พบผลลัพธ์ทั้งหมด 174 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6405/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเล, เหตุสุดวิสัย, และการชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาประกันภัย
จำเลยเป็นผู้ขนส่งสินค้าอ้างว่าสินค้าได้รับความเสียหายเพราะเหตุสุดวิสัยจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดจำเลยมีหน้าที่นำสืบว่าสินค้าดังกล่าวได้รับความเสียหายเพราะเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา616 ในการขนส่งสินค้าทางทะเลข้อที่จำเลยนำสืบคงได้ความเพียงว่าในระหว่างการขนสินค้าได้เกิดพายุขึ้นและมีคลื่นใหญ่เท่านั้นจำเลยมิได้นำสืบว่ากรณีดังกล่าวมีความร้ายแรงผิดปกติจนไม่อาจคาดหมายได้หรือมิอาจป้องกันมิให้สินค้าเสียหายไว้ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าคลื่นลมและสภาวะอากาศดังกล่าวเป็นเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา8 ผู้ร้องสอดใช้สิทธิร้องสอดเข้าแทนที่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(2)จึงมีฐานะเสมอด้วยโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความที่ผู้ร้องสอดเข้าแทนที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา58วรรคสองเมื่อจำเลยไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้ร้องสอด พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534ไม่มีผลย้อนหลังเมื่อปรากฏว่าพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่21กุมภาพันธ์พ.ศ.2535ซึ่งเป็นเวลาหลังจากเกิดเหตุคดีนี้จึงไม่มีผลบังคับแก่คดีนี้ฎีกาของจำเลยที่ว่าจำเลยไม่ใช่ผู้ขนส่งตามความหมายในพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงไม่จำต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6405/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเล กรณีสินค้าเสียหายจากพายุ และประเด็นการรับช่วงสิทธิของผู้รับประกันภัย
จำเลยเป็นผู้ขนส่งสินค้าอ้างว่าสินค้าได้รับความเสียหายเพราะเหตุสุดวิสัยจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดจำเลยมีหน้าที่นำสืบว่าสินค้าดังกล่าวได้รับความเสียหายเพราะเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา616 ในการขนส่งสินค้าทางทะเลข้อที่จำเลยนำสืบคงได้ความเพียงว่าในระหว่างการขนสินค้าได้เกิดพายุขึ้นและมีคลื่นใหญ่เท่านั้นจำเลยมิได้นำสืบว่ากรณีดังกล่าวมีความร้ายแรงผิดปกติจนไม่อาจคาดหมายได้หรือมิอาจป้องกันมิให้สินค้าเสียหายได้ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าคลื่นลมและสภาวะอากาศดังกล่าวเป็นเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา8 ผู้ร้องสอดใช้สิทธิร้องสอดเข้าแทนที่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(2)จึงมีฐานะเสมอด้วยโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความที่ผู้ร้องสอดเข้าแทนที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา58วรรคสองเมื่อจำเลยไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้ร้องสอด พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534ไม่มีผลย้อนหลังเมื่อปรากฏว่าพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่21กุมภาพันธ์พ.ศ.2535ซึ่งเป็นเวลาหลังจากเกิดเหตุคดีนี้จึงไม่มีผลบังคับแก่คดีนี้ฎีกาของจำเลยที่ว่าจำเลยไม่ใช่ผู้ขนส่งตามความหมายในพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงไม่จำต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6405/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล กรณีสินค้าเสียหายจากพายุ และการชดใช้ค่าเสียหายโดยบริษัทประกันภัย
จำเลยเป็นผู้ขนส่งสินค้าอ้างว่าสินค้าได้รับความเสียหายเพราะเหตุสุดวิสัย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด จำเลยมีหน้าที่นำสืบว่าสินค้าดังกล่าวได้รับความเสียหายเพราะเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 ในการขนส่งสินค้าทางทะเล ข้อที่จำเลยนำสืบคงได้ความเพียงว่า ในระหว่างการขนสินค้าได้เกิดพายุขึ้นและมีคลื่นใหญ่เท่านั้น จำเลยมิได้นำสืบว่ากรณีดังกล่าวมีความร้ายแรงผิดปกติจนไม่อาจคาดหมายได้หรือมิอาจป้องกันมิให้สินค้าเสียหายไว้ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าคลื่นลมและสภาวะอากาศดังกล่าวเป็นเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8 ผู้ร้องสอดใช้สิทธิร้องสอดเข้าแทนที่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) จึงมีฐานะเสมอด้วยโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความที่ผู้ร้องสอดเข้าแทนที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 58 วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้ร้องสอด พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ไม่มีผลย้อนหลังเมื่อปรากฏว่าพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากเกิดเหตุคดีนี้จึงไม่มีผลบังคับแก่คดีนี้ ฎีกาของจำเลยที่ว่าจำเลยไม่ใช่ผู้ขนส่งตามความหมายในพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงไม่จำต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6231/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับขนส่งทอดสุดท้ายต้องรับผิดชอบความเสียหายของสินค้า แม้จะอ้างเฮกรูลส์ไม่ได้ และอายุความยังไม่ครบกำหนด
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดโดยอ้างว่าจำเลยเป็นผู้รับขนทอดสุดท้ายร่วมกับผู้รับขนทางเรือจากต่างประเทศ จำเลยให้การปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างเฮกรูลส์เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่ามีเฮกรูลส์ซึ่งประเทศไทยนำมาใช้จนเป็นประเพณีแล้วและฟังไม่ได้ว่ามีการระบุดังกล่าวไว้ด้านหลังใบตราส่งกรณีจึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะรับขนอันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี จำเลยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการรับขนสินค้าโดยทางทะเลทั้งในและนอกประเทศได้ติดต่อทำพิธีศุลกากรและเอกสารต่างๆรวมทั้งการให้มีการขนถ่ายสินค้าติดต่อกับกรมเจ้าท่าให้มีเรือนำร่องเรือมาที่ท่าและทำการจองท่าเรือเพื่อให้เรือเข้าจอดเป็นผู้ติดต่อกับกองตรวจคนเข้าเมืองขออนุญาตให้ลูกเรือเข้าประเทศไทยประกาศหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับตารางเรือเทียบท่าเพื่อให้ผู้รับตราส่งมาติดต่อเพื่อทำการขนถ่ายสินค้ามีหน้าที่ออกใบปล่อยสินค้าโดยจำเลยได้รับค่าตอบแทนจากการดำเนินการนั้นหากไม่มีจำเลยช่วยดำเนินการแล้วสินค้าก็ลงจากเรือและส่งมอบให้แก่เจ้าของสินค้าไม่ได้นอกจากนั้นจำเลยเองก็มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการรับขนส่งสินค้าโดยทางทะเลทั้งในและนอกประเทศจำเลยจึงเป็นผู้ขนส่งสินค้าโดยเป็นผู้รับช่วงการขนส่งทอดสุดท้าย จำเลยฎีกาว่าข้อเท็จจริงถือได้ว่าผู้ขนส่งสินค้าส่งมอบสินค้าแล้วเมื่อวันที่3พฤษภาคม2532อายุความจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าวนั้นปรากฏว่าจำเลยให้การว่าเมื่อขนส่งมอบสินค้าแก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยในวันที่3พฤษภาคม2532ในสภาพเรียบร้อยผู้ขนส่งจึงพ้นความรับผิดตามสัญญารับขนคดีนี้จำเลยให้การเพียงว่าคดีโจทก์ขาดอายุความใน1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา624ดังนี้ฎีกาของจำเลยที่อ้างว่าอายุความต้องเริ่มนับแต่วันที่3พฤษภาคม2532จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6231/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับขนส่งทอดสุดท้าย และอายุความตามสัญญา
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดโดยอ้างว่าจำเลยเป็นผู้รับขนทอดสุดท้ายร่วมกับผู้รับขนทางเรือจากต่างประเทศ จำเลยให้การปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างเฮกรูลส์ เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่ามีเฮกรูลส์ซึ่งประเทศไทยนำมาใช้จนเป็นประเพณีแล้ว และฟังไม่ได้ว่ามีการระบุดังกล่าวไว้ด้านหลังใบตราส่งกรณีจึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะรับขนอันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี
จำเลยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการรับขนสินค้าโดยทางทะเลทั้งในและนอกประเทศ ได้ติดต่อทำพิธีศุลกากรและเอกสารต่าง ๆรวมทั้งการให้มีการขนถ่ายสินค้า ติดต่อกับกรมเจ้าท่าให้มีเรือนำร่องเรือมาที่ท่าและทำการจองท่าเรือเพื่อให้เรือเข้าจอด เป็นผู้ติดต่อกับกองตรวจคนเข้าเมืองขออนุญาตให้ลูกเรือเข้าประเทศไทย ประกาศหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับตารางเรือเทียบท่าเพื่อให้ผู้รับตราส่งมาติดต่อเพื่อทำการขนถ่ายสินค้ามีหน้าที่ออกใบปล่อยสินค้าโดยจำเลยได้รับค่าตอบแทนจากการดำเนินการนั้น หากไม่มีจำเลยช่วยดำเนินการแล้วสินค้าก็ลงจากเรือและส่งมอบให้แก่เจ้าของสินค้าไม่ได้ นอกจากนั้นจำเลยเองก็มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการรับขนส่งสินค้าโดยทางทะเลทั้งในและนอกประเทศจำเลยจึงเป็นผู้ขนส่งสินค้าโดยเป็นผู้รับช่วงการขนส่งทอดสุดท้าย
จำเลยฎีกาว่า ข้อเท็จจริงถือได้ว่าผู้ขนส่งสินค้าส่งมอบสินค้าแล้วเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2532 อายุความจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าวนั้น ปรากฏว่าจำเลยให้การว่าเมื่อขนส่งมอบสินค้าแก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยในวันที่ 3พฤษภาคม 2532 ในสภาพเรียบร้อย ผู้ขนส่งจึงพ้นความรับผิดตามสัญญารับขนคดีนี้จำเลยให้การเพียงว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา624 ดังนี้ ฎีกาของจำเลยที่อ้างว่าอายุความต้องเริ่มนับแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2532จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการรับขนสินค้าโดยทางทะเลทั้งในและนอกประเทศ ได้ติดต่อทำพิธีศุลกากรและเอกสารต่าง ๆรวมทั้งการให้มีการขนถ่ายสินค้า ติดต่อกับกรมเจ้าท่าให้มีเรือนำร่องเรือมาที่ท่าและทำการจองท่าเรือเพื่อให้เรือเข้าจอด เป็นผู้ติดต่อกับกองตรวจคนเข้าเมืองขออนุญาตให้ลูกเรือเข้าประเทศไทย ประกาศหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับตารางเรือเทียบท่าเพื่อให้ผู้รับตราส่งมาติดต่อเพื่อทำการขนถ่ายสินค้ามีหน้าที่ออกใบปล่อยสินค้าโดยจำเลยได้รับค่าตอบแทนจากการดำเนินการนั้น หากไม่มีจำเลยช่วยดำเนินการแล้วสินค้าก็ลงจากเรือและส่งมอบให้แก่เจ้าของสินค้าไม่ได้ นอกจากนั้นจำเลยเองก็มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการรับขนส่งสินค้าโดยทางทะเลทั้งในและนอกประเทศจำเลยจึงเป็นผู้ขนส่งสินค้าโดยเป็นผู้รับช่วงการขนส่งทอดสุดท้าย
จำเลยฎีกาว่า ข้อเท็จจริงถือได้ว่าผู้ขนส่งสินค้าส่งมอบสินค้าแล้วเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2532 อายุความจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าวนั้น ปรากฏว่าจำเลยให้การว่าเมื่อขนส่งมอบสินค้าแก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยในวันที่ 3พฤษภาคม 2532 ในสภาพเรียบร้อย ผู้ขนส่งจึงพ้นความรับผิดตามสัญญารับขนคดีนี้จำเลยให้การเพียงว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา624 ดังนี้ ฎีกาของจำเลยที่อ้างว่าอายุความต้องเริ่มนับแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2532จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5203/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งและตัวแทนขนส่ง กรณีสินค้าสูญหาย รวมถึงข้อยกเว้นจำกัดความรับผิดที่มิชอบ
แม้บริษัท ม.ผู้รับตราส่งในต่างประเทศได้รับช่วงสิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องเอาตามสัญญารับขนให้ผู้ส่งส่งมอบสินค้าที่ขนส่งแต่บริษัท ม.ไม่ได้รับสินค้าพิพาทจากโจทก์จึงไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระให้โจทก์และไม่มีส่วนได้เสียสำหรับสินค้าที่สูญหายเพราะไม่ใช่เจ้าของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ส่งย่อมได้รับความเสียหายจึงมีอำนาจฟ้องเรียกราคาสินค้าพิพาทจากผู้ขนส่งได้ ในการออกใบตราส่งแม้ไม่มีชื่อจำเลยเป็นผู้ขนส่งแต่จำเลยเป็นผู้ออกในนามของบริษัท ฟ.ผู้ขนส่งแสดงว่าจำเลยในฐานะตัวแทนของบริษัท ฟ.ตัวการได้ทำสัญญารับขนสินค้าพิพาทกับโจทก์เมื่อสินค้าพิพาทเกิดสูญหายที่ปลายทางในระหว่างอยู่ในความรับผิดชอบของบริษัท ฟ.ผู้ขนส่งจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนทำสัญญาขนส่งตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศจึงต้องรับผิดตามสัญญารับขนนั้นโดยลำพังตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา824และมาตรา616 ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดในใบตราส่งจำเลยเป็นผู้กำหนดขึ้นเองฝ่ายเดียวโดยพิมพ์ไว้ด้านหลังใบตราส่งเป็นภาษาอังกฤษตัวอักษรมีขนาดเล็กมากจนยากที่จะอ่านได้ไม่มีช่องสำหรับให้ผู้ใดลงชื่อและไม่มีคำแปลภาษาไทยแม้ อ.หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์จะมีความรู้ภาษาอังกฤษแต่ก็มิได้ลงลายมือชื่อแสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งและยังทักท้วงไว้ด้วยข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา625เมื่อสินค้าพิพาทเกิดสูญหายในระหว่างอยู่ในความครอบครองของผู้ขนส่งจำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ชดใช้ราคาสินค้าพิพาทตามจำนวนที่ระบุไว้ในใบกำกับสินค้าหรือใบแสดงราคาสินค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา620 จำเลยฎีกาในประเด็นที่ว่าจำเลยเป็นตัวแทนทำสัญญาประกันภัยให้แก่โจทก์หรือไม่เมื่อประเด็นข้อนี้โจทก์เป็นผู้กล่าวอ้างและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยต้องกันกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยไม่ได้เป็นตัวแทนของโจทก์นำสินค้าไปเอาประกันภัยโจทก์มิได้ฎีกาหรือแก้ฎีกาเป็นประเด็นขึ้นมาข้อวินิจฉัยของศาลล่างดังกล่าวจึงเป็นผลดีแก่จำเลยแล้วไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4910/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของผู้รับขนส่ง ตัวแทน และลูกจ้าง กรณีสินค้าตกหล่นจากเรือ
คำร้องของ จำเลยที่ 1 ที่ 2 อ้างเพียงว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับขนสินค้ารายนี้ร่วมกับบุคคลภายนอกคำร้องไม่ได้แสดงเหตุว่าตนอาจฟ้องหรือถูกคู่ความเช่นว่านั้นฟ้องตนได้เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ย หรือเพื่อใช้ค่าทดแทนถ้าหากศาลพิจารณาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 แพ้คดีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 57(3)ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่จะเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี หลังจากศาลชั้นต้นกำหนดหน้าที่นำสืบแล้ว จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดหน้าที่นำสืบใหม่ ขอให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบโดยให้ถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นคำแถลงโต้แย้ง หากศาลเห็นว่าคำสั่งเรื่องหน้าที่นำสืบที่สั่งไว้เดิมถูกต้อง เพื่อเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาต่อไปนั้น ศาลชั้นต้นให้ยกคำร้องของ จำเลยทั้งสามโดยไม่มีข้อแม้ไว้แต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226(2) จำเลยที่ 1 เป็นผู้ไปรับเงินค่าจ้างบรรทุกสินค้ามาทั้งหมดแล้วหักเงินส่วนที่จำเลยที่ 1 จะได้ออก ส่วนที่เหลือจึงจ่ายให้จำเลยที่ 2 ถือได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีผลประโยชน์ร่วมกันในการที่ใช้เรือลำเกิดเหตุรับจ้างบรรทุกของ จำเลยที่ 1 และที่ 2จึงต้องร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 มีอาชีพรับจ้างบรรทุกสินค้าโดยถ่ายจากเรือใหญ่มาใส่เรือที่จำเลยที่ 3 ควบคุมอยู่เป็นประจำ และบริเวณที่ขนถ่ายสินค้าย่อมจะต้องมีเรือบรรทุกสินค้าไม่ว่าใหญ่หรือเล็กแล่นผ่านไปมาเป็นประจำ ย่อมทำให้เกิดคลื่นใหญ่เล็กเป็นปกติธรรมดา จำเลยที่ 3จึงต้องใช้ความระมัดระวังหาทางป้องกันมิให้สินค้าเลื่อนหล่นตกน้ำเมื่อเกิดคลื่นทำให้เรือโคลงหรือเอียงลง การที่สินค้าเลื่อนหล่นตกน้ำ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 ประมาทเลินเล่อไม่ใช้ความระมัดระวังอันสมควร จะอ้างว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4910/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันจากการขนส่งสินค้าและการประมาทเลินเล่อของลูกจ้าง
คำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ 2 อ้างเพียงว่า จำเลยที่ 1เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับขนสินค้ารายนี้ร่วมกับบุคคลภายนอก คำร้องไม่ได้แสดงเหตุว่าตนอาจฟ้องหรือถูกคู่ความเช่นว่านั้นฟ้องตนได้เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ย หรือเพื่อใช้ค่าทดแทนถ้าหากศาลพิจารณาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 แพ้คดีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 57 (3) ป.วิ.พ. ที่จะเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี
หลังจากศาลชั้นต้นกำหนดหน้าที่นำสืบแล้ว จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดหน้าที่นำสืบใหม่ ขอให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบโดยให้ถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นคำแถลงโต้แย้ง หากศาลเห็นว่าคำสั่งเรื่องหน้าที่นำสืบที่สั่งไว้เดิมถูกต้อง เพื่อเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาต่อไปนั้น ศาลชั้นต้นให้ยกคำร้องของจำเลยทั้งสามโดยไม่มีข้อแม้ไว้แต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2)
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ไปรับเงินค่าจ้างบรรทุกสินค้ามาทั้งหมดแล้วหักเงินส่วนที่จำเลยที่ 1 จะได้ออก ส่วนที่เหลือจึงจ่ายให้จำเลยที่ 2ถือได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีผลประโยชน์ร่วมกันในการที่ใช้เรือลำเกิดเหตุรับจ้างบรรทุกของ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่ 3ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2
จำเลยที่ 3 มีอาชีพรับจ้างบรรทุกสินค้าโดยถ่ายจากเรือใหญ่มาใส่เรือที่จำเลยที่ 3 ควบคุมอยู่เป็นประจำ และบริเวณที่ขนถ่ายสินค้าย่อมจะต้องมีเรือบรรทุกสินค้าไม่ว่าใหญ่หรือเล็กแล่นผ่านไปมาเป็นประจำ ย่อมทำให้เกิดคลื่นใหญ่เล็กเป็นปกติธรรมดา จำเลยที่ 3 จึงต้องใช้ความระมัดระวังหาทางป้องกันมิให้สินค้าเลื่อนหล่นตกน้ำเมื่อเกิดคลื่นทำให้เรือโคลงหรือเอียงลงการที่สินค้าเลื่อนหล่นตกน้ำ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 ประมาทเลินเล่อไม่ใช้ความระมัดระวังอันสมควร จะอ้างว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหาได้ไม่
หลังจากศาลชั้นต้นกำหนดหน้าที่นำสืบแล้ว จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดหน้าที่นำสืบใหม่ ขอให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบโดยให้ถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นคำแถลงโต้แย้ง หากศาลเห็นว่าคำสั่งเรื่องหน้าที่นำสืบที่สั่งไว้เดิมถูกต้อง เพื่อเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาต่อไปนั้น ศาลชั้นต้นให้ยกคำร้องของจำเลยทั้งสามโดยไม่มีข้อแม้ไว้แต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2)
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ไปรับเงินค่าจ้างบรรทุกสินค้ามาทั้งหมดแล้วหักเงินส่วนที่จำเลยที่ 1 จะได้ออก ส่วนที่เหลือจึงจ่ายให้จำเลยที่ 2ถือได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีผลประโยชน์ร่วมกันในการที่ใช้เรือลำเกิดเหตุรับจ้างบรรทุกของ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่ 3ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2
จำเลยที่ 3 มีอาชีพรับจ้างบรรทุกสินค้าโดยถ่ายจากเรือใหญ่มาใส่เรือที่จำเลยที่ 3 ควบคุมอยู่เป็นประจำ และบริเวณที่ขนถ่ายสินค้าย่อมจะต้องมีเรือบรรทุกสินค้าไม่ว่าใหญ่หรือเล็กแล่นผ่านไปมาเป็นประจำ ย่อมทำให้เกิดคลื่นใหญ่เล็กเป็นปกติธรรมดา จำเลยที่ 3 จึงต้องใช้ความระมัดระวังหาทางป้องกันมิให้สินค้าเลื่อนหล่นตกน้ำเมื่อเกิดคลื่นทำให้เรือโคลงหรือเอียงลงการที่สินค้าเลื่อนหล่นตกน้ำ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 ประมาทเลินเล่อไม่ใช้ความระมัดระวังอันสมควร จะอ้างว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2930/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าล่าช้าและการประเมินความเสียหายจากราคาตลาดที่ตกต่ำ
ขณะเกิดข้อพิพาทคดีนี้ พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ. 2534 ยังไม่ได้ประกาศใช้ และไม่ปรากฎจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเกี่ยวกับการรับขนของทางทะเลศาลจึงจำต้องวินิจฉัยคดีนี้โดยอาศัยเทียบบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 4 คดีนี้จำเลยทราบล่วงหน้าก่อนตกลงรับขนว่าโจทก์ประสงค์จะให้ขนส่งสินค้าของโจทก์โดยเร็วจึงมีการเปลี่ยนจากเรืออ.เป็นเรือป. แต่ปรากฎว่าเรือป.แล่นออกจากประเทศไทยล่าช้าถึง 1 สัปดาห์ จึงทำให้เรือแล่นไปถึงท่าเรือปลายทางต้องล่าช้าไปด้วย ดังนี้การส่งมอบสินค้าแก่ผู้รับสินค้าปลายทางล่าช้าเป็นเพราะจำเลยเริ่มทำการขนส่งสินค้าล่าช้าเอง มิได้เกิดแต่เหตุสุดวิสัยจำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 ความเสียหายมิได้เกิดจากตัวสินค้าข้าวโพด หากแต่เกิดจากราคาสินค้าข้าวโพดในตลาดไต้หวันตกต่ำลงในขณะที่มีการส่งมอบชักช้า ผู้ซื้อที่ไต้หวันจึงอาจเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การส่งมอบสินค้าข้าวโพด ชักช้าผิดเวลานั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215 เมื่อโจทก์ได้ใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ซื้อไปแล้ว จำเลยผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายนั้นแก่โจทก์ส่วนค่าเสียหายซึ่งเป็นดอกเบี้ยที่โจทก์ชำระให้แก่ธนาคารในประเทศไทยนั้นไม่ใช่ค่าเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดจากการที่จำเลยส่งมอบสินค้าชักช้า และมิใช่ค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษที่จำเลยได้คาดเห็นหรือควรเห็นควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 222 เนื่องจากไม่ปรากฎว่าขณะโจทก์และจำเลยทำสัญญารับขนสินค้า และขณะที่จำเลยส่งมอบสินค้าดังกล่าวชักช้า จำเลยได้ทราบอยู่แล้วว่าหากธนาคารในไต้หวันยังไม่จ่ายเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตแก่ธนาคารในประเทศไทยโจทก์จำเป็นต้องขอเบิกเงินค่าสินค้าจากธนาคารในประเทศไทยไปก่อนโดย โจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยแก่ธนาคารดังกล่าวด้วยจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2930/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าล่าช้าและการชดใช้ค่าเสียหายจากความเสียหายของสินค้าอันเกิดจากราคาตลาด
ขณะเกิดข้อพิพาทคดีนี้ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ยังไม่ได้ประกาศใช้ และไม่ปรากฏจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเกี่ยวกับการรับขนของทางทะเล ศาลจึงจำต้องวินิจฉัยคดีนี้โดยอาศัยเทียบบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 616 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 4 คดีนี้จำเลยทราบล่วงหน้าก่อนตกลงรับขนว่าโจทก์ประสงค์จะให้ขนส่งสินค้าของโจทก์โดยเร็ว จึงมีการเปลี่ยนจากเรือ อ.เป็นเรือ ป. แต่ปรากฏว่าเรือ ป.แล่นออกจากประเทศไทยล่าช้าถึง 1 สัปดาห์ จึงทำให้เรือแล่นไปถึงท่าเรือปลายทางต้องล่าช้าไปด้วย ดังนี้ การส่งมอบสินค้าแก่ผู้รับสินค้าปลายทางล่าช้าเป็นเพราะจำเลยเริ่มทำการขนส่งสินค้าล่าช้าเอง มิได้เกิดแต่เหตุสุดวิสัย จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 616
ความเสียหายมิได้เกิดจากตัวสินค้าข้าวโพด หากแต่เกิดจากราคาสินค้าข้าวโพดในตลาดไต้หวันตกต่ำลงในขณะที่มีการส่งมอบชักช้า ผู้ซื้อที่ไต้หวันจึงอาจเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การส่งมอบสินค้าข้าวโพดชักช้าผิดเวลานั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 215 เมื่อโจทก์ได้ใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ซื้อไปแล้ว จำเลยผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายนั้นแก่โจทก์ ส่วนค่าเสียหายซึ่งเป็นดอกเบี้ยที่โจทก์ชำระให้แก่ธนาคารในประเทศไทยนั้นไม่ใช่ค่าเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดจากการที่จำเลยส่งมอบสินค้าชักช้า และมิใช่ค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษที่จำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 เนื่องจากไม่ปรากฏว่าขณะโจทก์และจำเลยทำสัญญารับขนสินค้า และขณะที่จำเลยส่งมอบสินค้าดังกล่าวชักช้า จำเลยได้ทราบอยู่แล้วว่าหากธนาคารในไต้หวันยังไม่จ่ายเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตแก่ธนาคารในประเทศไทย โจทก์จำเป็นต้องขอเบิกเงินค่าสินค้าจากธนาคารในประเทศไทยไปก่อนโดยโจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยแก่ธนาคารดังกล่าวด้วย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์
ความเสียหายมิได้เกิดจากตัวสินค้าข้าวโพด หากแต่เกิดจากราคาสินค้าข้าวโพดในตลาดไต้หวันตกต่ำลงในขณะที่มีการส่งมอบชักช้า ผู้ซื้อที่ไต้หวันจึงอาจเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การส่งมอบสินค้าข้าวโพดชักช้าผิดเวลานั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 215 เมื่อโจทก์ได้ใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ซื้อไปแล้ว จำเลยผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายนั้นแก่โจทก์ ส่วนค่าเสียหายซึ่งเป็นดอกเบี้ยที่โจทก์ชำระให้แก่ธนาคารในประเทศไทยนั้นไม่ใช่ค่าเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดจากการที่จำเลยส่งมอบสินค้าชักช้า และมิใช่ค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษที่จำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 เนื่องจากไม่ปรากฏว่าขณะโจทก์และจำเลยทำสัญญารับขนสินค้า และขณะที่จำเลยส่งมอบสินค้าดังกล่าวชักช้า จำเลยได้ทราบอยู่แล้วว่าหากธนาคารในไต้หวันยังไม่จ่ายเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตแก่ธนาคารในประเทศไทย โจทก์จำเป็นต้องขอเบิกเงินค่าสินค้าจากธนาคารในประเทศไทยไปก่อนโดยโจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยแก่ธนาคารดังกล่าวด้วย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์