พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 735/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการและหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัดต่อหนี้ที่เกิดขึ้น
จำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการระหว่างวันที่ 8 กันยายน 2547 ถึงวันที่ 23 กันยายน 2556 และมีจำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการระหว่างวันที่ 24 กันยายน 2556 จนถึงปัจจุบัน เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2556 จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการในขณะนั้นทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์รับว่าเป็นหนี้ค่าสินค้าโจทก์โดยตกลงผ่อนชำระเป็นงวดๆ ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดนัด โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิด จำเลยที่ 3 หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 แม้หนี้ดังกล่าวจะเกิดขึ้นก่อนที่จำเลยที่ 3 เข้ามาเป็นหุ้นส่วนก็ตาม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1052 ประกอบมาตรา 1077 (2) และมาตรา 1080 วรรคหนึ่ง ส่วนจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เนื่องจากยังอยู่ในเวลาสองปีนับแต่วันที่จำเลยที่ 2 ออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1068 ประกอบมาตรา 1080 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1087
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1378/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การไม่ชัดเจนเรื่องอายุความ และความรับผิดของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัด
แม้โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและละเมิด แต่เห็นได้ชัดว่าเป็นการฟ้องว่าโจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ตกแต่งและต่อเติมอาคารพิพาท แล้วจำเลยที่ 1 ทำงานบกพร่องก่อให้เกิดความเสียหายตามฟ้องแก่โจทก์ อันต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยจ้างทำของ จำเลยทั้งสามทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้วจึงให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 ทำงานที่ได้รับจ้างให้โจทก์เรียบร้อยและโจทก์มิได้เสียหายดังฟ้อง เมื่อจำเลยทั้งสามให้การต่อมาโดยตัดฟ้องว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ จำเลยทั้งสามต้องกล่าวในคำให้การส่วนนี้ให้ชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 1 ส่งมอบงานให้แก่โจทก์เมื่อใด และโจทก์พบความชำรุดบกพร่องของงานที่จ้างวันใด แต่จำเลยทั้งสามกลับให้การในส่วนนี้เพียงว่า โจทก์อ้างว่าได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ต่อเติมและตกแต่งอาคารพิพาท 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2538 และวันที่ 24 มีนาคม 2538 แล้วจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาละเมิดต่อโจทก์ ขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ โดยโจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 21 สิงหาคม 2541 ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ เช่นนี้ เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งว่าขาดอายุความในเรื่องใด และอายุความเริ่มนับตั้งแต่วันใด ไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทเรื่องอายุความที่คู่ความจะต้องนำสืบ
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยขณะฟ้องมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จึงเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด แม้จำเลยที่ 2 เข้ามาเป็นหุ้นส่วนภายหลังก็ต้องรับผิดในหนี้ใด ๆ ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนเข้ามาเป็นหุ้นส่วนด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1052 ประกอบมาตรา 1077 (2), 1080, 1087 ส่วนจำเลยที่ 3 แม้ออกจากหุ้นส่วนไปแล้วก็ยังคงต้องรับผิดในหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ก่อขึ้นก่อนที่ตนได้ออกจากหุ้นส่วนตามมาตรา 1051 ประกอบมาตรา 1077 (2), 1080, 1087
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยขณะฟ้องมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จึงเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด แม้จำเลยที่ 2 เข้ามาเป็นหุ้นส่วนภายหลังก็ต้องรับผิดในหนี้ใด ๆ ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนเข้ามาเป็นหุ้นส่วนด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1052 ประกอบมาตรา 1077 (2), 1080, 1087 ส่วนจำเลยที่ 3 แม้ออกจากหุ้นส่วนไปแล้วก็ยังคงต้องรับผิดในหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ก่อขึ้นก่อนที่ตนได้ออกจากหุ้นส่วนตามมาตรา 1051 ประกอบมาตรา 1077 (2), 1080, 1087
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3754/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้จากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและค้ำประกัน, ความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัดและความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ
จำเลยที่ 1 มิได้ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี และจำเลยที่ 4 มิได้ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกัน ถือว่าจำเลยที่ 1 รับว่าทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี และจำเลยที่ 4 ทำสัญญาค้ำประกันแล้ว จึงไม่ต้องนำเอกสารดังกล่าวมารับฟังเป็นพยานหลักฐาน ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าเอกสารดังกล่าวทั้งสองฉบับปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนหรือไม่
ไม่มีบทบัญญัติในกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งระบุว่ากรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลโจทก์จะต้องมาเบิกความเป็นพยานด้วย เมื่อโจทก์นำพยานที่รู้เห็นเกี่ยวข้องมาสืบประกอบพยานเอกสารฟังได้ตามฟ้องของโจทก์แล้ว ก็ไม่จำต้องนำสืบกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์อีก
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1087 ห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องให้แต่เฉพาะผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้นเป็นผู้จัดการ จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด และตามมาตรา 1052 บุคคลผู้เข้าเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนย่อมต้องรับผิดในหนี้ใด ๆ ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนเข้ามาเป็นหุ้นส่วนด้วย ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนที่จำเลยที่ 2 จะมาเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ด้วย
ไม่มีบทบัญญัติในกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งระบุว่ากรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลโจทก์จะต้องมาเบิกความเป็นพยานด้วย เมื่อโจทก์นำพยานที่รู้เห็นเกี่ยวข้องมาสืบประกอบพยานเอกสารฟังได้ตามฟ้องของโจทก์แล้ว ก็ไม่จำต้องนำสืบกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์อีก
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1087 ห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องให้แต่เฉพาะผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้นเป็นผู้จัดการ จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด และตามมาตรา 1052 บุคคลผู้เข้าเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนย่อมต้องรับผิดในหนี้ใด ๆ ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนเข้ามาเป็นหุ้นส่วนด้วย ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนที่จำเลยที่ 2 จะมาเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5949/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ของห้างหุ้นส่วน และการรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่เป็นไปตามรูปแบบ
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้าว่าผิดสัญญาซื้อขาย โดยจำเลยที่ 1ได้สั่งซื้อสินค้าประเภทผ้าย้อมไปจากโจทก์ และได้รับสินค้าถูกต้องครบถ้วนแล้วไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ และได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่ 4 ไว้ด้วยว่า ในระหว่างที่เกิดมูลคดีนี้ จำเลยที่ 4เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการมีอำนาจลงชื่อร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3และประทับตราห้างของจำเลยที่ 1 ขอให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ย ดังนี้ คำฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่ 4ได้บรรยายแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว ส่วนปัญหาว่าจำเลยที่ 4 จะต้องรับผิดชอบอย่างไรบ้างเป็นข้อเท็จจริงที่จะนำสืบในชั้นพิจารณา จำเลยที่ 4 เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 แม้ออกจากหุ้นส่วนไปแล้วก็ยังคงต้องรับผิดในหนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะได้ออกจากหุ้นส่วนไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1051 และมาตรา 1052 จำเลยที่ 4 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องร่วมรับผิดกับห้างจำเลยที่ 1 แม้โจทก์ผู้อ้างเอกสารจะมิได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่จำเลยก่อน 3 วันแต่เมื่อศาลเห็นว่าเอกสารนั้นเป็นเอกสารสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจรับฟังเอกสารนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5949/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดต้องรับผิดร่วมกับห้างหุ้นส่วนในหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนและหลังเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วน
หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ต้องรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนเข้ามาเป็นหุ้นส่วนและแม้ผู้เป็นหุ้นส่วนจะออกจากหุ้นส่วนไปแล้ว ก็ยังคงต้องรับผิดในหนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะได้ออกจากหุ้นส่วนไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1051,1052 โจทก์มิได้ส่งสำเนาเอกสารแก่จำเลยที่ 4 ก่อน 3 วัน แต่เมื่อเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลย่อมใช้ดุลพินิจรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5949/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ของห้างหุ้นส่วนก่อนและหลังออกจากหุ้นส่วน
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้าว่าผิดสัญญาซื้อขาย โดยจำเลยที่ 1 ได้สั่งซื้อสินค้าประเภทผ้าย้อมไปจากโจทก์ และได้รับสินค้าถูกต้องครบถ้วนแล้วไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ และได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่ 4 ไว้ด้วยว่า ในระหว่างที่เกิดมูลคดีนี้ จำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการมีอำนาจลงชื่อร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 และประทับตราห้างของจำเลยที่ 1 ขอให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ย ดังนี้ คำฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่ 4 ได้บรรยายแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 แล้ว ส่วนปัญหาว่าจำเลยที่ 4 จะต้องรับผิดชอบอย่างไรบ้างเป็นข้อเท็จจริงที่จะนำสืบในชั้นพิจารณา
จำเลยที่ 4 เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 แม้ออกจากหุ้นส่วนไปแล้วก็ยังคงต้องรับผิดในหนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะได้ออกจากหุ้นส่วนไป ตามป.พ.พ. มาตรา 1051 และมาตรา 1052 จำเลยที่ 4 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องร่วมรับผิดกับห้างจำเลยที่ 1
แม้โจทก์ผู้อ้างเอกสารจะมิได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่จำเลยก่อน 3 วันแต่เมื่อศาลเห็นว่าเอกสารนั้นเป็นเอกสารสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจรับฟังเอกสารนั้นได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 87 (2)
จำเลยที่ 4 เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 แม้ออกจากหุ้นส่วนไปแล้วก็ยังคงต้องรับผิดในหนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะได้ออกจากหุ้นส่วนไป ตามป.พ.พ. มาตรา 1051 และมาตรา 1052 จำเลยที่ 4 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องร่วมรับผิดกับห้างจำเลยที่ 1
แม้โจทก์ผู้อ้างเอกสารจะมิได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่จำเลยก่อน 3 วันแต่เมื่อศาลเห็นว่าเอกสารนั้นเป็นเอกสารสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจรับฟังเอกสารนั้นได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 87 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5414/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: ความรับผิดของผู้ออกเช็ค, ผู้สั่งจ่าย, หุ้นส่วนผู้จัดการ และผลของการชำระหนี้ด้วยตั๋วเงิน
เช็คพิพาททั้ง 2 ฉบับ เป็นเช็คสั่งจ่ายแก่ผู้ถือและโจทก์เป็นผู้รับเช็คนั้นไว้ในความครอบครอง ย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คนั้นโดยชอบ มีอำนาจที่จะฟ้องบุคคลผู้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทให้รับผิดต่อโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900ประกอบด้วยมาตรา 989 แม้โจทก์จะนำเงินจากบิดาโจทก์มารับแลกเช็คพิพาทก็หาเป็นเหตุที่จำเลยที่ 1 จะยกขึ้นอ้างเพื่อให้พ้นความรับผิดได้ไม่ เช็คพิพาทเป็นเช็คของจำเลยที่ 1 ขณะที่จำเลยที่ 2ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้โดยไม่ต้องประทับตราของจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 1 ไม่มีข้อจำกัดอำนาจของผู้จัดการไว้ การที่จำเลยที่ 2สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้ง 2 ฉบับเป็นการกระทำโดยมีอำนาจภายในขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 แม้ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายร่วมกับจำเลยที่ 2 ในเช็คพิพาทจะเป็นลายมือชื่อปลอมของจำเลยที่ 3 แต่ไม่กระทบกระทั่งถึงความสมบูรณ์แห่งลายมือชื่ออื่น ๆ ในตั๋วเงินนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1006 เช็คพิพาทจึงยังเป็นเช็คที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามเช็คพิพาท แม้จะเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนจำเลยที่ 3 เข้ามาเป็นผู้จัดการของจำเลยที่ 1แต่จำเลยที่ 3 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1052 ประกอบด้วยมาตรา 1080 และมาตรา 1087 การที่จำเลยที่ 4 ผู้รับประกันด้วยอาวัลในเช็คพิพาทซึ่งต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์อยู่แล้วได้ออกเช็คฉบับใหม่แก่โจทก์ หาใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ไม่ แต่เป็นการชำระหนี้ด้วยตั๋วเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคสาม ซึ่งหนี้จะระงับสิ้นไปต่อเมื่อได้ใช้เงินตามเช็คฉบับใหม่แล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คฉบับใหม่ได้หรือไม่ หนี้ตามเช็คพิพาทจึงยังไม่ระงับไป ปัญหาที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ฎีกาว่าโจทก์คบคิดกับจำเลยที่ 4ฉ้อฉลจำเลยที่ 1 และที่ 3 และปัญหาว่าลายมือชื่อของจำเลยที่ 3เป็นลายมือชื่อปลอม การสั่งจ่ายเช็คพิพาทของจำเลยที่ 2 จึงผิดไปจากข้อตกลงกับธนาคาร จำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้น จำเลยที่ 1 และที่ 3 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4779/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ภาษีของห้างหุ้นส่วนจำกัดหลังพ้นจากตำแหน่ง
เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้แจ้งการประเมินให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หนี้ภาษีอากรของจำเลยย่อมยุติไปตามที่เจ้าพนักงานของโจทก์แจ้งประเมินไว้ จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นหนี้ค่าภาษีอากรในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2525 ถึงปี พ.ศ. 2526 ต่อมาจำเลยที่ 2ได้เข้ามาเป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2จึงต้องร่วมรับผิดในหนี้ดังกล่าวด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1052 ประกอบมาตรา 1080 ดังนั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 2จะออกจากการเป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ไปแล้วก็ตาม เมื่อการออกไปดังกล่าวยังไม่เกิน 2 ปี โจทก์ยังมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1068 ประกอบมาตรา 1077(2),1080, และ 1087 โจทก์แจ้งการประเมินภาษีให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดผู้ต้องเสียภาษีอากรแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ได้ด้วยจำเลยที่ 2มิใช่ผู้ที่ถูกประเมิน กรณีไม่มีเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้แก่จำเลยที่ 2.