พบผลลัพธ์ทั้งหมด 56 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2787/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่เชื่อมโยงกัน
ตามฟ้องข้อ 1 (ก) โจทก์บรรยายว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2ร่วมกันผลิตอีเฟดรีนจำนวน 1,770 เม็ด หนัก 157 กรัม และเมทแอมเฟตามีนจำนวน 31 เม็ด หนัก 2.7 กรัม ซึ่งเป็นจำนวนเดียวกันกับที่จำเลยที่ 1 และที่ 2ร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อขาย การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในส่วนนี้จึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท มิใช่เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ส่วนอีเฟดรีนชนิดผงจำนวน 2 ถุง น้ำหนัก 74 กรัม แม้โจทก์จะแยกฟ้องมาเป็นฟ้องข้อ 1 (ข) เพื่อให้เห็นว่าเป็นคนละจำนวนกับอีเฟดรีนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2ร่วมกันผลิตและมีไว้ในครอบครองเพื่อขายตามฟ้องข้อ 1 (ก) แต่โจทก์ก็บรรยายว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันมีอีเฟดรีนชนิดผงดังกล่าวไว้เพื่อใช้ในการผลิตเพื่อขายนั่นเอง ทั้งเป็นอีเฟดรีนที่เจ้าพนักงานตำรวจพบในเวลาและสถานที่เดียวกันกับอีเฟดรีนและเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยผลิตในฟ้องข้อ 1 (ก) จึงถือได้ว่าเป็นความผิดกรรมเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6617/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีเฮโรอีนและอีเฟดรีนครอบครอง: วัตถุผสมเป็นอันเดียวกัน ความผิดกรรมเดียว
เฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ของกลางทั้ง2ก้อนแต่ละก้อนถูกผสมด้วยอีเฟดรีนบางส่วนเข้าด้วย จึงเป็นวัตถุอันเดียวกัน การที่จำเลยมีเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์และอีเฟดรีนดังกล่าวเป็นการกระทำคราวเดียวกัน หาใช่เป็นความผิดหลายกรรมไม่ ต้องลงโทษฐานมีเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 217/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีวัตถุออกฤทธิ์ในครอบครองเพื่อขาย โจทก์ต้องพิสูจน์เจตนาจำเลย แม้มีของกลางจำนวนมาก
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีอีเฟดรีนจำนวน 195 เม็ดไว้ในครอบครองเพื่อขาย โจทก์ย่อมมีหน้าที่ต้องนำสืบแสดง พยานหลักฐานต่อศาล เพื่อให้เห็นสมจริงว่าจำเลยมี อีเฟดรีน ของกลางไว้เพื่อขาย การยึดได้ของกลางจำนวนดังกล่าวนี้ไม่แน่ว่าจำเลยจะมีไว้เพื่อขายเสมอไป และไม่อาจ สันนิษฐานว่าจำเลยมีของกลางไว้ในครอบครองเพื่อขายได้ เพราะพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ไม่มีบทบัญญัติให้สันนิษฐานไว้เช่นนั้น ทั้งในชั้นพิจารณาจำเลยก็ปฏิเสธ จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องสืบให้ได้ความเช่นนั้นแต่ข้อนำสืบนั้นต้องมิใช่ส่วนหนึ่งของคำรับที่จำเลยเคยให้การไว้ในชั้นจับกุมหรือสอบสวนเมื่อโจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยจำหน่ายจ่ายแจกหรือมีไว้ซึ่งของกลางเพื่อขายกรณียังมีข้อสงสัยตามสมควร จึงให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัย ให้จำเลย คดีรับฟังได้เพียงว่าจำเลยมีอีเฟดรีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3506/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปรับบทความผิดจากกฎหมายวัตถุออกฤทธิ์ฯ เป็น พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ หลังมีประกาศกระทรวงสาธารณสุขเปลี่ยนแปลงสถานะยา
ภายหลังจำเลยกระทำผิดแล้วได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2539 ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่16 ตุลาคม 2539 กำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1แม้จะเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ.มาตรา 3 เนื่องจากมีอัตราโทษเบากว่าความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในความครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62วรรคหนึ่ง, 106 ทวิ ก็ตาม การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายอันเป็นความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีนโดยไม่ได้รับอนุญาต กับความผิดฐานมีเมทแอมเฟ-ตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เป็นความผิดคนละบทมาตรากัน หามีบทใดเป็นบทเฉพาะแก่กันไม่ เมื่อเมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อขาย และที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดเป็นจำนวนเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ตาม ป.อ.มาตรา 90 ซึ่งต้องปรับบทความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดด้วย และเมื่อปรากฏว่าภายหลังที่จำเลยกระทำความผิด ได้มีประกาศกระทรวง-สาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) กำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 อันมีผลทำให้การมีเมทแอมเฟตามีนคำนวณเป็นน้ำหนักสารบริสุทธิ์ในคดีนี้ไม่เกิน 20 กรัม เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 67 ซึ่งมีอัตราโทษที่เบากว่าฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง, 106 ทวิ จึงเป็นกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ.มาตรา 3 กรณีจึงต้องปรับบทความผิดตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 67 ด้วย แม้จำเลยไม่ได้ฎีกาปัญหานี้ แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3146/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายระหว่างการพิจารณาคดี: ผลกระทบต่อโทษอาญาจาก พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ฯ เป็น พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใหญ่บ้าน ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานตามพ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534มาตรา 10
จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาต และการที่จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนเป็นจำนวนมาก จึงเป็นพฤติการณ์ที่ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย
จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกกระทำความผิดฐานผลิตเมทแอมเฟตามีนโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อขาย โดยหลังจากเจ้าพนักงานตรวจค้นและยึดวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 จำนวนหนึ่งได้จากจำเลยทั้งสองที่ร่วมกันผลิตและมีไว้ในครอบครองที่บ้านเกิดเหตุแล้ว จำเลยที่ 1 ยังนำเจ้าพนักงานไปตรวจค้นและยึดวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อีกจำนวน 80 ถุง บรรจุถุงละ 200 เม็ด จากบริเวณบ้านจำเลยที่ 1 โดยก่อนวันเกิดเหตุจำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนบรรจุถุงละ 200 เม็ด ได้จำนวน 180 ถุง จำเลยที่ 2 ส่งมอบแก่จำเลยที่ 1 จำนวน150 ถุง ได้จำหน่ายไปบางส่วนคงเหลือ 80 ถุง ใส่โหลพลาสติกฝังไว้ในสวนมะนาวหลังบ้านจำเลยที่ 1 ดังนั้น เมทแอมเฟตามีนจำนวน 80 ถุง ดังกล่าวที่จำเลยทั้งสองมีไว้ในครอบครองมาก่อนที่จำเลยทั้งสองจะผลิตและมีไว้ในครอบครองซึ่งเมทแอมเฟ-ตามีนจำนวนที่ยึดได้จากบ้านเกิดเหตุ การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีนทั้งสองจำนวนดังกล่าวเป็นการกระทำคนละเวลาคนละสถานที่และวัตถุแห่งการกระทำความผิดก็เป็นคนละจำนวนโดยมิได้เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกัน การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองสำหรับการร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 80 ถุงไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อขาย จึงเป็นการกระทำความผิดอีกกรรมหนึ่งต่างหาก ซึ่งต้องเรียงกระทงลงโทษตามกฎหมาย
ขณะจำเลยทั้งสองกระทำความผิดนั้น มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อขาย เป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องรับโทษตามมาตรา 89 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท และการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม จำนวนหนึ่ง และ 242 กรัม อีกจำนวนหนึ่ง เกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เป็นการกระทำความผิดตามพ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง ต้องรับโทษตามมาตรา 106 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท แต่ในระหว่างพิจารณา ปรากฏว่ามีการยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2ดังกล่าวข้างต้น และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศลำดับที่ 20ระบุชื่อเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงมีผลให้การผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522มาตรา 15 วรรคสอง ต้องรับโทษตามมาตรา 65 วรรคสอง ระวางโทษประหารชีวิต และการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้35 กรัม จำนวนหนึ่ง และ 242 กรัม อีกจำนวนหนึ่ง เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสอง ต้องรับโทษตามมาตรา 66วรรคหนึ่ง ในกรณีคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท และต้องรับโทษตามมาตรา 66 วรรคสอง ในกรณีคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 242 กรัม ระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต ดังนั้น พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518 ที่ใช้ในขณะจำเลยทั้งสองกระทำความผิดแตกต่างกับ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิด และเมื่อ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ระวางโทษแก่จำเลยทั้งสองเบากว่าระวางโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงต้องนำ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 อันเป็นกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองมาใช้บังคับ ตาม ป.อ.มาตรา 3
จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาต และการที่จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนเป็นจำนวนมาก จึงเป็นพฤติการณ์ที่ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย
จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกกระทำความผิดฐานผลิตเมทแอมเฟตามีนโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อขาย โดยหลังจากเจ้าพนักงานตรวจค้นและยึดวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 จำนวนหนึ่งได้จากจำเลยทั้งสองที่ร่วมกันผลิตและมีไว้ในครอบครองที่บ้านเกิดเหตุแล้ว จำเลยที่ 1 ยังนำเจ้าพนักงานไปตรวจค้นและยึดวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อีกจำนวน 80 ถุง บรรจุถุงละ 200 เม็ด จากบริเวณบ้านจำเลยที่ 1 โดยก่อนวันเกิดเหตุจำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนบรรจุถุงละ 200 เม็ด ได้จำนวน 180 ถุง จำเลยที่ 2 ส่งมอบแก่จำเลยที่ 1 จำนวน150 ถุง ได้จำหน่ายไปบางส่วนคงเหลือ 80 ถุง ใส่โหลพลาสติกฝังไว้ในสวนมะนาวหลังบ้านจำเลยที่ 1 ดังนั้น เมทแอมเฟตามีนจำนวน 80 ถุง ดังกล่าวที่จำเลยทั้งสองมีไว้ในครอบครองมาก่อนที่จำเลยทั้งสองจะผลิตและมีไว้ในครอบครองซึ่งเมทแอมเฟ-ตามีนจำนวนที่ยึดได้จากบ้านเกิดเหตุ การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีนทั้งสองจำนวนดังกล่าวเป็นการกระทำคนละเวลาคนละสถานที่และวัตถุแห่งการกระทำความผิดก็เป็นคนละจำนวนโดยมิได้เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกัน การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองสำหรับการร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 80 ถุงไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อขาย จึงเป็นการกระทำความผิดอีกกรรมหนึ่งต่างหาก ซึ่งต้องเรียงกระทงลงโทษตามกฎหมาย
ขณะจำเลยทั้งสองกระทำความผิดนั้น มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อขาย เป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องรับโทษตามมาตรา 89 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท และการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม จำนวนหนึ่ง และ 242 กรัม อีกจำนวนหนึ่ง เกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เป็นการกระทำความผิดตามพ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง ต้องรับโทษตามมาตรา 106 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท แต่ในระหว่างพิจารณา ปรากฏว่ามีการยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2ดังกล่าวข้างต้น และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศลำดับที่ 20ระบุชื่อเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงมีผลให้การผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522มาตรา 15 วรรคสอง ต้องรับโทษตามมาตรา 65 วรรคสอง ระวางโทษประหารชีวิต และการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้35 กรัม จำนวนหนึ่ง และ 242 กรัม อีกจำนวนหนึ่ง เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสอง ต้องรับโทษตามมาตรา 66วรรคหนึ่ง ในกรณีคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท และต้องรับโทษตามมาตรา 66 วรรคสอง ในกรณีคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 242 กรัม ระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต ดังนั้น พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518 ที่ใช้ในขณะจำเลยทั้งสองกระทำความผิดแตกต่างกับ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิด และเมื่อ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ระวางโทษแก่จำเลยทั้งสองเบากว่าระวางโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงต้องนำ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 อันเป็นกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองมาใช้บังคับ ตาม ป.อ.มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3146/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: การผลิตและครอบครองเพื่อขาย, การเรียงกระทง, และการใช้กฎหมายที่เปลี่ยนแปลง
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใหญ่บ้าน ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันผลิตและมีเมทแอมเฟตามีน ไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาต และการที่จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนเป็นจำนวนมาก จึงเป็นพฤติการณ์ที่ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับ พวกผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกกระทำความผิดฐานผลิตเมทแอมเฟตามีน โดยไม่ได้รับอนุญาต และมีเมทแอมเฟตามีน ไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาต เพื่อขาย โดยหลังจากเจ้าพนักงานตรวจค้นและยึดวัตถุออกฤทธิ์ ในประเภท 2 จำนวนหนึ่งได้จากจำเลยทั้งสองที่ร่วมกันผลิต และมีไว้ในครอบครองที่บ้านเกิดเหตุแล้ว จำเลยที่ 1 ยังนำ เจ้าพนักงานไปตรวจค้นและยึดวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อีกจำนวน 80 ถุง บรรจุถุงละ 200 เม็ด จากบริเวณบ้าน จำเลยที่ 1 โดยก่อนวันเกิดเหตุจำเลยทั้งสองร่วมกันผลิต เมทแอมเฟตามีนบรรจุถุงละ 200 เม็ด ได้จำนวน 180 ถุงจำเลยที่ 2 ส่งมอบแก่จำเลยที่ 1 จำนวน 150 ถุง ได้จำหน่าย ไปบางส่วนคงเหลือ 80 ถุง ใส่โหลพลาสติกฝังไว้ในสวนมะนาว หลังบ้านจำเลยที่ 1 ดังนั้น เมทแอมเฟตามีนจำนวน 80 ถุงดังกล่าวที่จำเลยทั้งสองมีไว้ในครอบครองมาก่อนที่จำเลยทั้งสอง จะผลิตและมีไว้ในครอบครองซึ่งเมทแอมเฟตามีนจำนวนที่ยึดได้จากบ้านเกิดเหตุ การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสอง เกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีน ทั้งสองจำนวนดังกล่าวเป็นการกระทำคนละเวลาคนละสถานที่และวัตถุแห่งการกระทำความผิด ก็เป็นคนละจำนวนโดยมิได้เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกัน การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองสำหรับการร่วมกัน มีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 80 ถุงไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อขาย จึงเป็นการกระทำความผิดอีกกรรมหนึ่งต่างหาก ซึ่งต้องเรียงกระทง ลงโทษตามกฎหมาย ขณะจำเลยทั้งสองกระทำความผิดนั้น มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิต เมทแอมเฟตามีนเพื่อขาย เป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องรับโทษตามมาตรา 89 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท และการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีน ไว้ในครอบครองเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม จำนวนหนึ่ง และ 242 กรัม อีกจำนวนหนึ่ง เกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เป็นการกระทำ ความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง ต้องรับโทษตามมาตรา 106 ทวิระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท แต่ในระหว่างพิจารณา ปรากฏว่ามีการยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ระบุให้เมทแอมเฟตามีน เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ดังกล่าวข้างต้น และรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศลำดับที่ 20 ระบุชื่อเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 จึงมีผลให้การผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสองต้องรับโทษตามมาตรา 65 วรรคสอง ระวางโทษประหารชีวิตและการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 35 กรัม จำนวนหนึ่ง และ 242 กรัมอีกจำนวนหนึ่ง เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง ต้องรับโทษตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ในกรณีคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก35 กรัม ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับ ตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท และต้องรับโทษตาม มาตรา 66 วรรคสอง ในกรณีคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 242 กรัม ระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตดังนั้น พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 ที่ใช้ในขณะจำเลยทั้งสองกระทำความผิดแตกต่างกับ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522ที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิด และเมื่อ พระราชบัญญัติวัตถุ ที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ระวางโทษแก่จำเลยทั้งสองเบากว่าระวางโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติด ให้โทษ พ.ศ. 2522 จึงต้องนำ พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 อันเป็นกฎหมายในส่วนที่ เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองมาใช้บังคับ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2935/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานเสพและมีครองยาเสพติด: แยกกระทงความผิดได้ และการใช้ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
ความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1(เฮโรอีน)และประเภท 5(กัญชา) ไว้ในครอบครอง (ตามมาตรา 67 และ 76)เป็นความผิดคนละบทมาตรากับความผิดฐานเสพยาเสพติดดังกล่าว (ตามมาตรา 91 และ 92) อีกทั้งเจตนาของการกระทำก็คนละอย่าง ต่างหากจากกันโดยมีไว้ในครอบครองตอนหนึ่งและการเสพอีก ตอนหนึ่งย่อมเป็นความผิดต่างกระทงอย่างชัดแจ้ง ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ มิได้กล่าวเลยว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 92(พ.ศ. 2538) คงอ้างถึงแต่เฉพาะประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 51(พ.ศ. 2531)กับการมีไว้ในครอบครองซึ่งเมทแอมเฟตามีนของจำเลยจำนวน0.08 กรัม โดยไม่ได้กล่าวถึงการคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินปริมาณ 0.500 กรัม ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดไว้ด้วย ฉะนั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่ครบองค์ประกอบแห่งความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 106 ทวิ ซึ่งโจทก์ ก็มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษในความผิดฐานดังกล่าวแต่อย่างใดกรณีจึงไม่มีเหตุที่จะวินิจฉัยเพื่อใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณจำเลยคงมีความผิดเฉพาะตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ ต่อจิตและประสาทฯ มาตรา 62 วรรคหนึ่ง, 106 วรรคหนึ่ง จำเลยได้กระทำความผิดฐานเสพและมีไว้ในครอบครองซึ่งเฮโรอีนและกัญชาอันเป็นยาเสพติดชนิดร้ายแรง กับวัตถุออกฤทธิ์ กรณีจึงไม่มีเหตุอันควรรอการลงโทษจำคุก ให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7633/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการริบทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำความผิด แม้ไม่ได้มาจากการกระทำความผิดในคดีนั้น
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 บัญญัติให้ในการริบทรัพย์สินนอกจากศาลจะมีอำนาจริบตามกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบทรัพย์สินดังต่อไปนี้อีกด้วย คือ(2) ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยได้กระทำความผิดอีกด้วยดังนี้ แม้วันเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้และยึดได้เงินสดจำนวน 960 บาท ซึ่งปะปนอยู่กับเงินจำนวนอื่นที่สายลับนำไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลย และจำเลยรับว่า เงินสดจำนวน 960 บาท ของกลาง จำเลยได้มาจากการขาย เมทแอมเฟตามีนจำนวนอื่น ก่อนหน้าที่เจ้าพนักงานจะเข้าจับ จำเลยเป็นคดีนี้ ดังนั้น เงินสดจำนวน 960 บาท ของกลางจึง เป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยได้มาโดยการกระทำความผิด เพราะการขาย เมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย คดีนี้โจทก์ ได้ฟ้องจำเลยในข้อหาขายเมทแอมเฟตามีนและมีเมทแอมเฟตามีน ไว้ในครอบครองเพื่อขาย แม้ศาลจะไม่มีอำนาจสั่งริบเงินสด จำนวน 960 บาท ของกลาง ตามมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นบทเฉพาะ ก็ตามแต่ศาลก็มีอำนาจริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5261/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีเมทแอมเฟตามีนในครอบครองเพื่อขาย: โจทก์ต้องพิสูจน์เจตนาขาย ไม่ใช่แค่ปริมาณ
เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 จำนวน 264 เม็ดไว้ในครอบครองเพื่อขายโดยไม่ได้รับอนุญาตโจทก์ย่อมมีหน้าที่ต้องนำพยานเข้าเบิกความต่อศาลเพื่อสมจริงว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้เพื่อขายการที่จะถือเอาจำนวนของกลางที่ยึดไว้ว่ามีเป็นจำนวนมากแล้วสันนิษฐานว่าจำเลยมีของกลางไว้ในครอบครองเพื่อขายนั้นน่าจะไม่ถูกต้องนัก เพราะพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ไม่มีบทบัญญัติให้สันนิษฐานไว้เช่นนั้น ทั้งจำเลยเองก็ปฏิเสธจึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ได้ความเช่นนั้น แต่ข้อนำสืบนั้นต้องมิใช่ส่วนหนึ่งของคำรับที่เคยให้การไว้ในชั้นสอบสวนเมื่อโจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยจำหน่าย จ่าย แจกหรือมีไว้ซึ่งของกลางเพื่อขาย เช่น วิธีการล่อซื้อมาเบิกความต่อศาล จึงให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ข้อเท็จจริงรับฟังได้เพียงว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3549/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีน: การพิพากษาปรับบทลงโทษกรรมเดียว
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง, 62 วรรคหนึ่ง,89, 106 วรรคหนึ่ง ลงโทษฐานขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุกจำเลย 3 ปี 4 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องข้อหาฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองอันเป็นความผิดกรรมเดียวและเป็นความผิดต่อกฎหมายบทเดียวกันให้ลงโทษฐานขายเมทแอมเฟตามีน ตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง, 89เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและยังคงให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคแรก
ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุ สิบตำรวจตรีหญิง ว.กับสายลับได้เข้าไปขอซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลย จำนวน 4 เม็ด โดยมีร้อยตำรวจเอก ก.กับพวกซุ่มรออยู่นอกโกดัง จำเลยได้ขับรถจักรยานยนต์ออกจากโกดังไปประมาณ15 นาที จึงกลับเข้ามาและมอบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 4 เม็ด ให้แก่สิบตำรวจตรีหญิง ว. แต่สิบตำรวจตรีหญิง ว.ขอรับไว้เพียง 2 เม็ด โดยอ้างว่าเอาเงินมาไม่พอและมอบธนบัตรจำนวน 160 บาท ที่เตรียมไว้ใช้ในการล่อซื้อให้แก่จำเลยต่อมาสิบตำรวจตรีหญิง ว.กับร้อยตำรวจเอก ก.และพวกได้เข้าจับกุมจำเลยและค้นพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 2 เม็ด กับธนบัตรจำนวน 160 บาท ที่ใช้ในการล่อซื้อจากตัวจำเลย ดังนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีน เนื่องจากจำเลยได้ขายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สิบตำรวจตรีหญิง ว.ไปก่อนจำนวน 2 เม็ด ส่วนเมทแอมเฟตามีนที่ตรวจยึดได้จากตัวจำเลยในขณะจับกุมอีกจำนวน 2 เม็ด ที่เหลือเป็นจำนวนเดียวกับที่จำเลยนำมาเพื่อจะส่งมอบให้แก่สิบตำรวจตรีหญิง ว.ซึ่งการส่งมอบก็เป็นความผิดฐานขายตามกฎหมายเช่นเดียวกันฉะนั้นเมทแอมเฟตามีนที่เหลือจากขายจึงเป็นเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อขายในวันเวลาเดียวกันและต่อเนื่องกัน อันเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวและเป็นความผิดต่อกฎหมายบทเดียวกันคือ ความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีนนั่นเอง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง, 62วรรคหนึ่ง, 89, 106 วรรคหนึ่ง ลงโทษฐานขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก 5 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุก 3 ปี4 เดือน คืนธนบัตรของกลางแก่เจ้าของ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยมีความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีนแต่เพียงบทเดียว เป็นการพิพากษาปรับบทลงโทษความผิดของจำเลยให้ถูกต้องเท่านั้น หาได้เป็นการพิพากษาเพิ่มโทษจำเลยแต่อย่างใดไม่
ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุ สิบตำรวจตรีหญิง ว.กับสายลับได้เข้าไปขอซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลย จำนวน 4 เม็ด โดยมีร้อยตำรวจเอก ก.กับพวกซุ่มรออยู่นอกโกดัง จำเลยได้ขับรถจักรยานยนต์ออกจากโกดังไปประมาณ15 นาที จึงกลับเข้ามาและมอบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 4 เม็ด ให้แก่สิบตำรวจตรีหญิง ว. แต่สิบตำรวจตรีหญิง ว.ขอรับไว้เพียง 2 เม็ด โดยอ้างว่าเอาเงินมาไม่พอและมอบธนบัตรจำนวน 160 บาท ที่เตรียมไว้ใช้ในการล่อซื้อให้แก่จำเลยต่อมาสิบตำรวจตรีหญิง ว.กับร้อยตำรวจเอก ก.และพวกได้เข้าจับกุมจำเลยและค้นพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 2 เม็ด กับธนบัตรจำนวน 160 บาท ที่ใช้ในการล่อซื้อจากตัวจำเลย ดังนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีน เนื่องจากจำเลยได้ขายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สิบตำรวจตรีหญิง ว.ไปก่อนจำนวน 2 เม็ด ส่วนเมทแอมเฟตามีนที่ตรวจยึดได้จากตัวจำเลยในขณะจับกุมอีกจำนวน 2 เม็ด ที่เหลือเป็นจำนวนเดียวกับที่จำเลยนำมาเพื่อจะส่งมอบให้แก่สิบตำรวจตรีหญิง ว.ซึ่งการส่งมอบก็เป็นความผิดฐานขายตามกฎหมายเช่นเดียวกันฉะนั้นเมทแอมเฟตามีนที่เหลือจากขายจึงเป็นเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อขายในวันเวลาเดียวกันและต่อเนื่องกัน อันเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวและเป็นความผิดต่อกฎหมายบทเดียวกันคือ ความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีนนั่นเอง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง, 62วรรคหนึ่ง, 89, 106 วรรคหนึ่ง ลงโทษฐานขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก 5 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุก 3 ปี4 เดือน คืนธนบัตรของกลางแก่เจ้าของ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยมีความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีนแต่เพียงบทเดียว เป็นการพิพากษาปรับบทลงโทษความผิดของจำเลยให้ถูกต้องเท่านั้น หาได้เป็นการพิพากษาเพิ่มโทษจำเลยแต่อย่างใดไม่