พบผลลัพธ์ทั้งหมด 174 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4193/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงยกเว้นความรับผิดของผู้ขนส่ง และเหตุสุดวิสัยของผู้ขับขี่ ทำให้ไม่ต้องรับผิดต่อความเสียหาย
การที่บริษัททั้งสองซึ่งเป็นผู้ส่ง กับจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งได้ตกลงกันชัดแจ้งในการยกเว้นความรับผิดของ จำเลยที่ 2 ที่ไม่รับประกันความเสียหายของสินค้าที่ส่งข้อตกลงยกเว้นความรับผิดดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 และมีผลให้บริษัททั้งสองซึ่งเป็นผู้ส่งไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัททั้งสองซึ่งเป็นผู้เอา ประกันภัยเพียงเท่าที่สิทธิของผู้เอาประกันภัยมีอยู่ แม้โจทก์จะได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัททั้งสองไปก็เป็นการปฏิบัติไปตามข้อสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์ทำไว้กับบริษัททั้งสอง แต่หาอาจก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะรับช่วงสิทธิจากบริษัททั้งสองมาฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดต่อโจทก์ได้
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกกระจกที่โจทก์รับประกันภัยความเสียหายไว้จากบริษัทผู้ส่งมาถึงที่เกิดเหตุ มีรถยนต์บรรทุกกระบะพ่วงขับแซงรถของจำเลยที่ 1 ขึ้นไปแต่แซงยังไม่พ้น แล้วหักหัวรถตัดหน้ารถจำเลยที่ 1 กะทันหัน จำเลยที่ 1 จึงหักหัวรถหลบไปทางซ้าย แต่หักมากไม่ได้เพราะติดราวสะพาน แล้วจำเลยที่ 1 หักหัวรถมา ทางขวาเข้าช่องทางปกติ เชือกซึ่งยึดกระจกที่บรรทุกมาขาด ทำให้กระจกไปตีกระบะด้านซ้ายหักกระจกแตกเสียหาย พฤติการณ์ดังกล่าวจึงฟังได้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ใช่เพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 แต่เกิดจากเหตุสุดวิสัย จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกกระจกที่โจทก์รับประกันภัยความเสียหายไว้จากบริษัทผู้ส่งมาถึงที่เกิดเหตุ มีรถยนต์บรรทุกกระบะพ่วงขับแซงรถของจำเลยที่ 1 ขึ้นไปแต่แซงยังไม่พ้น แล้วหักหัวรถตัดหน้ารถจำเลยที่ 1 กะทันหัน จำเลยที่ 1 จึงหักหัวรถหลบไปทางซ้าย แต่หักมากไม่ได้เพราะติดราวสะพาน แล้วจำเลยที่ 1 หักหัวรถมา ทางขวาเข้าช่องทางปกติ เชือกซึ่งยึดกระจกที่บรรทุกมาขาด ทำให้กระจกไปตีกระบะด้านซ้ายหักกระจกแตกเสียหาย พฤติการณ์ดังกล่าวจึงฟังได้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ใช่เพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 แต่เกิดจากเหตุสุดวิสัย จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8957/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าเสียหาย/สูญหาย และการประเมินความเสี่ยงในการขับขี่ยานพาหนะบรรทุก
รถบรรทุกลากจูงรวมกับน้ำหนักของรถพ่วงและน้ำหนักของสินค้ารวมทั้งหีบห่อแล้วมีน้ำหนักมาก ประกอบกับความยาวของรถบรรทุกลากจูงเมื่อรวมกับความยาวของรถพ่วงแล้ว ย่อมมีความยาวมากกว่ารถยนต์บรรทุกทั่ว ๆ ไป ทำให้ยากแก่การบังคับและควบคุมรถ การห้ามล้อเพื่อจะหยุดรถต้องใช้ระยะเวลานานกว่าปกติ และต้องใช้ระยะทางห้ามล้อยาวกว่าปกติ แต่ อ. ยังขับรถบรรทุกลากจูงคันดังกล่าวด้วยความเร็วประมาณ 50 ถึง 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทั้งที่ถนนบริเวณดังกล่าวเป็นทางโค้ง ย่อมทำให้เกิดแรงเหวี่ยงที่ส่วนท้ายบริเวณรถพ่วง ทำให้ยากแก่การควบคุมรถและเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นข้างหน้า และไม่สามารถจะห้ามล้อหยุดรถบรรทุก ลากจูงได้ทันจนเกิดเหตุขึ้น เหตุที่เกิดขึ้นจึงมิใช่เหตุสุดวิสัย
ตามสำเนาใบรับสินค้าของจำเลยผู้ขนส่งมีข้อความซึ่งมีลักษณะคล้ายใช้ตรายางประทับว่า สินค้าเสียหายหรือสูญหายให้แจ้งภายใน 7 วัน นับแต่วันได้รับสินค้า การชดใช้ค่าเสียหาย สูญหายตามความเป็นจริง แต่ต้องไม่เกินวงเงิน 30,000 บาท เอกสารนี้มีแต่ฝ่ายจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อไว้แต่ฝ่ายเดียว โดยมิได้ให้บริษัท ซ. ผู้ส่ง ลงลายมือชื่อไว้ด้วย จะถือว่าผู้ส่งตกลงยอมรับข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยโดยชัดแจ้งแล้วหาได้ไม่
ตามสำเนาใบรับสินค้าของจำเลยผู้ขนส่งมีข้อความซึ่งมีลักษณะคล้ายใช้ตรายางประทับว่า สินค้าเสียหายหรือสูญหายให้แจ้งภายใน 7 วัน นับแต่วันได้รับสินค้า การชดใช้ค่าเสียหาย สูญหายตามความเป็นจริง แต่ต้องไม่เกินวงเงิน 30,000 บาท เอกสารนี้มีแต่ฝ่ายจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อไว้แต่ฝ่ายเดียว โดยมิได้ให้บริษัท ซ. ผู้ส่ง ลงลายมือชื่อไว้ด้วย จะถือว่าผู้ส่งตกลงยอมรับข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยโดยชัดแจ้งแล้วหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5410/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญารับขน: แม้ไม่ได้ออกใบตราส่ง ก็อาจเป็นผู้ร่วมขนส่งและรับผิดชอบความเสียหายได้
แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ออกใบตราส่ง แต่ใบตราส่งเป็นเพียงพยานหลักฐานอย่างหนึ่งแห่งสัญญารับขนเท่านั้น โจทก์ย่อมนำสืบพยานหลักฐานอื่นแสดงถึงการทำสัญญารับขนได้ โจทก์ได้นำสืบถึงพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ติดต่อทำธุรกิจส่งสินค้าทั้งทางอากาศและทางเรือให้แก่ผู้ซื้อสินค้าทั้งสองรายมาเป็นเวลานาน โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้เสนอค่าจ้างขนส่งและแจ้งชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งในต่างประเทศ จำเลยที่ 1เป็นผู้เก็บค่าจ้างขนส่งเมื่อทำการขนส่งเสร็จสิ้น และการที่จำเลยที่ 2 ระบุชื่อจำเลยที่1เป็นผู้รับสินค้าที่ปลายทางการขนส่งทางอากาศเพื่อที่จะเป็นผู้มีสิทธิไปขอรับสินค้าออกจากโกดังส่งมอบให้แก่ลูกค้าซึ่งแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้เสนอตัวและดำเนินการเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าให้บริษัทผู้ซื้อทั้งสอง บริษัททั้งสองซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าและเอาประกันภัยไว้กับโจทก์ได้ทำสัญญารับขนสินค้ากับจำเลยที่ 1 โดยตกลงว่าจ้างให้จำเลยที่ 1ขนส่งสินค้าจากสนามบินต่างประเทศมายังประเทศไทยเพื่อส่งมอบให้แก่บริษัททั้งสอง จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าเมื่อสินค้าสูญหายระหว่างการรับขนจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในความสูญหายของสินค้าต่อบริษัททั้งสองตามสัญญารับขน และเมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้าพิพาทได้ชำระค่าสินไหมทดแทนแก่บริษัทผู้ซื้อสินค้าทั้งสองผู้เอาประกันภัยสินค้าดังกล่าวแล้ว ย่อมได้รับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4246/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่คืนตู้สินค้าหลังรับสินค้าจากเรือ: ผู้รับขนต้องรับผิดชอบในการคืนตู้สินค้าให้ผู้ขนส่งภายในกำหนด
ในการรับขนของ โจทก์ผู้ขนส่งได้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ขายหรือผู้ส่งของไว้ เป็นหลักฐานแห่งสัญญารับขน ซึ่งระบุข้อความสำคัญเกี่ยวกับชนิดของหีบห่อลักษณะของสินค้าว่าผู้ส่งเป็นผู้บรรจุและตรวจนับสินค้าเข้าตู้สินค้า และสถานที่ส่งมอบสินค้าคือลานวางตู้สินค้า ท่าเรือกรุงเทพมหานคร จำเลยผู้สั่งซื้อสินค้าจึงมีหน้าที่มารับสินค้าจากโจทก์ ณ สถานที่ดังกล่าว แต่เมื่อสินค้าอยู่ในตู้สินค้าและการรับสินค้าต้องรับตู้สินค้าที่บรรจุสินค้านั้นไปด้วย เพราะจำเป็นต้องขนตู้สินค้าไปยังโกดังสินค้าของจำเลยเพื่อนำสินค้าออกจากตู้สินค้า จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยในการขนตู้สินค้าไปยังโกดังสินค้า และเมื่อจำเลยนำสินค้าออกจากตู้สินค้าแล้วก็ย่อมมีหน้าที่ต้องนำตู้สินค้าไปคืนให้แก่โจทก์หรือตัวแทนของโจทก์ภายในกำหนด14 วัน นับแต่เรือบรรทุกสินค้ามาถึงท่าเรือปลายทางเมื่อเรือบรรทุกสินค้ามาถึงท่าเรือกรุงเทพมหานครและได้มีการขนถ่ายสินค้าจากเรือโดยมีบริษัท ว. เป็นตัวแทนผู้ดำเนินพิธีการทางศุลกากรและรับสินค้าให้แก่จำเลย และได้นำสินค้าของจำเลยไปยังโกดังสินค้าของจำเลยโดยใช้บริการ ร.ส.พ. เมื่อตู้สินค้าตู้หนึ่งคนขับรถของ ร.ส.พ. มิได้นำไปคืนให้แก่ตัวแทนโจทก์จนล่วงเลยกำหนดเวลาดังกล่าวไปแล้ว จำเลยในฐานะตัวการของผู้ขนตู้สินค้าดังกล่าวไปยังโกดังสินค้าของจำเลยและเป็นผู้มีหน้าที่ต้องคืนตู้สินค้าแก่โจทก์จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ในกรณีที่โจทก์ไม่ได้รับตู้สินค้าคืนจากจำเลยภายในกำหนดเวลา14 วัน นับแต่เรือบรรทุกสินค้ามาถึงท่าเรือปลายทาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 710/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, ความรับผิดขนส่งสินค้าเสียหาย, การรับช่วงสิทธิจากสัญญาประกันภัย, และข้อจำกัดการฎีกา
ตามหนังสือมอบอำนาจของบริษัทโจทก์ที่สำนักงานใหญ่ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา โจทก์มอบให้นาย จ. มีอำนาจเกี่ยวกับการฟ้องหรือต่อสู้คดี และให้มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนสับเปลี่ยนผู้รับมอบอำนาจช่วง นาย จ. มอบอำนาจช่วงให้นาย พ. ฟ้องคดีความทั้งปวงแทนโจทก์ ดังนี้ การมอบอำนาจในลักษณะดังกล่าวแม้มิได้เป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีใดโดยเฉพาะเจาะจง แต่ก็ครอบคลุมถึงการฟ้องคดีนี้ด้วย แม้โจทก์จะได้ใช้หนังสือมอบอำนาจช่วงดังกล่าวฟ้องคดีอื่นก็ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้นำมาฟ้องในคดีนี้อีก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในการขนส่งสินค้า ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท และสินค้าพิพาทเสียหายไปในระหว่างการขนส่ง ดังนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ขนส่งต้องรับผิดในค่าเสียหายต่อสินค้าดังกล่าว ทั้งนี้ตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 616
เมื่อบริษัท ป. ทำสัญญาประกันวินาศภัยกับโจทก์ในนามตนเอง แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อเข้ามาแสดงตนและเข้ารับเอาสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัท ป. ก็ตาม แต่ก็เป็นการแสดงตนหลังจากโจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัท ป. ไปแล้ว ดังนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นตัวการมิได้เปิดเผยชื่อจะทำให้เป็นที่เสื่อมสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกหาได้ไม่
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในการขนส่งสินค้า ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท และสินค้าพิพาทเสียหายไปในระหว่างการขนส่ง ดังนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ขนส่งต้องรับผิดในค่าเสียหายต่อสินค้าดังกล่าว ทั้งนี้ตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 616
เมื่อบริษัท ป. ทำสัญญาประกันวินาศภัยกับโจทก์ในนามตนเอง แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อเข้ามาแสดงตนและเข้ารับเอาสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัท ป. ก็ตาม แต่ก็เป็นการแสดงตนหลังจากโจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัท ป. ไปแล้ว ดังนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นตัวการมิได้เปิดเผยชื่อจะทำให้เป็นที่เสื่อมสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6437/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีรับขนของทางทะเล, การใช้กฎหมายที่ใช้บังคับ, และความรับผิดของผู้ขนส่งร่วม
จำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจดทะเบียนที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีจำเลยที่ 2 และที่ 4 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจดทะเบียนในประเทศไทย ผู้ขายสินค้าพิพาท ได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท โดยจำเลยที่ 1มีหน้าที่รับสินค้าพิพาทจากผู้ขายสินค้าและบรรทุกสินค้าลงเรือเมื่อเรือขนสินค้ามาถึงท่าเรือปลายทางจำเลยที่ 1และที่ 2 จะต้องติดต่อประสานงานในการนำเรือเข้าจอดเทียบท่า และติดต่อพิธีการทางศุลกากร ในการติดต่อขอรับสินค้า บริษัทอ.ผู้สั่งซื้อสินค้าจะต้องติดต่อกับจำเลยที่ 2 เพื่อชำระค่าระวางบรรทุกสินค้า เมื่อจำเลยที่ 2 รับชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าแล้วจะแจ้งให้จำเลยที่ 4 ออกใบปล่อยสินค้าให้ และใบตราส่งซึ่งจำเลยที่ 1 ออกให้แก่ผู้ขายสินค้ามีข้อความระบุว่าการปล่อยสินค้าให้ติดต่อจำเลยที่ 2 และมีข้อความระบุอีกว่าค่าระวางบรรทุกสินค้าให้ชำระที่เมืองท่าปลายทาง แสดงว่าจำเลยที่ 2 ทำหน้าที่เก็บค่าระวางบรรทุกสินค้าสำหรับสินค้าพิพาทแทนจำเลยที่ 1 เช่นนี้ ย่อมฟังได้ว่าจำเลยที่ 1มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการของจำเลยที่ 1ในราชอาณาจักร จึงถือได้ว่าภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2ซึ่งจำเลยที่ 1 ใช้ในการติดต่อดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ด้วย โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1ต่อศาลแพ่งได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 3(2)(ข) ในวันที่มีการออกใบตราส่งฉบับแรกคือวันที่28 เมษายน 2534 และวันที่มีการส่งมอบและตรวจรับสินค้าพิพาทคือวันที่ 8 มิถุนายน 2534 พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ. 2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับ แต่พระราชบัญญัติดังกล่าวเพิ่งจะ มีผลใช้บังคับในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 ดังนั้น จึงต้องนำ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 ซึ่งเป็นบทกฎหมาย ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มูลคดีเกิดขึ้น อันเป็น บทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มูลคดีเกิดขึ้น อันเป็นบทกฎหมาย ที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาใช้บังคับ ตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วรรคสองมิใช่ถือเอาวันที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดี และกรณีไม่อาจนำเอาพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534มาใช้บังคับกับคดีนี้ได้ จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับสินค้าจากผู้ส่งที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมณี และจำเลยที่ 1เป็นผู้ติดต่อให้เรือท.ขนส่งสินค้าดังกล่าว โดยจำเลยที่ 1เป็นผู้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่ง จำเลยที่ 1 จึงมีฐานะ เป็นผู้ขนส่งตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 608 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชอบในการที่สินค้า พิพาทสูญหายไปตาม มาตรา 616 ในการติดต่อขอรับสินค้าพิพาท บริษัทอ. ผู้สั่งซื้อสินค้าจะต้องติดต่อกับจำเลยที่ 2 และจะต้องชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 รับชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าแล้ว จะแจ้งไปยังจำเลยที่ 4ให้ออกใบปล่อยสินค้าให้ และตามใบตราส่งซึ่งจำเลยที่ 1ออกให้แก่ผู้ส่งสินค้าระบุให้ผู้รับตราส่งติดต่อจำเลยที่ 2ในการขอรับสินค้า ทั้งตามใบตราส่งที่จำเลยที่ 3ออกให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานตัวแทนของผู้ส่งสินค้าก็ระบุให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับตราส่งนอกจากนั้น จำเลยที่ 2ยังมีหน้าที่ติดต่อกับบริษัทเรือเพื่อรับเอกสารการปล่อยสินค้าพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวรับฟังได้ว่าเป็นการดำเนินงานขนส่งสินค้าร่วมกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในการสูญหายของสินค้าพิพาทด้วย สำหรับจำเลยที่ 4 เป็นผู้ทำการขนถ่ายสินค้า ที่บรรทุกมากับเรือท. และนำสินค้าดังกล่าวไปมอบให้แก่การท่าเรือ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 4 ดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ร่วมทำการขนส่งสินค้าพิพาทด้วย จำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดในความสูญหายของสินค้า พิพาทดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6437/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งและตัวแทนขนส่งในความเสียหายของสินค้า การพิสูจน์ความรับผิดและค่าเสียหาย
จำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการของจำเลยที่ 1 ในราชอาณาจักรจึงถือได้ว่าภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ใช้ในการติดต่อดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ด้วยโจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาล แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคสองจะบัญญัติว่า "รับขนของทางทะเลท่านให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้น" ก็ตาม แต่เนื่องจากคดีนี้ทั้ง วันที่มีการออกใบตราส่งฉบับแรกและวันที่มีการส่งมอบ และตรวจรับสินค้าพิพาทเป็นวันก่อนที่พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ใช้บังคับ จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มูลคดีเกิดขึ้นอันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาใช้บังคับ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วรรคสองมิใช่ถือเอาวันที่โจทก์ทั้งสองฟ้อง จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับสินค้าจากผู้ส่งและเป็นผู้ติดต่อเรือให้ ขนสินค้าโดยเป็นผู้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่ง จึงมีฐานะเป็น ผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับติดต่อกับผู้รับสินค้าในการส่งมอบสินค้า เมื่อได้รับชำระค่าระวางเรือก็จะแจ้งให้จำเลยที่ 4ออกใบปล่อยสินค้า ใบตราส่งที่จำเลยที่ 1 ออกให้แก่ผู้ส่งสินค้าก็ระบุให้ผู้รับตราส่งติดต่อจำเลยที่ 2 ในการขอรับสินค้าทั้งใบตราส่งที่จำเลยที่ 3 ออกให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานตัวแทนของผู้ส่งสินค้าก็ระบุให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับตราส่งพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวเป็นการดำเนิน งานขนส่งสินค้าร่วมกับจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิด ในการสูญหายของสินค้าด้วย จำเลยที่ 4 เป็นผู้ทำการขนถ่ายสินค้าที่บรรทุกมากับเรือและนำสินค้าดังกล่าวไปมอบให้แก่การท่าเรือสัตหีบ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 4 ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ร่วมทำการขนส่งสินค้าพิพาทด้วย จึงต้องร่วมรับผิดในความสูญหายของสินค้า พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534มีผลใช้บังคับในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 ภายหลังจากมูลคดีได้เกิดขึ้น จึงไม่อาจนำการจำกัดความรับผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6437/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การขนส่งสินค้า, ความรับผิดของผู้ขนส่ง, สินค้าสูญหาย, การชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการของจำเลยที่ 1 ในราชอาณาจักรจึงถือได้ว่าภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ใช้ในการติดต่อดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ด้วยโจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาล
แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคสองจะบัญญัติว่า "รับขนของทางทะเลท่านให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้น" ก็ตาม แต่เนื่องจากคดีนี้ทั้ง วันที่มีการออกใบตราส่งฉบับแรกและวันที่มีการส่งมอบ และตรวจรับสินค้าพิพาทเป็นวันก่อนที่พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ใช้บังคับ จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มูลคดีเกิดขึ้นอันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาใช้บังคับ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วรรคสอง มิใช่ถือเอาวันที่โจทก์ทั้งสองฟ้อง
จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับสินค้าจากผู้ส่งและเป็นผู้ติดต่อเรือให้ขนสินค้าโดยเป็นผู้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่ง จึงมีฐานะเป็น ผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับติดต่อกับผู้รับสินค้าในการส่งมอบสินค้า เมื่อได้รับชำระค่าระวางเรือก็จะแจ้งให้จำเลยที่ 4 ออกใบปล่อยสินค้า ใบตราส่งที่จำเลยที่ 1 ออกให้แก่ผู้ส่งสินค้าก็ระบุให้ผู้รับตราส่งติดต่อจำเลยที่ 2 ในการขอรับสินค้าทั้งใบตราส่งที่จำเลยที่ 3 ออกให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานตัวแทนของผู้ส่งสินค้าก็ระบุให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับตราส่งพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวเป็นการดำเนินงานขนส่งสินค้าร่วมกับจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิด ในการสูญหายของสินค้าด้วย
จำเลยที่ 4 เป็นผู้ทำการขนถ่ายสินค้าที่บรรทุกมากับเรือและนำสินค้าดังกล่าวไปมอบให้แก่การท่าเรือสัตหีบ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 4 ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ร่วมทำการขนส่งสินค้าพิพาทด้วย จึงต้องร่วมรับผิดในความสูญหายของสินค้า
พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534มีผลใช้บังคับในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 ภายหลังจากมูลคดีได้เกิดขึ้น จึงไม่อาจนำการจำกัดความรับผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับ
แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคสองจะบัญญัติว่า "รับขนของทางทะเลท่านให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้น" ก็ตาม แต่เนื่องจากคดีนี้ทั้ง วันที่มีการออกใบตราส่งฉบับแรกและวันที่มีการส่งมอบ และตรวจรับสินค้าพิพาทเป็นวันก่อนที่พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ใช้บังคับ จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มูลคดีเกิดขึ้นอันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาใช้บังคับ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วรรคสอง มิใช่ถือเอาวันที่โจทก์ทั้งสองฟ้อง
จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับสินค้าจากผู้ส่งและเป็นผู้ติดต่อเรือให้ขนสินค้าโดยเป็นผู้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่ง จึงมีฐานะเป็น ผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับติดต่อกับผู้รับสินค้าในการส่งมอบสินค้า เมื่อได้รับชำระค่าระวางเรือก็จะแจ้งให้จำเลยที่ 4 ออกใบปล่อยสินค้า ใบตราส่งที่จำเลยที่ 1 ออกให้แก่ผู้ส่งสินค้าก็ระบุให้ผู้รับตราส่งติดต่อจำเลยที่ 2 ในการขอรับสินค้าทั้งใบตราส่งที่จำเลยที่ 3 ออกให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานตัวแทนของผู้ส่งสินค้าก็ระบุให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับตราส่งพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวเป็นการดำเนินงานขนส่งสินค้าร่วมกับจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิด ในการสูญหายของสินค้าด้วย
จำเลยที่ 4 เป็นผู้ทำการขนถ่ายสินค้าที่บรรทุกมากับเรือและนำสินค้าดังกล่าวไปมอบให้แก่การท่าเรือสัตหีบ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 4 ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ร่วมทำการขนส่งสินค้าพิพาทด้วย จึงต้องร่วมรับผิดในความสูญหายของสินค้า
พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534มีผลใช้บังคับในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 ภายหลังจากมูลคดีได้เกิดขึ้น จึงไม่อาจนำการจำกัดความรับผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6437/2541 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งและผู้ร่วมขนส่งในความเสียหายของสินค้า รวมถึงการกำหนดภูมิลำเนาของบริษัทต่างชาติ
จำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี จำเลยที่ 2 และที่ 4 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนในประเทศไทย ผู้ขายสินค้าพิพาท ได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท โดยจำเลยที่ 1 มีหน้าที่รับสินค้าพิพาทจากผู้ขายสินค้าและบรรทุกสินค้าลงเรือ เมื่อเรือขนสินค้ามาถึงท่าเรือปลายทางจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องติดต่อประสานงานในการนำเรือเจ้าจอดเทียบท่า และติดต่อพิธีการทางศุลกากร ในการติดต่อขอรับสินค้าบริษัท อ.ผู้สั่งซื้อสินค้าจะต้องติดต่อกับจำเลยที่ 2เพื่อชำระค่าระวางบรรทุกสินค้า เมื่อจำเลยที่ 2 รับชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าแล้ว จะแจ้งให้จำเลยที่ 4 ออกใบปล่อยสินค้าให้ และใบตราส่งซึ่งจำเลยที่ 1 ออกให้แก่ผู้ขายสินค้ามีข้อความระบุว่า การปล่อยสินค้าให้ติดต่อจำเลยที่ 2 และมีข้อความระบุอีกว่า ค่าระวางบรรทุกสินค้าให้ชำระที่เมืองท่าปลายทาง แสดงว่า จำเลยที่ 2 ทำหน้าที่เก็บค่าระวางบรรทุกสินค้าสำหรับสินค้าพิพาทแทนจำเลยที่ 1 เช่นนี้ ย่อมฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการของจำเลยที่ 1 ในราชอาณาจักร จึงถือได้ว่าภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ใช้ในการติดต่อดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ด้วย โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลแพ่งได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 3 (2) (ข) ในวันที่มีการออกใบตราส่งฉบับแรกคือวันที่ 28 เมษายน 2534และวันที่มีการส่งมอบและตรวจรับสินค้าพิพาทคือวันที่ 8 มิถุนายน 2534 พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับ แต่พระราชบัญญัติดังกล่าวเพิ่งจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 ดังนั้น จึงต้องนำ ป.พ.พ.มาตรา 616ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มูลคดีเกิดขึ้น อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาใช้บังคับ ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 4 วรรคสอง มิใช่ถือเอาวันที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดี และกรณีไม่อาจนำเอา พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาใช้บังคับกับคดีนี้ได้
จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับสินค้าจากผู้ส่งที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และจำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อให้เรือ ท.ขนส่งสินค้าดังกล่าว โดยจำเลยที่ 1เป็นผู้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่ง จำเลยที่ 1 จึงมีฐานะเป็นผู้ขนส่งตามบทบัญญัติแห่งป.พ.พ.มาตรา 608 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชอบในการที่สินค้าพิพาทสูญหายไปตาม มาตรา 616
ในการติดต่อขอรับสินค้าพิพาทบริษัท อ.ผู้สั่งซื้อสินค้าจะต้องติดต่อกับจำเลยที่ 2 และจะต้องชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 รับชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าแล้ว จะแจ้งไปยังจำเลยที่ 4 ให้ออกใบปล่อยสินค้าให้ และตามใบตราส่ง ซึ่งจำเลยที่ 1 ออกให้แก่ผู้ส่งสินค้าระบุให้ผู้รับตราส่งติดต่อจำเลยที่ 2 ในการขอรับสินค้า ทั้งตามใบตราส่งที่จำเลยที่ 3 ออกให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานตัวแทนของผู้ส่งสินค้าก็ระบุให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับตราส่งนอกจากนั้น จำเลยที่ 2 ยังมีหน้าที่ติดต่อกับบริษัทเรือเพื่อรับเอกสารการปล่อยสินค้าพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าว รับฟังได้ว่าเป็นการดำเนินงานขนส่งสินค้าร่วมกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในการสูญหายของสินค้าพิพาทด้วย
สำหรับจำเลยที่ 4 เป็นผู้ทำการขนถ่ายสินค้าที่บรรทุกมากับเรือท. และนำสินค้าดังกล่าวไปมอบให้แก่การท่าเรือสัตหีบ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 4ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ร่วมทำการขนส่งสินค้าพิพาทด้วย จำเลยที่ 4จึงต้องร่วมรับผิดในความสูญหายของสินค้าพิพาทดังกล่าว
จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับสินค้าจากผู้ส่งที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และจำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อให้เรือ ท.ขนส่งสินค้าดังกล่าว โดยจำเลยที่ 1เป็นผู้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่ง จำเลยที่ 1 จึงมีฐานะเป็นผู้ขนส่งตามบทบัญญัติแห่งป.พ.พ.มาตรา 608 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชอบในการที่สินค้าพิพาทสูญหายไปตาม มาตรา 616
ในการติดต่อขอรับสินค้าพิพาทบริษัท อ.ผู้สั่งซื้อสินค้าจะต้องติดต่อกับจำเลยที่ 2 และจะต้องชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 รับชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าแล้ว จะแจ้งไปยังจำเลยที่ 4 ให้ออกใบปล่อยสินค้าให้ และตามใบตราส่ง ซึ่งจำเลยที่ 1 ออกให้แก่ผู้ส่งสินค้าระบุให้ผู้รับตราส่งติดต่อจำเลยที่ 2 ในการขอรับสินค้า ทั้งตามใบตราส่งที่จำเลยที่ 3 ออกให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานตัวแทนของผู้ส่งสินค้าก็ระบุให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับตราส่งนอกจากนั้น จำเลยที่ 2 ยังมีหน้าที่ติดต่อกับบริษัทเรือเพื่อรับเอกสารการปล่อยสินค้าพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าว รับฟังได้ว่าเป็นการดำเนินงานขนส่งสินค้าร่วมกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในการสูญหายของสินค้าพิพาทด้วย
สำหรับจำเลยที่ 4 เป็นผู้ทำการขนถ่ายสินค้าที่บรรทุกมากับเรือท. และนำสินค้าดังกล่าวไปมอบให้แก่การท่าเรือสัตหีบ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 4ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ร่วมทำการขนส่งสินค้าพิพาทด้วย จำเลยที่ 4จึงต้องร่วมรับผิดในความสูญหายของสินค้าพิพาทดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5156/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งและผู้รับประกันภัยทางทะเล กรณีความเสียหายปูนซีเมนต์จากการขนถ่ายสินค้า
ค่าเสียหายที่โจทก์ผู้รับประกันภัยชำระแก่องค์การคลังสินค้าตามสัญญาประกันภัยทางทะเลในการขนส่งระหว่างประเทศจำนวน 2,916,850.29 บาท สำหรับปูนซีเมนต์ที่เสียหายเพราะถุงแตกน้ำหนัก 1,769.30 เมตริกตันเป็นค่าเสียหายเฉพาะความเสียหายกรณีปูนซีเมนต์ที่ถุงแตกจำนวน 41,574 ถุง น้ำหนัก 1,769.30 เมตริกตัน โจทก์จึงได้รับช่วงสิทธิจากองค์การคลังสินค้าเฉพาะในส่วน ที่เกี่ยวกับปูนซีเมนต์ที่เสียหายเพราะถุงแตกจำนวน41,574 ถุง เท่านั้น โจทก์หาได้รับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากความเสียหายสำหรับกรณีปูนซีเมนต์แปรสภาพแข็งตัวจำนวน 1,372 ถุง และปูนซีเมนต์ขาดหายอีก 16 ถุง มาด้วย ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องสำหรับหนี้ความเสียหายตามฟ้องในกรณีปูนซีเมนต์แปรสภาพแข็งตัวและขาดหายจำนวนดังกล่าว ซึ่งปัญหาในเรื่องอำนาจฟ้องนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247 ปูนซีเมนต์ที่เสียหายเพราะถุงแตกเกิดขึ้นระหว่างที่จำเลยที่ 3 ผู้ขนส่งทำหน้าที่ขนถ่ายปูนซีเมนต์จากเรือช.ไปยังคลังสินค้าขององค์การคลังสินค้าจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายจากการกระทำของตนดังกล่าว ปัญหาที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยสินค้าจากองค์การคลังสินค้าตามสัญญาประกันภัยทางทะเลในการขนส่งระหว่างประเทศไม่มีผลผูกพันถึงการขนส่งของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นการขนส่งภายในประเทศนั้นจำเลยที่ 3 ไม่ได้ให้การต่อสู้ในปัญหานี้ จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาท ฎีกาของจำเลยที่ 3 ข้อนี้จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ แม้ตามปกติผู้ขนส่งต้องผูกพันและรับผิดตามสัญญารับขน ปูนซีเมนต์พิพาทหากปูนซีเมนต์ดังกล่าวสูญหายหรือบุบสลาย ในระหว่างการขนส่งจนกว่าปูนซีเมนต์จะได้ส่งถึง กรุงเทพมหานครเมืองท่าปลายทาง โดยผู้ขนส่งต้องมีหน้าที่ ขนถ่ายปูนซีเมนต์ขึ้นจากเรือเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้รับขนส่ง ก็ ตาม แต่ก็อาจมีการตกลงในสัญญารับขนเป็นประการอื่น กล่าวคือ ตกลงให้ผู้รับตราส่งมีหน้าที่ขนถ่ายสินค้าขึ้น จากเรือดังกล่าวก็ได้เมื่อปรากฏว่าสัญญารับขนปูนซีเมนต์ รายพิพาทนี้มีข้อตกลงกันด้วยว่าให้ผู้รับตราส่งคือ องค์การคลังสินค้าเป็นผู้มีหน้าที่ขนถ่ายปูนซีเมนต์ ขึ้นจากเรือ และโจทก์กล่าวอ้างว่าความเสียหายตามฟ้องในส่วนปูนซีเมนต์ถุงแตกเกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยที่ 3 ในการขนถ่ายปูนซีเมนต์ จึงเป็นกรณี ที่ความเสียหายเพราะปูนซีเมนต์ถุงแตกนี้เกิดขึ้น ในระหว่างการทำหน้าที่ของจำเลยที่ 3 อันอยู่ในความรับผิดชอบขององค์การคลังสินค้าเองตามที่มีการตกลงกันไว้ในสัญญารับขนว่าให้องค์การคลังสินค้าผู้รับตราส่ง เป็นผู้มีหน้าที่ขนถ่ายปูนซีเมนต์ขึ้นจากเรือ ถือไม่ได้ว่าเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นในระหว่างที่อยู่ในหน้าที่และความรับผิด ชอบ ของจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ขนส่งตามสัญญา รับขนดังกล่าว จำเลยที่ 2 ก็หาต้องรับผิดต่อ องค์การคลังสินค้าในความเสียหายนี้ไม่ จำเลยที่ 2จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับประกันภัยการขนส่งปูนซีเมนต์รายพิพาทจากองค์การคลังสินค้าเช่นกัน