จะแก้ไขได้ตาม ป.วิ.อ. มาตารา 190 ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจที่จะแก้ไขคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้ถูกต้องดังกล่าวได้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ดังโจทก์ฟ้อง จำเลยทั้งสองจึงเป็นตัวการร่วมกันตาม ป.อ. มาตรา 83 โดยไม่ต้องปรับบทตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 114 อีก แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นนิติบุคคลและจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4658/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขชื่อจำเลยในคำพิพากษา และการร่วมกระทำความผิดทางอาญา
โจทก์ฟ้องและดำเนินคดีแก่บริษัทรุ่งชัยอะไหล่ เทรดดิ้ง จำกัด เป็นจำเลยที่ 1 และนาง ร. กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทดังกล่าวเป็นจำเลยที่ 2 ดังนั้นที่คำพิพากษาศาลชั้นต้นระบุชื่อจำเลยที่ 1 ในช่องคู่ความว่า บริษัทรุ่งชัย เทรดดิ้ง จำกัด จึงเป็นกรณีการพิมพ์ผิดพลาดซึ่งชอบที่จะแก้ไขได้ตาม ป.วิ.อ. มาตารา 190 ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจที่จะแก้ไขคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้ถูกต้องดังกล่าวได้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง จำเลยทั้งสองจึงเป็นตัวการร่วมกันตาม ป.อ. มาตรา 83 โดยไม่ต้องปรับบทตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตารา 114 อีก แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นนิติบุคคลและจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 286/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาศาลฎีกาเนื่องจากข้อผิดพลาดในการระบุตัวจำเลย
คู่ความที่ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1คือ จำเลยที่ 1 และที่ 3 ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ได้ฎีกาคำพิพากษาศาลฎีกาที่กล่าวถึงจำเลยที่ 2 เป็นเพราะการพิมพ์ผิดพลาด หาใช่ผิดพลาดในเนื้อหาสาระไม่ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาดเช่นนี้ให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 190

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6509/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำอนาจารผู้เยาว์หลายกรรมต่างกัน ศาลฎีกาแก้ไขบทลงโทษเป็นความผิดหลายกระทง
ผู้เสียหายทั้งสองซึ่งเป็นหญิงออกจากงานเลี้ยงจะกลับบ้านให้จำเลยขับรถไปส่งบ้าน จำเลยตกลงรับไปส่งแต่จำเลยกลับขับรถพาผู้เสียหายทั้งสองไปกระทำอนาจารที่กระท่อมกลางทุ่งนา แม้จะพาไปในคราวเดียวกันแต่ก็เป็นการกระทำต่อผู้เสียหายแต่ละคนโดยเฉพาะโดยเจตนาจะให้เกิดผลต่างกรรมกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้คู่ความมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้แต่การปรับบทลงโทษจำเลยเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาพิพากษาแก้ไขให้ถูกต้องโดยลงโทษเท่าเดิมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2355/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษซ้ำซ้อนในคดีอาญาที่เกี่ยวพันกัน และอำนาจแก้ไขคำสั่งบังคับคดี
คดีนี้กับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 5750/2529 ของศาลชั้นต้นมีลักษณะแห่งคดีและความผิดเป็นอย่างเดียวกับที่จำเลยถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีดังกล่าว คดีทั้งสองสำนวนมีความเกี่ยวพันโดยอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ เมื่อโจทก์แยกฟ้องคดีนี้กับคดีที่ขอให้นับโทษต่อโดยศาลมิได้สั่งรวมการพิจารณาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกัน หากศาลลงโทษจำคุกจำเลยทุกกรรมเต็มตามที่กำหนดไว้ใน ป.อ.มาตรา 91 (2) ในสำนวนใดสำนวนหนึ่งแล้ว ก็ไม่อาจนับโทษต่อในอีกสำนวนหนึ่งได้เพราะจะทำให้จำเลยต้องรับโทษเกินกว่าที่ ป.อ.มาตรา 91 (2) กำหนดไว้
ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดแก่จำเลยแล้ว หากปรากฏว่าการนับโทษขัดต่อกฎหมาย ศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งแก้ไขได้ เพราะไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษา แต่เป็นเรื่องการบังคับคดีซึ่งศาลชั้นต้นต้องออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดให้ถูกต้องตามกฎหมาย
of 13