คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1057 (3)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดของหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดและการนำบทบัญญัติห้างหุ้นส่วนสามัญมาใช้
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด มีผู้เป็นหุ้นส่วน 6 คน คือ โจทก์ทั้งสี่ อ. สามีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 2 บริหารกิจการห้างฯ จำเลยที่ 1 ในลักษณะก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อมามีมติเสียงข้างมากให้โจทก์ที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแทนจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 2 ไม่ยื่นคำขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงต่อนายทะเบียน จำเลยที่ 2 ใช้อำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการในการลงมติแต่งตั้ง ถอดถอนกรรมการของบริษัท ผ. และบริษัท ท. ที่ห้างฯ จำเลยที่ 1 ถือหุ้นเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเองและพวก โจทก์ทั้งสี่และจำเลยที่ 2 ต่างฟ้องร้องดำเนินคดีแพ่งและอาญาจากมูลเหตุการบริหารงานของห้างฯ จำเลยที่ 1 โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 มีหนังสือฉบับลงวันที่ 24 มิถุนายน 2556 บอกเลิกห้างฯ เป็นเวลามากกว่า 6 เดือน ก่อนสิ้นรอบปีชำระบัญชีขอให้เลิกห้างและจัดการชำระบัญชีนั้น ตามคำฟ้องจึงเป็นการบรรยายสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ทั้งสี่และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯ จำเลยที่ 1 ได้กระทำล่วงละเมิดบทบังคับอันเป็นข้อสาระสำคัญซึ่งสัญญาหุ้นส่วนกำหนดไว้แก่โจทก์ทั้งสี่โดยจงใจ มีเหตุทำให้ห้างหุ้นส่วนนั้นเหลือวิสัยที่จะดำรงอยู่ต่อไปได้ แต่เมื่อบทบัญญัติในเรื่องห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่ได้กล่าวถึงว่าหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดมีสิทธิขอเลิกห้างฯ ได้หรือไม่ จึงต้องนำบทบัญญัติในเรื่องการเลิกห้างฯ ของห้างหุ้นส่วนสามัญมาใช้บังคับตามที่มาตรา 1080 บัญญัติไว้ และมีผลให้หุ้นส่วนคนใดอาจร้องขอให้ศาลสั่งเลิกห้างฯ ตามมาตรา 1057 (3) ได้ ดังนั้น โจทก์ทั้งสี่เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ย่อมมีอำนาจฟ้องขอเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. จำเลยที่ 1 และจัดการชำระบัญชีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1129/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรงอยู่ต่อไปได้ โจทก์มีอำนาจฟ้องได้โดยไม่ต้องบอกเลิกก่อน
การที่โจทก์ทั้งสามฟ้องคดีอ้างว่า มีเหตุอื่นใดๆ ทำให้ห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1057 (3) อันก่อสิทธิฟ้องคดีได้โดยสมบูรณ์หาใช่กรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนที่ตั้งขึ้นโดยไม่มีกำหนดการอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นยุติประสงค์จะเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญโดยไม่มีเหตุอันจะต้องดำเนินการตามมาตรา 1056 ประกอบมาตรา 1055 (4) ไม่ โจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้องโดยหาต้องดำเนินการตามมาตรา 1056 ก่อน
การที่จำเลยและโจทก์ที่ 3 หย่าขาดกันตามคำพิพากษาตามยอมนั้น หาอาจหมายความว่า โจทก์ทั้งสามและจำเลยตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน อันเป็นข้อยกเว้นไม่ต้องชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1061 ได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10068/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทหุ้นส่วน-เลิกห้างหุ้นส่วน: ความไม่ไว้วางใจและความเป็นไปไม่ได้ในการดำเนินกิจการต่อ
การที่โจทก์และจำเลยทั้งหกมีข้อพิพาทต่อกันหลายคดี รวมถึงการดำเนินกิจการโรงรับจำนำ ฮ. โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาให้โจทก์นำเงินรายได้ประจำวันของโรงรับจำนำ ฮ. มาวางศาล และขอให้ตั้งจำเลยที่ 3 เป็นผู้ตรวจบัญชี แสดงให้เห็นว่าผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ปรองดองกันและไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ทั้งการเป็นหุ้นส่วนกันนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนเองจึงไม่สามารถบังคับให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขายหุ้นส่วนของฝ่ายนั้นให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งได้ กรณีเหลือวิสัยที่ห้างหุ้นส่วนจะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ จึงมีเหตุที่ศาลจะพิพากษาให้เลิกห้างหุ้นส่วนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1057 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8680/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดเนื่องจากความขัดแย้งระหว่างหุ้นส่วน และอำนาจในการฟ้องเลิกห้างโดยตรง
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. มีผู้เป็นหุ้นส่วนเพียง 2 คน คือ โจทก์และจำเลย และเกิดมีกรณีพิพาทเกี่ยวกับการเงินของห้าง โดยโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยไม่ได้นำเงินค่าเวนคืนที่ดินที่ห้างได้รับจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยในงวดที่ 3 ลงบัญชีเป็นรายรับของห้าง โจทก์จึงฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดฯและยักยอกทรัพย์ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ แม้คดีที่โจทก์ฟ้อง ศาลอาญากรุงเทพใต้พิพากษายกฟ้อง และห้างยังมีทรัพย์สินอยู่เป็นจำนวนมากก็ตาม แต่จากพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ไว้วางใจกัน มีกรณีพิพาทเกี่ยวกับการเงินของห้างจนถึงขั้นฟ้องร้องกล่าวหากันเป็นคดีอาญาไม่ปรองดองกัน หากจะเปลี่ยนตัวหุ้นส่วนผู้จัดการก็ไม่มีทางทำได้ เพราะมีจำเลยคนเดียวที่เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด จึงมีเหตุทำให้ห้างเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1057 (3) ประกอบมาตรา 1080 ศาลย่อมพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดเลิกกันเสียได้
เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายขอให้เลิกห้าง อันเป็นการเลิกสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับจำเลยได้โดยตรง โดยไม่จำต้องฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เป็นจำเลยด้วย
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. มีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 คน โจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดกับจำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด และเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ แต่เนื่องจากโจทก์กับจำเลยไม่ไว้วางใจกัน และมีกรณีพิพาทขัดแย้งกันอยู่ หากตั้งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือให้ร่วมกันเป็นผู้ชำระบัญชีคงไม่ร่วมมือกัน และเป็นอุปสรรคแก่การชำระบัญชีแน่นอน จึงสมควรตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับคดีกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นคนกลางทำหน้าที่เป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4245/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนลงทุนกิจการน้ำดื่ม เลิกห้างหุ้นส่วน แบ่งทุนคืนได้ แม้ไม่มีการชำระบัญชี
โจทก์และจำเลยต่างมีปัญหาด้านการเงิน ประสงค์จะเลิกกิจการห้างหุ้นส่วนกัน จำเลยกลับท้าให้โจทก์ฟ้องคดีและให้การต่อสู้คดีปฏิเสธการเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์เช่นนี้ ถือได้ว่ามีเหตุทำให้ห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1057 (3) ดังนั้น โจทก์มีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนได้
แม้โจทก์จะไม่ได้มีคำขอท้ายฟ้องให้ศาลสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วน แต่ก็เห็นความประสงค์ของโจทก์ได้ว่าต้องการให้สั่งเลิกห้างหุ้นส่วนจึงได้ขอแบ่งทุน เมื่อไม่ปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนนี้มีลูกหนี้ เจ้าหนี้หรือผู้เป็นหุ้นส่วนได้ออกเงินทดรองและค่าใช้จ่ายของตนไปเพื่อจัดการค้าของห้าง สินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนมีเพียงอาคารและเครื่องทำน้ำดื่มเท่านั้น กิจการทำน้ำดื่มก็เพิ่งจะเริ่มต้นยังไม่ปรากฏกำไรหรือขาดทุนในการดำเนินกิจการ หากจะให้มีการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนก็คงจะไม่ได้ข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้นแต่ประการใด จึงสมควรพิพากษาแบ่งทุนให้โจทก์ได้โดยไม่ต้องชำระบัญชี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3671/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนสามัญและการบังคับคดี: ทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนไม่ใช่ทรัพย์สินส่วนตัวของหุ้นส่วน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนสามัญแสดงบัญชีกำไรขาดทุนและให้นำเงินค่าเช่ามาแบ่งสรรให้หุ้นส่วนทั้งหลายตามสัดส่วน เมื่อเงินดังกล่าวเป็นรายรับหรือทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งจำเลยเป็นหุ้นส่วนอยู่ด้วย จำเลยย่อมมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากเงินจำนวนดังกล่าวตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย โจทก์จะกล่าวอ้างในชั้นบังคับคดีว่าเงินดังกล่าวไม่เกี่ยวกับกิจการของห้างหุ้นส่วนสามัญเพื่อนำยึดทรัพย์สินของจำเลยมาขายทอดตลาดชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาหาได้ไม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนสามัญ พ.เลิกกัน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1057 (3) และให้โจทก์ จำเลย และผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดช่วยกันจัดทำหรือให้บุคคลอื่นซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนแต่งตั้งขึ้นเป็นผู้จัดทำและชำระบัญชีโดยลำดับตามกฎหมาย กรณีจึงต้องจัดให้มีการชำระบัญชีตามมาตรา 1061 และเป็นหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีที่จะต้องดำเนินการเกี่ยวกับหนี้สินและทรัพย์สินของห้างดังกล่าวต่อไปตามป.พ.พ.มาตรา 1062 และ 1063 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงไม่อาจขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยมาขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งสรรให้หุ้นส่วนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ กรณีถือได้ว่าการบังคับคดีส่วนนี้ไม่เปิดช่องให้ทำได้โดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการยึดทรัพย์ของจำเลยเพราะเจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานมาตามหน้าที่ เมื่อไม่เกี่ยวกับจำเลย ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์สั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ จึงชอบแล้ว แม้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3671/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีหลังเลิกห้างหุ้นส่วน: การชำระบัญชีทรัพย์สินและขอบเขตการยึดทรัพย์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนสามัญแสดงบัญชีกำไรขาดทุนและให้นำเงินค่าเช่ามาแบ่งสรร ให้หุ้นส่วนทั้งหลายตามสัดส่วน เมื่อเงินดังกล่าวเป็นรายรับทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งจำเลยเป็นหุ้นส่วนอยู่ด้วย จำเลยย่อมมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากเงินจำนวนดังกล่าวตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย โจทก์จะกล่าวอ้างในชั้นบังคับคดีว่าเงินดังกล่าวไม่เกี่ยวกับกิจการของห้างหุ้นส่วนสามัญเพื่อนำยึดทรัพย์สินของจำเลยมาขายทอดตลาดชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาหาได้ไม่ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนสามัญพ.เลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1057(3)และให้โจทก์ จำเลย และผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดช่วยกันจัดทำหรือให้บุคคลอื่นซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนแต่งตั้งขึ้นเป็นผู้จัดทำ และชำระบัญชีโดยลำดับตามกฎหมาย กรณีจึงต้องจัดให้มีการชำระบัญชีตามมาตรา 1061 และเป็นหน้าที่ของ ผู้ชำระบัญชีที่จะต้องดำเนินการเกี่ยวกับหนี้สินและทรัพย์สิน ของห้างดังกล่าวต่อไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1062 และ 1063 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงไม่อาจขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยมาขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งสรร ให้หุ้นส่วนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้กรณีถือได้ว่าการบังคับคดีส่วนนี้ไม่เปิดช่องให้ทำได้โดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการยึดทรัพย์ของจำเลย เพราะเจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานมาตามหน้าที่เมื่อไม่เกี่ยวกับจำเลย ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์สั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ จึงชอบแล้วแม้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4773/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินห้างหุ้นส่วนสามัญเมื่อเลิกกิจการ โดยไม่ต้องตั้งผู้ชำระบัญชี
เมื่อทางไต่สวนได้ความว่า ห้างหุ้นส่วนที่ผู้ร้องกับนายสุวัฒน์เข้าหุ้นส่วนกันไม่มีเจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือผู้เป็นหุ้นส่วนได้ออกเงินทดรองและค่าใช้จ่ายของตนไปเพื่อจัดการค้าของห้างสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนมีแต่เงินฝากอยู่ในบัญชีกระแสรายวันและบัญชีเงินฝากออมทรัพย์เท่านั้น การที่จะรื้อฟื้นให้พิจารณาเรื่องบัญชีของห้างหุ้นส่วนต่อไปก็คงไม่ได้ข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้นจึงเห็นสมควรพิพากษาไปทีเดียว ให้แบ่งเงินทุนและผลกำไรโดยไม่ต้องตั้งผู้ชำระบัญชีก่อนได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1027 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าสิ่งที่นำมาลงหุ้นด้วยกันมีค่าเท่ากัน ดังนั้น เมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันก็ต้องเฉลี่ยแจกกำไรและทรัพย์สินที่มีอยู่ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1062 ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับกึ่งหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4773/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินห้างหุ้นส่วนเมื่อเลิกกิจการ โดยไม่ต้องตั้งผู้ชำระบัญชี
เมื่อทางไต่สวนได้ความว่า ห้างหุ้นส่วนที่ผู้ร้องกับนายสุวัฒน์เข้าหุ้นส่วนกันไม่มีเจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือผู้เป็นหุ้นส่วนได้ออกเงินทดรองและค่าใช้จ่ายของตนไปเพื่อจัดการค้าของห้าง สินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนมีแต่เงินฝากอยู่ในบัญชีกระแสรายวัน และบัญชีเงินฝากออมทรัพย์เท่านั้น การที่จะรื้อฟื้นให้พิจารณาเรื่องบัญชีของห้างหุ้นส่วนต่อไปก็คงไม่ได้ข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้น จึงเห็นสมควรพิพากษาไปทีเดียว ให้แบ่งเงินทุนและผลกำไรโดยไม่ต้องตั้งผู้ชำระบัญชีก่อนได้
ป.พ.พ. มาตรา 1027 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าสิ่งที่นำมาลงหุ้นด้วยกันมีค่าเท่ากัน ดังนั้น เมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันก็ต้องเฉลี่ยแจกกำไรและทรัพย์สินที่มีอยู่ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1062 ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับกึ่งหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญจากเหตุหุ้นส่วนไม่ปรองดองและขาดการจัดการที่เหมาะสม
โจทก์จำเลยตกลงเข้าหุ้นประกอบกิจการโรงกลึงเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน การที่โจทก์จำเลยขัดแย้งกันโดยจำเลยไม่ให้โจทก์มีสิทธิสั่งจ่ายเงินและไม่แบ่งผลกำไรให้โจทก์ แต่กลับนำเงินไปจ่ายล่วงหน้าสำหรับรถยนต์ที่จำเลยซื้อ และจำเลยไม่ได้ทำบัญชีรายรับรายจ่ายของกิจการโรงกลึงไว้ทั้งยังปฏิเสธว่าโจทก์มิใช่หุ้นส่วนกับจำเลย เช่นนี้ ถือได้ว่าผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ปรองดองกันเหลือวิสัยที่ห้างหุ้นส่วนจะดำรงคงอยู่ต่อไปได้จึงมีเหตุที่ศาลจะพิพากษาให้เลิกห้างหุ้นส่วนตามที่โจทก์ฟ้องได้
of 2