คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 616

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 174 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2929/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับขนทางทะเล: ความรับผิดของผู้ขนส่งกรณีสินค้าสูญหายจากความประมาทเลินเล่อ ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า สินค้าของโจทก์เป็นเส้นใยฝ้ายจำนวน408 กล่อง น้ำหนัก 2,900 กิโลกรัม สูญหายทั้งหมด ซึ่งจำเลยก็ให้การรับว่าสินค้าของโจทก์ตกลงไปในทะเลและสูญหายทั้งหมด แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว รายการสินค้าที่เสียหายมีอย่างไรเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา หาจำต้องบรรยายมาในฟ้องไม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม คดีนี้เป็นเรื่องรับขนของทางทะเล ซึ่งขณะเกิดข้อพิพาทพระราชบัญญัติ การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับทั้งไม่ปรากฏคลองจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นว่าด้วยรับขนของทางทะเลจึงต้องวินิจฉัยคดีโดยอาศัยเพียงบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามมาตรา 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อันได้แก่ บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 รับขน มาตรา 616 ซึ่งบัญญัติว่า ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในการที่ของอันเขาได้มอบหมายแก่ตนนั้นสูญหาย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการสูญหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยเมื่อปรากฏว่า การบรรทุกสินค้าของจำเลยไม่รัดกุมพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้อุปกรณ์ผูกรัดตลอดจนวิธีการผูกรัดตู้คอนเทนเนอร์ไม่มั่นคงพอที่จะป้องกันความเสียหายอันเกิดจากคลื่นลมแรงได้ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าการขนส่งสินค้าทางทะเลโดยเรือสินค้ามรสุมคลื่นลมแรงในทะเลย่อมเป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ทั้งไม่ปรากฏว่าไม่อาจหาวิธีการอื่นใดในการผูกรัดและป้องกันการตกลงไปในทะเลของตู้คอนเทนเนอร์ให้ดีกว่าที่ปฏิบัติแล้วได้ และก่อนที่เรือจำเลยจะออกจากช่องแคบอังกฤษ ได้ทราบข่าวการพยากรณ์อากาศว่าจะเกิดคลื่นลมแรงแล้ว ดังนั้น หากนายเรือของจำเลยจะหยุดเรืออยู่ที่ช่องแคบอังกฤษรอจนกว่าคลื่นลมในอ่าวบิสเคย์สงบก่อนจึงค่อยออกเรือต่อไป ภัยพิบัติก็จะไม่เกิด จึงเป็นเรื่องที่นายเรือของจำเลยจะป้องกันได้ การที่นายเรือจำเลยอ้างว่าได้ทราบพยากรณ์อากาศแล้วยังเดินเรือต่อไป เพราะเห็นว่าไม่เป็นอันตรายสำหรับเรือขนาดบรรทุก 20,500 ตัน นับว่าเป็นความประมาทของนายเรือจำเลยโดยแท้ ฉะนั้นจึงมิใช่เหตุสุดวิสัย เมื่อจำเลยมีภาระในการพิสูจน์ถึงเหตุสุดวิสัยเพื่อให้พ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 616 แต่นำสืบไม่ได้ตามคำให้การ จำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2929/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับขนส่งทางทะเล กรณีสินค้าสูญหายจากความประมาท ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า สินค้าของโจทก์เป็นเส้นใยฝ้ายจำนวน408 กล่อง น้ำหนัก 2,900 กิโลกรัม สูญหายทั้งหมด ซึ่งจำเลยก็ให้การรับว่าสินค้าของโจทก์ตกลงไปในทะเลและสูญหายทั้งหมด แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว รายการสินค้าที่เสียหายมีอย่างไร เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา หาจำต้องบรรยายมาในฟ้องไม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คดีนี้เป็นเรื่องรับขนของทางทะเล ซึ่งขณะเกิดข้อพิพาท พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับ ทั้งไม่ปรากฏคลองจารีต-ประเพณีแห่งท้องถิ่นว่าด้วยรับขนของทางทะเล จึงต้องวินิจฉัยคดีโดยอาศัยเพียงบท-กฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตามมาตรา 4 แห่ง ป.พ.พ. อันได้แก่ บทบัญญัติตามป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 8 รับขน มาตรา 616 ซึ่งบัญญัติว่า ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในการที่ของอันเขาได้มอบหมายแก่ตนนั้นสูญหาย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการสูญหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย เมื่อปรากฏว่า การบรรทุกสินค้าของจำเลยไม่รัดกุมพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้อุปกรณ์ผูกรัดตลอดจนวิธีการผูกรัดตู้คอนเทนเนอร์ไม่มั่นคงพอที่จะป้องกันความเสียหายอันเกิดจากคลื่นลมแรงได้ ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าการขนส่งสินค้าทางทะเลโดยเรือสินค้า มรสุมคลื่นลมแรงในทะเลย่อมเป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าไม่อาจหาวิธีการอื่นใดในการผูกรัดและป้องกันการตกลงไปในทะเลของตู้คอนเทนเนอร์ให้ดีกว่าที่ปฏิบัติแล้วได้ และก่อนที่เรือจำเลยจะออกจากช่องแคบอังกฤษ ได้ทราบข่าวการพยากรณ์อากาศว่าจะเกิดคลื่นลมแรงแล้ว ดังนั้น หากนายเรือของจำเลยจะหยุดเรืออยู่ที่ช่องแคบอังกฤษรอจนกว่าคลื่นลมในอ่าวบิสเคย์สงบก่อน จึงค่อยออกเรือต่อไป ภัยพิบัติก็จะไม่เกิด จึงเป็นเรื่องที่นายเรือของจำเลยจะป้องกันได้ การที่นายเรือจำเลยอ้างว่าได้ทราบพยากรณ์-อากาศแล้วยังเดินเรือต่อไป เพราะเห็นว่าไม่เป็นอันตรายสำหรับเรือขนาดบรรทุก 20,500 ตัน นับว่าเป็นความประมาทของนายเรือจำเลยโดยแท้ ฉะนั้นจึงมิใช่เหตุสุดวิสัย เมื่อจำเลยมีภาระในการพิสูจน์ถึงเหตุสุดวิสัยเพื่อให้พ้นความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 616 แต่นำสืบไม่ได้ตามคำให้การ จำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2929/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเล กรณีสินค้าสูญหายจากคลื่นลมแรง มิใช่เหตุสุดวิสัย หากการผูกรัดไม่มั่นคง
จำเลยผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลบรรทุกสินค้าไม่รัดกุมพอ ใช้อุปกรณ์ผูกรัดตลอดจนวิธีการผูกรัดตู้คอนเทนเนอร์ไม่มั่นคงพอที่จะป้องกันความเสียหายอันเกิดจากคลื่นลมแรงได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าไม่อาจหาวิธีการอื่นใดในการผูกรัดและป้องกันการตกลงไปในทะเลของตู้คอนเทนเนอร์ให้ดีกว่าที่ปฏิบัติแล้วได้ อีกทั้งก่อนออกเรือนายเรือก็ทราบข่าวพยากรณ์อากาศว่าจะเกิดคลื่นลมแรง หากจะหยุดเรือรอจนกว่าคลื่นลมสงบก่อนก็ได้แต่ยังเดินเรือต่อไป เมื่อมีคลื่นลมแรงจัดซัดน้ำทะเลเข้าหาตัวเรือและดาดฟ้าเรือกระแทกตู้คอนเทนเนอร์จนลวดสลิงและโซ่ที่ใช้ผูกรัดตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรทุกสินค้าของโจทก์อาจจะยืดหรือขาดทำให้ตู้คอนเทนเนอร์ตกลงไปในทะเล กรณีจึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่จำเลยจะไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 616

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1126/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขนส่งทางทะเล: ผู้ขนส่งต้องรับผิดชอบความเสียหายของสินค้าหากพิสูจน์ไม่ได้ว่าเกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือสภาพสินค้า
ปัญหาว่าหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นใบมอบอำนาจตามประมวลรัษฎากรปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ยกประเด็นนี้ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้นและเพิ่งจะยกขึ้นเป็นข้อโต้เถียงคัดค้านในชั้นอุทธรณ์ก็ตาม จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างได้ ปรากฏตามหนังสือมอบอำนาจว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญ ก.ได้แต่งตั้งให้ น. และหรือ ว. เป็นผู้รับมอบอำนาจกระทำการต่าง ๆแทนห้างหุ้นส่วนได้แก่ ฟ้องร้อง ต่อสู้คดี ดำเนินคดี และดำเนินการตามกฎหมายทั้งทางแพ่งและทางอาญาในศาลทั้งหลายของประเทศไทยหรือองค์การใด ๆ ของรัฐบาลในประเทศไทยต่อจำเลยทั้งห้า ฟ้องร้องดำเนินคดีล้มละลายแก่ลูกหนี้ในประเทศไทยและกระทำการอื่นตามที่ระบุไว้ในข้อ 1 ถึง 5 ดังนี้ เป็นการมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้ ค่าอากรจึงต้องคิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจคนละ 30 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 7(ค) ท้ายประมวลรัษฎากร แม้โจทก์ที่ 3ที่ 4 และที่ 5 จะลงลายมือชื่อเป็นผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว แต่ก็เป็นการกระทำในนามของห้างหุ้นส่วนสามัญ ก.หาใช่โจทก์ทั้งสามต่างคนต่างมอบอำนาจเป็นการเฉพาะตัวไม่ เมื่อเป็นการมอบอำนาจให้บุคคล 2 คน ต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์สำหรับผู้รับมอบอำนาจคนละ 30 บาทหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 60 บาท เท่านั้น การปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 113 และ 114ก็ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บเงินอากรจนครบพร้อมเงินเพิ่มอากรเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยในชั้นสืบพยานโจทก์ได้ปิดอากรแสตมป์เพิ่มเติมอีก 150 บาท จากที่ปิดอากรแสตมป์ไว้เดิมเพียง 30 บาทซึ่งมากกว่าจำนวนที่ต้องปิดตามกฎหมาย พร้อมทั้งขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้วแม้จะไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ได้เสียเงินเพิ่มอากรศาลก็รับฟังหนังสือมอบอำนาจให้ดำเนินคดีเป็นพยานหลักฐานได้โจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้อง ข้อเท็จจริงที่จำเลยฎีกาเป็นข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก (เดิม) คดีพิพาทเกี่ยวกับการรับขนของทางทะเล ซึ่ง ป.พ.พ.มาตรา 609 วรรคสอง กำหนดให้บังคับตามกฎหมายและข้อบังคับว่าด้วยการนั้น แต่ปรากฏว่าขณะเกิดข้อพิพาทยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับทั้งไม่ปรากฏจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นในเรื่องดังกล่าว จึงต้องนำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 รับขนมาใช้บังคับโดยถือเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 บัญญัติว่าผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในการที่ของอันเขาได้มอบหมายแก่ตนนั้นบุบสลายเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการบุบสลายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดแต่สภาพแห่งของนั้นเอง หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ส่งหรือผู้รับตราส่ง ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 รับขนส่งสินค้าลำไยพิพาทโดยมีหน้าที่ต้องจัดหาตู้คอนเทนเนอร์ที่มีเครื่องทำความเย็นสำหรับควบคุมอุณหภูมิในขณะขนส่ง จำเลยที่ 1 และที่ 2มอบตู้คอนเทนเนอร์ดังกล่าวให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำการขนส่งเพราะจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีเรือบรรทุกสินค้า จำเลยที่ 2เป็นผู้ว่าจ้างโดยมีข้อตกลงกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ว่าเป็นการส่งตู้คอนเทนเนอร์ที่มีเครื่องทำความเย็นภายในบรรจุลำไยสดจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงทราบดีว่าสินค้าภายในตู้เป็นผลไม้สดที่ต้องใช้ตู้ทำความเย็นเพื่อรักษาความสดของผลไม้ไว้ เหตุที่จำเลยที่ 3และที่ 4 อ้างว่าสินค้าลำไยพิพาทต้องเสียหายเป็นเพราะความบกพร่องของตู้คอนเทนเนอร์ ท่อน้ำยารั่ว ตู้ดังกล่าวจึงไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิภายในตู้ได้ เจ้าหน้าที่เรือไม่อาจซ่อมแซมขณะเรือแล่นอยู่ในทะเลได้นั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการบุบสลายหรือเสียหายอันเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดแต่สภาพแห่งของนั้นเอง ทั้งไม่ปรากฏว่าสินค้าต้องบุบสลายหรือเสียหายเพราะความผิดของผู้ขนส่งหรือผู้รับตราส่งแต่อย่างใด การขนส่งของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการขนส่งหลายคนหลายทอดจำเลยทั้งสี่จึงต้องรับผิดร่วมกันในการบุบสลายหรือเสียหายนั้นต่อโจทก์ที่ 3 ที่ 4และที่ 5 ผู้รับตราส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้แทนเรือและผู้ขนส่งร่วม กรณีสินค้าเสียหายระหว่างขนถ่าย
บริษัทผู้ขนส่งสินค้าเป็นผู้ว่าจ้างบริษัทอ.โดยตรงให้เป็นผู้ขนถ่ายสินค้าจากเรือเดินทะเล จำเลยที่ 1 มิได้เป็นผู้ขนสินค้าหรือร่วมขนสินค้าจากเรือเดินทะเลลงเรือเล็ก ลำพังแต่การดำเนินการทางเอกสาร หรือปฏิบัติพิธีการเกี่ยวกับการนำเรือเข้าเทียบท่าในราชอาณาจักร หรือแจ้งกำหนดเวลาเรือเข้าต่อกรมศุลกากร หรือแจ้งต่อเจ้าของสินค้า รวมถึงกำหนดวันขนถ่ายสินค้า ตลอดจนวิธีการที่แจ้งให้เจ้าของสินค้านำใบตราส่งไปแลกกับใบปล่อยสินค้าจากนายเรือตามทางปฏิบัติของการขนส่งทางทะเลนั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1เป็นผู้ขนส่งร่วมกับบริษัทผู้ขนส่งสินค้าและผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิจากเจ้าของสินค้าผู้เอาประกันภัยเรียกเอาค่าเสียหายในกรณีที่สินค้าสูญหายหรือบุบสลายในระหว่างการขนส่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5317/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันของห้างหุ้นส่วนสามัญและตัวแทนในการขนส่งสินค้าที่เกิดความเสียหาย
สายเดินเรือเมอสก์สาขากรุงเทพฯกับบริษัทเมอสก์ไลน์(สิงคโปร์) พีทีอี จำกัด ใช้ชื่อประกอบกิจการเป็นภาษาอังกฤษมีรูปลักษณะตัวอักษรว่า เมอสก์ไลน์ (MAERSKLINE) มีสัญลักษณ์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีฟ้ามีดาว7แฉก สีขาวอยู่ภายในเหมือนกันใบตราส่งที่ใช้ก็เหมือนกัน บริษัท ต.จ้างบริษัทเมอสก์ไลน์(สิงคโปร์) พีทีอี จำกัด ขนสินค้าจากสิงคโปร์มากรุงเทพฯ โดยทางเรือ สายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพฯเป็นผู้ติดต่อเจ้าหน้าที่นำร่อง เจ้าหน้าที่ศุลกากร เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองและเจ้าหน้าที่การท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อให้เรือบรรทุกสินค้าเข้าเทียบท่า ทั้งแจ้งวันเรือเข้าให้ผู้รับตราส่งทราบ ถือได้ว่าสายเดินเรือเมอสก์สาขากรุงเทพฯร่วมกับบริษัทเมอสก์ไลน์(สิงคโปร์) จำกัด ขนส่งสินค้าโดยแบ่งหน้าที่กันทำ เมื่อสินค้าเสียหายจากการขนส่ง จำเลยทั้งสองในฐานะหุ้นส่วนของสายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพฯ ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนจึงต้องร่วมรับผิดด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3887/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งต่อความเสียหายของสินค้า, การยกเว้นความรับผิด, และขอบเขตค่าเสียหายที่ต้องชดใช้
โจทก์บรรยายฟ้องถึงการที่จำเลยที่ 1 ยินยอมให้จำเลยที่ 2ที่ 3 เข้าร่วมและประกอบกิจการเป็นผู้ขนส่งในนามของจำเลยที่ 1เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน และบรรยายถึงวันเวลาที่จำเลยที่ 1 ที่ 2ที่ 3 ร่วมกันขนส่งกระจกของโจทก์ พฤติการณ์ของคนขับรถของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ขับรถจนทำให้กระจกของโจทก์ได้รับความเสียหายฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่แสดงโดยชัดแจ้งถึงการกระทำของจำเลยและการร่วมกิจการของจำเลยทั้งสามแล้ว จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม เมื่อ ศ. กรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์ มอบอำนาจให้ ส. ดำเนินคดีแทน โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง เมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งสืบไม่ได้ว่าสินค้าที่ขนส่งเสียหายเพราะเหตุสุดวิสัยหรือเพราะความผิดของโจทก์ผู้ส่ง จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ เอกสารที่จำเลยทำขึ้นเป็นเอกสารสั่งจ่ายรถยนต์ของจำเลยเองแม้จะมีข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยไว้ แต่ก็หาใช่ใบรับ ใบตราส่งหรือเอกสารอื่นทำนองนั้น ซึ่งจำเลยออกให้โจทก์และโจทก์ได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดตามป.พ.พ. มาตรา 625 ไม่ กระจกของโจทก์ที่ให้จำเลยรับขนเป็นทรัพย์สินที่แตกหักได้ง่ายมิใช่ของมีค่าอย่างอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 620 ประกอบกับตัวแทนของโจทก์ได้แจ้งสภาพแห่งของให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยทราบแล้วจำเลยจึงไม่อาจอ้างประกาศอัตราค่าขนส่งของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ที่จำกัดความรับผิดในค่าเสียหายของจำเลยมาใช้กับโจทก์ได้ การที่จำเลยรับขนกระจกของโจทก์แต่จำเลยทำกระจกของโจทก์แตกเสียหายจนโจทก์ต้องไปว่าจ้างบุคคลอื่นให้ติดตั้งกระจกชั่วคราวที่ศูนย์การค้าของโจทก์ เพื่อให้เสร็จก่อนกำหนดพิธีเปิด ค่าติดตั้งกระจกดังกล่าวมิใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ ซึ่งจำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว ส่วนค่าใช้จ่ายในการออกของและค่าภาษีอากรขาเข้านั้น เป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นและถือว่าเป็นค่าเสียหายโดยตรงอันจำเลยต้องรับผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยในการขนส่งทางทะเล: ผลกระทบต่อความรับผิดชอบทางสัญญา
บริษัท บ.จำกัดจ้างจำเลยทั้งสองให้ขนสินค้าไม้ซุงจากประเทศมาเลเซียเข้ามาในประเทศไทย ในการขนส่งสินค้าครั้งนี้บริษัท บ.จำกัดได้ประกันภัยสินค้าไว้กับโจทก์ วิธีการขนส่งสินค้ากระทำโดยขนสินค้าไม้ซุงบรรทุกเรือเดินทะเลของจำเลยที่ 2 ชื่อ "สปัน" ซึ่งมีสภาพมั่นคงแข็งแรงเหมาะแก่การใช้ทางทะเล เมื่อเรือสปันแล่นมาถึงบริเวณทะเลที่เกิดเหตุเกิดมรสุมคลื่นลมจัด และมีของแข็งภายนอกเรือมากระแทกเรือจนเรือรั่วและอัปปางลง ทั้งนี้ แม้กัปตันเรือของจำเลยที่ 2 จะได้ใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างดีก็ย่อมไม่มีทางลีกเลี่ยงมรสุมและการกระทบกระแทกจากของแข็งภายนอกเรือดังกล่าวได้ เหตุเรือรั่วและอัปปางจึงเป็นเหตุสุดวิสัย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 8
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ กรณีจึงหาใช่แต่จำเลยทั้งสองมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลแห่งคดีเท่านั้นไม่ หากแต่มูลแห่งคดีดังกล่าวเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ เพราะโจทก์อาจบังคับเอากับจำเลยคนใดคนหนึ่งก็ได้โดยลำพัง ศาลย่อมฟังว่ากรณีเป็นเหตุสุดวิสัยแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ให้การไว้โดยหชัดแจ้งว่าเรืออัปปางเกิดจากเหตุสุดวิสัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยทำให้เรืออับปาง ผู้รับขนส่งไม่ต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย
บริษัท บ. จำกัดจ้างจำเลยทั้งสองให้ขนสินค้าไม้ซุงจากประเทศมาเลเซียเข้ามาในประเทศไทย ในการขนส่งสินค้าครั้งนี้บริษัท บ. จำกัดได้ประกันภัยสินค้าไว้กับโจทก์ วิธีการขนส่งสินค้ากระทำโดยขนสินค้าไม้ซุงบรรทุกเรือเดินทะเลของจำเลยที่ 2ชื่อ "สปัน" ซึ่งมีสภาพมั่นคงแข็งแรงเหมาะแก่การใช้ทางทะเลเมื่อเรือสปันแล่นมาถึงบริเวณทะเลที่เกิดเหตุเกิดมรสุมคลื่นลมจัดและมีของแข็งภายนอกเรือมา กระแทก เรือจนเรือรั่วและอัปปางลง ทั้งนี้แม้กัปตันเรือของจำเลยที่ 2 จะได้ใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างดีก็ย่อมไม่มีทางหลีกเลี่ยงมรสุมและการกระทบกระแทกจากของแข็งภายนอกเรือดังกล่าวได้ เหตุเรือรั่วและอัปปางจึงเป็นเหตุสุดวิสัย ตามป.พ.พ. มาตรา 8 คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ กรณีจึงหาใช่แต่จำเลยทั้งสองมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลแห่งคดีเท่านั้นไม่ หากแต่มูลแห่งคดีดังกล่าวเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ เพราะโจทก์อาจบังคับเอากับจำเลยคนใดคนหนึ่งก็ได้โดยลำพัง ศาลย่อมฟังว่ากรณีเป็นเหตุสุดวิสัยแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ให้การไว้โดยชัดแจ้งว่าเรืออัปปางเกิดจากเหตุสุดวิสัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 465/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยและการพิสูจน์ความรับผิดของผู้ลากจูงเรือ ศาลฎีกาตัดสินยืนตามศาลอุทธรณ์ให้จำเลยรับผิด
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะผู้ขนส่งทำการประมาทเลินเล่อทำให้เรือโจทก์จมลงได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1ให้การปฏิเสธความรับผิดว่าเหตุที่เรือจมเพราะเหตุสุดวิสัย อันเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่เพื่อให้ตนพ้นความรับผิดภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนข้ออ้างตามคำให้การจึงตกแก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 วรรคแรก จำเลยที่ 1 มี อ.และส. เป็นพยานเบิกความถึงกรณีเรือจมลงว่าเกิดเพราะคลื่นลมแรงจัดเท่านั้น มิได้มีข้อเท็จจริงให้เห็นว่าที่ว่าคลื่นลมแรงจัดนั้นเป็นคลื่นลมแรงที่ไม่อาจคาดหมายได้จากบุคคลที่ประสบเหตุ และไม่มีใครป้องกันได้อันจะถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 8 ส่วนที่จำเลยที่ 2นำสืบก็ไม่ปรากฎข้อเท็จจริงตามข้อกล่าวอ้าง กลับได้ความตามคำ ของ ช. พยานโจทก์ว่ากรณีที่มีมรสุม นั้นจะมีประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยาแจ้งให้ชาวประมงทราบเพื่อมิให้นำเรือออกทะเลในช่วงที่จำเลยที่ 1 ลากจูงเรือนั้นเป็นระยะที่ไม่มีมรสุม และถึงแม้มีก็ไม่แรง อันแสดงให้เห็นว่า ในระหว่างที่มีการลากจูงเรือนั้น ไม่มีสภาพทางธรรมชาติที่จะให้ผลพิบัติโดยไม่มีใครอาจป้องกันได้ จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าความเสียหายของเรือนั้นเกิดเหตุสุดวิสัยอันจะทำให้จำเลยทั้งสองพ้นความรับผิด.
of 18