คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1077

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 120 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3013/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดร่วมรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วน และการขอให้ล้มละลายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างหุ้นส่วน
เมื่อศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างหุ้นส่วนจำกัดใดแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมจะขอให้ผู้ที่เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นล้มละลายได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นหนี้สินของผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าว และผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าวมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ เพราะผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดต้องร่วมรับผิดในหนี้สินโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070,1077
การพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวเป็นการไต่สวนคำขอของโจทก์ฝ่ายเดียวในขั้นแรกขณะเริ่มฟ้อง และเพียงแต่ศาลเห็นว่าคดีมีมูลก็มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราวได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 17ขณะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลาย ปรากฏว่าศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว จึงเลยขั้นตอนที่ว่าคดีมีมูลหรือไม่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าวเด็ดขาดเช่นเดียวกับห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นได้โดยไม่ต้องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวก่อน ผู้คัดค้านแสดงความจำนงต่อหุ้นส่วนอื่นขอถอนตัวออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดแต่ยังมิได้แก้ไขข้อความดังกล่าวทางทะเบียนจึงยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1629/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาจ้างเหมา การชดใช้ค่าเสียหาย และเบี้ยปรับรายวัน ศาลฎีกาวินิจฉัยผูกพันจำเลยและหุ้นส่วนผู้จัดการ
คดีก่อนจำเลยที่ 1 ได้ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยฐานผิดสัญญาและให้จ่ายเงินค่าก่อสร้างงวดที่ 5 เป็นเงิน608,000 บาท ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาคำพิพากษาดังกล่าวจึงผูกพันจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้น และผูกพันจำเลยที่ 2 ที่ 3ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ด้วย ข้อเท็จจริงในคดีนี้จึงฟังเป็นยุติว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาเกี่ยวกับการทาสีบานประตูหน้าต่างภายในตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง
การที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาทำให้โจทก์ต้องจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ทำการก่อสร้างเป็นเงินเพิ่มไปจากเดิมที่ทำไว้กับจำเลยที่ 1 จำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนี้ถือเป็นค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับโดยตรงจากการที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดสัญญา จำเลยทั้งสามต้องร่วมรับผิดชดใช้ให้โจทก์
โจทก์บอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 โดยอาศัยเหตุที่ว่าจำเลยที่ 1 ทาสีไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดในสัญญา ไม่ได้อาศัยเหตุที่ว่า จำเลยที่ 1 ทำการก่อสร้างไม่แล้วเสร็จบริบูรณ์ภายใน 300 วัน โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องเบี้ยปรับรายวันหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 490/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัดต่อผลละเมิดของลูกจ้าง
เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดซึ่งลูกจ้างของจำเลยที่ 1 กระทำไปในทางการที่จ้าง จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดในหนี้อันเกิดจากการละเมิดดังกล่าวโดยไม่จำกัดจำนวนร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 490/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัดต่อความเสียหายจากการละเมิดของลูกจ้าง
เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดซึ่งลูกจ้างของจำเลยที่ 1 กระทำไปในทางการที่จ้าง จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดในหนี้อันเกิดจากการละเมิดดังกล่าวโดยไม่จำกัดจำนวนร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1172/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดล้มละลาย: อำนาจต่อสู้คดี และการพิจารณาตามมาตรา 89 พ.ร.บ.ล้มละลาย
มาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายแสดงให้เห็นชัดว่าในกรณีที่จะขอให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายตามห้างหุ้นส่วนนั้น กฎหมายได้บัญญัติกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีขึ้นใหม่ไว้โดยเฉพาะเป็นพิเศษเมื่อปรากฏว่าศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างนั้นตามมาตรา 88 แล้ว เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมจะขอให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายตามห้างได้ และตามมาตรา 89 ให้พิจารณาต่อไปเพียงว่า ผู้ถูกขอให้ล้มละลายตามห้างเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดจริงหรือไม่ถ้าปรากฏว่าศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดล้มละลายตามมาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย และผู้ถูกขอให้ล้มละลายตามห้างเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดจริง ศาลก็มีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ แล้วพิพากษาให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายไปตามห้างนั้นได้เลย เพราะหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดต้องรับผิดในหนี้สินแทนห้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070 และ 1077 โดยไม่จำกัดจำนวน โดยผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดไม่มีอำนาจต่อสู้คดี หรือนำสืบว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของห้าง หรือมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย
การที่ผู้ชำระบัญชียื่นคำร้องขอให้ห้างหุ้นส่วนล้มละลายตามมาตรา 88 นั้น ไม่จำกัดว่าห้างหุ้นส่วนที่ล้มละลายมีทรัพย์สินไม่พอกับหนี้สินเป็นจำนวนมากน้อยเท่าใด แม้จะไม่ถึงสามหมื่นบาท ก็ถือได้ว่าห้างนั้นมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว จะนำมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปที่จะสั่งให้มีการล้มละลายมาใช้แก่กรณีนี้ไม่ได้
เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์มอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นขอรับชำระหนี้ และให้มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมเจ้าหนี้ประนีประนอมยอมความตลอดจนทำการอื่นใดที่เกี่ยวกับคดีล้มละลาย ดังนี้ ผู้รับมอบอำนาจมีสิทธิดำเนินคดีแทนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ตลอดไปถึงชั้นอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล เพราะเป็นเรื่องของกระบวนพิจารณาที่สืบต่อจากการยื่นคำขอรับชำระหนี้ ใบมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
การที่ใบมอบอำนาจมิใช่มอบอำนาจตามแบบฟอร์มของศาล ก็หาทำให้ใบมอบอำนาจนี้เสียไปไม่ เพราะมิใช่กรณีที่ยื่นต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดต่อเช็คที่ออกโดยผู้มีอำนาจจัดกิจการ และขอบเขตความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัด
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ได้เชิดให้ ก. เป็นผู้มีอำนาจจัดกิจการต่าง ๆ ของจำเลยที่ 1 ก.ได้แสดงตนเองต่อบุคคลภายนอกว่าเป็นผู้มีอำนาจจัดกิจการงานต่าง ๆ ของจำเลยที่ 1 และได้สั่งจ่ายเช็คแลกเงินสดจากโจทก์มาใช้ในกิจการของจำเลยที่ 1 โจทก์นำเช็คไปขึ้นเงินไม่ได้ ดังนี้ จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์
ก. เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด แต่สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างฯ จำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย
จำเลยที่ 3 เข้ามาเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดในฐานะเป็นผู้รับโอนหุ้นของ ก. เมื่อห้างฯ จำเลยที่ 1 ยังไม่เลิก โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องร้องให้จำเลยที่ 3 รับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1095

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัดต่อเช็คที่ออกโดยผู้มีอำนาจจัดการที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ได้เชิดให้ ก. เป็นผู้มีอำนาจจัดกิจการต่าง ๆ ของจำเลยที่ 1 ก. ได้แสดงตนเองต่อบุคคลภายนอกว่าเป็นผู้มีอำนาจจัดกิจการงานต่างๆ ของจำเลยที่ 1 และได้สั่งจ่ายเช็คแลกเงินสดจากโจทก์มาใช้ในกิจการของจำเลยที่ 1 โจทก์นำเช็คไปขึ้นเงินไม่ได้ดังนี้ จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์
ก. เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด แต่สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างฯ จำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย
จำเลยที่ 3 เข้ามาเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดในฐานะเป็นผู้รับโอนหุ้นของ ก. เมื่อห้างฯ จำเลยที่ 1 ยังไม่เลิก โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องร้องให้จำเลยที่ 3 รับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1095

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2654/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาค้ำประกัน-ความรับผิดหุ้นส่วน-อำนาจฟ้อง-ค่าทนายความ
โจทก์มีสิทธิ์เรียกเบี้ยปรับจากจำเลยได้ตามสัญญา เมื่อธนาคารผู้ค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาได้ชำระเงินให้โจทก์จำนวนหนึ่งแล้ว โจทก์ยังมีสิทธิ์เรียกให้จำเลยชำระเบี้ยปรับจำนวนที่ยังเหลือได้ หาใช่เป็นการเรียกค่าปรับซ้อนกันไม่
แม้จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในสัญญาในฐานะตัวแทนห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 มิใช่ในฐานะส่วนตัว แต่เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
กรมตำรวจเป็นกรมในรัฐบาลย่อมเป็นนิติบุคคลมีอำนาจฟ้องหรือเป็นโจทก์ได้ ไม่จำต้องให้กระทรวงมหาดไทยเป็นโจทก์ ทั้งมีอำนาจมอบให้หัวหน้ากองพลาธิการ กรมตำรวจฟ้องคดีได้ด้วย
แม้ในใบมอบอำนาจระบุให้ฟ้องจำเลยที่ 1 เท่านั้น แต่เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนของจำเลยที่ 1 ประเภทไม่จำกัดความรับผิด และเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ต้องรับผิดตามสัญญาร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย การฟ้องคดีของโจทก์จึงถูกต้องตามใบมอบอำนาจแล้ว
โจทก์ฟ้องเรียกเบี้ยปรับหรือนัยหนึ่งค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าของคู่สัญญาจึงไม่จำเป็นต้องบรรยายอีกว่าเสียหายอะไร อย่างไร ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ความเสียหายที่คู่กรณีได้กำหนดไว้ล่วงหน้าเป็นค่าปรับในสัญญาแล้วนั้น การปรับตามสัญญาไม่ได้หมายความเฉพาะแต่ในการส่งทรัพย์สินล่าช้าเท่านั้น หากแต่รวมถึงการไม่ส่งด้วย
เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้เงินให้โจทก์จำนวนหนึ่งแล้ว สิทธิ์ของโจทก์ในการคิดดอกเบี้ยย่อมมีขึ้นหากจำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษาล่าช้า และศาลมีอำนาจกำหนดให้จำเลยชำระได้นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(3)
คดีแพ่งและทนายโจทก์เป็นข้าราชการกรมอัยการ เมื่อจำเลยแพ้คดี ศาลก็มีอำนาจให้จำเลยชำระค่าทนายความแทนโจทก์ได้ เป็นการชำระให้แก่คู่ความที่ชนะคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 254/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในเช็คของหุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด และอำนาจกรรมการลงลายมือชื่อ
จำเลยมิได้อุทธรณ์ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม เพราะมิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ชำระหนี้ให้โจทก์ด้วยมูลหนี้อะไร และโจทก์ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายอย่างไร ดังที่จำเลยให้การตัดฟ้อง จำเลยกลับอุทธรณ์ว่า เมื่อโจทก์มิได้นำสืบถึงการเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายหรือนำสืบถึงมูลหนี้เช็คตามฟ้อง จึงเป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงมิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ไม่ใช่ปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่บริษัทโจทก์จดทะเบียนว่า กรรมการสองนายมีอำนาจลงลายมือชื่อแทนบริษัท หมายความว่า กรรมการ 2 คน ไม่ว่าชายหรือหญิงร่วมกันลงชื่อแทนบริษัทโจทก์ได้
จำเลยออกเช็คชำระหนี้ให้โจทก์แทนห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ และเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด จำเลยจึงต้องรับผิดตามเช็คนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077 (2), 900

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2522/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินสาธารณะ สัญญาประนีประนอมยอมความ และความรับผิดของผู้ลงชื่อสัญญา แม้บริษัทเลิกกิจการ
ที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของสวนลุมพินีซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้ายกให้เป็นวนะสาธารณ์สำหรับประชาชน อยู่ในความดูแลรักษาของกรมนคราทร กระทรวงมหาดไทย เทศบาลนครกรุงเทพ โจทก์มีหน้าที่ดูแลรักษาให้เป็นสวนสาธารณะสำหรับประชาชนพักผ่อนหย่อนใจดังนั้นเทศบาลนครกรุงเทพโจทก์ย่อมมีสิทธิเอาที่พิพาทให้เช่าเพื่อหารายได้มาใช้จ่ายปรับปรุงสวนลุมพินีให้อยู่ในสภาพเดิมหรือดีขึ้นกว่าเดิมได้ ไม่ขัดพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496
จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯจำเลยที่ 1 ลงชื่อเป็นคู่สัญญาเช่ากับเทศบาลนครกรุงเทพโจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1จดทะเบียนเลิกห้างฯ โดยไม่มีการชำระบัญชีแต่ในการต่อสัญญาปีต่อ ๆ มา จำเลยที่ 2 ทราบดีว่าห้างฯ จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเลิกห้างฯแล้วก็ยังใช้ชื่อห้างฯ จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่ากับโจทก์โดยจำเลยที่ 2เป็นผู้ลงชื่อในสัญญาเหล่านั้นในฐานะผู้จัดการและดำเนินกิจการค้าและใช้ที่ดินที่เช่าเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 2 ตามวัตถุประสงค์เดิมตลอดมาเป็นเวลาหลายปี เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาในปี 2513จำเลยที่ 2 ก็ได้ติดต่อกับโจทก์ขอต่ออายุสัญญาเช่า และทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์และอาศัยชื่อจำเลยที่ 1เป็นคู่สัญญากับโจทก์ และจำเลย ที่ 2 เป็นผู้ลงชื่อในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1 อยู่เช่นเดิม หาได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าห้างฯ จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนเลิกห้างฯแล้วไม่พฤติการณ์ดังกล่าวเห็นได้ชัดว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาปิดบังแอบอ้างอาศัยใช้ชื่อห้างฯ จำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญากับโจทก์เพื่อกิจการค้าของจำเลยที่ 2 หรือเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 2 เองดังนั้นแม้ว่าสัญญาประนีประนอมยอมความจะไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 เพราะเหตุจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนเลิกห้างฯ แล้ว ก็ตามแต่สัญญานั้นก็ยังมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่ง เป็นผู้ลงชื่อในสัญญานั้นจำเลยที่ 2 ยังคงต้องรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
of 12