คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 158

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 76 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7504/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้เสียหายในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 142 และ 157 ต้องเป็นเจ้าพนักงานหรือรัฐเท่านั้น โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 142 เป็นกรณีที่ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหาย หรือไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สิน หรือเอกสารใด ๆ อันเจ้าพนักงานได้ยึด รักษาไว้หรือสั่งให้ส่งเพื่อเป็นพยานหลักฐาน... ไม่ว่าเจ้าพนักงานจะรักษาทรัพย์หรือเอกสารนั้นไว้เอง... ต้องระวางโทษจำคุก... เป็นการกระทำความผิดต่อเจ้าพนักงานและรัฐเท่านั้นที่เป็นผู้เสียหาย กฎหมายมิได้บัญญัติถึงองค์ประกอบความผิดในส่วนที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่นหรือประชาชนไว้ ดังนั้น บุคคลทั่วไปหรือประชาชนจึงไม่อาจเป็นผู้เสียหายในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 142 ได้
สำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 นั้น เมื่อการกระทำที่โจทก์กล่าวหาว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 142, 151 และ 158 ไม่ได้เป็นการกระทำความผิดต่อโจทก์โดยตรง และโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจดำเนินคดีจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ในความผิดตามมาตรา 142, 151 และ 158 แล้ว การที่จำเลยที่ 7 ถึงที่ 10 กระทำการเพื่อช่วยเหลือจำเลยที่ 3 และที่ 4 แม้จะเป็นความจริงหรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยที่ 7 ถึงที่ 10 โดยตรง แม้โจทก์จะเคยร้องเรียนให้ดำเนินการสอบสวนลงโทษทางวินัยแก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ก็ตาม การที่โจทก์เป็นผู้ร้องเรียนให้ลงโทษทางวินัยแก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิที่โจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยที่ 3 และที่ 4 แต่ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษซึ่งจะทำให้โจทก์เป็นผู้เสียหายตามมาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17978/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คณะกรรมการสรรหา กทช. ไม่เป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อาญา, ประธานวุฒิสภาไม่ใช่เจ้าพนักงาน, ฟ้องแจ้งความเท็จไม่成立
ตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2543 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุบัญญัติไว้ชัดเจนว่า ให้คณะกรรมการ กสช. ก็ดี คณะกรรมการ กทช. ก็ดี และพนักงานสำนักงานของคณะกรรมการดังกล่าว ก็ดี เป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อ. แต่ในกฎหมายฉบับเดียวกัน มาตรา 49 ว่าด้วยคณะกรรมการสรรหา ที่มา และบทบาทหน้าที่ ไม่ได้กำหนดว่าคณะกรรมการสรรหากรรมการกิจการโทรคมนาคมเป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อ. เช่นเดียวกันกับคณะกรรมการ กสช. หรือ กทช. หรือพนักงานดังกล่าว เช่นนี้ ย่อมเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวได้ชัดเจนว่า กฎหมายไม่ได้มีเจตนารมณ์ที่จะให้คณะกรรมการสรรหากรรมการกิจการโทรคมนาคมต้องมีอำนาจหน้าที่หรือมีความรับผิดในฐานะเป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อ. จำเลยเป็นเพียงคณะกรรมการสรรหากรรมการกิจการโทรคมนาคม จึงไม่ใช่เจ้าพนักงานที่จะต้องรับผิดในฐานะเป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อ. มาตรา 157, 158, 161 และ 162
ตำแหน่งประธานวุฒิสภา เป็นตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ ไม่ใช่ตำแหน่งเจ้าพนักงานตามความหมายในลักษณะ 2 หมวด 1 แห่ง ป.อ. การยื่นรายงานเรื่องผลการพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็น กทช. จึงไม่อาจที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 929/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดของพนักงานสอบสวนที่ทำลายหลักฐานและช่วยเหลือผู้ต้องหา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 139 บัญญัติให้พนักงานสอบสวนบันทึกการสอบสวนตามหลักทั่วไปในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอันว่าด้วยการสอบสวนและให้เอาบันทึกเอกสารอื่นซึ่งได้มา อีกทั้งบันทึกและเอกสารทั้งหลายซึ่งเจ้าพนักงานอื่นผู้สอบสวนคดีเดียวกันนั้นส่งมารวมเข้าสำนวนไว้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนจะอ้างว่าได้ทำบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาและผู้กล่าวหาใหม่แล้วของเดิมไม่สำคัญ หรือผู้ให้ถ้อยคำไม่ประสงค์จะใช้ของเดิมจึงไม่นำเข้ารวมสำนวนไว้หาได้ไม่ การที่จำเลยที่ 1 เอาไปเสียซึ่งคำให้การฉบับเดิมของผู้ต้องหาและผู้กล่าวหาซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ปกครองดูแลรักษาไว้ อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 158 นั้น ก็โดยเจตนาเพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหามิให้ต้องโทษ ซึ่งเป็นการกระทำการในตำแหน่งพนักงานสอบสวนโดยมิชอบอันเป็นความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157,200 วรรคแรกด้วย การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดกรรมเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 929/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำลายหลักฐานการสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนเพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหา
ป.วิ.อ. มาตรา 139 บัญญัติให้พนักงานสอบสวนบันทึกการสอบสวนตามหลักทั่วไปในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอันว่าด้วยการสอบสวนและให้เอาบันทึกเอกสารอื่นซึ่งได้มา อีกทั้งบันทึกและเอกสารทั้งหลายซึ่งเจ้าพนักงานอื่นผู้สอบสวนคดีเดียวกันนั้นส่งมารวมเข้าสำนวนไว้ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนจะอ้างว่าได้ทำบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาและผู้กล่าวหาใหม่แล้วของเดิมไม่สำคัญ หรือผู้ให้ถ้อยคำไม่ประสงค์จะใช้ของเดิมจึงไม่นำเข้ารวมสำนวนไว้หาได้ไม่
การที่จำเลยที่ 1 เอาไปเสียซึ่งคำให้การฉบับเดิมของผู้ต้องหาและผู้กล่าวหาซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ปกครองดูแลรักษาไว้ อันเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 158 นั้น ก็โดยเจตนาเพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหามิให้ต้องโทษ ซึ่งเป็นการกระทำการในตำแหน่งพนักงานสอบสวนโดยมิชอบอันเป็นความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 157,200 วรรคแรกด้วย การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดกรรมเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6525/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามหน้าที่ปกครอง/รักษาเอกสาร ไม่ได้กระทำให้เสียหาย/ทำลายเอกสารเอง จึงไม่ผิดตามมาตรา 158
โจทก์กับ ป. มีข้อพิพาทเกี่ยวกับการเช่านาพิพาทของโจทก์คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัดได้พิจารณาและมีมติให้ ป. ทำนาของโจทก์ต่อไป โจทก์อุทธรณ์มติดังกล่าวโดยส่งอุทธรณ์ไปทางไปรษณีย์ตอบรับให้แก่จำเลยซึ่งเป็นกำนันตำบลและประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลผู้มีหน้าที่รับอุทธรณ์ดังกล่าว ส. บุตรจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับอุทธรณ์ของโจทก์ จำเลยมิได้เป็นผู้รับไว้และไม่ได้อยู่บ้านไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กระทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสียหรือทำให้สูญหายหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งอุทธรณ์ของโจทก์หรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้นแต่อย่างใดจะลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 158 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4259/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 158 เป็นของผู้เสียหายโดยนิตินัยเท่านั้น
การกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 158 เป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ผู้กระทำความผิดเป็นเจ้าพนักงานของรัฐและทรัพย์หรือเอกสารใดซึ่งเป็นของทางราชการหรือของรัฐนั้นอยู่ในหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นที่จะปกครองหรือรักษาไว้ถูกทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหายหรือทำให้ไร้ประโยชน์หรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้น ดังนี้ ย่อมเห็นได้ชัดเจนว่ารัฐเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงและนับว่าเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย หากโจทก์ซึ่งเป็นราษฎรจะได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยก็เป็นเพียงผู้เสียหายโดยพฤตินัย มิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ไม่มีอำนาจฟ้องคดีได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4259/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ (มาตรา 158) เป็นของผู้เสียหายโดยนิตินัย (รัฐ) ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยพฤตินัย (ประชาชน)
การกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 158 เป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ผู้กระทำความผิดเป็นเจ้าพนักงานของรัฐและทรัพย์หรือเอกสารใดซึ่งเป็นของทางราชการหรือของรัฐนั้น อยู่ในหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นที่จะปกครองหรือรักษาไว้ถูกทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหายหรือทำให้ไร้ประโยชน์ หรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้น ดังนี้ ย่อมเห็นได้ชัดเจนว่ารัฐเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงและนับว่าเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย หากโจทก์ซึ่งเป็นราษฎรจะได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยก็เป็นเพียงผู้เสียหายโดยพฤตินัย มิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ไม่มีอำนาจฟ้องคดีได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2175/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบียดบังทรัพย์ของเจ้าพนักงานและการปรับบทลงโทษ: ศาลฎีกายกข้อกฎหมายที่ศาลล่างปรับบทผิดพลาด
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีคำสั่งกองกำกับการตำรวจภูธรที่จำเลยสังกัดกำหนดให้จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างซ่อมแซมสถานที่ราชการและมีหน้าที่จำหน่ายแบบแปลนการก่อสร้างเขียนใบเสร็จรับเงินเสนอรองผู้กำกับการตำรวจภูธรต้นสังกัดลงชื่อเป็นผู้รับเงินและนำเงินที่จำหน่ายแบบแปลนการก่อสร้างได้ส่งมอบแก่สมุห์บัญชีกองกำกับการฯเพื่อส่งเป็นรายได้ของแผ่นดินต่อไปจำเลยมิได้นำเงินที่จำหน่ายแบบแปลนการก่อสร้างได้จำนวน7,600บาทส่งเป็นรายได้ของแผ่นดินตามระเบียบจนพนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบพบและแนะนำให้จำเลยนำเงินจำนวนดังกล่าวส่งคลังจำเลยจึงปฏิบัติตามพฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยละเว้นการปฏิบัติหน้าที่และเบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าวเป็นของตนโดยทุจริตเป็นผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา147,157,158แต่เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา147ซึ่งเป็นบทเฉพาะของมาตรา157แล้วการกระทำนั้นก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา157ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2175/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานละเว้นหน้าที่-เบียดบังทรัพย์: ศาลแก้โทษ ตัดความผิดมาตรา 157
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีคำสั่งกองกำกับการตำรวจภูธรที่จำเลยสังกัดกำหนดให้จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างซ่อมแซมสถานที่ราชการและมีหน้าที่จำหน่ายแบบแปลนการก่อสร้างเขียนใบเสร็จรับเงินเสนอรองผู้กำกับการตำรวจภูธรต้นสังกัดลงชื่อเป็นผู้รับเงินและนำเงินที่จำหน่ายแบบแปลนการก่อสร้างได้ส่งมอบแก่สมุห์บัญชีกองกำกับการฯเพื่อส่งเป็นรายได้ของแผ่นดินต่อไปจำเลยมิได้นำเงินที่จำหน่ายแบบแปลนการก่อสร้างได้จำนวน7,600บาทส่งเป็นรายได้ของแผ่นดินตามระเบียบจนพนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบพบและแนะนำให้จำเลยนำเงินจำนวนดังกล่าวส่งคลังจำเลยจึงปฏิบัติตามพฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยละเว้นการปฏิบัติหน้าที่และเบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าวเป็นของตนโดยทุจริตเป็นผิดตามป.อ.มาตรา147,157,158แต่เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามป.อ.มาตรา147ซึ่งเป็นบทเฉพาะของมาตรา157แล้วการกระทำนั้นก็ไม่เป็นความผิดตามป.อ.มาตรา157ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 645/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าพนักงานที่มิได้ทำให้ทรัพย์สินของราชการสูญหาย แม้จะนำไปฝากไว้กับผู้อื่นและถูกลัก
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจได้รับมอบอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของทางราชการไว้ใช้ปฏิบัติหน้าที่ต่อมาได้นำอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนดังกล่าวไปฝากไว้กับบุคคลอื่นและถูกคนร้ายลักเอาไปจำเลยไม่มีเจตนาทุจริตเบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าวเป็นของตนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา147และจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำให้ทรัพย์นั้นสูญหายจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา158.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
of 8