คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1391

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3231/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทางภาระจำยอม: อำนาจฟ้องของผู้มีสิทธิสามยทรัพย์ และขอบเขตสิทธิของผู้เช่า/ผู้ครอบครอง
ที่ดินโฉนดเลขที่ 1870 เป็นที่ดินสามยทรัพย์ได้ทางภาระจำยอมเหนือที่ดินโฉนดเลขที่ 1871 เมื่อปี 2530 ส.ในฐานะผู้จัดการมรดกได้ขอแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1871 โดยแบ่งแยกที่ดินส่วนที่เป็นทางภาระจำยอมออกเป็นโฉนดเลขที่ 133383 จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าที่ดินโฉนดเลขที่ 1871 และ 133382 จาก ส.เมื่อปลายปี 2534 จำเลยได้ก่อสร้างอาคารลงในที่ดินที่เช่าและขึงลวดตาข่ายปิดกั้นทางภาระจำยอม ดังนี้ เมื่อที่ดินภารยทรัพย์โฉนดเลขที่ 133383 เป็นของ ส.ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ม. ส.ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงมีหน้าที่ต้องยอมให้โจทก์ในฐานะเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์โฉนดเลขที่ 1870 ใช้ทางภาระจำยอมตาม ป.พ.พ.มาตรา1387 และ ส.ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ม.เท่านั้นที่มีสิทธิยกข้ออ้างว่า ภาระจำยอมสิ้นไปโดยอายุความหรือหมดประโยชน์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1399 หรือมาตรา 1400ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นแต่เพียงผู้เช่า และจำเลยที่ 2 เป็นแต่เพียงผู้ครอบครองไม่อาจยกเอาเหตุดังกล่าวซึ่งเป็นสิทธิของเจ้าของภารยทรัพย์มาต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ได้
โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ
โจทก์เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ได้สิทธิในการใช้ทางภาระจำยอมเพราะมีการจดทะเบียนสิทธิโดยชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองฐานกระทำละเมิดโดยปิดทางภาระจำยอมได้ ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3231/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภารจำยอม: เจ้าของภารยทรัพย์เท่านั้นมีสิทธิอ้างเหตุสิ้นภารจำยอม การใช้สิทธิไม่สุจริตเป็นปัญหาอำนาจฟ้อง
ที่ดินโฉนดเลขที่ 1870 เป็นที่ดินสามยทรัพย์ได้ทางภารจำยอมเหนือที่ดินโฉนดเลขที่ 1871 เมื่อปี 2530 ส. ในฐานะผู้จัดการมรดกได้ขอแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1871 โดยแบ่งแยกที่ดินส่วนที่เป็นทางภารจำยอมออกเป็นโฉนดเลขที่ 133383 จำเลยที่ 1เป็นผู้เช่าที่ดินโฉนดเลขที่ 1871 และ 133382 จาก ส. เมื่อปลายปี 2534 จำเลยได้ก่อสร้างอาคารลงในที่ดินที่เช่าและขึงลาดตาข่ายปิดกั้นทางภารจำยอม ดังนี้ เมื่อที่ดินภารยทรัพย์โฉนดเลขที่ 133383 เป็นของ ส. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ม. ส. ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงมีหน้าที่ต้องยอมให้โจทก์ในฐานะเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์โฉนดเลขที่ 1870 ใช้ทางภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 และ ส.ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ม. เท่านั้นที่มีสิทธิยกข้ออ้างว่าภารจำยอมสิ้นไปโดยอายุความหรือหมดประโยชน์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1399 หรือมาตรา 1400ส่วนจำเลยที่ 1เป็นแต่เพียงผู้เช่า และจำเลยที่ 2 เป็นแต่เพียงผู้ครอบครองไม่อาจยกเอาเหตุดังกล่าวซึ่งเป็นสิทธิของเจ้าของภารยทรัพย์มาต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ได้ โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ โจทก์เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ได้สิทธิในการใช้ทางภารจำยอมเพราะมีการจดทะเบียนสิทธิโดยชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองฐานกระทำละเมิดโดยปิดทางภารจำยอมได้ ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 236/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงใช้ทางร่วมกัน – สิทธิบุคคล – ไม่ใช่ภาระจำยอม – การรื้อถอนรั้ว
จำเลยกับ จ.ได้ทำหนังสือยินยอมยกที่ดินของจำเลยกับ จ.ให้เป็นทางใช้ร่วมกันกว้างฝ่ายละ 0.50 เมตร ยาวตลอดสุดที่ดินของจำเลย จ.เจ้าของที่ดินเดิมใช้ทางพิพาทร่วมกับจำเลยก็โดยอาศัยสิทธิตามข้อตกลง มิใช่ใช้ทางโดยเจตนาจะให้ได้ภาระจำยอม จึงไม่อาจได้ภาระจำยอมโดยอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา1401 เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินจาก จ. และใช้ทางพิพาทต่อมา จึงไม่ได้ภาระจำยอมเช่นกันแต่การที่โจทก์ซื้อที่ดินมาดังกล่าวแล้ว ได้ปรับปรุงตึกแถวบนที่ดินนั้นทำเป็นหอพักมีผู้เช่าตึกแถวของโจทก์ใช้ทางพิพาทเข้าออกสู่ถนน และโจทก์ต่อท่อระบายน้ำเข้ากับท่อระบายน้ำของจำเลยที่ฝังอยู่ใต้ทางพิพาท โดยจำเลยมิได้โต้แย้งหวงห้ามหรือปิดกั้นทางพิพาท จนเมื่อโจทก์เทปูนยกระดับทางพิพาทสูงขึ้นและเกิดมีปัญหาน้ำท่วมขังจำเลยจึงบอกเลิกการใช้ทางต่อโจทก์แล้วกั้นรั้วบนทางพิพาท แสดงว่าจำเลยกับโจทก์ตกลงยอมรับโดยปริยายที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงของจำเลยกับ จ.เจ้าของที่ดินเดิมในอันที่ต่างฝ่ายต่างเว้นที่ดินของตนไว้เป็นทางพิพาทเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันมา จำเลยจึงต้องยอมให้โจทก์ใช้ทางพิพาทตามข้อตกลงต่อไป
เหตุที่เกิดน้ำท่วมขังบ้านจำเลยเกิดจากเหตุที่ปัจจุบันบ้านจำเลยอยู่ต่ำกว่าระดับถนนซอยมากกว่าการที่โจทก์เทพื้นทางพิพาทสูงขึ้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์ปฏิบัติผิดข้อตกลงในการใช้ทางพิพาทร่วมกับจำเลย จำเลยไม่มีสิทธิบอกเลิกข้อตกลงดังกล่าวและไม่มีสิทธิทำรั้วปิดกั้นทางพิพาทและต้องรื้อถอนรั้วออกไป แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิใช้ทางพิพาทตามข้อตกลงดังกล่าวซึ่งเป็นบุคคลสิทธิและไม่ใช่ภาระจำยอม โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 236/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางร่วมกันตามข้อตกลง ไม่ใช่ภารจำยอม แม้จะใช้ต่อเนื่องกัน ศาลไม่บังคับจดทะเบียนภารจำยอม
จำเลยกับ จ. ได้ทำหนังสือยินยอมยกที่ดินของจำเลยกับ จ. ให้เป็นทางใช้ร่วมกันกว้างฝ่ายละ 0.50 เมตร ยาวตลอดสุดที่ดินของจำเลย จ. เจ้าของที่ดินเดิมใช้ทางพิพาทร่วมกับจำเลยก็โดยอาศัยสิทธิตามข้อตกลง มิใช่ใช้ทางโดยเจตนาจะให้ได้ภารจำยอมจึงไม่อาจได้ภารจำยอมโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1401 เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินจาก จ. และใช้ทางพิพาทต่อมา จึงไม่ได้ภารจำยอมเช่นกันแต่การที่โจทก์ซื้อที่ดินมาดังกล่าวแล้ว ได้ปรับปรุงตึกแถวบนที่ดินนั้นทำเป็นหอพักมีผู้เช่าตึกแถวของโจทก์ใช้ทางพิพาทเข้าออกสู่ถนน และโจทก์ต่อท่อระบายน้ำเข้ากับท่อระบายน้ำของจำเลยที่ฝังอยู่ใต้ทางพิพาท โดยจำเลยมิได้โต้แย้งหวงห้ามหรือปิดกั้นทางพิพาท จนเมื่อโจทก์เทปูนยกระดับทางพิพาทสูงขึ้นและเกิดมีปัญหาน้ำท่วมขังจำเลยจึงบอกเลิกการใช้ทางต่อโจทก์แล้วกั้นรั้วบนทางพิพาท แสดงว่าจำเลยกับโจทก์ตกลงยอมรับโดยปริยายที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงของจำเลยกับ จ. เจ้าของที่ดินเดิมในอันที่ต่างฝ่ายต่างเว้นที่ดินของตนไว้เป็นทางพิพาทเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันมา จำเลยจึงต้องยอมให้โจทก์ใช้ทางพิพาทตามข้อตกลงต่อไป
เหตุที่เกิดน้ำท่วมขังบ้านจำเลยเกิดจากเหตุที่ปัจจุบันบ้านจำเลยอยู่ต่ำกว่าระดับถนนซอยมากกว่าการที่โจทก์เทพื้นทางพิพาทสูงขึ้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์ปฏิบัติผิดข้อตกลงในการใช้ทางพิพาทร่วมกับจำเลย จำเลยไม่มีสิทธิบอกเลิกข้อตกลงดังกล่าวและไม่มีสิทธิทำรั้วปิดกั้นทางพิพาทและต้องรื้อถอนรั้วออกไป แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิใช้ทางพิพาทตามข้อตกลงดังกล่าวซึ่งเป็นบุคคลสิทธิและไม่ใช่ภารจำยอม โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยจดทะเบียนภารจำยอมตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5273/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางภาระจำยอมโดยอายุความและการถมดินเพื่อรักษาทาง
ที่ดินแปลงหนึ่งแม้มีทางออกสู่ถนนสาธารณะแล้ว ก็อาจก่อให้เกิดทางภาระจำยอมทางอื่นโดยอายุความอีกได้
การที่เจ้าของสามยทรัพย์ถมทางภาระจำยอมให้สูงเท่ากับทางสาธารณะเพื่อเป็นการรักษาและใช้ทางภาระจำยอม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1391ไม่เป็นการละเมิดต่อเจ้าของภารยทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5273/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภารจำยอม: การใช้ทางจำเป็นเพื่อรักษาและใช้สิทธิ แม้มีการถมทางเพื่อปรับระดับให้เสมอถนนสาธารณะ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1391 เจ้าของสามยทรัพย์มีสิทธิที่ทำการถมทางภารจำยอมเพื่อเป็นการรักษาและใช้ภารจำยอมเนื่องจากทางราชการได้ก่อสร้างถนนของทางราชการสูงกว่าทางภารจำยอม จึงต้องถมทางภารจำยอมให้สูงเสมอ กับถนนของทางราชการได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5273/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางภารจำยอมอาจเกิดขึ้นได้แม้มีทางออกอื่น และการถมดินเพื่อรักษาทางภารจำยอมไม่ถือเป็นการละเมิด
ที่ดินแปลงหนึ่งแม้มีทางออกสู่ถนนสาธารณะแล้วก็อาจก่อให้เกิดทางภารจำยอมทางอื่นโดยอายุความอีกได้ การที่เจ้าของสามยทรัพย์ถมทางภารจำยอมให้สูงเท่ากับทางสาธารณะเพื่อเป็นการรักษาและใช้ทางภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1391ไม่เป็นการละเมิดต่อเจ้าของภารยทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3217/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอม: การก่อสร้างกีดขวางทางภารจำยอม แม้ได้รับอนุญาต ก็สามารถถอนได้หากไม่จำเป็นต่อการใช้ภารจำยอม
ทางพิพาทตกอยู่ในภารจำยอมเพียงให้คนและยานพาหนะผ่านเข้าออกสู่ถนนสาธารณะเท่านั้น จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิที่จะปลูกสร้างหลังคาคลุมและทำประตูปิดกั้นทางพิพาทเพราะมิใช่การอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภารจำยอม การที่เจ้าของที่ดินเดิมอนุญาตให้จำเลยทั้งสองก่อสร้างหลังคาคลุมและทำประตูปิดกั้นทางพิพาท การอนุญาตหาได้มีข้อผูกพันให้มีผลอยู่ตลอดไปไม่ เจ้าของที่ดินเดิมหรือโจทก์ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์จากเจ้าของที่ดินเดิม จะถอนการอนุญาตเสียในเวลาใดก็ย่อมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3217/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอม: การก่อสร้างหลังคาและประตูปิดกั้นทางพิพาทโดยไม่จำเป็น ขัดสิทธิการใช้ภารจำยอม แม้มีการอนุญาตจากเจ้าของเดิมก็ยกเลิกได้
ทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของโจทก์ตกอยู่ในภารจำยอมแก่ที่ดินของจำเลยทั้งสองเพียงให้คนและยานพาหนะผ่านเข้าออกสู่ถนนสาธารณะเท่านั้น ฉะนั้นการก่อสร้างหลังคาคลุมทางพิพาทก็ดี การทำประตูปิดกั้นทางพิพาทก็ดี หาใช่การอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภารจำยอมไม่จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิที่จะปลูกสร้างหลังคาคลุมและทำประตูปิดกั้นทางพิพาท และแม้เจ้าของที่ดินที่เป็นภารยทรัพย์คนเดิมจะอนุญาตให้จำเลยทั้งสองก่อสร้างหลังคาคลุมและทำประตูปิดกั้นทางพิพาทได้ การอนุญาตดังกล่าวก็หาได้มีข้อผูกพันให้มีผลอยู่ตลอดไปไม่ดังนั้น เจ้าของที่ดินเดิมหรือโจทก์ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์จากเจ้าของที่ดินเดิมจะถอนการอนุญาตเสียในเวลาใดก็ย่อมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2468/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภาระจำยอมโดยอายุความและการบังคับจดทะเบียน: กรณีที่ดินแปลงเดียวกันแบ่งแยกและใช้ทางร่วมกัน
เดิมที่ดินของโจทก์เป็นของ ป. ต่อมาตกได้แก่ ย.ส่วนที่ดินของจำเลยแบ่งเป็น 2 แปลง เป็นของ ก. และ ม.ซึ่งทั้งหมดต่างเป็นญาติกัน ป. และ ย. ต่างเดินผ่านที่พิพาทบนที่ดินของ ก. และ ม. ออกสู่ทางสาธารณะมากกว่า 10 ปีโดยมิได้ขออนุญาตหรืออาศัยสิทธิของผู้ใดทั้งเจ้าของที่ดินแต่ละแปลงต่อ ๆ มาก็มิได้เป็นญาติเกี่ยวข้องกัน แสดงว่ามีการใช้ทางพิพาทอย่างเป็นเจ้าของโดยมิได้อาศัยสิทธิของผู้ใด หรือเป็นการใช้อย่างฉันพี่น้องกัน ทางพิพาทจึงเป็นภาระจำยอมนับแต่ป. และ ย. เป็นเจ้าของแล้ว เมื่อโจทก์และจำเลยรับโอนที่ดินในภายหลัง โจทก์ย่อมได้สิทธิในภาระจำยอมนั้นด้วย โจทก์ในฐานะเจ้าของสามยทรัพย์มีสิทธิขอให้ศาลบังคับจำเลยไปจดทะเบียนสิทธิภาระจำยอมในโฉนดของจำเลยได้ ถือเป็นการกระทำอันจำเป็นเพื่อรักษาสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1391
of 6