พบผลลัพธ์ทั้งหมด 174 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7157/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความล่าช้าในการขนส่งสินค้าทางอากาศ, การพิสูจน์เหตุสุดวิสัย, และการหักกลบลบหนี้ค่าเสียหาย
พฤติการณ์ที่จำเลยเลือกใช้บริการขนส่งทางอากาศซึ่งมีค่าขนส่งสูงกว่าการขนส่งทางทะเลมากถึงประมาณ 10 เท่า ก็เพราะเหตุจำเป็นต้องการส่งสินค้าให้ถึงโดยด่วน แม้ในใบรับขนทางอากาศจะไม่ได้ระบุวันที่สินค้าต้องถึงปลายทางไว้ก็เห็นได้อยู่ในตัวว่า คู่สัญญามีเจตนาให้ขนส่งสินค้าถึงปลายทางโดยรวดเร็วตามสภาพปกติในการขนส่งทางอากาศโดยเครื่องบิน ซึ่งต้องใช้เวลาน้อยกว่าการขนส่งทางทะเลมากพอสมควร แต่การขนส่งสินค้าตามใบรับขนทางอากาศ 2 ฉบับ ตามฟ้อง โจทก์ใช้เวลาในการขนส่งถึงปลายทางช้ากว่าปกติ โดยใช้เวลามากกว่าการขนส่งทางทะเล ย่อมเห็นได้ว่าล่าช้าผิดปกติจากที่ควรจะเป็น
ส่วนปัญหาที่โจทก์ต่อสู้ว่า ความล่าช้าเกิดจากเหตุสุดวิสัยและสภาพแห่งของนั้นเองข้อเท็จจริงนี้โจทก์มีหน้าที่พิสูจน์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 616 แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นถึงรายละเอียดเกี่ยวกับพายุว่า เกิดพายุที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีวันเวลาใด มีความรุนแรงเพียงใดและเกิดขึ้นในช่วงกำหนดการบินของเครื่องบินที่จะขนส่งสินค้าอย่างไร มีเหตุให้ต้องเลื่อนกำหนดการบินออกไปเป็นวันเวลาใด ทั้งมิได้นำสืบว่าสินค้าของจำเลยมีขนาดใหญ่จนไม่สามารถขนส่งโดยเครื่องบินของสายการบินทั่วไปอย่างไร จึงฟังไม่ได้ว่าความล่าช้าเกิดจากมีพายุและข้อจำกัดเที่ยวบินของเครื่องบินเฉพาะสำหรับขนส่งสินค้าที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี อันเป็นเหตุสุดวิสัยหรือสภาพแห่งของนั้นเอง
จำเลยเป็นหนี้ที่ต้องชำระแก่โจทก์เป็นต้นเงิน 4,125,573.92 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2548 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ส่วนโจทก์เป็นหนี้ค่าเสียหายจากการขนส่งที่ต้องชำระแก่จำเลย 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งแม้จำเลยจะขอหักกลบลบหนี้มาด้วยก็ตาม แต่หนี้ที่จำเลยจะได้รับชำระจากโจทก์ดังกล่าวจะมีผลเป็นหนี้ที่มีจำนวนแน่นอน และข้อต่อสู้แห่งสิทธิเรียกร้องเป็นอันยุติสิ้นไปนับแต่วันที่อ่านคำพิพากษาศาลฎีกานี้ จึงย่อมหักกลบลบหนี้กันได้ในวันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกานี้ อันถือเป็นวันเวลาใช้เงินในการคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินสำหรับหนี้ที่จำเลยจะได้รับชำระจากโจทก์ 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ ด้วย
ส่วนปัญหาที่โจทก์ต่อสู้ว่า ความล่าช้าเกิดจากเหตุสุดวิสัยและสภาพแห่งของนั้นเองข้อเท็จจริงนี้โจทก์มีหน้าที่พิสูจน์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 616 แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นถึงรายละเอียดเกี่ยวกับพายุว่า เกิดพายุที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีวันเวลาใด มีความรุนแรงเพียงใดและเกิดขึ้นในช่วงกำหนดการบินของเครื่องบินที่จะขนส่งสินค้าอย่างไร มีเหตุให้ต้องเลื่อนกำหนดการบินออกไปเป็นวันเวลาใด ทั้งมิได้นำสืบว่าสินค้าของจำเลยมีขนาดใหญ่จนไม่สามารถขนส่งโดยเครื่องบินของสายการบินทั่วไปอย่างไร จึงฟังไม่ได้ว่าความล่าช้าเกิดจากมีพายุและข้อจำกัดเที่ยวบินของเครื่องบินเฉพาะสำหรับขนส่งสินค้าที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี อันเป็นเหตุสุดวิสัยหรือสภาพแห่งของนั้นเอง
จำเลยเป็นหนี้ที่ต้องชำระแก่โจทก์เป็นต้นเงิน 4,125,573.92 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2548 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ส่วนโจทก์เป็นหนี้ค่าเสียหายจากการขนส่งที่ต้องชำระแก่จำเลย 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งแม้จำเลยจะขอหักกลบลบหนี้มาด้วยก็ตาม แต่หนี้ที่จำเลยจะได้รับชำระจากโจทก์ดังกล่าวจะมีผลเป็นหนี้ที่มีจำนวนแน่นอน และข้อต่อสู้แห่งสิทธิเรียกร้องเป็นอันยุติสิ้นไปนับแต่วันที่อ่านคำพิพากษาศาลฎีกานี้ จึงย่อมหักกลบลบหนี้กันได้ในวันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกานี้ อันถือเป็นวันเวลาใช้เงินในการคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินสำหรับหนี้ที่จำเลยจะได้รับชำระจากโจทก์ 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5257/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งและผู้รับประกันภัยในความเสียหายของสินค้า การคิดค่าเสียหายตามน้ำหนักและอัตราแลกเปลี่ยน
บริษัท ท. ผู้ส่งและผู้รับตราส่งมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยผู้ขนส่งตามสัญญารับขนได้ในเบื้องต้นคือ ค่าเสียหายตามจำนวนเงินค่าสินค้า 34,111.79 ยูโร และค่าเสียหายอื่นตามค่าใช้จ่ายอันจำเป็นและสมควร โจทก์ผู้รับประกันภัยได้รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยมาเรียกร้องจากจำเลย ซึ่งย่อมไม่มีสิทธิเรียกมากไปกว่าสิทธิเรียกร้องของผู้เอาประกันภัยที่มีต่อจำเลยอยู่แต่เดิม แม้โจทก์จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยโดยคิดตามมูลค่าการประกันภัยที่ตกลงกันไว้กับผู้เอาประกันภัยเป็นจำนวนสูงกว่าราคาสินค้าด้วยการรวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เข้าไว้ด้วยกันก็ตาม ก็เป็นความผูกพันกันเฉพาะระหว่างโจทก์กับผู้เอาประกันภัยเท่านั้น ไม่มีผลผูกพันต่อจำเลยที่ต้องถือว่าค่าเสียหายเป็นไปตามจำนวนที่โจทก์รับประกันภัยเสมอไปแต่อย่างใด ดังนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้เท่าที่ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิเรียกร้องต่อจำเลย จากพยานหลักฐานในสำนวนที่พอเห็นได้คือ ค่าขนส่งที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องออกค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้านี้นอกเหนือจากราคาสินค้าที่คิดราคาตาม Incoterms FOB แต่ตามพยานหลักฐานของโจทก์ไม่ได้นำสืบถึงจำนวนเงินค่าขนส่งไว้ให้เห็นได้แน่นอน ในกรณีเช่นนี้เมื่อเห็นว่าค่าขนส่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายด้วย จึงเห็นสมควรกำหนดให้เป็นเงิน 3,400 ยูโร ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นนอกจากนี้โจทก์ไม่ได้นำสืบให้ปรากฏว่ามีอีกแต่อย่างใดจึงไม่กำหนดให้ โจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยโดยคิดคำนวณเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยนที่ระบุไว้ในสัญญาประกันภัย 1 ยูโร เท่ากับ 52.7575 บาท ย่อมต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนเดียวกันนี้ในการคิดคำนวณค่าเสียหายเป็นเงินบาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4050/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าที่บรรทุกเกินความสามารถของเรือ ทำให้สินค้าเสียหาย ผู้รับประกันภัยใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว สามารถเรียกร้องจากผู้ขนส่งได้
โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยสินค้าซึ่งผู้ขายขอเอาประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารท้ายฟ้อง การประกันภัยคุ้มครองสินค้าระหว่างการขนส่งจากโรงงานของผู้ขายจนถึงโรงงานของผู้ซื้อที่จังหวัดสระบุรี โดยยังไม่ได้อ้างถึงกรมธรรม์ประกันภัยแบบเปิด จำเลยให้การต่อสู้ว่าผู้ขายเอาประกันภัยสินค้าไว้เฉพาะช่วงที่ขนส่งจากประเทศอินโดนีเซียมาถึงเกาะสีชังเท่านั้น ไม่ได้ขยายความคุ้มครองไปถึงช่วงที่ขนส่งจากเกาะสีชังไปยังโรงงานของผู้ซื้อตามที่โจทก์อ้าง โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ซื้อและไม่อาจรับช่วงสิทธิจากผู้ซื้อ ข้ออ้างของจำเลยส่วนนี้เป็นไปตามข้อความตามที่ปรากฏในเอกสารกรมธรรม์ประกันภัยท้ายฟ้อง ในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบและอ้างส่งกรมธรรม์ประกันภัยแบบเปิดอีกฉบับ โดยอ้างว่ากรมธรรม์ประกันภัยตามเอกสารท้ายฟ้องระบุให้เงื่อนไขการประกันภัยเป็นไปตามกรมธรรม์ประกันภัยแบบเปิดดังกล่าวที่โจทก์ไม่ได้อ้างถึงและมิได้ส่งมาท้ายคำฟ้องเพื่อให้จำเลยได้ตรวจสอบก่อนทำคำให้การ ทั้งที่เอกสารดังกล่าวโจทก์เป็นผู้จัดทำขึ้นและเป็นเอกสารที่อยู่ในครอบครองของโจทก์ จำเลยไม่มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้อง ข้อเท็จจริงส่วนนี้จึงเป็นรายละเอียดที่เพิ่งปรากฏขึ้นในชั้นพิจารณา ซึ่งจำเลยได้ให้การปฏิเสธความคุ้มครองของการประกันภัยสินค้ารายนี้อย่างชัดแจ้งไว้แล้ว และก็ได้ถามค้านเอกสารทั้งสองฉบับในประเด็นนี้ไว้แล้ว อุทธรณ์ส่วนนี้จึงเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง จำเลยชอบที่จะยกปัญหานี้ขึ้นอุทธรณ์ได้
แม้การประกันภัยสินค้าตามฟ้องจะมีหลักฐานเป็นหนังสือตามกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งระบุว่า บริษัท บ. ผู้ขาย เป็นผู้เอาประกันภัย ระบุชื่อยานพาหนะว่าเรือ อ. ระบุการเดินทางของเรือว่าจากท่าเรือประเทศอินโดนีเซียไปเกาะสีชัง ประเทศไทย และในช่องข้อกำหนดหรือเงื่อนไขพิเศษระบุข้อความว่าเป็นไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยแบบเปิดซึ่งหมายถึงกรมธรรม์ประกันภัยแบบเปิดซึ่งเป็นสัญญาประกันภัยทางทะเลแบบเปิด (MARINE CARGO OPEN POLICY) ระหว่างบริษัท ป. ผู้เอาประกันภัย กับโจทก์ผู้รับประกันภัย เห็นได้ว่ากรมธรรม์ประกันภัยทั้งสองฉบับ คู่สัญญาในส่วนของผู้เอาประกันภัยเป็นนิติบุคคลต่างรายกันแต่คู่สัญญาในส่วนของผู้รับประกันภัยเป็นนิติบุคคลเดียวกันคือโจทก์ เมื่อสัญญาประกันภัยทางทะเลตามกรมธรรม์ประกันภัย บริษัท บ. ได้ทำขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญาซื้อขายสินค้าถ่านหินระหว่างบริษัท บ. ผู้ขายกับผู้ซื้อ ซึ่งกำหนดให้ผู้ขายมีหน้าที่ทำประกันภัยให้มีผลคุ้มครองความเสียหายหรือสูญหายของสินค้าระหว่างการขนส่งตั้งแต่ท่าเรือต้นทางที่บรรทุกสินค้าไปจนถึงโรงงานของผู้ซื้อที่จังหวัดสระบุรี การที่โจทก์ผู้รับประกันภัยยอมรับเงื่อนไขพิเศษตามกรมธรรม์ประกันภัยแบบเปิด ซึ่งโจทก์ก็เป็นคู่สัญญาในฐานะผู้รับประกันภัยด้วยมาเป็นข้อกำหนดหรือเงื่อนไขพิเศษของสัญญาประกันภัยที่โจทก์ทำสัญญารับประกันภัยสินค้าตามฟ้องกับบริษัท บ. ผู้ขาย ตามกรมธรรม์ประกันภัย แม้บริษัท บ. จะเป็นนิติบุคคลต่างหากจากบริษัท ป. แต่ก็เป็นบริษัทในเครือเดียวกัน ทั้งข้อกำหนดและเงื่อนไขพิเศษดังกล่าวมีลักษณะเป็นการเพิ่มภาระแก่โจทก์ผู้รับประกันภัย โดยมีผลให้การคุ้มครองสินค้าตามกรมธรรม์ประกันภัยเป็นการให้ความคุ้มครองตั้งแต่ท่าเรือต้นทางไปจนส่งมอบถึงโรงงานผู้ซื้อที่จังหวัดสระบุรีเมื่อผู้ขายมีหน้าที่ทำประกันภัยความเสียหายของสินค้าตามสัญญาระหว่างการขนส่ง ผู้ขายจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสินค้าตามฟ้องตลอดการขนส่งจนกว่าสินค้าจะเดินทางถึงโรงงานของผู้ซื้อ การประกันภัยสินค้าจึงครอบคลุมถึงความเสียหายหรือสูญหายของสินค้า
ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าคลื่นและลมในท้องทะเลช่วงที่เกิดเหตุก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชาวเรือที่เดินเรือในท้องทะเลบริเวณเกิดเหตุแต่อย่างใด คงเกิดความเสียหายแก่เรือทั้งสองลำดังกล่าวเท่านั้น การที่เรือไทยขนส่ง 46 และเรือไทยขนส่ง 45 มีความสามารถบรรทุกสินค้าได้อย่างปลอดภัยเพียง 590 เมตริกตัน แต่จำเลยจัดสินค้าถ่านหินบรรทุกถึงลำละ 1,300 เมตริกตัน เกินกว่าความสามารถบรรทุกตามที่ได้จดทะเบียนไว้กว่า 2 เท่า ความเสียหายของสินค้าที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่เกิดขึ้นจากเหตุสุดวิสัย จำเลยเป็นผู้ขนส่งซึ่งได้รับมอบหมายสินค้าตามฟ้องไว้ในความครอบครองดูแลเพื่อการขนส่ง จึงต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 616
แม้การประกันภัยสินค้าตามฟ้องจะมีหลักฐานเป็นหนังสือตามกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งระบุว่า บริษัท บ. ผู้ขาย เป็นผู้เอาประกันภัย ระบุชื่อยานพาหนะว่าเรือ อ. ระบุการเดินทางของเรือว่าจากท่าเรือประเทศอินโดนีเซียไปเกาะสีชัง ประเทศไทย และในช่องข้อกำหนดหรือเงื่อนไขพิเศษระบุข้อความว่าเป็นไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยแบบเปิดซึ่งหมายถึงกรมธรรม์ประกันภัยแบบเปิดซึ่งเป็นสัญญาประกันภัยทางทะเลแบบเปิด (MARINE CARGO OPEN POLICY) ระหว่างบริษัท ป. ผู้เอาประกันภัย กับโจทก์ผู้รับประกันภัย เห็นได้ว่ากรมธรรม์ประกันภัยทั้งสองฉบับ คู่สัญญาในส่วนของผู้เอาประกันภัยเป็นนิติบุคคลต่างรายกันแต่คู่สัญญาในส่วนของผู้รับประกันภัยเป็นนิติบุคคลเดียวกันคือโจทก์ เมื่อสัญญาประกันภัยทางทะเลตามกรมธรรม์ประกันภัย บริษัท บ. ได้ทำขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญาซื้อขายสินค้าถ่านหินระหว่างบริษัท บ. ผู้ขายกับผู้ซื้อ ซึ่งกำหนดให้ผู้ขายมีหน้าที่ทำประกันภัยให้มีผลคุ้มครองความเสียหายหรือสูญหายของสินค้าระหว่างการขนส่งตั้งแต่ท่าเรือต้นทางที่บรรทุกสินค้าไปจนถึงโรงงานของผู้ซื้อที่จังหวัดสระบุรี การที่โจทก์ผู้รับประกันภัยยอมรับเงื่อนไขพิเศษตามกรมธรรม์ประกันภัยแบบเปิด ซึ่งโจทก์ก็เป็นคู่สัญญาในฐานะผู้รับประกันภัยด้วยมาเป็นข้อกำหนดหรือเงื่อนไขพิเศษของสัญญาประกันภัยที่โจทก์ทำสัญญารับประกันภัยสินค้าตามฟ้องกับบริษัท บ. ผู้ขาย ตามกรมธรรม์ประกันภัย แม้บริษัท บ. จะเป็นนิติบุคคลต่างหากจากบริษัท ป. แต่ก็เป็นบริษัทในเครือเดียวกัน ทั้งข้อกำหนดและเงื่อนไขพิเศษดังกล่าวมีลักษณะเป็นการเพิ่มภาระแก่โจทก์ผู้รับประกันภัย โดยมีผลให้การคุ้มครองสินค้าตามกรมธรรม์ประกันภัยเป็นการให้ความคุ้มครองตั้งแต่ท่าเรือต้นทางไปจนส่งมอบถึงโรงงานผู้ซื้อที่จังหวัดสระบุรีเมื่อผู้ขายมีหน้าที่ทำประกันภัยความเสียหายของสินค้าตามสัญญาระหว่างการขนส่ง ผู้ขายจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสินค้าตามฟ้องตลอดการขนส่งจนกว่าสินค้าจะเดินทางถึงโรงงานของผู้ซื้อ การประกันภัยสินค้าจึงครอบคลุมถึงความเสียหายหรือสูญหายของสินค้า
ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าคลื่นและลมในท้องทะเลช่วงที่เกิดเหตุก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชาวเรือที่เดินเรือในท้องทะเลบริเวณเกิดเหตุแต่อย่างใด คงเกิดความเสียหายแก่เรือทั้งสองลำดังกล่าวเท่านั้น การที่เรือไทยขนส่ง 46 และเรือไทยขนส่ง 45 มีความสามารถบรรทุกสินค้าได้อย่างปลอดภัยเพียง 590 เมตริกตัน แต่จำเลยจัดสินค้าถ่านหินบรรทุกถึงลำละ 1,300 เมตริกตัน เกินกว่าความสามารถบรรทุกตามที่ได้จดทะเบียนไว้กว่า 2 เท่า ความเสียหายของสินค้าที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่เกิดขึ้นจากเหตุสุดวิสัย จำเลยเป็นผู้ขนส่งซึ่งได้รับมอบหมายสินค้าตามฟ้องไว้ในความครอบครองดูแลเพื่อการขนส่ง จึงต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 616
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3723/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของผู้รับจ้างขนส่งและตัวแทนในการขนส่งสินค้าเสียหาย
คดีนี้มีมูลเหตุจากการที่บริษัท ย. ในประเทศไทย สั่งซื้อเครื่องอัดฉีดพลาสติกจากประเทศญี่ปุ่น สินค้าถูกขนส่งทางทะเลจากท่าเรือเมืองโยโกฮาม่าถึงท่าเรือกรุงเทพ และผู้ซื้อได้เอาประกันภัยความเสียหายหรือสูญหายของสินค้าในระหว่างการขนส่งจากโรงงานของผู้ขายจนถึงโรงงานของผู้ซื้อไว้กับโจทก์ เมื่อสินค้าเดินทางมาถึงท่าเรือกรุงเทพ ผู้ซื้อว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้ขนส่งสินค้าดังกล่าวจากท่าเรือกรุงเทพไปยังโรงงานของผู้ซื้อรวมทั้งติดตั้งเครื่องจักรดังกล่าว กระบวนการขนส่งสินค้าจากท่าเรือกรุงเทพไปยังโรงงานของผู้ซื้อจึงเป็นส่วนหนึ่งของการขนส่งระหว่างประเทศ จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีสิทธิประกอบกิจการประกันภัยในราชอาณาจักรไทย จึงมีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยทางทะเลโดยรับประกันภัยสินค้าตลอดเส้นทางการขนส่งตั้งแต่โรงงานของผู้ขายที่ประเทศญี่ปุ่นจนกว่าสินค้าจะถึงโรงงานของผู้ซื้อในประเทศไทยหรือไม่ เมื่อความเสียหายของสินค้าเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งทางบกก่อนสินค้าจะถูกส่งถึงมือผู้ซื้อ โจทก์จึงต้องรับผิดชอบในความเสียหายของสินค้าดังกล่าวตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยหรือไม่ และโจทก์ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนความเสียหายของสินค้าให้แก่ผู้เอาประกันภัยไป โจทก์จะเข้ารับช่วงสิทธิเรียกร้องเอาเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากผู้ที่ต้องรับผิดในความเสียหายดังกล่าวได้หรือไม่ ดังนั้น การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องฟ้องจำเลยทั้งสองในฐานะร่วมกันขนส่งสินค้าแล้วทำให้สินค้าเสียหายเป็นคดีนี้ จึงไม่มีข้อสงสัยว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับพิจารณาพิพากษาคดีชอบแล้ว
จำเลยที่ 1 ทำสัญญารับจ้างจากผู้เอาประกันภัยจัดการนำสินค้าออกจากท่าเรือกรุงเทพ ผ่านพิธีศุลกากรและขนส่งสินค้าจากท่าเรือกรุงเทพไปยังโรงงานของผู้เอาประกันภัยรวมทั้งการเคลื่อนย้ายเครื่องจักรดังกล่าวไปติดตั้งในโรงงานของผู้เอาประกันภัยโดยจำเลยที่ 1 เรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้เอาประกันภัย การที่จำเลยที่ 1 ไปติดต่อเช่ารถฟอร์คลิฟท์จากจำเลยที่ 2 มาดำเนินการในส่วนของการเคลื่อนย้ายและติดตั้งเครื่องจักร จำเลยที่ 2 มิได้ทำการขนส่งเครื่องจักรแม้เพียงช่วงใดช่วงหนึ่ง จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งอื่น แต่ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการดำเนินการขนย้ายและติดตั้งเครื่องจักร จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 616
จำเลยที่ 1 ทำสัญญารับจ้างจากผู้เอาประกันภัยจัดการนำสินค้าออกจากท่าเรือกรุงเทพ ผ่านพิธีศุลกากรและขนส่งสินค้าจากท่าเรือกรุงเทพไปยังโรงงานของผู้เอาประกันภัยรวมทั้งการเคลื่อนย้ายเครื่องจักรดังกล่าวไปติดตั้งในโรงงานของผู้เอาประกันภัยโดยจำเลยที่ 1 เรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้เอาประกันภัย การที่จำเลยที่ 1 ไปติดต่อเช่ารถฟอร์คลิฟท์จากจำเลยที่ 2 มาดำเนินการในส่วนของการเคลื่อนย้ายและติดตั้งเครื่องจักร จำเลยที่ 2 มิได้ทำการขนส่งเครื่องจักรแม้เพียงช่วงใดช่วงหนึ่ง จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งอื่น แต่ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการดำเนินการขนย้ายและติดตั้งเครื่องจักร จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 616
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2917/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งสินค้าเสียหายจากแมลง: ผู้ขนส่งต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามมูลค่าจริง ไม่ใช่ตามสัญญาประกันภัย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้รับมอบหมายสินค้าพิพาทไว้เพื่อขนส่งไปยังจุดหมายปลายทาง แต่ระหว่างการขนส่งสินค้าพิพาทได้รับความเสียหายเพราะมีแมลงเข้าไปในสินค้าพิพาท จำเลยจึงต้องรับผิดชอบในความเสียหายของสินค้าพิพาท จำเลยให้การปฏิเสธว่า การที่แมลงเข้าไปในสินค้าพิพาทมิได้เกิดจากการขนส่งของจำเลย เนื่องจากผู้ส่งเป็นผู้บรรจุและหีบห่อสินค้าพิพาท เมื่อขนส่งสินค้าพิพาทไปถึงด่านสินค้าขาเข้าของประเทศมาเลเซียมีการพบแมลงอยู่บริเวณหีบห่อส่วนที่เป็นพลาสติก การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางตั้งประเด็นว่า สินค้าพิพาทเสียหายในระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลย และจำเลยต้องรับผิดชอบหรือไม่ ย่อมครอบคลุมถึงข้อเท็จจริงว่า การที่มีแมลงเข้าไปในสินค้าพิพาทมิได้เกิดจากการกระทำหน้าที่ขนส่งของจำเลย แต่ถูกบังคับโดยเจ้าหน้าที่ของประเทศมาเลเซียที่ให้เก็บสินค้าพิพาทไว้ในโกดังสินค้าของจำเลย ห้ามเคลื่อนย้ายในระหว่างการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่าความเสียหายของสินค้าพิพาทเกิดจากเหตุสุดวิสัยมิได้เกิดจากการกระทำของจำเลยจึงเป็นการหยิบยกข้อเท็จจริงที่จำเลยกล่าวอ้างไว้ในคำให้การ มิได้เป็นการพิพากษานอกประเด็น
ความเสียหายของสินค้าพิพาทเกิดจากมีแมลงเข้าไปปะปนอยู่ในถุงสินค้าพิพาท ขณะสินค้าพิพาทถูกขนออกจากตู้คอนเทนเนอร์เก็บไว้ที่โกดังสินค้าของจำเลยเพื่อให้เจ้าหน้าที่ของประเทศมาเลเซียตรวจสอบ ขณะนำไปตรวจสอบไม่ปรากฏตัวแมลงปะปนอยู่ในสินค้าพิพาท แสดงว่าแมลงได้เข้าไปปะปนในสินค้าพิพาทในช่วงเวลาที่สินค้าพิพาทถูกเก็บไว้ในโกดังสินค้าของจำเลยก่อนผู้ซื้อจะได้รับมอบสินค้าพิพาทแม้การเก็บสินค้าพิพาทไว้ในโกดังสินค้าของจำเลยจะถูกบังคับโดยเจ้าหน้าที่ของประเทศมาเลเซีย แต่จำเลยก็มีหน้าที่นำสินค้าผ่านเข้าประเทศมาเลเซียด้วย ดังนั้น การดูแลรักษาสินค้าพิพาทยังคงอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย จำเลยเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการขนส่งสินค้าย่อมมีหน้าที่ดูแลสินค้าพิพาทในช่วงเวลาขนส่งมิให้เกิดความเสียหายสูญหาย การมีแมลงเข้าไปตอมสินค้าพิพาทโดยแทรกสิ่งห่อหุ้มสินค้าพิพาทเข้าไปย่อมเป็นเหตุการณ์ที่สามารถป้องกันมิให้เกิดขึ้นได้ พยานจำเลยเบิกความตอบคำถามค้านว่า สินค้าพิพาทมีการหีบห่อเรียบร้อยแล้ว จึงไม่ได้มีการคลุมสินค้าพิพาทอีกชั้นหนึ่ง แสดงให้เห็นว่า การป้องกันมิให้แมลงเข้าไปที่สินค้าพิพาทสามารถป้องกันได้โดยใช้ผ้าใบหรือสิ่งห่อหุ้มคลุมสินค้าพิพาทไว้อีกชั้นหนึ่ง เพียงแต่จำเลยมิได้คาดคิดหรือคาดไม่ถึงว่าจะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น การมีแมลงเข้าไปที่สินค้าพิพาทเกิดความเสียหายจึงไม่ได้เกิดขึ้นจากเหตุสุดวิสัย เมื่อสินค้าพิพาทเกิดความเสียหายขณะที่สินค้าพิพาทอยู่ในความดูแลของจำเลยผู้ขนส่ง จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 616
ตามสัญญาประกันภัยมีการตกลงราคาประกันภัยโดยคิดตามราคาสินค้าบวกด้วยร้อยละ 10 แม้คู่สัญญาประกันภัยสามารถตกลงกันได้เพราะผู้เอาประกันภัยอาจได้รับความเสียหายมากกว่ามูลค่าสินค้าที่เอาประกันภัยโดยมีค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ผู้เอาประกันภัยต้องเสียไป เช่น ค่าหีบห่อและค่าใช้จ่ายในการขนส่งด้วย ซึ่งถือเป็นความเสียหายที่แท้จริงของผู้เอาประกันภัยได้ก็ตาม แต่การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยสินค้าได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันซึ่งต้องจ่ายตามเงื่อนไขแห่งสัญญาประกันภัยแล้วรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยมาเรียกร้องเอาจากผู้ต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องในความเสียหายได้เพียงที่ผู้เอาประกันภัยจะเรียกร้องเอาจากผู้ต้องรับผิด คือ จำนวนตามสัญญารับขน ซึ่งได้แก่ค่าเสียหายเท่าที่ผู้เอาประกันภัยได้รับความเสียหายจริงเท่านั้น และต้องพิจารณาตามพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมา มิใช่จะถือเอาว่าความเสียหายที่แท้จริงจะต้องเป็นราคาสินค้าที่เสียหายบวกร้อยละ 10 ตามสัญญาประกันภัยซึ่งจำเลยไม่ได้เป็นคู่สัญญาที่จะต้องผูกพันด้วยแต่อย่างใด และตามพยานหลักฐานของโจทก์ก็ปรากฏว่า ผู้ซื้อสินค้ามีหนังสือเรียกร้องความเสียหายเป็นค่าสินค้าที่เสียหายที่ยังไม่บวกร้อยละ 10 แต่ส่วนเพิ่มที่เป็นภาษีมีเพียงไม่ถึงร้อยละ 10 ของราคาสินค้าแต่อย่างใด จึงเชื่อได้ว่าค่าเสียหายที่แท้จริงมีเพียงจำนวนดังกล่าวเท่านั้น
ความเสียหายของสินค้าพิพาทเกิดจากมีแมลงเข้าไปปะปนอยู่ในถุงสินค้าพิพาท ขณะสินค้าพิพาทถูกขนออกจากตู้คอนเทนเนอร์เก็บไว้ที่โกดังสินค้าของจำเลยเพื่อให้เจ้าหน้าที่ของประเทศมาเลเซียตรวจสอบ ขณะนำไปตรวจสอบไม่ปรากฏตัวแมลงปะปนอยู่ในสินค้าพิพาท แสดงว่าแมลงได้เข้าไปปะปนในสินค้าพิพาทในช่วงเวลาที่สินค้าพิพาทถูกเก็บไว้ในโกดังสินค้าของจำเลยก่อนผู้ซื้อจะได้รับมอบสินค้าพิพาทแม้การเก็บสินค้าพิพาทไว้ในโกดังสินค้าของจำเลยจะถูกบังคับโดยเจ้าหน้าที่ของประเทศมาเลเซีย แต่จำเลยก็มีหน้าที่นำสินค้าผ่านเข้าประเทศมาเลเซียด้วย ดังนั้น การดูแลรักษาสินค้าพิพาทยังคงอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย จำเลยเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการขนส่งสินค้าย่อมมีหน้าที่ดูแลสินค้าพิพาทในช่วงเวลาขนส่งมิให้เกิดความเสียหายสูญหาย การมีแมลงเข้าไปตอมสินค้าพิพาทโดยแทรกสิ่งห่อหุ้มสินค้าพิพาทเข้าไปย่อมเป็นเหตุการณ์ที่สามารถป้องกันมิให้เกิดขึ้นได้ พยานจำเลยเบิกความตอบคำถามค้านว่า สินค้าพิพาทมีการหีบห่อเรียบร้อยแล้ว จึงไม่ได้มีการคลุมสินค้าพิพาทอีกชั้นหนึ่ง แสดงให้เห็นว่า การป้องกันมิให้แมลงเข้าไปที่สินค้าพิพาทสามารถป้องกันได้โดยใช้ผ้าใบหรือสิ่งห่อหุ้มคลุมสินค้าพิพาทไว้อีกชั้นหนึ่ง เพียงแต่จำเลยมิได้คาดคิดหรือคาดไม่ถึงว่าจะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น การมีแมลงเข้าไปที่สินค้าพิพาทเกิดความเสียหายจึงไม่ได้เกิดขึ้นจากเหตุสุดวิสัย เมื่อสินค้าพิพาทเกิดความเสียหายขณะที่สินค้าพิพาทอยู่ในความดูแลของจำเลยผู้ขนส่ง จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 616
ตามสัญญาประกันภัยมีการตกลงราคาประกันภัยโดยคิดตามราคาสินค้าบวกด้วยร้อยละ 10 แม้คู่สัญญาประกันภัยสามารถตกลงกันได้เพราะผู้เอาประกันภัยอาจได้รับความเสียหายมากกว่ามูลค่าสินค้าที่เอาประกันภัยโดยมีค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ผู้เอาประกันภัยต้องเสียไป เช่น ค่าหีบห่อและค่าใช้จ่ายในการขนส่งด้วย ซึ่งถือเป็นความเสียหายที่แท้จริงของผู้เอาประกันภัยได้ก็ตาม แต่การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยสินค้าได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันซึ่งต้องจ่ายตามเงื่อนไขแห่งสัญญาประกันภัยแล้วรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยมาเรียกร้องเอาจากผู้ต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องในความเสียหายได้เพียงที่ผู้เอาประกันภัยจะเรียกร้องเอาจากผู้ต้องรับผิด คือ จำนวนตามสัญญารับขน ซึ่งได้แก่ค่าเสียหายเท่าที่ผู้เอาประกันภัยได้รับความเสียหายจริงเท่านั้น และต้องพิจารณาตามพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมา มิใช่จะถือเอาว่าความเสียหายที่แท้จริงจะต้องเป็นราคาสินค้าที่เสียหายบวกร้อยละ 10 ตามสัญญาประกันภัยซึ่งจำเลยไม่ได้เป็นคู่สัญญาที่จะต้องผูกพันด้วยแต่อย่างใด และตามพยานหลักฐานของโจทก์ก็ปรากฏว่า ผู้ซื้อสินค้ามีหนังสือเรียกร้องความเสียหายเป็นค่าสินค้าที่เสียหายที่ยังไม่บวกร้อยละ 10 แต่ส่วนเพิ่มที่เป็นภาษีมีเพียงไม่ถึงร้อยละ 10 ของราคาสินค้าแต่อย่างใด จึงเชื่อได้ว่าค่าเสียหายที่แท้จริงมีเพียงจำนวนดังกล่าวเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1831-1832/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งต่อความเสียหายของสินค้าจากการขนส่งทางเรือ และข้อยกเว้นเหตุสุดวิสัย
คดีทั้งสองสำนวนนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะผู้ขนส่งโดยจำเลยที่ 1 ตกลงรับขนส่งสินค้าพิพาทไปยังโรงงานของผู้รับตราส่งทั้งสอง การที่มีผู้ขับเรือนำเรือลำเลียงมารับสินค้าพิพาทเพื่อขนส่งไปยังโรงงานของผู้รับตราส่งทั้งสองย่อมเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนหรือลูกจ้างของจำเลยที่ 1 เมื่อสินค้าพิพาทเสียหายระหว่างการขนส่ง จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าพิพาทนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 616
สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องโจทก์ทั้งสองสำนวนมีว่า จำเลยที่ 1 รับขนส่งสินค้าพิพาทโดยเรือลำเลียงไปยังโรงงานของผู้รับตราส่งทั้งสอง แต่ระหว่างการขนส่งมีน้ำไหลเข้าไปในเรือลำเลียงเป็นเหตุให้สินค้าพิพาทซึ่งเป็นเหล็กม้วนเป็นสนิม ได้รับความเสียหาย ซึ่งผู้ขนส่งต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าพิพาท ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบว่าเรือมีรอยรั่วบริเวณด้านบนของกราบขวาเรือ ทำให้น้ำเข้าเรือ เป็นเพียงรายละเอียด เพราะแม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องและนำสืบว่าน้ำไหลเข้าไปในเรือลำเลียงได้อย่างไร จำเลยที่ 1 ก็ยังต้องรับผิดตามสภาพแห่งข้อหาดังกล่าว เว้นแต่จำเลยที่ 1 จะพิสูจน์ได้ว่าการที่น้ำไหลเข้าไปในเรือเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะฟังไม่ได้ว่าน้ำไหลเข้าเรือตามรอยรั่วดังกล่าว แต่ไหลเข้าตามรอยรั่วแห่งอื่น ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสองรับผิดในความเสียหายของสินค้าพิพาท หากจำเลยทั้งสองไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายของสินค้าเกิดเพราะเหตุสุดวิสัย ไม่ถือว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางฟังข้อเท็จจริงเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องแต่อย่างใด
สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องโจทก์ทั้งสองสำนวนมีว่า จำเลยที่ 1 รับขนส่งสินค้าพิพาทโดยเรือลำเลียงไปยังโรงงานของผู้รับตราส่งทั้งสอง แต่ระหว่างการขนส่งมีน้ำไหลเข้าไปในเรือลำเลียงเป็นเหตุให้สินค้าพิพาทซึ่งเป็นเหล็กม้วนเป็นสนิม ได้รับความเสียหาย ซึ่งผู้ขนส่งต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าพิพาท ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบว่าเรือมีรอยรั่วบริเวณด้านบนของกราบขวาเรือ ทำให้น้ำเข้าเรือ เป็นเพียงรายละเอียด เพราะแม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องและนำสืบว่าน้ำไหลเข้าไปในเรือลำเลียงได้อย่างไร จำเลยที่ 1 ก็ยังต้องรับผิดตามสภาพแห่งข้อหาดังกล่าว เว้นแต่จำเลยที่ 1 จะพิสูจน์ได้ว่าการที่น้ำไหลเข้าไปในเรือเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะฟังไม่ได้ว่าน้ำไหลเข้าเรือตามรอยรั่วดังกล่าว แต่ไหลเข้าตามรอยรั่วแห่งอื่น ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสองรับผิดในความเสียหายของสินค้าพิพาท หากจำเลยทั้งสองไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายของสินค้าเกิดเพราะเหตุสุดวิสัย ไม่ถือว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางฟังข้อเท็จจริงเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11699/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งสินค้าทางทะเล: ความรับผิดของผู้ขนส่งต่อความเสียหายของสินค้า และการพิสูจน์เหตุสุดวิสัย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะที่เป็นผู้ขนส่งสินค้าตามสัญญารับขนสินค้าตามฟ้อง ไม่ได้ฟ้องให้รับผิดในมูลละเมิด คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทให้ต้องวินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว การที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่า ผู้กระทำละเมิดทำให้สินค้าเสียหายเป็นคนขับเรือลากจูง จำเลยที่ 1 ไม่ใช่ผู้ทำละเมิด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อที่ไม่ได้ยกว่ากันมาแล้วโดยชอบ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225
จำเลยที่ 1 รับจ้างขนส่งสินค้าเหล็กม้วนรีดเย็นให้กับบริษัท ท. จากท่าเรือกรุงเทพไปยังโรงพักสินค้าของบริษัทดังกล่าวที่จังหวัดสมุทรปราการ อันเป็นการขนส่งภายในประเทศ ที่ต้องใช้บทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 616 บังคับ ซึ่งมาตราดังกล่าวบัญญัติให้ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในการที่ของอันเขาได้มอบหมายแก่ตนสูญหายหรือบุบสลายหรือส่งมอบชักช้า เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าความเสียหายเกิดแต่เหตุสุดวิสัย เมื่อปรากฏว่าสินค้าที่รับขนส่งได้รับความเสียหาย จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จะต้องพิสูจน์นำสืบพยานหลักฐานแสดงข้อเท็จจริงให้รับฟังได้ว่าความเสียหายของสินค้าเกิดจากเหตุสุดวิสัย
แม้ข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องว่า เรือมีรูรั่วบริเวณด้านบนกาบขวาเรือ แต่โจทก์นำสืบรับว่าเรือของจำเลยทั้งสองมีรูรั่วอยู่บริเวณใต้น้ำ ซึ่งแตกต่างไปจากคำฟ้อง ก็ไม่ใช่เป็นการคลาดเคลื่อนในสาระสำคัญแต่อย่างใด ไม่เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 เพราะสาระสำคัญของข้อเท็จจริงที่จะมีผลให้จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดอยู่ที่เรื่องเหตุสุดวิสัยเท่านั้น เมื่อรับฟังไม่ได้ว่ารูรั่วเกิดจากเหตุสุดวิสัยแล้ว จำเลยทั้งสองก็ยังคงต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. 616 อยู่ดี
ลักษณะความเสียหายของสินค้าเหล็กม้วนรีดเย็นเกิดเป็นสนิมทั้งหมด ซึ่งเหล็กดังกล่าวจะนำไปจำหน่ายแก่ลูกค้าที่ซื้อไปผลิตส่วนประกอบชิ้นส่วนเครื่องยนต์หรือตัวถังรถยนต์และชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ หากเกิดสนิมหรือเกิดความชื้นเพียงเล็กน้อยก็ไม่สามารถนำไปใช้ได้ ถือว่าเป็นความเสียหายโดยสิ้นเชิง การเรียกร้องค่าเสียหายของโจทก์ จึงไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
จำเลยที่ 1 รับจ้างขนส่งสินค้าเหล็กม้วนรีดเย็นให้กับบริษัท ท. จากท่าเรือกรุงเทพไปยังโรงพักสินค้าของบริษัทดังกล่าวที่จังหวัดสมุทรปราการ อันเป็นการขนส่งภายในประเทศ ที่ต้องใช้บทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 616 บังคับ ซึ่งมาตราดังกล่าวบัญญัติให้ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในการที่ของอันเขาได้มอบหมายแก่ตนสูญหายหรือบุบสลายหรือส่งมอบชักช้า เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าความเสียหายเกิดแต่เหตุสุดวิสัย เมื่อปรากฏว่าสินค้าที่รับขนส่งได้รับความเสียหาย จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จะต้องพิสูจน์นำสืบพยานหลักฐานแสดงข้อเท็จจริงให้รับฟังได้ว่าความเสียหายของสินค้าเกิดจากเหตุสุดวิสัย
แม้ข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องว่า เรือมีรูรั่วบริเวณด้านบนกาบขวาเรือ แต่โจทก์นำสืบรับว่าเรือของจำเลยทั้งสองมีรูรั่วอยู่บริเวณใต้น้ำ ซึ่งแตกต่างไปจากคำฟ้อง ก็ไม่ใช่เป็นการคลาดเคลื่อนในสาระสำคัญแต่อย่างใด ไม่เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 เพราะสาระสำคัญของข้อเท็จจริงที่จะมีผลให้จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดอยู่ที่เรื่องเหตุสุดวิสัยเท่านั้น เมื่อรับฟังไม่ได้ว่ารูรั่วเกิดจากเหตุสุดวิสัยแล้ว จำเลยทั้งสองก็ยังคงต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. 616 อยู่ดี
ลักษณะความเสียหายของสินค้าเหล็กม้วนรีดเย็นเกิดเป็นสนิมทั้งหมด ซึ่งเหล็กดังกล่าวจะนำไปจำหน่ายแก่ลูกค้าที่ซื้อไปผลิตส่วนประกอบชิ้นส่วนเครื่องยนต์หรือตัวถังรถยนต์และชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ หากเกิดสนิมหรือเกิดความชื้นเพียงเล็กน้อยก็ไม่สามารถนำไปใช้ได้ ถือว่าเป็นความเสียหายโดยสิ้นเชิง การเรียกร้องค่าเสียหายของโจทก์ จึงไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10852/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามสัญญาขนส่ง และการรับผิดในฐานะนายจ้าง กรณีสินค้าเสียหาย
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งและมอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับรถบรรทุกของตนนำสินค้าไปส่งตามสัญญารับขน เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ขับรถบรรทุกพลิกคว่ำระหว่างทาง ทำให้สินค้าได้รับความเสียหาย การที่จำเลยที่ 2 อ้างเหตุสุดวิสัยเพื่อไม่ให้ตนต้องรับผิดจากความเสียหายดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องพิสูจน์ว่าการเสียหายนั้นเกิดจากเหตุสุดวิสัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 616
ข้อเท็จจริงปรากฏว่า นอกจากจำเลยที่ 3 จะดำเนินการพิธีการศุลกากรแล้ว ยังได้จองรถและออกค่าเช่ารถให้แก่จำเลยที่ 2 แทนบริษัท อ. ผู้เอาประกันภัยไปก่อน รวมทั้งเป็นผู้ออกใบตราส่งด้วย ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวมีลักษณะเป็นการกระทำเพื่อประสานงานอำนวยความสะดวกให้ทั้งบริษัท อ. และจำเลยที่ 2 ด้วยเพื่อให้การขนส่งสินค้าลุล่วงไป ดังนี้ จำเลยที่ 2 ย่อมเป็นผู้ขนส่งตามสัญญาขนส่งตามฟ้อง แม้จำเลยที่ 3 จะเป็นผู้ออกใบตราส่ง แต่ก็ได้ความว่าจำเลยที่ 3 ทำหน้าที่ติดต่อจัดหาผู้ขนส่งให้แก่บริษัท อ. โดยทำธุรกิจเช่นนี้มานานแล้ว แสดงว่าการจองรถของจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 2 เป็นการติดต่อว่าจ้างผู้ขนส่ง แทนบริษัท อ. ผู้ส่งนั่นเอง จำเลยที่ 3 จึงไม่ใช่ผู้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 เมื่อพนักงานของจำเลยที่ 3 ได้ทำใบจองรถบรรทุกโดยขีดเครื่องหมายในช่องเลือกแบบการขนส่งที่คุ้มครองความเสียหายในวงเงิน 20,000 บาท ต่อครั้ง ย่อมถือได้ว่าบริษัท อ. ในฐานะตัวการเลือกแบบการขนส่งโดยตัวแทนแล้ว จึงถือได้ว่าบริษัท อ. ได้แสดงความตกลงชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งไว้ไม่เกิน 20,000 บาท ซึ่งมีผลบังคับได้ ไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 625 และเมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 616 และ 617 บัญญัติให้ผู้ขนส่งต้องรับผิดในการที่ของอันเขาได้มอบหมายแก่ตนนั้นสูญหายหรือบุบสลายหรือส่งมอบชักช้า รวมถึงความเสียหายอันเกิดแต่ความผิดของบุคคลอื่นที่ตนได้มอบหมายของไปอีกทอดหนึ่งด้วย การที่ของสูญหายหรือบุบสลายหรือส่งมอบชักช้าอันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้ขนส่งหรือลูกจ้างของผู้ขนส่ง ย่อมเป็นการผิดสัญญารับขนและเป็นการละเมิดด้วย แต่เมื่อมีการทำสัญญาตกลงจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งไว้ก็เท่ากับว่าผู้ส่งและผู้ขนส่งมีเจตนาที่จะถือเอาความรับผิดต่อกันให้เป็นไปตามสัญญารับขนแล้ว ย่อมต้องบังคับกันไปตามเจตนาของคู่สัญญาตามที่ได้ตกลงกันจำกัดความรับผิดกันไว้ ผู้ส่งย่อมไม่อาจขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ให้รับผิดในมูลละเมิดในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิดให้ผิดไปจากข้อตกลงได้ สำหรับจำเลยที่ 1 นั้น ไม่ได้ความว่าเหตุใดจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ใช่คู่สัญญาจึงได้รับประโยชน์จากสัญญาขนส่งด้วยแต่อย่างใด ย่อมเป็นอุทธรณ์ไม่ชัดแจ้งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
ข้อเท็จจริงปรากฏว่า นอกจากจำเลยที่ 3 จะดำเนินการพิธีการศุลกากรแล้ว ยังได้จองรถและออกค่าเช่ารถให้แก่จำเลยที่ 2 แทนบริษัท อ. ผู้เอาประกันภัยไปก่อน รวมทั้งเป็นผู้ออกใบตราส่งด้วย ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวมีลักษณะเป็นการกระทำเพื่อประสานงานอำนวยความสะดวกให้ทั้งบริษัท อ. และจำเลยที่ 2 ด้วยเพื่อให้การขนส่งสินค้าลุล่วงไป ดังนี้ จำเลยที่ 2 ย่อมเป็นผู้ขนส่งตามสัญญาขนส่งตามฟ้อง แม้จำเลยที่ 3 จะเป็นผู้ออกใบตราส่ง แต่ก็ได้ความว่าจำเลยที่ 3 ทำหน้าที่ติดต่อจัดหาผู้ขนส่งให้แก่บริษัท อ. โดยทำธุรกิจเช่นนี้มานานแล้ว แสดงว่าการจองรถของจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 2 เป็นการติดต่อว่าจ้างผู้ขนส่ง แทนบริษัท อ. ผู้ส่งนั่นเอง จำเลยที่ 3 จึงไม่ใช่ผู้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 เมื่อพนักงานของจำเลยที่ 3 ได้ทำใบจองรถบรรทุกโดยขีดเครื่องหมายในช่องเลือกแบบการขนส่งที่คุ้มครองความเสียหายในวงเงิน 20,000 บาท ต่อครั้ง ย่อมถือได้ว่าบริษัท อ. ในฐานะตัวการเลือกแบบการขนส่งโดยตัวแทนแล้ว จึงถือได้ว่าบริษัท อ. ได้แสดงความตกลงชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งไว้ไม่เกิน 20,000 บาท ซึ่งมีผลบังคับได้ ไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 625 และเมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 616 และ 617 บัญญัติให้ผู้ขนส่งต้องรับผิดในการที่ของอันเขาได้มอบหมายแก่ตนนั้นสูญหายหรือบุบสลายหรือส่งมอบชักช้า รวมถึงความเสียหายอันเกิดแต่ความผิดของบุคคลอื่นที่ตนได้มอบหมายของไปอีกทอดหนึ่งด้วย การที่ของสูญหายหรือบุบสลายหรือส่งมอบชักช้าอันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้ขนส่งหรือลูกจ้างของผู้ขนส่ง ย่อมเป็นการผิดสัญญารับขนและเป็นการละเมิดด้วย แต่เมื่อมีการทำสัญญาตกลงจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งไว้ก็เท่ากับว่าผู้ส่งและผู้ขนส่งมีเจตนาที่จะถือเอาความรับผิดต่อกันให้เป็นไปตามสัญญารับขนแล้ว ย่อมต้องบังคับกันไปตามเจตนาของคู่สัญญาตามที่ได้ตกลงกันจำกัดความรับผิดกันไว้ ผู้ส่งย่อมไม่อาจขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ให้รับผิดในมูลละเมิดในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิดให้ผิดไปจากข้อตกลงได้ สำหรับจำเลยที่ 1 นั้น ไม่ได้ความว่าเหตุใดจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ใช่คู่สัญญาจึงได้รับประโยชน์จากสัญญาขนส่งด้วยแต่อย่างใด ย่อมเป็นอุทธรณ์ไม่ชัดแจ้งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7198/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับขนส่งต้องรับผิดชอบความเสียหายของสินค้าที่เกิดจากการขนส่ง หากมีส่วนร่วมในการขนส่งและเกิดความเสียหาย
โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยสินค้าตามฟ้อง เมื่อสินค้าเกิดความเสียหายหรือสูญหายตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย โจทก์ย่อมต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย ตามหนังสือรับช่วงสิทธิที่ผู้เอาประกันภัยออกให้แก่โจทก์มีข้อความว่า ผู้เอาประกันภัยได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์ และตกลงโอนสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากความเสียหายและสูญหายของสินค้าตามฟ้องให้แก่โจทก์ ย่อมฟังได้ว่าโจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายและสูญหายของสินค้าที่โจทก์รับประกันภัยไว้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้ว โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยในการเรียกร้องค่าเสียหายจากความเสียหายและสูญหายของสินค้าที่รับประกันภัยไว้โดยผลของกฎหมาย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้
ปัญหาว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าตามฟ้องหรือไม่ นั้น ในส่วนของจำเลยที่ 1 พยานหลักฐานของโจทก์ได้ความแต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุและจำเลยที่ 1 นำสืบว่า จำเลยที่ 1 ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการค้าขายสินค้าเกษตรกรรม ทั้งคนขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุก็มิใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 โดยโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมานำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ประกอบกิจการรับขนของเพื่อบำเหน็จเป็นทางการค้าปกติ นอกจากเอกสารซึ่งระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ประกอบการขนส่ง ประเภทรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ทั้งมิได้นำสืบให้เห็นว่าผู้ขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งสินค้าตามฟ้อง ในส่วนของจำเลยที่ 2 นั้น ท. ผู้จัดการของจำเลยที่ 2 พยานจำเลยที่ 2 และที่ 3 เบิกความรับว่า รับขนสินค้าตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ได้รับการติดต่อจากจำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับขนส่งสินค้าตามฟ้องให้ไปร่วมขนส่งสินค้า แต่ ท. อ้างว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีรถไปบรรทุกสินค้าจึงสอบถาม อ. โดย อ.ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 อ. จึงไปติดต่อนำรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 1 มารับขนสินค้า คนขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุก็ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่เกี่ยวข้องกับการรับขนสินค้าตามฟ้อง แต่ข้อเท็จจริงได้ความตามคำให้การของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เองว่า เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับแจ้งเหตุแล้วได้นำรถยนต์บรรทุกอีกคันหนึ่งมาแบ่งขนสินค้าไปส่งยังคลังสินค้าของผู้เอาประกันภัย ซึ่งหากจำเลยที่ 2 ไม่มีส่วนร่วมในการขนส่งสินค้ารายนี้ก็ไม่มีเหตุผลใดที่จะต้องรับผิดชอบจัดหารถไปช่วยขนสินค้าไปยังที่หมายปลายทางตามสัญญาว่าจ้าง ทั้ง ท. เบิกความรับว่า หลังเกิดเหตุแล้วจำเลยร่วมได้ชำระค่าว่าจ้างขนส่งให้แก่จำเลยที่ 2 อีกด้วย จำเลยที่ 2 ประกอบกิจการรับขนส่งเพื่อทางการค้าเป็นปกติ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าตามฟ้อง เมื่อสินค้าที่รับขนเกิดความเสียหายสูญหายในระหว่างการขนส่ง จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในความเสียหายหรือสูญหายดังกล่าว จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย
โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสามร่วมรับผิดกับจำเลยร่วมอย่างลูกหนี้ร่วมจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ การที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้อง ทั้งที่โจทก์ชนะคดีในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงไม่ถูกต้อง ให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกินให้โจทก์
ปัญหาว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าตามฟ้องหรือไม่ นั้น ในส่วนของจำเลยที่ 1 พยานหลักฐานของโจทก์ได้ความแต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุและจำเลยที่ 1 นำสืบว่า จำเลยที่ 1 ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการค้าขายสินค้าเกษตรกรรม ทั้งคนขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุก็มิใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 โดยโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมานำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ประกอบกิจการรับขนของเพื่อบำเหน็จเป็นทางการค้าปกติ นอกจากเอกสารซึ่งระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ประกอบการขนส่ง ประเภทรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ทั้งมิได้นำสืบให้เห็นว่าผู้ขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งสินค้าตามฟ้อง ในส่วนของจำเลยที่ 2 นั้น ท. ผู้จัดการของจำเลยที่ 2 พยานจำเลยที่ 2 และที่ 3 เบิกความรับว่า รับขนสินค้าตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ได้รับการติดต่อจากจำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับขนส่งสินค้าตามฟ้องให้ไปร่วมขนส่งสินค้า แต่ ท. อ้างว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีรถไปบรรทุกสินค้าจึงสอบถาม อ. โดย อ.ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 อ. จึงไปติดต่อนำรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 1 มารับขนสินค้า คนขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุก็ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่เกี่ยวข้องกับการรับขนสินค้าตามฟ้อง แต่ข้อเท็จจริงได้ความตามคำให้การของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เองว่า เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับแจ้งเหตุแล้วได้นำรถยนต์บรรทุกอีกคันหนึ่งมาแบ่งขนสินค้าไปส่งยังคลังสินค้าของผู้เอาประกันภัย ซึ่งหากจำเลยที่ 2 ไม่มีส่วนร่วมในการขนส่งสินค้ารายนี้ก็ไม่มีเหตุผลใดที่จะต้องรับผิดชอบจัดหารถไปช่วยขนสินค้าไปยังที่หมายปลายทางตามสัญญาว่าจ้าง ทั้ง ท. เบิกความรับว่า หลังเกิดเหตุแล้วจำเลยร่วมได้ชำระค่าว่าจ้างขนส่งให้แก่จำเลยที่ 2 อีกด้วย จำเลยที่ 2 ประกอบกิจการรับขนส่งเพื่อทางการค้าเป็นปกติ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าตามฟ้อง เมื่อสินค้าที่รับขนเกิดความเสียหายสูญหายในระหว่างการขนส่ง จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในความเสียหายหรือสูญหายดังกล่าว จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย
โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสามร่วมรับผิดกับจำเลยร่วมอย่างลูกหนี้ร่วมจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ การที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้อง ทั้งที่โจทก์ชนะคดีในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงไม่ถูกต้อง ให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกินให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5746/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง: ข้อความในเอกสารต้องชัดเจนและผู้ส่งต้องตกลงด้วย มิฉะนั้นเป็นโมฆะตามกฎหมาย
ใบกำกับการส่งสินค้าหรือใบเสร็จรับเงินซึ่งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์จำเลยที่ 2 ออกให้แก่ลูกจ้างของโจทก์ที่นำสินค้ามาส่ง มีข้อความจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 และลูกจ้างของโจทก์ได้ลงลายมือชื่อในช่องผู้ส่งสินค้าไว้ด้วย แต่เอกสารดังกล่าวด้านหน้าตอนท้าย ของเอกสารดังกล่าวเพียงแต่มีข้อความตอนหนึ่งระบุว่า การส่งสินค้าควรประเมินราคาเพื่อประโยชน์ของท่านเอง และอีกตอนหนึ่งว่า โปรดสังเกตเงื่อนไขในการว่าจ้าง ร.ส.พ. ขนส่งสินค้าอยู่ด้านหลังนี้ ซึ่งด้านหลังของเอกสารดังกล่าวเป็นเงื่อนไขการว่าจ้างร.ส.พ.ขนส่งสินค้าและมีเงื่อนไขตอนหนึ่งระบุว่าการขนส่งพัสดุภัณฑ์อื่นๆ นอกจากที่ระบุไว้ในข้อ ก.และ ข. ผู้ส่งหรือผู้ว่าจ้างยินยอมให้ ร.ส.พ. ชดใช้ค่าเสียหายตามราคาที่เสียหายจริงแต่ไม่เกินวงเงิน 5,000 บาท ต่อเอกสารการขนส่ง 1 ฉบับ ข้อความด้านหน้าตอนท้ายของเอกสารดังกล่าวเป็นแต่เพียงคำเตือนหรือคำแนะนำให้ผู้ส่งสินค้าปฏิบัติ ไม่มีลักษณะเป็นข้อตกลงที่ชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดระหว่างผู้ขนส่งและผู้ส่งจึงเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 625 สินค้าประเภทกระดาษอัดรูปและฟิลม์สีที่โจทก์ว่าจ้างให้จำเลยที่ 2 ขนส่งมีราคาสูง แต่ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าอย่างอื่นตามความหมายแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 620 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่จำต้องบอกราคาหรือสภาพแห่งของไว้ในขณะที่ส่งมอบแก่จำเลยที่ 2 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ในราคาสินค้าที่แท้จริงซึ่งเสียหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 61