พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7290/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนโดยปริยาย อำนาจฟ้อง สัญญาจ้างเหมา: โจทก์ฟ้องผิดคู่ความ
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด โดยมีจำเลยที่ 2 และ ว. บุตรจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการ โดยกรรมการคนหนึ่งมีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทผูกพันจำเลยที่ 1 โจทก์ทำสัญญาจ้างเหมาจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคาร และทำสัญญาจ้างเหมาจำเลยที่ 2 ก่อสร้างอาคาร และทำสัญญาจ้างเหมาจำเลยที่ 2 จัดหาวัสดุก่อสร้างอาคาร
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้มีอำนาจคนหนึ่งของจำเลยที่ 1 โดยผู้ถือหุ้นจำเลยที่ 1 ส่วนใหญ่ คือ จำเลยที่ 2 กับภริยาและบุตรของจำเลยที่ 2 โจทก์ทำสัญญาสามฉบับ โดยฉบับแรกระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับจ้าง ฉบับที่สองและฉบับที่สามระบุชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับจ้าง การก่อสร้างตามสัญญาทั้งสามฉบับไม่มีการแยกคนงานและอุปกรณ์ว่าเป็นของจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะจำเลยที่ 2 ไม่มีผังคนงานและพนักงาน และการส่งมอบงานตามสัญญาทั้งสามฉบับรวมอยู่ในเล่มเดียวกัน โจทก์ประสงค์จะพัฒนาที่ดินให้เป็นโรงแรมและรีสอร์ท จึงประกาศหาผู้รับเหมาก่อสร้าง ต่อมาจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 กรรมการผู้มีอำนาจ เสนอตัวเข้าเป็นผู้รับเหมาตามแบบก่อสร้างตกลงราคาทั้งหมด โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อรับจ้างก่อสร้างโครงการทั้งหมดของโจทก์ และจำเลยที่ 1 ยินยอมให้จำเลยที่ 2 มาทำสัญญารับจ้างก่อสร้างตามสัญญาจ้างเหมาชุดที่ 2 และสัญญาจ้างวัสดุก่อสร้างชุดที่ 2 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการของโจทก์ ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนโดยปริยายของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดตามสัญญาจ้างเหมาฉบับที่สองและฉบับที่สาม และในทำนองเดียวกันจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนโดยปริยายของจำเลยที่ 1 ก็ไม่อาจอาศัยสิทธิตามสัญญาดังกล่าวฟ้องแย้งโจทก์ในนามตนเองได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 145 (5), 246 และมาตรา 246 (เดิม) ซึ่งใช้ในขณะยื่นฟ้อง
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้มีอำนาจคนหนึ่งของจำเลยที่ 1 โดยผู้ถือหุ้นจำเลยที่ 1 ส่วนใหญ่ คือ จำเลยที่ 2 กับภริยาและบุตรของจำเลยที่ 2 โจทก์ทำสัญญาสามฉบับ โดยฉบับแรกระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับจ้าง ฉบับที่สองและฉบับที่สามระบุชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับจ้าง การก่อสร้างตามสัญญาทั้งสามฉบับไม่มีการแยกคนงานและอุปกรณ์ว่าเป็นของจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะจำเลยที่ 2 ไม่มีผังคนงานและพนักงาน และการส่งมอบงานตามสัญญาทั้งสามฉบับรวมอยู่ในเล่มเดียวกัน โจทก์ประสงค์จะพัฒนาที่ดินให้เป็นโรงแรมและรีสอร์ท จึงประกาศหาผู้รับเหมาก่อสร้าง ต่อมาจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 กรรมการผู้มีอำนาจ เสนอตัวเข้าเป็นผู้รับเหมาตามแบบก่อสร้างตกลงราคาทั้งหมด โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อรับจ้างก่อสร้างโครงการทั้งหมดของโจทก์ และจำเลยที่ 1 ยินยอมให้จำเลยที่ 2 มาทำสัญญารับจ้างก่อสร้างตามสัญญาจ้างเหมาชุดที่ 2 และสัญญาจ้างวัสดุก่อสร้างชุดที่ 2 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการของโจทก์ ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนโดยปริยายของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดตามสัญญาจ้างเหมาฉบับที่สองและฉบับที่สาม และในทำนองเดียวกันจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนโดยปริยายของจำเลยที่ 1 ก็ไม่อาจอาศัยสิทธิตามสัญญาดังกล่าวฟ้องแย้งโจทก์ในนามตนเองได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 145 (5), 246 และมาตรา 246 (เดิม) ซึ่งใช้ในขณะยื่นฟ้อง