พบผลลัพธ์ทั้งหมด 126 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5875/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษจำคุกเกิน 50 ปี กรณีความผิดหลายกรรมต่อผู้เสียหายต่างกัน ศาลมีอำนาจแก้ไขหมายจำคุกให้ถูกต้องตามกฎหมาย
แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาลงโทษจำเลย และออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุด โดยให้นับโทษคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยในคดีอื่นรวมแล้วเกิน 50 ปี จนคดีถึงที่สุดแล้ว หากปรากฏว่าการนับโทษต่อดังกล่าวขัดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) ศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งแก้ไขหมายจำคุกคดีถึงที่สุดใหม่ได้ ไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาเพราะเป็นเรื่องการบังคับคดีที่ศาลชั้นต้นต้องออกหมายบังคับคดีถึงที่สุดให้ถูกต้องตามกฎหมาย การนับโทษจำคุกของจำเลยต่อจากโทษในคดีอื่นได้ไม่เกิน 50 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(1) ต้องปรากฏว่าคดีอื่นเป็นการกระทำความผิดในลักษณะที่เกี่ยวพันกันกับคดีนี้จนอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ เมื่อคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ ผู้เสียหายทั้ง 2 คดี ไม่ใช่บุคคลเดียวกัน คดีทั้ง 2 คดีไม่เกี่ยวพันกันและไม่อาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ จึงนับโทษต่อโดยรวมโทษจำคุกทั้งสิ้นเกิน50 ปีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1516/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำบังคับศาลเพื่อรอการลงโทษ: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขคำบังคับที่ผิดพลาดได้ตามหลักวิธีพิจารณาความอาญา
คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เห็นได้ว่า ประสงค์จะรอการลงโทษให้จำเลยแต่ไม่ปรากฏในคำบังคับของศาลอุทธรณ์ว่าให้รอการลงโทษจำเลย ข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นเพราะความผิดหลง หรือเขียนคำบังคับผิดพลาดไป ซึ่งศาลอุทธรณ์ชอบที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 190 มิได้มีข้อห้ามไว้ว่าถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาดข้อไหนแก้ได้หรือไม่ประการใด จึงน่าจะทำได้ทำนองเดียวกับที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 เมื่อข้อความที่แก้ไขหรือขยายความมิได้กลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หากแต่แก้คำบังคับที่ผิดพลาดให้ถูกต้องจึงย่อมทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 190
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1365/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษจำคุกต่อจากคดีอื่นต้องเป็นคดีที่เกี่ยวพันกันและรวมโทษแล้วไม่เกิน 20 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2)
การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยและออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุด โดยให้นับโทษต่อจากโทษของจำเลยในคดีอื่นอีกรวมแล้วเกิน 20 ปีเมื่อปรากฏว่าการนับโทษต่อดังกล่าวขัดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) ศาลชั้นต้นย่อมจะมีคำสั่งแก้ไขหมายจำคุกคดีถึงที่สุดใหม่ เป็นให้นับโทษคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยคดีอื่นดังกล่าวโดยรวมโทษจำคุกทั้งสิ้นไม่เกิน 20 ปี ได้ไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาแต่อย่างใด เพราะเป็นเรื่องการบังคับคดีที่ศาลชั้นต้นจะต้องออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดให้ถูกต้องตามกฎหมาย การนับโทษต่อจากโทษในคดีอื่นได้ไม่เกิน 20 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) นั้น ต้องปรากฏว่าคดีอื่นดังกล่าวเป็นการกระทำผิดในลักษณะที่เกี่ยวพันกันกับคดีนี้จนอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1365/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อคดีอื่นต้องมีความเกี่ยวพันกัน หากไม่มีความเกี่ยวพัน การรวมโทษเกิน 20 ปีทำได้
การนับโทษต่อจากโทษของจำเลยในคดีอื่นได้ไม่เกิน 20 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) นั้น ต้องปรากฏว่าคดีอื่นนั้นเป็นการกระทำความผิดในลักษณะที่เกี่ยวพันกันกับคดีที่ขอให้นับโทษต่อจนอาจจะฟ้องเป็นคดีเดียวกัน หรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ปรากฏว่าผู้เสียหายทั้ง 5 คดีก่อนไม่ใช่บุคคลเดียวกันกับผู้เสียหายในคดีนี้ พยานหลักฐานทั้ง 5 คดีก่อนก็ไม่ใช่พยานหลักฐานชุดเดียวกันกับคดีนี้ ทั้ง 5 คดีดังกล่าวไม่เกี่ยวพันกันกับคดีนี้จนอาจจะฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้จึงนับโทษคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยทั้ง 5 คดีดังกล่าว โดยรวมโทษจำคุกทั้งสิ้นเกิน 20 ปีได้ แม้ศาลชั้นต้นจะได้ออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดแล้วก็ตาม หากปรากฏว่าการนับโทษต่อขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 91(2) แห่งประมวลกฎหมายอาญา ศาลชั้นต้นย่อมจะมีคำสั่งแก้ไขหมายจำคุกคดีถึงที่สุดใหม่ได้ ไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาเพราะเป็นเรื่องการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3387/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษจำคุกหลังคดีถึงที่สุดขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว หากจำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นกำหนดโทษโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ แต่จำเลยหาได้ใช้สิทธิดังกล่าวไม่ จนคดีถึงที่สุดไปแล้ว ดังนี้ จำเลยจะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้กำหนดโทษใหม่ให้น้อยลงโดยอ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) อีกไม่ได้ เพราะจะมีผลเป็นการแก้ไขคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 190
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2525/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงิน ผู้ร่วมกระทำผิดมีส่วนรับผิดชอบ
คำว่า "ผู้ใดออกเช็ค" ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 มาตรา 3 นั้น มิได้หมายความว่า ผู้ที่จะมีความผิดคือผู้ออกเช็คเท่านั้น แต่อาจจะมีผู้ที่ร่วมกระทำผิดด้วยกันกับผู้ออกเช็ค และถือว่าเป็นตัวการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ได้
จำเลยที่ 2 เป็นหนี้เงินยืมโจทก์และนำเช็คพิพาทที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงชื่อสั่งจ่ายมากรอกข้อความต่อหน้าโจทก์ แล้วลงชื่อสลักหลังมอบเช็คพิพาทให้แก่โจทก์เป็นการชำระหนี้เงินยืมโดยรับรองว่าเช็คพิพาทสามารถนำไปขึ้นเงินได้แน่นอน เช่นนี้ เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดด้วยกันกับจำเลยที่ 1 ผู้ออกเช็คพิพาทโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497 มาตรา 3 แต่ศาลล่างพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2499 เป็นเรื่องพิมพ์ผิดพลาด ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นให้ตรงตามบทกฎหมายที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 190 ประกอบกับมาตรา 215 และ 225 และไม่ถือเป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 2 แต่อย่างใด
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยที่ 2 ได้วางเงินจำนวนตามเช็คต่อสำนักงานวางทรัพย์กลาง กระทรวงยุติธรรม และได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินจำนวนดังกล่าวแล้วเป็นการบรรเทาผลร้ายที่เกิดขึ้น ประกอบกับจำเลยที่ 2 ไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน เมื่อคำนึงถึงอายุและประวัติของจำเลยที่ 2 ที่เป็นข้าราชการบำนาญ ได้รับพระราชทานยศครั้งสุดท้ายเป็นพลโทและเกษียณราชการโดยไม่มีประวัติด่างพร้อยด้วยแล้ว ศาลฎีการอการลงโทษให้
จำเลยที่ 2 เป็นหนี้เงินยืมโจทก์และนำเช็คพิพาทที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงชื่อสั่งจ่ายมากรอกข้อความต่อหน้าโจทก์ แล้วลงชื่อสลักหลังมอบเช็คพิพาทให้แก่โจทก์เป็นการชำระหนี้เงินยืมโดยรับรองว่าเช็คพิพาทสามารถนำไปขึ้นเงินได้แน่นอน เช่นนี้ เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดด้วยกันกับจำเลยที่ 1 ผู้ออกเช็คพิพาทโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497 มาตรา 3 แต่ศาลล่างพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2499 เป็นเรื่องพิมพ์ผิดพลาด ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นให้ตรงตามบทกฎหมายที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 190 ประกอบกับมาตรา 215 และ 225 และไม่ถือเป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 2 แต่อย่างใด
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยที่ 2 ได้วางเงินจำนวนตามเช็คต่อสำนักงานวางทรัพย์กลาง กระทรวงยุติธรรม และได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินจำนวนดังกล่าวแล้วเป็นการบรรเทาผลร้ายที่เกิดขึ้น ประกอบกับจำเลยที่ 2 ไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน เมื่อคำนึงถึงอายุและประวัติของจำเลยที่ 2 ที่เป็นข้าราชการบำนาญ ได้รับพระราชทานยศครั้งสุดท้ายเป็นพลโทและเกษียณราชการโดยไม่มีประวัติด่างพร้อยด้วยแล้ว ศาลฎีการอการลงโทษให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2525/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมกันออกเช็คผิดกฎหมาย แม้ไม่ใช่ผู้ออกเช็คโดยตรง ศาลพิจารณาลดโทษจากความเสียหายที่ชดใช้
คำว่า "ผู้ใดออกเช็ค" ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 นั้นมิได้หมายความว่า ผู้ที่จะมีความผิดคือผู้ออกเช็คเท่านั้น แต่อาจจะมีผู้ที่ร่วมกระทำผิดด้วยกันกับผู้ออกเช็ค และถือว่าเป็นตัวการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ได้ จำเลยที่ 2 เป็นหนี้เงินยืมโจทก์และนำเช็คพิพาทที่จำเลยที่ 1เป็นผู้ลงชื่อสั่งจ่ายมากรอกข้อความต่อหน้าโจทก์ แล้วลงชื่อสลักหลังมอบเช็คพิพาทให้แก่โจทก์เป็นการชำระหนี้เงินยืมโดยรับรองว่าเช็คพิพาทสามารถนำไปขึ้นเงินได้แน่นอน เช่นนี้ เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดด้วยกันกับจำเลยที่ 1 ผู้ออกเช็คพิพาทโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 แต่ศาลล่างพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2499 เป็นเรื่องพิมพ์ผิดพลาด ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นให้ตรงตามบทกฎหมายที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 190ประกอบกับมาตรา 215 และ 225 และไม่ถือเป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 2แต่อย่างใด ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยที่ 2 ได้วางเงินจำนวนตามเช็คต่อสำนักงานวางทรัพย์กลาง กระทรวงยุติธรรม และได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินจำนวนดังกล่าวแล้ว เป็นการบรรเทาผลร้ายที่เกิดขึ้นประกอบกับจำเลยที่ 2 ไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน เมื่อคำนึงถึงอายุและประวัติของจำเลยที่ 2 ที่เป็นข้าราชการบำนาญ ได้รับพระราชทานยศครั้งสุดท้ายเป็นพลโทและเกษียณราชการโดยไม่มีประวัติด่างพร้อยด้วยแล้ว ศาลฎีการอการลงโทษให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 193-194/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษจำคุกที่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดหลังคำพิพากษาถึงที่สุด ศาลไม่อาจแก้ไขได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 50 ปี คดีถึงที่สุดแล้ว และไม่ปรากฏว่ามีการเขียนหรือพิมพ์ผิดพลาด จำเลยจะร้องขอให้แก้ไขคำพิพากษานั้นหาได้ไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5665/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาคดีกัญชา: ลงโทษตามฟ้อง แม้ศาลชั้นต้น-อุทธรณ์ผิดพลาด
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษในความผิดที่โจทก์มิได้บรรยายในฟ้อง เมื่อมีอุทธรณ์ของจำเลยขึ้นมา และศาลอุทธรณ์ต้องพิจารณา ว่า เป็นความผิดกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบทหรือไม่ ถ้าเห็นว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาผิดพลาดก็ต้องแก้ไขให้ตรงตามความจริงเพราะเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย
ศาลยกขึ้นอ้างเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 เมื่อ ศาลอุทธรณ์ไม่แก้ให้ตรงความเป็นจริง ศาลฎีกาย่อมพิพากษา ความผิดให้ตรงตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมาได้โดยไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่
จำเลยมีกัญชาไว้ในความครอบครอง และพยายามนำกัญชาดังกล่าว ออกนอกราชอาณาจักร เป็นความผิดกรรมเดียว แต่ผิดกฎหมายหลายบท ศาลต้องลงโทษฐานพยายามนำกัญชาออกนอกราชอาณาจักร อันเป็นบทหนักที่สุด
ศาลยกขึ้นอ้างเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 เมื่อ ศาลอุทธรณ์ไม่แก้ให้ตรงความเป็นจริง ศาลฎีกาย่อมพิพากษา ความผิดให้ตรงตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมาได้โดยไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่
จำเลยมีกัญชาไว้ในความครอบครอง และพยายามนำกัญชาดังกล่าว ออกนอกราชอาณาจักร เป็นความผิดกรรมเดียว แต่ผิดกฎหมายหลายบท ศาลต้องลงโทษฐานพยายามนำกัญชาออกนอกราชอาณาจักร อันเป็นบทหนักที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5665/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาลงโทษผิดกระทง ศาลฎีกาแก้ไขให้ตรงตามฟ้องและลงโทษกรรมเดียว
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษในความผิดที่โจทก์มิได้บรรยายในฟ้อง เมื่อมีอุทธรณ์ของจำเลยขึ้นมา และศาลอุทธรณ์ต้องพิจารณา ว่า เป็นความผิดกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบทหรือไม่ ถ้าเห็นว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาผิดพลาดก็ต้องแก้ไขให้ตรงตามความจริงเพราะเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลยกขึ้นอ้างเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 เมื่อ ศาลอุทธรณ์ไม่แก้ให้ตรงความเป็นจริง ศาลฎีกาย่อมพิพากษา ความผิดให้ตรงตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมาได้โดยไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่
จำเลยมีกัญชาไว้ในความครอบครอง และพยายามนำกัญชาดังกล่าว ออกนอกราชอาณาจักร เป็นความผิดกรรมเดียว แต่ผิดกฎหมายหลายบท ศาลต้องลงโทษฐานพยายามนำกัญชาออกนอกราชอาณาจักร อันเป็นบทหนักที่สุด
จำเลยมีกัญชาไว้ในความครอบครอง และพยายามนำกัญชาดังกล่าว ออกนอกราชอาณาจักร เป็นความผิดกรรมเดียว แต่ผิดกฎหมายหลายบท ศาลต้องลงโทษฐานพยายามนำกัญชาออกนอกราชอาณาจักร อันเป็นบทหนักที่สุด