พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7289/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมามีผลผูกพันแม้ไม่มีสัญญาเป็นหนังสือ, การกระทำโดยสุจริต, และความร่วมรับผิดของจำเลย
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า สัญญาจ้างเหมาพิพาทไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 เพราะยังมิได้ทำเป็นหนังสือตามเจตนาของคู่สัญญา ประเด็นปัญหานี้ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า แม้ว่า กิจการร่วมค้า จ. และจำเลยที่ 1 มีเจตนาว่าสัญญาจ้างเหมาอันมุ่งจะทำต่อกันนั้นต้องทำเป็นหนังสือ แต่ก่อนที่กิจการร่วมค้า จ. และจำเลยที่ 1 จะทำสัญญาเป็นหนังสือดังเจตนาที่มีอยู่เดิม ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ส่งโทรสารแจ้งไปยังกรรมการผู้จัดการ กิจการร่วมค้า จ. ว่าให้เริ่มงานตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2556 เป็นต้นไป กิจการร่วมค้า จ. จึงเริ่มทำงานตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2556 จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลโดยมีจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจคนหนึ่ง จำเลยที่ 3 จึงมีฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ตามกฎหมาย ประกอบกับหนังสือที่ส่งทางโทรสารยังใช้แบบพิมพ์ที่มีหัวกระดาษระบุชื่อจำเลยที่ 1 จึงรับฟังว่าจำเลยที่ 3 กระทำในนามของจำเลยที่ 1 ดังนั้นจำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันตามข้อความในหนังสือดังกล่าว นอกจากนี้ ภ. พยานจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจคนหนึ่งของจำเลยที่ 1 ก็เบิกความตอบคำถามค้านของทนายโจทก์ยอมรับว่า หลังจากกิจการร่วมค้า จ. เริ่มทำงานแล้ว กิจการร่วมค้า จ. ได้วางแคชเชียร์เช็คเป็นมูลค่าร้อยละ 5 ตามสัญญา ซึ่งจำเลยที่ 1 รับไปเรียบร้อยแล้ว จากข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 และกิจการร่วมค้า จ. ปฏิบัติต่อกันเช่นนี้ เท่ากับว่ามีการตกลงกันใหม่โดยผ่อนผันไม่ต้องทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกันเป็นการชั่วคราว และสัญญาจ้างเหมาเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือมิฉะนั้นเป็นโมฆะ ดังนั้น ถือได้ว่าสัญญาจ้างเหมาดังกล่าวมีผลผูกพันจำเลยที่ 1
ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่า พฤติการณ์ตามที่ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยฟังว่าคู่สัญญามีเจตนาตกลงกันใหม่โดยผ่อนผันไม่ต้องทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกันเป็นการชั่วคราว ล้วนเกิดจากความไม่สุจริตของโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 มิได้ยินยอมด้วยนั้น แม้จำเลยที่ 1 มิได้ให้การเป็นข้อต่อสู้ไว้ แต่ปัญหาว่าการใช้สิทธิโดยสุจริตหรือไม่ เป็นเรื่องอำนาจฟ้อง เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นนี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดี ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ย่อมไม่ชอบ และศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่ ป.พ.พ. มาตรา 6 บัญญัติให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต ดังนั้น จำเลยที่ 1 ย่อมมีภาระหน้าที่ต้องพิสูจน์ให้เห็นถึงความไม่สุจริตของโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างเพียงว่า การกระทำของจำเลยที่ 3 ตามพฤติการณ์ที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกขึ้นนั้น เป็นการกระทำโดยพลการอันเกิดจากการชี้นำของโจทก์ เพราะโจทก์ทราบข้อมูลภายในของจำเลยที่ 1 ว่ายังไม่อาจดำเนินการโครงการตามสัญญาจ้างเหมาพิพาทได้ เนื่องจากอยู่ระหว่างการจัดหาที่ดินเพื่อส่งมอบให้โจทก์ โดยไม่ปรากฏรายละเอียดว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตชี้นำจำเลยที่ 3 อย่างไร เท่ากับข้ออ้างของจำเลยที่ 1 เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ ปราศจากพยานหลักฐานสนับสนุน ง่ายแก่การกล่าวอ้าง ลำพังเพียงคำเบิกความของจำเลยที่ 3 ที่ว่า กรรมการของจำเลยที่ 2 เป็นผู้ใหญ่ของโจทก์ก่อนที่จำเลยที่ 3 จะมาทำงานกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 เคยทำงานให้จำเลยที่ 2 มาก่อน และจำเลยที่ 2 เป็นผู้แต่งตั้งให้จำเลยที่ 3 มาเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 หรือการที่โจทก์ว่าจ้างบุคคลภายนอกให้ทำงานมูลค่าเป็นสิบล้านบาทในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะสั่งให้ชะลอโครงการ ก็ไม่เป็นเหตุผลเพียงพอที่จะพิสูจน์ให้เห็นถึงความไม่สุจริตของโจทก์ได้ ประการสำคัญที่สุดหากจำเลยที่ 1 เห็นว่าการกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นการกระทำโดยพลการอันเกิดจากการชี้นำของโจทก์ จำเลยที่ 1 ชอบที่จะปฏิเสธว่าสัญญาจ้างเหมาพิพาทยังไม่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ต้น แต่จำเลยที่ 1 ก็หากระทำไม่ ตรงกันข้ามกลับมีหนังสือขอให้กิจการร่วมค้า จ. ชะลองานและการทำสัญญาโครงการออกไปก่อน ตามหนังสือฉบับลงวันที่ 18 เมษายน 2556 อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงการเกิดขึ้นของสัญญาจ้างเหมาพิพาทแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คดีนี้จำเลยที่ 1 มิได้อยู่ในฐานะเป็นคู่ความคนละฝ่ายกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยที่โจทก์มิได้อุทธรณ์
ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่า พฤติการณ์ตามที่ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยฟังว่าคู่สัญญามีเจตนาตกลงกันใหม่โดยผ่อนผันไม่ต้องทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกันเป็นการชั่วคราว ล้วนเกิดจากความไม่สุจริตของโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 มิได้ยินยอมด้วยนั้น แม้จำเลยที่ 1 มิได้ให้การเป็นข้อต่อสู้ไว้ แต่ปัญหาว่าการใช้สิทธิโดยสุจริตหรือไม่ เป็นเรื่องอำนาจฟ้อง เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นนี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดี ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ย่อมไม่ชอบ และศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่ ป.พ.พ. มาตรา 6 บัญญัติให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต ดังนั้น จำเลยที่ 1 ย่อมมีภาระหน้าที่ต้องพิสูจน์ให้เห็นถึงความไม่สุจริตของโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างเพียงว่า การกระทำของจำเลยที่ 3 ตามพฤติการณ์ที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกขึ้นนั้น เป็นการกระทำโดยพลการอันเกิดจากการชี้นำของโจทก์ เพราะโจทก์ทราบข้อมูลภายในของจำเลยที่ 1 ว่ายังไม่อาจดำเนินการโครงการตามสัญญาจ้างเหมาพิพาทได้ เนื่องจากอยู่ระหว่างการจัดหาที่ดินเพื่อส่งมอบให้โจทก์ โดยไม่ปรากฏรายละเอียดว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตชี้นำจำเลยที่ 3 อย่างไร เท่ากับข้ออ้างของจำเลยที่ 1 เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ ปราศจากพยานหลักฐานสนับสนุน ง่ายแก่การกล่าวอ้าง ลำพังเพียงคำเบิกความของจำเลยที่ 3 ที่ว่า กรรมการของจำเลยที่ 2 เป็นผู้ใหญ่ของโจทก์ก่อนที่จำเลยที่ 3 จะมาทำงานกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 เคยทำงานให้จำเลยที่ 2 มาก่อน และจำเลยที่ 2 เป็นผู้แต่งตั้งให้จำเลยที่ 3 มาเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 หรือการที่โจทก์ว่าจ้างบุคคลภายนอกให้ทำงานมูลค่าเป็นสิบล้านบาทในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะสั่งให้ชะลอโครงการ ก็ไม่เป็นเหตุผลเพียงพอที่จะพิสูจน์ให้เห็นถึงความไม่สุจริตของโจทก์ได้ ประการสำคัญที่สุดหากจำเลยที่ 1 เห็นว่าการกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นการกระทำโดยพลการอันเกิดจากการชี้นำของโจทก์ จำเลยที่ 1 ชอบที่จะปฏิเสธว่าสัญญาจ้างเหมาพิพาทยังไม่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ต้น แต่จำเลยที่ 1 ก็หากระทำไม่ ตรงกันข้ามกลับมีหนังสือขอให้กิจการร่วมค้า จ. ชะลองานและการทำสัญญาโครงการออกไปก่อน ตามหนังสือฉบับลงวันที่ 18 เมษายน 2556 อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงการเกิดขึ้นของสัญญาจ้างเหมาพิพาทแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คดีนี้จำเลยที่ 1 มิได้อยู่ในฐานะเป็นคู่ความคนละฝ่ายกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยที่โจทก์มิได้อุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8081/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าจนอาจทำให้สาธารณชนสับสน
พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญากระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 3 ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญา(จำเลยที่ 1) มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) ปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า มาตรา 4 กำหนดให้กองตรวจสอบ 2ซึ่งมีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบเพื่อการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 5(3)(ก) เป็นส่วนราชการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและควบคุมดูแลการดำเนินการของกองตรวจสอบ 2เกี่ยวกับการตรวจสอบเพื่อการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ส่วนจำเลยที่ 10เป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีอำนาจหน้าที่รับหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2534 เมื่อจำเลยที่ 10 มีคำวินิจฉัยให้ดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ยื่นคัดค้านไว้และคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีมติยืนตามคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 10 โดยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ารวมทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 10เป็นจำเลยต่อศาลได้
เครื่องหมายการค้าของบริษัทสันติภาพ(ฮั่วเพ้ง1958) จำกัดภาษาไทย คำว่า คอฟ-ทีกับเครื่องหมายการค้าคำว่าค๊อฟ-ซี่ ของโจทก์คู่หนึ่ง และเครื่องหมายการค้าของบริษัทสันติภาพ(ฮั่วเพ้ง1958) จำกัดอักษรโรมัน คำว่า KOF-T กับเครื่องหมายการค้าคำว่า COFCY ของโจทก์อีกคู่หนึ่งนั้นต่างมีสำเนียงเสียงอ่านที่ใกล้เคียงกันมาก และมี 2 พยางค์เหมือนกัน การออกเสียงเรียกขานชื่อเครื่องหมายการค้าทั้งสองคำดังกล่าวอาจทำให้คนทั่วไปเข้าใจผิดได้เนื่องจากคนไทยไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ และผู้ซื้อสินค้าอาจจะไม่ได้ดูชื่อที่เขียนอยู่บนห่อสินค้านั้นเพราะเป็นสินค้าที่มีราคาไม่มากตัวอักษรที่นำมาประกอบเป็นเครื่องหมายการค้าทั้งอักษรไทยและอักษรโรมันต่างก็มีจำนวนตัวอักษรที่เกือบจะเท่ากันแม้ตัวอักษรบางตัวและลีลาการเขียนตัวอักษรจะแตกต่างกันบ้าง แต่ก็ไม่ใช่ข้อแตกต่างที่เห็นเด่นชัด เครื่องหมายการค้าของบริษัทสันติภาพ(ฮั่วเพ้ง1958) จำกัด และเครื่องหมายการค้าของโจทก์ต่างใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันและมีรายการสินค้าเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันความสับสนหลงผิดย่อมเกิดขึ้นได้โดยง่ายโดยเฉพาะในหมู่ผู้ซื้อที่ไม่ทันสังเกตหรือเป็นผู้ที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษหรือรู้เพียงเล็กน้อยซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า ค๊อฟ-ซี่ และ COFCY รวมทั้งผลิตสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวออกจำหน่ายแก่คนทั่วไปมาหลายปีแล้ว บริษัทสันติภาพ(ฮั่วเพ้ง1958) จำกัด จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า คอฟ-ที และ KOF-Tใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันกับของโจทก์อีกไม่ได้เพราะเครื่องหมายการค้าทั้งสองเหมือนหรือคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้
เครื่องหมายการค้าของบริษัทสันติภาพ(ฮั่วเพ้ง1958) จำกัดภาษาไทย คำว่า คอฟ-ทีกับเครื่องหมายการค้าคำว่าค๊อฟ-ซี่ ของโจทก์คู่หนึ่ง และเครื่องหมายการค้าของบริษัทสันติภาพ(ฮั่วเพ้ง1958) จำกัดอักษรโรมัน คำว่า KOF-T กับเครื่องหมายการค้าคำว่า COFCY ของโจทก์อีกคู่หนึ่งนั้นต่างมีสำเนียงเสียงอ่านที่ใกล้เคียงกันมาก และมี 2 พยางค์เหมือนกัน การออกเสียงเรียกขานชื่อเครื่องหมายการค้าทั้งสองคำดังกล่าวอาจทำให้คนทั่วไปเข้าใจผิดได้เนื่องจากคนไทยไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ และผู้ซื้อสินค้าอาจจะไม่ได้ดูชื่อที่เขียนอยู่บนห่อสินค้านั้นเพราะเป็นสินค้าที่มีราคาไม่มากตัวอักษรที่นำมาประกอบเป็นเครื่องหมายการค้าทั้งอักษรไทยและอักษรโรมันต่างก็มีจำนวนตัวอักษรที่เกือบจะเท่ากันแม้ตัวอักษรบางตัวและลีลาการเขียนตัวอักษรจะแตกต่างกันบ้าง แต่ก็ไม่ใช่ข้อแตกต่างที่เห็นเด่นชัด เครื่องหมายการค้าของบริษัทสันติภาพ(ฮั่วเพ้ง1958) จำกัด และเครื่องหมายการค้าของโจทก์ต่างใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันและมีรายการสินค้าเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันความสับสนหลงผิดย่อมเกิดขึ้นได้โดยง่ายโดยเฉพาะในหมู่ผู้ซื้อที่ไม่ทันสังเกตหรือเป็นผู้ที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษหรือรู้เพียงเล็กน้อยซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า ค๊อฟ-ซี่ และ COFCY รวมทั้งผลิตสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวออกจำหน่ายแก่คนทั่วไปมาหลายปีแล้ว บริษัทสันติภาพ(ฮั่วเพ้ง1958) จำกัด จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า คอฟ-ที และ KOF-Tใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันกับของโจทก์อีกไม่ได้เพราะเครื่องหมายการค้าทั้งสองเหมือนหรือคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7168/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการบริษัทร่วมรับผิดในหนี้จากการทำนิติกรรมร่วมกัน แม้ไม่ได้ลงนามในสัญญาโดยตรง
แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน บริษัทจำเลยที่ 1 ก็มิได้หมายความว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะทำนิติกรรมใด ๆ เป็นส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่ 1 ไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันหรือแทนกันจ้างโจทก์ ผลิตเครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนอะไหล่ของเครื่องปรับอากาศ แล้วผิดสัญญาไม่ชำระค่าจ้าง ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าจ้างแก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะให้การว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเพียงกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว แต่ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ทนายจำเลยทั้งสี่แถลงรับข้อเท็จจริงว่าเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องจริงคำแถลงของทนายจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวเป็นการสละข้อต่อสู้ในคำให้การข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันจ้างโจทก์ผลิตเครื่องปรับอากาศชิ้นส่วนอะไหล่ของเครื่องปรับอากาศ และยังค้างชำระค่าจ้างจำนวนตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันหรือแทนกันจ้างโจทก์ ผลิตเครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนอะไหล่ของเครื่องปรับอากาศ แล้วผิดสัญญาไม่ชำระค่าจ้าง ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าจ้างแก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะให้การว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเพียงกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว แต่ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ทนายจำเลยทั้งสี่แถลงรับข้อเท็จจริงว่าเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องจริงคำแถลงของทนายจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวเป็นการสละข้อต่อสู้ในคำให้การข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันจ้างโจทก์ผลิตเครื่องปรับอากาศชิ้นส่วนอะไหล่ของเครื่องปรับอากาศ และยังค้างชำระค่าจ้างจำนวนตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3947/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขอคุ้มครองประโยชน์ตาม ป.ว.พ. มาตรา 264 สงวนเฉพาะคู่ความ ผู้ร้องสอดไม่มีสิทธิ
ผู้ที่จะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาตาม ป.วฺิ.พ.มาตรา 264 ต้องเป็นคู่ความในคดีที่ขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองนั้น ผู้ร้องสอดเพียงแต่ยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องสอดเท่ากับไม่อนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความแม้ผู้ร้องสอดจะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ผู้ร้องสอดก็ไม่มีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ตามมาตรา 264 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3872/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนัดสืบพยานนอกสถานที่และการขาดนัดพิจารณา ศาลต้องปฏิบัติตามขั้นตอนตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลนัดสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนโดยนัดแรกจำเลยขอให้ศาลไปเผชิญสืบที่พิพาทและศาลก็ได้ไปเผชิญสืบในวันที่จำเลยขอ ถือได้ว่าเป็นการสืบพยานและวันดังกล่าวเป็นวันสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(10) ดังนั้นการที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 6 ร่วมไปเผชิญสืบที่พิพาทในวันดังกล่าวย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้มาศาลในวันสืบพยานตามมาตรา 197 วรรคสองแล้ว แม้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 6 จะไม่มาศาลในวันสืบพยานจำเลยนัดต่อมาก็ตามก็ไม่เป็นการขาดนัดพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้จำนองในการบังคับคดีเหนือทรัพย์สิน แม้ไม่ยื่นคำร้องก่อนขายทอดตลาด และความชอบด้วยกฎหมายของการงดการไต่สวน
คำร้องของผู้ร้องฉบับก่อนเป็นการร้องขอให้บังคับชำระหนี้จำนองโดยอาศัยอำนาจของเจ้าหนี้จำนองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ส่วนคำร้องของผู้ร้องฉบับหลังเป็นการร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์จำนองตามป.วิ.พ. มาตรา 287 ซึ่งบัญญัติรับรองสิทธิของบุคคลภายนอกไว้ผู้ร้องยื่นคำร้องโดยอ้างเหตุตามบทกฎหมายคนละเหตุคนละมาตราเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกัน จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือร้องซ้ำ คำร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์จำนองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287ไม่ใช่คำฟ้องตามมาตรา 1(3) ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล คงเสียแต่ค่าคำร้องเหมือนคำร้องธรรมดา และการร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดหรืออนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จำนองจากเงินที่ขายทอดตลาดมิได้ขัดแย้งกัน ไม่ได้ทำให้คำร้องนั้นเสียไป ตามคำร้องหมายความว่าหากเพิกถอนการขายทอดตลาดไม่ได้ จึงขอให้ได้รับชำระหนี้จำนองจากเงินที่ขายทอดตลาด เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์จำนองตามป.วิ.พ. มาตรา 287 โดยเท้าความถึงคำร้องขอให้บังคับชำระหนี้จำนองโดยอาศัยสิทธิของเจ้าหนี้จำนองตามมาตรา 289 ฉบับก่อน ศาลชั้นต้นได้ส่งสำเนาคำร้องให้โจทก์ จำเลย ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดและเจ้าพนักงานบังคับคดี บุคคลดังกล่าวมีโอกาสคัดค้านคำร้องของผู้ร้องแล้ว ซึ่งตามคำคัดค้านของโจทก์นั้นก็มิได้ปฏิเสธข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยเป็นหนี้ผู้ร้องตามสัญญาจำนองว่าเป็นเงินเท่าใด และผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้จำนองนั้นหรือไม่ ดังนี้เมื่อศาลชั้นต้นได้พิเคราะห์คำร้องของผู้ร้อง คำคัดค้านของโจทก์กับผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดแล้วเห็นว่า คดีพอวินิจฉัยได้จึงให้งดการไต่สวนจึงเป็นการชอบแล้ว เพราะเป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาคดีได้ตามควรแก่กรณีแห่งเรื่องเพื่อให้คดี ดำเนินไปโดยรวดเร็วและยุติธรรม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 วรรคสอง เป็นแต่ให้อำนาจผู้รับจำนองที่จะยื่นคำร้องต่อศาลก่อนเอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาด แต่ถ้าไม่ยื่นภายในกำหนดดังกล่าวก็หาทำให้ผู้รับจำนองหมดสิทธิไปไม่ โดยการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิของผู้รับจำนอง ซึ่งอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินพิพาทได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 287 ฉะนั้นเมื่อเอาทรัพย์พิพาทขายโดยปลอดจำนองตามหนังสือแจ้งความประสงค์ของผู้ร้องและเมื่อขายทอดตลาดได้แล้ว ก็ต้องชำระหนี้จำนองให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4977/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัด: การแต่งตั้งโดยอธิบดีสงฆ์พม่าขัดต่อกฎหมายคณะสงฆ์
โจทก์เป็นวัดจึงต้องอยู่ในความปกครองของคณะสงฆ์ไทยตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และกฎมหาเถรสมาคมการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสของโจทก์ต้องปฏิบัติตามบทกฎหมายและกฎดังกล่าว ดังนั้น การที่อธิบดีสงฆ์พม่าแต่งตั้งพระ ณ.เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะมิใช่เป็นการแต่งตั้งตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และกฎมหาเถรสมาคม พระ ณ. จึงไม่มีอำนาจฟ้องในฐานะผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสของโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5449/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์: ยื่นผิดสำนวนแต่ยังอยู่ในกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ศาลอนุญาตได้
ผู้ร้องยื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ครั้งแรกในคดีที่ผู้ร้องเป็นโจทก์แทนที่จะยื่นในคดีที่มีการออกหมายบังคับคดีอันเป็นการยื่นผิดสำนวน แต่ศาลในคดีที่ออกหมายบังคับคดีกับศาลในคดีที่ผู้ร้องเป็นโจทก์เป็นศาลเดียวกันคือศาลแพ่ง ทั้งตามคำร้องของผู้ร้องดังกล่าวก็ได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าขอเฉลี่ยจากทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้อายัดไว้ในคดีนี้ ซึ่งถือได้ว่าผู้ร้องได้ยื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ครั้งแรกโดยทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลที่ออกหมายบังคับให้อายัดทรัพย์ของ จำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรคแรก ประกอบมาตรา 1(1) แล้ว
ผู้ร้องยื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ไว้ในคดีที่ผู้ร้องเป็นโจทก์ แม้ต่อมาศาลในคดีดังกล่าวได้มีคำสั่งยกคำขอเฉลี่ยทรัพย์ แต่ก็เพื่อที่จะให้ผู้ร้องมายื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีนี้เสียให้ถูกต้อง ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการไต่สวนคำร้องของผู้ร้องเท่านั้นหาทำให้สิทธิของผู้ร้องซึ่งได้ยื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลโดยชอบแล้วข้างต้นต้องเสียไปไม่ เมื่อคำขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องที่ได้ยื่นไว้ครั้งแรกยังไม่พ้นระยะเวลาตามกฎหมายแม้ผู้ร้องจะยื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีนี้ต้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ก็ตาม ก็ต้องถือว่าผู้ร้องได้ยื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว
ผู้ร้องยื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ไว้ในคดีที่ผู้ร้องเป็นโจทก์ แม้ต่อมาศาลในคดีดังกล่าวได้มีคำสั่งยกคำขอเฉลี่ยทรัพย์ แต่ก็เพื่อที่จะให้ผู้ร้องมายื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีนี้เสียให้ถูกต้อง ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการไต่สวนคำร้องของผู้ร้องเท่านั้นหาทำให้สิทธิของผู้ร้องซึ่งได้ยื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลโดยชอบแล้วข้างต้นต้องเสียไปไม่ เมื่อคำขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องที่ได้ยื่นไว้ครั้งแรกยังไม่พ้นระยะเวลาตามกฎหมายแม้ผู้ร้องจะยื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีนี้ต้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ก็ตาม ก็ต้องถือว่าผู้ร้องได้ยื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5449/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ที่ผิดสำนวน แต่ศาลรับรองสิทธิ เพราะยื่นต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีได้ถูกต้อง
ผู้ร้องยื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ครั้งแรกในคดีที่ผู้ร้องเป็นโจทก์แทนที่จะยื่นในคดีที่มีการออกหมายบังคับคดีอันเป็นการยื่นผิดสำนวน แต่ศาลในคดีที่ออกหมายบังคับคดีกับศาลในคดีที่ผู้ร้องเป็นโจทก์เป็นศาลเดียวกัน คือศาลแพ่ง ทั้งตามคำร้อง ของ ผู้ร้องดังกล่าวก็ได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าขอเฉลี่ยจากทรัพย์ของจำเลยที่ 2ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้อายัดไว้ในคดีนี้ จึงถือได้ว่าผู้ร้องได้ยื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ครั้งแรกโดยทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลที่ออกหมายบังคับให้อายัดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรคแรก ประกอบมาตรา 1(1) แล้ว ผู้ร้องยื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ไว้ในคดีที่ผู้ร้องเป็นโจทก์แม้ต่อมาศาลในคดีดังกล่าวได้มีคำสั่งยกคำขอเฉลี่ยทรัพย์ แต่ก็เพื่อที่จะให้ผู้ร้องมายื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีนี้เสียให้ถูกต้อง ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการไต่สวนคำร้อง ของ ผู้ร้องเท่านั้นหาทำให้สิทธิของผู้ร้องซึ่งได้ยื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลโดยชอบแล้วข้างต้นต้องเสียไปไม่ เมื่อคำขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องที่ได้ยื่นไว้ครั้งแรกยังไม่พ้นระยะเวลาตามกฎหมาย แม้ผู้ร้องจะยื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีนี้พ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ก็ตาม ก็ต้องถือว่าผู้ร้องได้ยื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีจากหนังสือมอบอำนาจเฉพาะการ แม้ฟ้องแล้วถอนฟ้อง ก็ยังใช้ได้
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่าให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจดำเนินคดีฟ้องร้องแต่งตั้งทนายเพื่อว่าต่างแก้ต่าง ฯลฯ มิใช่ใบมอบอำนาจทั่วไปแต่เป็นใบมอบอำนาจเฉพาะการเพื่อให้ฟ้องคดี และใบมอบอำนาจนี้มิได้ระบุเจาะจงว่าให้ฟ้องร้องได้เพียงรายหนึ่งรายใดโดยเฉพาะแม้โจทก์จะได้ใช้ใบมอบอำนาจนั้นฟ้องขับไล่จำเลยมาแล้วครั้งหนึ่งและถอนฟ้องไป ก็ไม่ทำให้ใบมอบอำนาจเสียไป