คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1391

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2468/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภาระจำยอมเกิดจากการใช้ทางต่อเนื่อง แม้เจ้าของที่ดินเปลี่ยนมือ อายุความภาระจำยอม
ที่ดินพิพาทเดิมเป็นแปลงเดียวกัน ต่อมามีการแบ่งแยกโฉนดและเจ้าของโดยโอนมาเป็นของโจทก์หนึ่งแปลง และเป็นของจำเลยหนึ่งแปลง บรรพบุรุษของโจทก์รวมทั้งโจทก์ใช้ทางเดินในที่ดินของจำเลยมานานหลายสิบปีเพื่อออกสู่ถนนสาธารณะ แม้ก่อน ๆ นั้นผู้เป็นเจ้าของเดิมของที่ดินทั้งสองแปลงจะเป็นญาติกันแต่ผู้ใช้ทางก็มิได้ขออนุญาตหรืออาศัยสิทธิของผู้ใด ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแต่ละแปลงต่อ ๆ มาก็มิได้เป็นญาติเกี่ยวข้องกัน ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้ทางเดินอย่างฉันพี่น้องกันแต่กลับแสดงให้เห็นว่าเจ้าของเดิมใช้ทางในที่ดินที่โอนมาเป็นของจำเลยอย่างเป็นเจ้าของโดยมิได้อาศัยสิทธิของผู้ใด ทางพิพาทจึงเป็นทางภาระจำยอม
ก่อนแบ่งแยกโฉนด เจ้าของเดิมต่างครอบครองเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดดังกล่าวคนละแปลงเป็นสัดส่วนจนครบ 10 ปีแล้ว ต่างฝ่ายจึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในส่วนที่ตนครอบครองแต่ผู้เดียว ต่อมาที่ดินดังกล่าวตกมาเป็นของโจทก์และจำเลยคนละแปลงโดยเจ้าของเดิมในที่ดินของโจทก์เดินผ่านที่ดินของจำเลยมากว่า 10 ปี เจ้าของเดิมในที่ดินของโจทก์จึงได้สิทธิภาระจำยอมในที่ดินของจำเลยโจทก์ผู้รับโอนที่ดินมาย่อมได้สิทธิดังกล่าวด้วย แม้ที่ดินแปลงใหญ่เพิ่งจะมีการแบ่งแยกและโอนกรรมสิทธิ์นับถึงวันฟ้องคดีนี้โจทก์ใช้ทางพิพาทได้เพียง 2 ปี ทางพิพาทย่อมเป็นภาระจำยอมโดยอายุความเพราะโจทก์เป็นผู้สืบสิทธิต่อจากเจ้าของเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์จึงชอบที่จะขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนสิทธิภาระจำยอมได้ เพราะเป็นการกระทำอันจำเป็นเพื่อรักษาสิทธิของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1391 ประการหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4345/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมโดยอายุความ การย้ายแนวทาง และหน้าที่จดทะเบียนภาระจำยอม
โฉนดที่ดิน มีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียว ย่อมสันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 การที่จำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว ให้เห็นว่าโฉนดที่ดินซึ่งเป็นเอกสารมหาชนไม่ถูกต้องอย่างไร
โจทก์ใช้ทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของญาติโจทก์ออกสู่ทางสาธารณะมากว่า 10 ปี โดยขออาศัยกันในระหว่างหมู่ญาติ หรือเป็นการเดินโดยถือวิสาสะการใช้ทางพิพาทในระยะเวลาดังกล่าวจึงไม่อาจได้ภาระจำยอม แต่นับตั้งแต่ขายที่ดินซึ่งมีทางพิพาทให้แก่บุคคลภายนอกไป และมีการโอนกันต่อ ๆ มาจนถึงจำเลยเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี การใช้ทางพิพาทของโจทก์เป็นไปโดยสงบและเปิดเผยมิได้ขออนุญาตผู้ใด ทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ
ที่ดินของโจทก์ทางทิศตะวันออกติดลำแม่น้ำเจ้าพระยา หน้าบ้านโจทก์มีท่าน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นทางสาธารณะได้ แม้ในปัจจุบันจะไม่ค่อยมีผู้ใช้สัญจรไปมาก็ถือไม่ได้ว่าที่ดินโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยจึงไม่เป็นทางจำเป็น
โจทก์ฟ้องขอให้เปิดทางภาระจำยอมกว้าง 3.50 เมตรจำเลยมิได้ต่อสู้เกี่ยวกับความกว้าง แต่ต่อสู้ว่าไม่มีทางภาระจำยอม ย่อมมีความหมายไปถึงว่า ไม่มีทางภาระจำยอมแม้แต่เมตรเดียวด้วย การที่ศาลล่างวินิจฉัยถึงความกว้างของทางภาระจำยอม จึงไม่ใช่เป็นวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
ทางพิพาทอยู่ห่างจากแนวเขตที่ดินจำเลยทางทิศใต้เข้ามา2.30 เมตร การสร้างรั้วหรืออาคารโดยเว้นทางพิพาทไว้ ย่อมทำให้จำเลยเสียที่ดินด้านสุดแนวเขตที่ดินทางทิศใต้ เว้นแต่จะกั้นรั้วหรือสร้างอาคารเป็นสองตอนซึ่งเป็นการเพิ่มภาระแก่จำเลยและใช้ประโยชน์ไม่ได้เท่าที่ควร แต่หากย้ายทางพิพาทจากที่เดิมไปอยู่ตรงสุดแนวเขตที่ดินทางทิศใต้แล้ว ย่อมไม่ทำให้ความสะดวกของโจทก์ลดน้อยลง ในขณะเดียวกันจำเลยก็สามารถแสดงให้เห็นได้ว่าการย้ายภาระจำยอมเป็นประโยชน์แก่จำเลยด้วย ตามนัย ป.พ.พ.มาตรา 1392 และตามคำร้องของจำเลยที่ขอให้ยกเลิกคำสั่งห้ามชั่วคราวก็ได้ขอให้ย้ายภาระจำยอมไปทางด้านทิศใต้สุดแนวเขตที่ดินของจำเลย ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ย้ายภาระจำยอมไปสุดแนวเขตที่ดินจำเลยทางด้านทิศใต้จึงไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
การจดทะเบียนภาระจำยอมถือว่าเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ซึ่งภาระจำยอมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1391 แม้จะได้ภาระจำยอมโดยอายุความ เจ้าของสามยทรัพย์ก็เรียกให้เจ้าของภารยทรัพย์จดทะเบียนทางภาระจำยอมแก่ตนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4345/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยอายุความ การย้ายแนวทาง และการจดทะเบียนทางภารจำยอม
โจทก์และคนในครอบครัวโจทก์ใช้ทางในที่ดินของจำเลย ออกสู่ทางสาธารณะมากว่า 10 ปีแล้ว แต่ก่อนปี 2498ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวล้วนแต่อยู่ในตระกูล ของ โจทก์ทั้งสิ้น การใช้ทางในระยะเวลาดังกล่าวจึงเป็นการ ขออาศัยกันในระหว่างหมู่ญาติหรือโดยถือวิสาสะ จึงไม่อาจได้ ภารจำยอม แต่นับตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2498 ที่ ส. ขายที่ดินดังกล่าวให้แก่บุคคลภายนอกไปและมีการโอนกันต่อ ๆมาจนถึงจำเลยซึ่งรับโอนเมื่อปี 2526 เป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี การใช้ทางของโจทก์และคนในครอบครัวเป็นไปโดยสงบและเปิดเผย มิได้ขออนุญาตจากผู้ใด จึงตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ ที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศตะวันออกติดแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าบ้านโจทก์มีท่าน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นทางสาธารณะที่โจทก์สามารถใช้สัญจรไปมาได้อยู่แล้ว แม้ในปัจจุบันจะไม่ค่อยมีผู้ใช้สัญจรไปมาก็ยังถือไม่ได้ว่าที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ ทางในที่ดินของจำเลยที่โจทก์ใช้เดินออกสู่ถนนพระรามที่ 3 อยู่จึงไม่เป็นทางจำเป็น โจทก์ฟ้องขอให้เปิดทางภารจำยอมกว้าง 3.50 เมตรจำเลยให้การว่า โจทก์และคนในครอบครัวโจทก์ไม่เคยใช้ ทางบนที่ดินของจำเลยออกสู่ทางสาธารณะ จึงไม่มีทางภารจำยอมคำให้การดังกล่าวย่อมมีความหมายไปถึงว่า ไม่มีทางภารจำยอมแม้แต่เมตรเดียวด้วยการที่ศาลวินิจฉัยไปถึงความกว้างของทางภารจำยอมว่ามีความกว้าง 1 เมตร จึงอยู่ในขอบเขตของคำให้การ ไม่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น ทางพิพาทอยู่ห่างจากแนวเขตที่ดินของจำเลยทางด้านทิศใต้เข้ามา 2.30 เมตร โจทก์ใช้ทางพิพาทไม่สะดวก ทั้งการสร้างรั้วหรืออาคารในที่ดินของจำเลยโดยเว้นทางพิพาทไว้ย่อมทำให้จำเลยเสียที่ดินด้านสุดแนวเขตที่ดินทางด้านทิศใต้เว้นแต่จะกั้นรั้วหรือสร้างอาคารเป็นสองตอนซึ่งเป็นการเพิ่มภาระแก่จำเลยและใช้ประโยชน์จากที่ดินทางด้านทิศใต้สุดแนวเขตที่ดินไม่ได้เท่าที่ควร แต่หากได้ย้ายทางไปอยู่ตรงสุดแนวเขตที่ดินของจำเลยทางด้านทิศใต้แล้วย่อมไม่ทำให้ความสะดวกในการใช้ทางเดินของโจทก์ต้องลดน้อยลงกลับจะทำให้โจทก์เดินระยะทางสั้นเข้าเพราะไม่ต้องเดินวกไป ทางขวามากดังที่เป็นอยู่เดิม และการย้ายภารจำยอมเป็น ประโยชน์แก่จำเลยด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1392 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ย้ายภารจำยอมไปสุดแนวเขตที่ดินของจำเลยทางด้านทิศใต้จึงไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น การจดทะเบียนภารจำยอมนั้นพึงต้องถือว่าเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภารจำยอมประการหนึ่ง ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1391 แม้โจทก์จะได้มาซึ่งภารจำยอมโดยอายุความ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ก็ชอบที่จะเรียกให้จำเลยเจ้าของภารยทรัพย์จดทะเบียนทางภารจำยอมแก่ตนได้ โจทก์สร้างสะพานไม้ใช้เดินเข้าออกบนทางภารจำยอมเนื่องจากน้ำท่วม บางครั้งต้องเดินลุยน้ำแต่หากท่วมมากก็ต้องถอดกางเกงแล้วเดินออกไป ดังนั้นที่จำเลยถมดินทำให้ทางภารจำยอมสูงกว่าระดับที่ดินของโจทก์ก็ยิ่งทำให้โจทก์ ได้รับความสะดวกเพิ่มขึ้นไม่ต้องเดินสะพานไม้อีกต่อไปการถมดินของจำเลยจึงมิได้ทำให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไป หรือเสื่อมความสะดวกย่อมทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4345/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาระจำยอม การได้มาซึ่งภาระจำยอมโดยอายุความ และการกำหนดขอบเขตภาระจำยอม
โฉนดที่ดิน มีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียว ย่อมสันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373การที่จำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวให้เห็นว่าโฉนดที่ดินซึ่งเป็นเอกสารมหาชนไม่ถูกต้องอย่างไร โจทก์ใช้ทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของญาติโจทก์ออกสู่ทางสาธารณะมากว่า 10 ปี โดยขออาศัยกันในระหว่างหมู่ญาติ หรือเป็นการเดินโดยถือวิสาสะ การใช้ทางพิพาทในระยะเวลา ดังกล่าวจึงไม่อาจได้ภารจำยอม แต่นับตั้งแต่ขายที่ดินซึ่งมี ทางพิพาทให้แก่บุคคลภายนอกไป และมีการโอนกันต่อ ๆ มา จนถึงจำเลยเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี การใช้ทางพิพาทของโจทก์ เป็นไปโดยสงบและเปิดเผยมิได้ขออนุญาตผู้ใด ทางพิพาท จึงตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ ที่ดินของโจทก์ทางทิศตะวันออกติดลำแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าบ้านโจทก์มีท่าน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นทางสาธารณะได้ แม้ในปัจจุบันจะไม่ค่อยมีผู้ใช้สัญจรไปมาก็ถือไม่ได้ว่าที่ดินโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จน ไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยจึงไม่เป็นทางจำเป็น โจทก์ฟ้องขอให้เปิดทางภารจำยอมกว้าง 3.50 เมตรจำเลยมิได้ต่อสู้เกี่ยวกับความกว้าง แต่ต่อสู้ว่าไม่มีทางภารจำยอม ย่อมมีความหมายไปถึงว่า ไม่มีทางภารจำยอมแม้แต่เมตรเดียวด้วย การที่ศาลล่างวินิจฉัยถึงความกว้างของทางภารจำยอม จึงไม่ใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น ทางพิพาทอยู่ห่างจากแนวเขตที่ดินจำเลยทางทิศใต้เข้ามา 2.30 เมตร การสร้างรั้วหรืออาคารโดยเว้นทางพิพาทไว้ ย่อมทำให้จำเลยเสียที่ดินด้านสุดแนวเขตที่ดินทางทิศใต้ เว้นแต่จะกั้นรั้วหรือสร้างอาคารเป็นสองตอนซึ่งเป็นการ เพิ่มภาระแก่จำเลยและใช้ประโยชน์ไม่ได้เท่าที่ควร แต่หากย้ายทางพิพาทจากเดิมไปอยู่ตรงสุดแนวเขตที่ดิน ทางด้านทิศใต้แล้ว ย่อมไม่ทำให้ความสะดวกของโจทก์ลดน้อยลง ในขณะเดียวกันจำเลยก็สามารถแสดงให้เห็นได้ว่าการย้ายภารจำยอม เป็นประโยชน์แก่จำเลยด้วย ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392 และตามคำร้องของจำเลยที่ขอให้ยกเลิกคำสั่งห้าม ชั่วคราวก็ได้ขอให้ย้ายภารจำยอมไปทางด้านทิศใต้ สุดแนวเขตที่ดินของจำเลย ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษา ให้ย้ายภารจำยอมไปสุดแนวเขตที่ดินจำเลยทางด้านทิศใต้ จึงไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น การจดทะเบียนภารจำยอมถือว่าเป็นการอันจะเป็นเพื่อรักษาและใช้ซึ่งภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1391 แม้จะได้ภารจำยอมโดยอายุความ เจ้าของสามยทรัพย์ก็เรียกให้เจ้าของภารยทรัพย์จดทะเบียนทางภารจำยอมแก่ตนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2526/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมเกิดขึ้นจากการใช้สิทธิอย่างต่อเนื่อง แม้ผู้รับโอนซื้อโดยสุจริตก็ไม่อาจปฏิเสธได้ ศาลบังคับให้จดทะเบียนได้
โจทก์ทั้งหกใช้ทางพิพาทเดินผ่านที่ดินจำเลยมาเป็นเวลาหลายสิบปี จึงได้ภารจำยอมในที่ดินของจำเลยมาก่อนที่จำเลยจะซื้อที่ดินมาจาก ม. แม้จะฟังว่าจำเลยซื้อที่ดินมาโดยสุจริต ไม่รู้ว่าที่ดินนั้นตกอยู่ในภารจำยอม จำเลยก็ยกการรับโอนโดยสุจริตเพื่อให้ภารจำยอมที่มีอยู่ต้องสิ้นไปหาได้ไม่ ในชั้นพิจารณาโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยาน พ.เป็นพยานโจทก์ไว้แล้ว แต่โจทก์ไม่สามารถนำ พ.มาเบิกความได้โดยแถลงว่าโจทก์ขออ้างคำเบิกความของ พ.ในชั้นที่โจทก์ขอคุ้มครองชั่วคราวมาเป็นพยานโจทก์ในชั้นพิจารณาด้วย จำเลยไม่ได้คัดค้าน ดังนั้นศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจรับฟังคำเบิกความของ พ.ดังกล่าวได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1391 บัญญัติว่า เจ้าของสามยทรัพย์มีสิทธิทำการทุกอย่างอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภารจำยอมแต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายของตนเองนั้น ย่อมหมายความรวมถึงว่าโจทก์ทั้งหกชอบที่จะขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนสิทธิภารจำยอมในโฉนดของจำเลยได้ เพราะเป็นการกระทำอันจำเป็นเพื่อรักษาสิทธิของโจทก์ทั้งหกประการหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนภารจำยอมเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อรักษาและใช้สิทธิภารจำยอม แม้ได้มาโดยอายุความ
การจดทะเบียนภารจำยอมเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภารจำยอมประการหนึ่งตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1391 ฉะนั้น แม้จะได้ภารจำยอมโดยอายุความก็ตาม โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ก็ชอบจะเรียกให้จำเลยที่ 1 เจ้าของภารยทรัพย์จดทะเบียนภารจำยอมแก่ตนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของสามยทรัพย์เรียกให้จดทะเบียนภาระจำยอม แม้ได้มาโดยอายุความ เพื่อรักษาและใช้ประโยชน์
การจดทะเบียนภาระจำยอมนั้นพึงต้องถือว่าเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภาระจำยอมประการหนึ่ง ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1391 แม้โจทก์จะได้มาซึ่งทางภาระจำยอมโดยอายุความ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ก็ชอบที่จะเรียกให้จำเลยที่ 1 เจ้าของภารยทรัพย์จดทะเบียนทางภาระจำยอมแก่ตนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1327/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยอายุความและการเปลี่ยนแปลงเส้นทาง ภารจำยอมยังคงมีผล แม้มีการเปลี่ยนแปลงเส้นทางเพื่อประโยชน์เจ้าของที่ดิน
โจทก์ใช้เส้นทางเดิมเดินออกสู่ทางสาธารณะ โดยสงบและเปิดเผยติดต่อกันเกินกว่า 10 ปี มิใช่ถือวิสาสะ เส้นทางดังกล่าวจึงตกเป็นภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ประกอบกับมาตรา 1382 ต่อมาโจทก์ต้องย้ายไปใช้เส้นทางใหม่ตามที่จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินภารยทรัพย์ประสงค์ เพื่อประโยชน์แก่จำเลยที่ 1และ ส. เจ้าของโรงงานทำอิฐผู้เช่าที่ดินซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธิให้โจทก์ย้ายไปใช้เส้นทางใหม่ได้ตามมาตรา 1392 เส้นทางใหม่นี้จึงตกเป็นภารจำยอมแทนเส้นทางเดิม จำเลยที่ 1 กับพวกไม่มีสิทธิที่จะปิดกั้นทางภารจำยอมหรือประกอบกรรมใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกตามมาตรา 1390 โจทก์ถมเศษอิฐทำถนนในที่ดินจำเลยที่ 1 ที่ตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินโจทก์ เป็นการจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ทางภารจำยอมซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะกระทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1391 จึงไม่เป็นละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 729/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินที่เปลี่ยนเป็นทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุด สิทธิทางภาระจำยอมยังคงมีผล
แม้ตามคำฟ้องและคำขอของโจทก์ จะไม่มีข้อความพาดพิง ถึงจำเลยร่วมเลยก็ตาม แต่เมื่อปรากฏจากคำให้การจำเลยทั้งสองว่าที่ดินพิพาทเดิมเป็นของจำเลยที่ 1 แต่ภายหลังจากโจทก์ฟ้องคดีนี้แล้วกรมที่ดินได้จดทะเบียนที่พิพาทเป็นทรัพย์ส่วนกลาง ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของอาคารชุด "แกรนวิลเฮาส์ 2" จำเลยร่วมกรณีจึงมีเหตุจำเป็นที่จะเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57(3)(ข) โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ได้สิทธิทางภารจำยอมในที่ดินซึ่งจำเลยร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์มาโดยอายุความ ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยร่วมซึ่งเป็นเจ้าของภารยทรัพย์จดทะเบียนภารจำยอมได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1391.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 729/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินที่ตกเป็นทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุด สิทธิทางภารจำยอมเกิดจากอายุความ
แม้ว่าตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะไม่มีข้อความพาดพิงถึงจำเลยร่วมก็ตาม แต่เมื่อปรากฏจากคำให้การของจำเลยทั้งสองว่า ที่ดินพิพาทเดิมเป็นของจำเลยที่ 1 ภายหลังจากโจทก์ฟ้องคดีนี้แล้ว กรมที่ดินได้รับจดทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์ส่วนกลางซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของอาคารชุดจำเลยร่วม กรณีจึงมีเหตุจำเป็นที่จะเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)(ข) โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ได้สิทธิทางภาระจำยอมในที่ดินมีโฉนดซึ่งจำเลยร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์มาโดยอายุความ ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยร่วมซึ่งเป็นเจ้าของภารยทรัพย์จดทะเบียนภารจำยอมได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1391 ปัญหาว่าจำเลยร่วมซึ่งเป็นนิติบุคคลอาคารชุดจะอยู่ในฐานะต้องห้ามมิให้จดทะเบียนภารจำยอมตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522มาตรา 10 หรือไม่เป็นปัญหาที่ไม่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยร่วมฎีกายกปัญหาข้อนี้ขึ้นมาโดยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในชั้นอุทธรณ์ ปัญหานี้จึงยุติแล้วตั้งแต่ในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 6