พบผลลัพธ์ทั้งหมด 120 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2645/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งประเมินภาษีโดยวิธีโฆษณาและการบังคับชำระหนี้ภาษีอากรจากหุ้นส่วนผู้จัดการ
โจทก์ได้ส่งแบบแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักณ ที่จ่าย ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าให้แก่จำเลยที่ 1 ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับแล้ว แต่ส่งไม่ได้ เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ผู้นำส่งรายงานว่าไม่มีผู้รับ กรณีเช่นนี้นับว่าเป็นกรณีที่ไม่สามารถจะส่งตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์ชอบที่จะเลือกส่งตามวิธีการใดวิธีการหนึ่งในสองวิธีตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสาม การที่โจทก์ลงโฆษณาแบบแจ้งการประเมินในหนังสือพิมพ์ท้องที่ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รับแบบแจ้งการประเมินตามความในวรรคท้ายแห่งบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์การประเมินจึงมีผลให้หนี้ภาษีอากรตามฟ้องเป็นหนี้เด็ดขาดและมีจำนวนแน่นอนเกินกว่าห้าแสนบาทขึ้นไป จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างจำเลยที่ 1 จะกลับมาปฏิเสธว่าหนี้ดังกล่าวไม่ชอบหรือจำนวนหนี้ไม่ถูกต้องอีกหาได้ไม่
เจ้าพนักงานประเมินได้กำหนดให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าภาษีอากรตามที่ประเมินแก่โจทก์ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน โจทก์ได้ส่งแบบแจ้งการประเมินให้จำเลยที่ 1 ทราบโดยวิธีโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2528 ซึ่งถือได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้รับแบบแจ้งการประเมินภาษีในวันที่ได้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ อายุความจึงเริ่มต้นเมื่อครบกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ได้รับแบบแจ้งการประเมินภาษีอากร เมื่อคำนวณถึงวันฟ้องแล้วยังไม่เกิน 10 ปี คดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คดีห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ภาษีอากรค้างแก่โจทก์ และจำเลยที่ 1 มีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่มีทรัพย์สินใดชำระหนี้แก่โจทก์ได้ จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1070, 1077 และมาตรา 1080 จึงไม่อาจต่อสู้ว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 หรือมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวได้
เจ้าพนักงานประเมินได้กำหนดให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าภาษีอากรตามที่ประเมินแก่โจทก์ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน โจทก์ได้ส่งแบบแจ้งการประเมินให้จำเลยที่ 1 ทราบโดยวิธีโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2528 ซึ่งถือได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้รับแบบแจ้งการประเมินภาษีในวันที่ได้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ อายุความจึงเริ่มต้นเมื่อครบกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ได้รับแบบแจ้งการประเมินภาษีอากร เมื่อคำนวณถึงวันฟ้องแล้วยังไม่เกิน 10 ปี คดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คดีห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ภาษีอากรค้างแก่โจทก์ และจำเลยที่ 1 มีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่มีทรัพย์สินใดชำระหนี้แก่โจทก์ได้ จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1070, 1077 และมาตรา 1080 จึงไม่อาจต่อสู้ว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 หรือมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2645/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งการประเมินภาษีโดยวิธีโฆษณาเมื่อส่งทางไปรษณีย์ไม่ได้ และผลกระทบต่ออายุความฟ้องคดีล้มละลาย
กรมสรรพากรโจทก์ส่งแบบแจ้งการประเมินให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่1ชำระเงินค่าภาษีอากรโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับแล้วแต่ส่งไม่ได้เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ผู้นำส่งรายงานว่าไม่มีผู้รับนับว่าเป็นกรณีที่ไม่สามารถจะส่งตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา8วรรคหนึ่งโจทก์จึงชอบที่จะเลือกส่งตามวิธีที่บัญญัติไว้ในวรรคสามคือส่งโดยวิธีโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่ก็ได้การที่โจทก์ลงโฆษณาแบบแจ้งการประเมินในหนังสือพิมพ์ท้องที่จึงถือได้ว่าจำเลยที่1ได้รับแบบแจ้งการประเมินดังกล่าวแล้วจำเลยที่1มิได้อุทธรณ์การประเมินจึงมีผลให้หนี้ภาษีอากรตามฟ้องเป็นหนี้เด็ดขาดและมีจำนวนแน่นอนเกินกว่าห้าแสนบาทขึ้นไปจำเลยที่2ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1จะกลับมาปฏิเสธว่าหนี้ดังกล่าวไม่ชอบหรือจำนวนหนี้ไม่ถูกต้องอีกหาได้ไม่ เจ้าพนักงานประเมินได้กำหนดให้จำเลยที่1ชำระเงินค่าภาษีอากรตามที่ประเมินแก่โจทก์ภายในกำหนด30วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินเมื่อโจทก์ได้ส่งแบบแจ้งการประเมินให้จำเลยที่1ทราบโดยวิธีโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่ซึ่งถือได้ว่าจำเลยที่1ได้รับแบบแจ้งการประเมินภาษีในวันที่ได้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์อายุความจึงเริ่มต้นเมื่อครบกำหนด30วันนับแต่วันที่จำเลยที่1ได้รับแบบแจ้งการประเมินภาษีอากรซึ่งเมื่อคำนวณถึงวันฟ้องแล้วยังไม่เกิน10ปีคดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดมีหนี้สินล้นพ้นตัวจำเลยที่2หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1ซึ่งต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของจำเลยที่1โดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1070,1077และมาตรา1080จึงไม่อาจต่อสู้ว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของจำเลยที่1หรือมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดร่วมรับผิดในหนี้ห้างหุ้นส่วน และสิทธิยกอายุความ
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้าง-หุ้นส่วนจำกัด พ.ให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับมูลหนี้ตามบันทึกรับสภาพหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ก่อนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปยังผู้ร้อง ไม่ใช่ผู้ร้องยอมรับในส่วนของผู้ร้องว่าเป็นหนี้จำเลย บันทึกคำให้การของผู้ร้องไม่ใช่การรับสภาพ-ความรับผิดโดยสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 188 วรรคสาม (เดิม)
แม้ผู้ร้องต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดจำนวนตามป.พ.พ. มาตรา 1077 แต่ผู้ร้องก็อยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับห้างซึ่งมีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 295 แม้ห้างถูกเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้จนศาลได้ออกคำบังคับเพราะเป็นหนี้เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 119 แล้วก็ตาม เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปยังผู้ร้องให้ร่วมรับผิดในหนี้ของห้างเมื่อพ้น 2 ปี นับแต่ห้างผิดนัดชำระหนี้ในมูลหนี้ผู้เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของ สิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องชำระหนี้ย่อมขาดอายุความ
แม้ผู้ร้องต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดจำนวนตามป.พ.พ. มาตรา 1077 แต่ผู้ร้องก็อยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับห้างซึ่งมีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 295 แม้ห้างถูกเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้จนศาลได้ออกคำบังคับเพราะเป็นหนี้เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 119 แล้วก็ตาม เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปยังผู้ร้องให้ร่วมรับผิดในหนี้ของห้างเมื่อพ้น 2 ปี นับแต่ห้างผิดนัดชำระหนี้ในมูลหนี้ผู้เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของ สิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องชำระหนี้ย่อมขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความของหนี้ร่วม: หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดยกอายุความได้ แม้ต้องรับผิดชอบหนี้ของห้างหุ้นส่วน
แม้ผู้ร้องซึ่งเป็น หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1077แต่ผู้ร้องก็อยู่ในฐานะเป็น ลูกหนี้ร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ผู้ร้องย่อม ยกอายุความขึ้นต่อสู้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา295เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปยังผู้ร้องให้ร่วมรับผิดในหนี้ของห้างเมื่อพ้น2ปีนับแต่ห้าง ผิดนัดชำระหนี้ในมูลหนี้ผู้เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของสิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องชำระหนี้ย่อม ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ร่วมหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด: สิทธิเรียกร้องขาดอายุความเมื่อทวงหนี้เกิน 2 ปีหลังผิดนัด
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดพ. ให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับมูลหนี้ตามบันทึกรับสภาพหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดพ.ก่อนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปยังผู้ร้องไม่ใช่ผู้ร้องยอมรับในส่วนของผู้ร้องว่าเป็นหนี้จำเลยบันทึกคำให้การของผู้ร้องไม่ใช่การรับสภาพความรับผิดโดยสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา18/8วรรคสาม(เดิม) แม้ผู้ร้องต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1077แต่ผู้ร้องก็อยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับห้างซึ่งมีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา295แม้ห้างถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้จนศาลได้ออกคำบังคับเพราะเป็นหนี้เด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา119แล้วก็ตามเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปยังผู้ร้องให้ร่วมรับผิดในหนี้ของห้างเมื่อพ้น2ปีนับแต่ห้างผิดนัดชำระหนี้ในมูลหนี้ผู้เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของสิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องชำระหนี้ย่อมขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้หุ้นส่วนจำกัด: ลูกหนี้ร่วมกับห้างสามารถยกอายุความได้ แม้เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับมูลหนี้ตามบันทึกรับสภาพหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ก่อนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปยังผู้ร้อง ไม่ใช่ผู้ร้องยอมรับในส่วนของผู้ร้องว่าเป็นหนี้จำเลย บันทึกคำให้การของผู้ร้องไม่ใช่การรับสภาพความรับผิดโดยสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 188 วรรคสาม (เดิม) แม้ผู้ร้องต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077 แต่ผู้ร้องก็อยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับห้างซึ่งมีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 295 แม้ห้างถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้จนศาลได้ออกคำบังคับเพราะเป็นหนี้เด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 119 แล้วก็ตาม เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปยังผู้ร้องให้ร่วมรับผิดในหนี้ของห้างเมื่อพ้น 2 ปีนับแต่ห้างผิดนัดชำระหนี้ในมูลหนี้ผู้เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของ สิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องชำระหนี้ย่อมขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 420/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดร่วมรับผิดชอบหนี้สินของห้าง หากห้างล้มละลาย หุ้นส่วนผู้จัดการก็มีสิทธิถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
โจทก์ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่1โดยมีจำเลยที่2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างจำเลยที่1ซึ่งต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้สินของห้างโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1070,1077(2),1080ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่1เด็ดขาดคดีถึงที่สุดจำเลยที่2ซึ่งต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ต่อโจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาโต้เถียงว่าตนมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้ที่ดินที่มีภาระจำนอง: การให้มีค่าภาระติดพันตาม ป.พ.พ. มาตรา 535(2) จำนองต้องมีอยู่ขณะทำสัญญา
สิ่งที่มีค่าภาระติดพันที่เกี่ยวกับการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา535(2)จะต้องมีอยู่ในขณะตกลงทำสัญญาให้แก่กัน โจทก์ให้ที่ดินแก่จำเลยโดยที่ดินมีการจำนองเพื่อประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. ที่จำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งจำเลยต้องรับผิดในหนี้ของห้างได้ไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1077(2)ประกอบมาตรา1087และจำเลยก็รับว่าเป็นการจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้จำเลยถือได้ว่าการจำนองเป็นการประกันหนี้ของจำเลยการยกให้ที่ดินโดยไม่มีการไถ่ถอนจำนองดังกล่าวจะถือว่าเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพันหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7348/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด และการพิสูจน์สถานะทางการเงินในคดีล้มละลาย
หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องให้จำเลยทั้งสองล้มละลายเป็นหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งสืบเนื่องจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ก่อขึ้นในขณะที่จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่จำกัดความรับผิดต้องรับผิดในหนี้สินแทนจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1070 และ 1077 โดยไม่จำกัดจำนวนจำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจต่อสู้หรือนำสืบว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 หรือมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5844/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดสอดแทรกการจัดการ: สิทธิเรียกร้องระหว่างหุ้นส่วน vs. บุคคลภายนอก
โจทก์ฟ้องคดีโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาสองข้อคือข้อแรก โจทก์จำเลยได้ตกลงกันประกอบกิจการและจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดโดยโจทก์เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ข้อที่สองจำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดได้สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน ขอให้บังคับให้จำเลยร่วมรับผิดต่อเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน จำเลยให้การรับว่าเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด แต่ปฏิเสธว่าไม่เคยสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า หนี้ของห้างหุ้นส่วนตามฟ้องผูกพันจำเลยหรือไม่เพียงใด ซึ่งศาลล่างทั้งสองเห็นว่า แม้จำเลยจะสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนจำเลยก็ไม่ต้องรับผิดอย่างไม่จำกัดจำนวน เพราะกรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา1088 วรรคหนึ่ง เป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก แต่คดีนี้ไม่ใช่กรณีบุคคลภายนอกเรียกร้องให้จำเลยรับผิด เป็นเรื่องระหว่างหุ้นส่วนด้วยกันเอง จึงต้องบังคับตามสัญญาหุ้นส่วนซึ่งเป็นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์ข้อแรก ฉะนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยดังกล่าว จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้อง
กรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1088 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่าถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดผู้ใด สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน ท่านว่าผู้นั้นจะต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ทั้งหลายของห้างหุ้นส่วนนั้นโดยไม่จำกัดจำนวนนั้น เป็นบทบัญญัติเพื่อคุ้มครองบุคคลภายนอกเนื่องจากบุคคลภายนอกอาจไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้ใดเป็นหุ้นส่วนจำพวกใด ส่วนระหว่างหุ้นส่วนด้วยกันเองผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนทราบดีอยู่แล้วว่าผู้ใดเป็นหุ้นส่วนจำพวกใด และมีหน้าที่อย่างใดหากยินยอมให้มีการกระทำผิดหน้าที่ ผู้ที่ให้ความยินยอมไม่มีสิทธิจะอ้างกฎหมายมาตราดังกล่าวขึ้นบังคับผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันอย่างบุคคลภายนอกได้ กรณีของผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันต้องบังคับตามสัญญาห้างหุ้นส่วน
กรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1088 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่าถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดผู้ใด สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน ท่านว่าผู้นั้นจะต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ทั้งหลายของห้างหุ้นส่วนนั้นโดยไม่จำกัดจำนวนนั้น เป็นบทบัญญัติเพื่อคุ้มครองบุคคลภายนอกเนื่องจากบุคคลภายนอกอาจไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้ใดเป็นหุ้นส่วนจำพวกใด ส่วนระหว่างหุ้นส่วนด้วยกันเองผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนทราบดีอยู่แล้วว่าผู้ใดเป็นหุ้นส่วนจำพวกใด และมีหน้าที่อย่างใดหากยินยอมให้มีการกระทำผิดหน้าที่ ผู้ที่ให้ความยินยอมไม่มีสิทธิจะอ้างกฎหมายมาตราดังกล่าวขึ้นบังคับผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันอย่างบุคคลภายนอกได้ กรณีของผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันต้องบังคับตามสัญญาห้างหุ้นส่วน