พบผลลัพธ์ทั้งหมด 120 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2522/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจให้เช่าทรัพย์สาธารณะ & ความรับผิดของผู้ลงชื่อสัญญาแม้ห้างเลิก & เจตนาปิดบัง
ที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของสวนลุมพินีซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้ายกให้เป็นวนะสาธารณ์สำหรับประชาชนอยู่ในความดูแลรักษาของกรมนคราทร กระทรวงมหาดไทย เทศบาลนครกรุงเทพ โจทก์มีหน้าที่ดูแลรักษาให้เป็นสวนสาธารณะสำหรับประชาชนพักผ่อนหย่อนใจดังนั้นเทศบาลนครกรุงเทพโจทก์ย่อมมีสิทธิเอาที่พิพาทให้เช่าเพื่อหารายได้มาใช้จ่ายปรับปรุงสวนลุมพินีให้อยู่ในสภาพเดิมหรือดีขึ้นกว่าเดิมได้ ไม่ขัดพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496
จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯจำเลยที่ 1 ลงชื่อเป็นคู่สัญญาเช่ากับเทศบาลนครกรุงเทพโจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเลิกห้างฯ โดยไม่มีการชำระบัญชีแต่ในการต่อสัญญาปีต่อ ๆ มา จำเลยที่ 2 ทราบดีว่าห้างฯ จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเลิกห้างฯแล้วก็ยังใช้ชื่อห้างฯ จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่ากับโจทก์โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงชื่อในสัญญาเหล่านั้นในฐานะผู้จัดการและดำเนินกิจการค้าและใช้ที่ดินที่เช่าเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 2 ตามวัตถุประสงค์เดิมตลอดมาเป็นเวลาหลายปี เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาในปี 2513 จำเลยที่ 2 ก็ได้ติดต่อกับโจทก์ขอต่ออายุสัญญาเช่า และทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์และอาศัยชื่อจำเลยที่ 1 เป็นคู่สัญญากับโจทก์ และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงชื่อในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1 อยู่เช่นเดิม หาได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าห้างฯ จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนเลิกห้างฯแล้วไม่พฤติการณ์ดังกล่าวเห็นได้ชัดว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาปิดบังแอบอ้างอาศัยใช้ชื่อห้างฯ จำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญากับโจทก์เพื่อกิจการค้าของจำเลยที่ 2 หรือเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 2 เองดังนั้นแม้ว่าสัญญาประนีประนอมยอมความจะไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 เพราะเหตุจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนเลิกห้างฯ แล้วก็ตามแต่สัญญานั้นก็ยังมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่ง เป็นผู้ลงชื่อในสัญญานั้นจำเลยที่ 2 ยังคงต้องรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯจำเลยที่ 1 ลงชื่อเป็นคู่สัญญาเช่ากับเทศบาลนครกรุงเทพโจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเลิกห้างฯ โดยไม่มีการชำระบัญชีแต่ในการต่อสัญญาปีต่อ ๆ มา จำเลยที่ 2 ทราบดีว่าห้างฯ จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเลิกห้างฯแล้วก็ยังใช้ชื่อห้างฯ จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่ากับโจทก์โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงชื่อในสัญญาเหล่านั้นในฐานะผู้จัดการและดำเนินกิจการค้าและใช้ที่ดินที่เช่าเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 2 ตามวัตถุประสงค์เดิมตลอดมาเป็นเวลาหลายปี เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาในปี 2513 จำเลยที่ 2 ก็ได้ติดต่อกับโจทก์ขอต่ออายุสัญญาเช่า และทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์และอาศัยชื่อจำเลยที่ 1 เป็นคู่สัญญากับโจทก์ และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงชื่อในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1 อยู่เช่นเดิม หาได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าห้างฯ จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนเลิกห้างฯแล้วไม่พฤติการณ์ดังกล่าวเห็นได้ชัดว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาปิดบังแอบอ้างอาศัยใช้ชื่อห้างฯ จำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญากับโจทก์เพื่อกิจการค้าของจำเลยที่ 2 หรือเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 2 เองดังนั้นแม้ว่าสัญญาประนีประนอมยอมความจะไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 เพราะเหตุจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนเลิกห้างฯ แล้วก็ตามแต่สัญญานั้นก็ยังมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่ง เป็นผู้ลงชื่อในสัญญานั้นจำเลยที่ 2 ยังคงต้องรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2454/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ห้างหุ้นส่วนเลิกแล้วยังผูกพันสัญญาได้ หากเป็นการกระทำเพื่อรักษาประโยชน์ของห้างฯ ก่อนการชำระบัญชี
แม้ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะต้องเลิกกันโดยผลของกฎหมาย เนื่องจากหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดตาย แต่ก็พึงถือว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 การที่ตัวแทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งได้รับมอบหมายให้มีอำนาจหน้าที่ดูแลกิจการตลอดจนสั่งซื้อสินค้าต่าง ๆ มาดำเนินการค้าของห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นได้สั่งซื้อกระดาษมาใช้ดำเนินกิจการด้านโรงพิมพ์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ยังค้างอยู่ตามที่ไปรับงานมา แม้จะมิใช่เป็นการกระทำเพื่อชำระบัญชีก็ตาม แต่ก็เป็นการกระทำเพื่อปกปักรักษาประโยชน์อันสมควรมิให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งเป็นตัวการต้องเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 828ห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวจึงต้องผูกพันตามสัญญาซื้อขายนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2454/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันสัญญาหลังห้างหุ้นส่วนเลิก: ตัวแทนยังมีอำนาจสั่งซื้อเพื่อรักษาประโยชน์กิจการ
แม้ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะต้องเลิกกันโดยผลของกฎหมายเนื่องจากหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดตาย แต่ก็พึงถือว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 การที่ตัวแทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งได้รับมอบหมายให้มีอำนาจหน้าที่ดูแลกิจการตลอดจนสั่งซื้อสินค้าต่าง ๆ มาดำเนินการค้าของห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นได้สั่งซื้อกระดาษมาใช้ดำเนินกิจการด้านโรงพิมพ์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ยังค้างอยู่ตามที่ไปรับงานมา แม้จะมิใช่เป็นการกระทำเพื่อชำระบัญชีก็ตาม แต่ก็เป็นการกระทำเพื่อปกปักรักษาประโยชน์อันสมควรมิให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งเป็นตัวการต้องเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 828ห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวจึงต้องผูกพันตามสัญญาซื้อขายนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญก่อนจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และการสงวนสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
ในขณะที่เกิดเหตุละเมิดขึ้นนั้น ห้างหุ้นส่วนจำกัดสหมิตรหล่อยางยังมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ตามกฎหมายถือว่าเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญโจทก์ในฐานะผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว ย่อมมีอำนาจฟ้องร้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้ร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดซึ่งลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้กระทำต่อทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนนั้นได้ และอำนาจฟ้องหรือสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อผู้กระทำละเมิดต่อทรัพย์นั้นเป็นบุคคลสิทธิ มิใช่ทรัพย์สิทธิที่ติดตามไปกับตัวทรัพย์ เมื่อสิทธิดังกล่าวได้เกิดมีขึ้นแล้ว แม้ต่อมาห้างหุ้นส่วนจำกัดสหมิตรหล่อยางได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายซึ่งรวมเข้ากันเป็นห้างหุ้นส่วนนั้นก็ตาม อำนาจฟ้องหรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวก็หาโอนไปยังห้างหุ้นส่วนจำกัดสหมิตรหล่อยางด้วยไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
รถยนต์ของจำเลยที่ชนรถโจทก์ได้ประกันไว้กับบริษัทประกันภัยเมื่อเกิดเหตุแล้วตัวแทนบริษัทประกันภัยไปตรวจ เห็นว่ารถฝ่ายจำเลยผิดจึงได้รับรถโจทก์ไปซ่อมให้ ได้มีการไปทำบันทึกกันที่สถานีตำรวจมีข้อความตอนหนึ่งว่า ส่วนค่าเสียหายนอกจากการซ่อมซึ่งบริษัทประกันภัยรับผิดชอบ ตัวแทนของโจทก์จะไปเจรจาตกลงกันเองกับจำเลยที่ 2ผู้เป็นเจ้าของรถคันที่เป็นฝ่ายชนต่อไป บันทึกนี้เป็นเพียงบันทึกระหว่างตัวแทนโจทก์กับตัวแทนบริษัทประกันภัยเท่านั้น โจทก์หามีหน้าที่แจ้งให้จำเลยทราบไม่
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2516)
รถยนต์ของจำเลยที่ชนรถโจทก์ได้ประกันไว้กับบริษัทประกันภัยเมื่อเกิดเหตุแล้วตัวแทนบริษัทประกันภัยไปตรวจ เห็นว่ารถฝ่ายจำเลยผิดจึงได้รับรถโจทก์ไปซ่อมให้ ได้มีการไปทำบันทึกกันที่สถานีตำรวจมีข้อความตอนหนึ่งว่า ส่วนค่าเสียหายนอกจากการซ่อมซึ่งบริษัทประกันภัยรับผิดชอบ ตัวแทนของโจทก์จะไปเจรจาตกลงกันเองกับจำเลยที่ 2ผู้เป็นเจ้าของรถคันที่เป็นฝ่ายชนต่อไป บันทึกนี้เป็นเพียงบันทึกระหว่างตัวแทนโจทก์กับตัวแทนบริษัทประกันภัยเท่านั้น โจทก์หามีหน้าที่แจ้งให้จำเลยทราบไม่
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิด: ห้างหุ้นส่วนสามัญก่อนจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล สิทธิเรียกร้องเป็นของหุ้นส่วน
ในขณะที่เกิดเหตุละเมิดขึ้นนั้นห้างหุ้นส่วนจำกัดสหมิตรหล่อยางยังมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ตามกฎหมายถือว่าเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ โจทก์ในฐานะผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว ย่อมมีอำนาจฟ้องร้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้ร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดซึ่งลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้กระทำต่อทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนนั้นได้ และอำนาจฟ้องหรือสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อผู้กระทำละเมิดต่อทรัพย์นั้นเป็นบุคคลสิทธิ มิใช่ทรัพย์สิทธิที่ติดตามไปกับตัวทรัพย์ เมื่อสิทธิดังกล่าวได้เกิดมีขึ้นแล้ว แม้ต่อมาห้างหุ้นส่วนจำกัดสหมิตรหล่อยางได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายซึ่งรวมเข้ากันเป็นห้างหุ้นส่วนนั้นก็ตาม อำนาจฟ้องหรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวก็หาโอนไปยังห้างหุ้นส่วนจำกัดสหมิตรหล่อยางด้วยไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
รถยนต์ของจำเลยที่ชนรถโจทก์ได้ประกันไว้กับบริษัทประกันภัย เมื่อเกิดเหตุแล้วตัวแทนบริษัทประกันภัยไปตรวจ เห็นว่ารถฝ่ายจำเลยผิด จึงได้รับรถโจทก์ไปซ่อมให้ ได้มีการไปทำบันทึกกันที่สถานีตำรวจมีข้อความตอนหนึ่งว่า ส่วนค่าเสียหายนอกจากการซ่อมซึ่งบริษัทประกันภัยรับผิดชอบ ตัวแทนของโจทก์จะไปเจรจาตกลงกันเองกับจำเลยที่ 2 ผู้เป็นเจ้าของรถคันที่เป็นฝ่ายชนต่อไป บันทึกนี้เป็นเพียงบันทึกระหว่างตัวแทนโจทก์กับตัวแทนบริษัทประกันภัยเท่านั้น โจทก์หามีหน้าที่แจ้งให้จำเลยทราบไม่
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2516)
รถยนต์ของจำเลยที่ชนรถโจทก์ได้ประกันไว้กับบริษัทประกันภัย เมื่อเกิดเหตุแล้วตัวแทนบริษัทประกันภัยไปตรวจ เห็นว่ารถฝ่ายจำเลยผิด จึงได้รับรถโจทก์ไปซ่อมให้ ได้มีการไปทำบันทึกกันที่สถานีตำรวจมีข้อความตอนหนึ่งว่า ส่วนค่าเสียหายนอกจากการซ่อมซึ่งบริษัทประกันภัยรับผิดชอบ ตัวแทนของโจทก์จะไปเจรจาตกลงกันเองกับจำเลยที่ 2 ผู้เป็นเจ้าของรถคันที่เป็นฝ่ายชนต่อไป บันทึกนี้เป็นเพียงบันทึกระหว่างตัวแทนโจทก์กับตัวแทนบริษัทประกันภัยเท่านั้น โจทก์หามีหน้าที่แจ้งให้จำเลยทราบไม่
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทของผู้ขับรถโดยสารที่ปล่อยให้ผู้โดยสารเกาะห้อยโหน และความรับผิดของนายจ้าง
จำเลยซึ่งเป็นผู้ขับรถยนต์โดยสาร เห็นโจทก์ยืนเกาะห้อยโหนบันไดรถ ตัวโจทก์ยื่นออกไปนอกรถ แล้วยังคงขับรถต่อไปโดยไม่จัดการมิให้มีการเกาะห้อยโหนเช่นนั้นเสียก่อน ถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยประมาท
โจทก์มีส่วนผิดเพราะเกาะห้อยโหนรถ ความรับผิดของจำเลยจึงต้องลดลงตามส่วน
จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเพียงผู้ถือหุ้นและหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลและเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 อยู่แล้ว มิใช่นายจ้างของจำเลยที่ 1 ด้วยไม่ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1
โจทก์มีส่วนผิดเพราะเกาะห้อยโหนรถ ความรับผิดของจำเลยจึงต้องลดลงตามส่วน
จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเพียงผู้ถือหุ้นและหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลและเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 อยู่แล้ว มิใช่นายจ้างของจำเลยที่ 1 ด้วยไม่ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาทจากการไม่จัดการผู้โดยสารเกาะห้อยโหนรถ และขอบเขตความรับผิดของนายจ้างและผู้ถือหุ้น
จำเลยซึ่งเป็นผู้ขับรถยนต์โดยสาร เห็นโจทก์ยืนเกาะห้อยโหนบันไดรถ ตัวโจทก์ยื่นออกไปนอกรถ แล้วยังคงขับรถต่อไปโดยไม่จัดการมิให้มีการเกาะห้อยโหนเช่นนั้นเสียก่อน ถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยประมาท
โจทก์มีส่วนผิดเพราะเกาะห้อยโหนรถ ความรับผิดของจำเลยจึงต้องลดลงตามส่วน
จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเพียงผู้ถือหุ้นและหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลและเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 อยู่แล้ว มิใช่นายจ้างของจำเลยที่ 1 ด้วยไม่ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1
โจทก์มีส่วนผิดเพราะเกาะห้อยโหนรถ ความรับผิดของจำเลยจึงต้องลดลงตามส่วน
จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเพียงผู้ถือหุ้นและหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลและเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 อยู่แล้ว มิใช่นายจ้างของจำเลยที่ 1 ด้วยไม่ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจร้องทุกข์ของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัด และอายุความคดีเช็ค
หุ้นส่วนที่ไม่ใช่ผู้จัดการหรือผู้แทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งเป็นนิติบุคคล ย่อมไม่มีอำนาจร้องทุกข์แทนห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น
ใบมอบอำนาจซึ่งมีข้อความว่ามอบอำนาจให้ฟ้องร้องต่อศาลเกี่ยวกับคดีเรื่องเช็คได้ทุกศาล เป็นการมอบอำนาจให้ดำเนินการแทนเฉพาะการฟ้องร้องคดีต่อศาล ไม่รวมถึงการมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ หลังจากวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค 5 เดือนเศษ โดยโจทก์มิได้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด ฟ้องโจทก์ย่อมขาดอายุความ
ใบมอบอำนาจซึ่งมีข้อความว่ามอบอำนาจให้ฟ้องร้องต่อศาลเกี่ยวกับคดีเรื่องเช็คได้ทุกศาล เป็นการมอบอำนาจให้ดำเนินการแทนเฉพาะการฟ้องร้องคดีต่อศาล ไม่รวมถึงการมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ หลังจากวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค 5 เดือนเศษ โดยโจทก์มิได้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด ฟ้องโจทก์ย่อมขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดลงสัญญาซื้อขายแทนห้างหุ้นส่วน ต้องรับผิดร่วมกันในสัญญา
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดในห้างจำเลยที่ 1ซึ่งจดทะเบียนเป็นหุ้นส่วนจำกัด ห้างจำเลยที่ 1 มอบให้จำเลยที่ 2 กระทำการแทนห้างจำเลยที่ 1 ที่สำนักงานกรุงเทพฯ จำเลยที่ 2 ได้ลงชื่อทำสัญญาขายปอให้แก่โจทก์ในนามห้างจำเลยที่ 1 และประทับตราห้างจำเลยที่1 ด้วย ดังนี้ ห้างจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญานั้น
การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดได้เข้าทำสัญญาขายปอในนามห้างจำเลยที่ 1 โดยลงชื่อตนเองและประทับตราห้างจำเลยที่ 1 อันเป็นการสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ด้วย
การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดได้เข้าทำสัญญาขายปอในนามห้างจำเลยที่ 1 โดยลงชื่อตนเองและประทับตราห้างจำเลยที่ 1 อันเป็นการสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดลงนามสัญญาซื้อขายแทนห้างหุ้นส่วน ห้างฯ และหุ้นส่วนต้องร่วมรับผิดตามสัญญา
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดในห้างจำเลยที่ 1 ซึ่งจดทะเบียนเป็นหุ้นส่วนจำกัด ห้างจำเลยที่ 1 มอบให้จำเลยที่ 2 กระทำการแทนห้างจำเลยที่ 1 ที่สำนักงานกรุงเทพฯ จำเลยที่ 2 ได้ลงชื่อทำสัญญาขายปอให้แก่โจทก์ในนามห้างจำเลยที่ 1 และประทับตราห้างจำเลยที่1 ด้วย ดังนี้ ห้างจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญานั้น
การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดได้เข้าทำสัญญาขายปอในนามห้างจำเลยที่ 1 โดยลงชื่อตนเองและประทับตราห้างจำเลยที่ 1 อันเป็นการสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ด้วย
การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดได้เข้าทำสัญญาขายปอในนามห้างจำเลยที่ 1 โดยลงชื่อตนเองและประทับตราห้างจำเลยที่ 1 อันเป็นการสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ด้วย