พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3854/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลไทยคดีข้ามแดนและองค์ประกอบความผิดทางศุลกากร
สถานีรถไฟปาดังเบซาร์อยู่ในประเทศมาเลเซียห่างเขตแดนประเทศไทย 500 เมตร ภายในสถานีมีที่ทำการด่านศุลกากรของไทยและมาเลเซียเมื่อนายตรวจศุลกากรประจำด่านของไทย ยึดเห็ดหอมซึ่งเป็นสินค้าต่างประเทศไม่ปรากฏเจ้าของมาเพื่อเก็บในด่านศุลกากร ขณะรอคนเปิดประตูห้องอยู่นั้น จำเลยเข้ามาแสดงตัวเป็นเจ้าของขอคืน แต่ไม่ได้คืนจึงเกิดการทำร้ายกันขึ้น เช่นนี้ เมื่อเป็นความผิดตามกฎหมายภาษีศุลกากรกับความผิดซึ่งเกี่ยวเนื่องกันคือต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน และเอาของกลางไป ศาลไทยมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้
การที่จำเลยนำเห็ดหอมไปวางไว้ในที่พักพนักงานตรวจรถไป ซึ่งอยู่ติดกับสถานีรถไฟปาดังเบธาร์ และห่างเขตแดนไทยถึงห้าร้อยเมตร ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยนำสินค้าต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร ฯลฯ แม้เพียงชั้นพยายามกระทำผิด การที่จำเลยไปนำเห็ดหอมกลับคืนจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 142
การที่จำเลยนำเห็ดหอมไปวางไว้ในที่พักพนักงานตรวจรถไป ซึ่งอยู่ติดกับสถานีรถไฟปาดังเบธาร์ และห่างเขตแดนไทยถึงห้าร้อยเมตร ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยนำสินค้าต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร ฯลฯ แม้เพียงชั้นพยายามกระทำผิด การที่จำเลยไปนำเห็ดหอมกลับคืนจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3854/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลไทยพิจารณาคดีที่เกิดในสถานีร่วมต่างประเทศ, การลักลอบนำเข้า, และการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน
สถานีรถไฟปาดังเบซาร์อยู่ในประเทศมาเลเซียห่างเขตแดนประเทศไทย 500 เมตร ภายในสถานีมีด่านศุลกากรของไทยและมาเลเซียเมื่อเวลา 8 นาฬิกานายตรวจศุลกากรประจำด่านของไทยยึดเห็ดหอม ไม่ปรากฏเจ้าของมาจากที่ทำการพนักงานตรวจรถไฟซึ่งอยู่ติดสถานีเพื่อเก็บในด่านศุลกากร ขณะรอคนเปิด ประตูห้องจำเลยเข้ามาแสดงตัวเป็นเจ้าของขอคืน แล้วเกิดทำร้ายกันขึ้น เมื่อเป็นความผิดตามกฎหมายภาษีศุลกากรกับความผิดซึ่งเกี่ยวเนื่องกันคือต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานและเอาของกลางไปดังนี้ ศาลไทยมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้
จำเลยนำเห็ดหอมไปวาง ณ ที่ทำการพนักงานตรวจรถไฟ ยังไม่เป็นความผิดฐานนำสินค้าต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรตาม พระราชบัญญัติศุลกากร ฯ ม.27 แม้เพียงขั้นพยายามกระทำผิด และเมื่อไปนำกลับคืนมาจึงไม่มีความผิดตาม ประมวลกฎหมาย มาตรา142
จำเลยนำเห็ดหอมไปวาง ณ ที่ทำการพนักงานตรวจรถไฟ ยังไม่เป็นความผิดฐานนำสินค้าต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรตาม พระราชบัญญัติศุลกากร ฯ ม.27 แม้เพียงขั้นพยายามกระทำผิด และเมื่อไปนำกลับคืนมาจึงไม่มีความผิดตาม ประมวลกฎหมาย มาตรา142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา มาตรา 142: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ถูกกระทำโดยตรง
ฮ. ใช้ปืนยิงป.และ ว.ตายจ่าสิบตำรวจ ส. ได้รับแจ้งความแล้วไปยังที่เกิดเหตุในระหว่างทางพบจำเลยที่ 1, 2 และ ฮ. จึงถามจำเลยที่ 1 ว่าปืนที่ ฮ. ใช้ยิง ป. และ ว. นั้นอยู่กับใคร จำเลยที่ 1 ว่าอยู่กับจำเลยที่ 3 จ่าสิบตำรวจ ส. บอกจำเลยที่ 1ให้เก็บปืนไว้ด้วยเมื่อจ่าสิบตำรวจ ส. มอบตัว ฮ. ที่สถานีตำรวจ แล้วกลับไปที่เกิดเหตุเพื่อยึดปืนเป็นของกลาง ถามจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ว่าเมื่อได้รับปืนจากจำเลยที่ 2 แล้วได้เอาไปวางไว้ที่กล่องเบียร์แล้วหายไป จ่าสิบตำรวจ ส. จึงไม่ได้ปืนนั้นมาเป็นของกลาง ดังนี้ บุตรของ ป. กับ ว.และมารดาของว. ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 142 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2517)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1351/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำลายเอกสารก่อนศาลสั่งให้ส่งเป็นพยานหลักฐาน ไม่ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
เอกสารอยู่ในกระดาษฟูลสะแก็ปแผ่นเดียวกัน2ซีก ซีกหนึ่งเป็นพินัยกรรม อีกซีกหนึ่งเป็นสัญญาผูกแก้(สัญญาเช่าอย่างหนึ่ง) จำเลยได้ฉีกกระดาษ 2 ซีกแผ่นนี้ให้ขาดออกจากกันเป็นซีกละแผ่น (ข้อความคงเดิม)และจำเลยฉีกก่อนจำเลยได้รับหมายเรียกจากศาลให้ส่งพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพยาน เช่นนี้ จำเลยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 142 เพราะขณะฉีกเอกสารรายนี้ยังไม่ใช่เอกสารที่ศาลสั่งให้จำเลยส่งเพื่อเป็นพยานหลักฐาน
อนึ่ง เมื่อจำเลยฉีกให้ขาดโดยไม่ได้ทำให้โจทก์หรือผู้ใดเสียหาย และโจทก์สืบไม่ได้ว่าจำเลยเจตนาทำให้เอกสารไร้ประโยชน์ จำเลยก็ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 ด้วย
อนึ่ง เมื่อจำเลยฉีกให้ขาดโดยไม่ได้ทำให้โจทก์หรือผู้ใดเสียหาย และโจทก์สืบไม่ได้ว่าจำเลยเจตนาทำให้เอกสารไร้ประโยชน์ จำเลยก็ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1351/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำลายเอกสารก่อนถูกสั่งให้ส่งเป็นพยานหลักฐาน ไม่ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
เอกสารอยู่ในกระดาษฟูลสะแก๊ปแผ่นเดียวกัน 1 ซีก ซีกหนึ่งเป็นพินัยกรรม อีกซีกหนึ่งเป็นสัญญาผูกแก้ (สัญญาเช่าอย่างหนึ่ง) จำเลยได้ฉีกกระดาษ 2 ซีกแผ่นนี้ให้ขาดออกจากกันเป็นซีกละแผ่น (ข้อความคงเดิม) และจำเลยฉีกก่อน จำเลยได้รับหมายเรียกจากศาลให้ส่งพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพยาน เช่นนี้ จำเลยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 142 เพราะ ขณะฉีกเอกสารรายนี้ ยังไม่ใช่เอกสารที่ศาลสั่งให้จำเลยส่งเพื่อเป็นพยานหลักฐาน
อนึ่ง เมื่อจำเลยฉีกให้ขาดโดยไม่ได้ทำให้โจทก์หรือผู้ใดเสียหาย และโจทก์สืบไม่ได้ว่าจำเลยเจตนาทำให้เอกสารไร้ประโยชน์จำเลยก็ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 ด้วย
อนึ่ง เมื่อจำเลยฉีกให้ขาดโดยไม่ได้ทำให้โจทก์หรือผู้ใดเสียหาย และโจทก์สืบไม่ได้ว่าจำเลยเจตนาทำให้เอกสารไร้ประโยชน์จำเลยก็ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในรถของกลาง ผู้ซื้อโดยสุจริตได้รับกรรมสิทธิ์ แม้รถยังถูกยึดเป็นของกลางอยู่
รถยนต์ของกลางของจำเลยในคดีความผิดฐานรับของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร และใช้รถยนต์วิ่งบนทางหลวงที่ยังมิได้เปิดเป็นถนนสาธารณโดยไม่รับอนุญาตซึ่งพนักงานสอบสวนได้ยึดไว้และได้มอบให้บุคคลอื่นรักษาไว้ในระหว่างคดี หากจำเลยได้เอารถคันนั้นไปโอนขายให้บุคคลภายนอก และบุคคลภายนอกได้รับซื้อไว้โดยสุจริตโดยไม่รู้ว่าเป็นรถที่ถูกยึดไว้เป็นของกลางในคดีบุคคลภายนอกผู้นั้นย่อมได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันนั้นต่อมาภายหลังเมื่อคดีถึงศาล และศาลได้พิพากษาให้ริบรถยนต์ของกลาง บุคคลภายนอกผู้นั้นย่อมร้องขอให้ศาลสั่งคืนรถยนต์ของกลางที่ศาลพิพากษาให้ริบนั้นได้รูปคดีเช่นนี้จะปรับด้วยบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469 มาตรา 24 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 มาตรา 3 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในรถของกลางที่ถูกยึดและการซื้อขายโดยสุจริต ผู้ซื้อย่อมได้กรรมสิทธิ์
รถยนต์ของกลางของจำเลยในคดีความผิดฐานรับของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร และใช้รถยนต์วิ่งบนทางหลวงที่ยังมิได้เปิดเป็นถนนสาธารณโดยไม่รับอนุญาต ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ยึดไว้และได้มอบให้บุคคลอื่นรักษาไว้ในระหว่างคดี หากจำเลยได้เอารถคันนั้นไปโอนขายให้บุคคลภายนอก และบุคคลภายนอกได้รับซื้อไว้โดยสุจริต โดยไม่รู้ว่าเป็นรถที่ถูกยึดไว้เป็นของกลางในคดี บุคคลภายนอกผู้นั้นย่อมได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันนั้น ต่อมาภายหลังเมื่อคดีถึงศาลและศาลได้พิพากษาให้ริบรถยนต์ของกลาง บุคคลภายนอกผู้นั้นย่อมร้องขอให้ศาลสั่งคืนรถยนต์ของกลางที่ศาลพิพากษาให้ริบนั้นได้ รูปคดีเช่นนี้จะปรับด้วยบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 24 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 มาตรา 3 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1528/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลักทรัพย์ที่ถูกยึด: ยังคงเป็นความผิดตามมาตรา 142 แม้กฎหมายลักษณะอาญามาตรา 290 ถูกยกเลิก
ความผิดฐานลักทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออายัดไปตามกฎหมายลักษณะอาญาร.ศ.127 มาตรา 290 นั้น หาได้ถูกประมวลกฎหมายอาญายกเลิกไปโดยสิ้นเชิงไม่ แม้ความผิดฐานลักทรัพย์ที่เจ้าพนักงานยึดหรืออายัดจะไม่มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา แต่การเอาทรัพย์ที่เจ้าพนักงานยึดรักษาไว้ไปโดยทุจริต ก็คงยังเป็นความผิดตามมาตรา 142 ประมวลกฎหมายอาญาอยู่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 28/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1528/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลักทรัพย์ของกลาง: ยังคงลงโทษได้ตามมาตรา 142 แม้กฎหมายลักษณะอาญามาตรา 290 ถูกยกเลิก
ความผิดฐานลักทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออายัดไปตามกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 มาตรา 290 นั้น หาได้ถูกประมวลกฎหมายอาญายกเลิกไปโดยสิ้นเชิงไม่ แม้ความผิดฐานลักทรัพย์ที่เจ้าพนักงานยึดหรืออายัดจะไม่มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา แต่การเอาทรัพย์ที่เจ้าพนักงานยึดรักษาไว้ไปโดยทุจริต ก็คงยังเป็นความผิดตามมาตรา 142 ประมวลกฎหมายอาญาอยู่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 28/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือวิ่งราวทรัพย์ต้องมุ่งเอาทรัพย์เป็นของตนเองหรือผู้อื่น
ความผิดฐานลักทรัพย์ เป็นเรื่องเอาทรัพย์ของคนอื่นหรือเอาทรัพย์ซึ่งคนอื่นมีเจ้าของร่วมด้วยไปโดยเจตนาจะเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนเองหรือผู้อื่น ฉะนั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเจตนาที่จะเอาทรัพย์เป็นของตนหรือของผู้อื่น แต่แสดงว่าเป็นเรื่องเจตนาอย่างอื่น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือวิ่งราวทรัพย์