พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1642/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการ, สัญญา, การปฏิเสธสิทธิ, การสละประโยชน์, การบังคับตามสัญญา
การเป็นหม้ายเป็นเพียงรายละเอียดข้อเท็จจริง มิใช่สภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับหรือข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่ง ข้อหา แม้โจทก์จะมิได้ระบุไว้ในคำฟ้องและหนังสือมอบอำนาจ โจทก์นำสืบได้ว่าโจทก์เป็นหม้าย หาเป็นการนำสืบนอกฟ้องแต่อย่างใดไม่
ฎีกาของจำเลยที่มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สัญญามัดจำก่อสร้างมีข้อความระบุว่า ป. ทำสัญญาในฐานะที่เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลย มิใช่ทำในนามของตนเอง แม้อำนาจกรรมการของบริษัทจำเลยที่จดทะเบียนไว้จะต้องมีกรรมการสองคนร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท เมื่อ ป. เป็นกรรมการและคณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งให้ ป. เป็นผู้จัดการบริษัทจำเลย ป. แต่ผู้เดียวย่อมมีอำนาจ ทำสัญญาแทนจำเลย ทั้งบริษัทจำเลยก็ยอมรับเอาผลแห่งการกระทำของ ป. ตลอดมาเพื่อจะอ้างว่า ป. ไม่มีอำนาจ หลังจากที่มีการเปลี่ยนกรรมการใหม่จึงไม่มีผลลบล้างสัญญาที่ทำไว้แล้ว สัญญาดังกล่าวจึงผูกพันจำเลย
จำเลยปฏิเสธสิทธิของโจทก์ซึ่งมีอยู่ตามสัญญาตลอดมา ตั้งแต่ก่อนโจทก์ฟ้องและเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยแล้ว จำเลยก็ยังคงให้การปฏิเสธสิทธิของโจทก์อยู่เช่นเดิม ดังนั้น ไม่ว่าตามสัญญาจะมีเงื่อนเวลาอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นประโยชน์แก่จำเลยถือได้ว่าจำเลยสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้
ฎีกาของจำเลยที่มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สัญญามัดจำก่อสร้างมีข้อความระบุว่า ป. ทำสัญญาในฐานะที่เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลย มิใช่ทำในนามของตนเอง แม้อำนาจกรรมการของบริษัทจำเลยที่จดทะเบียนไว้จะต้องมีกรรมการสองคนร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท เมื่อ ป. เป็นกรรมการและคณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งให้ ป. เป็นผู้จัดการบริษัทจำเลย ป. แต่ผู้เดียวย่อมมีอำนาจ ทำสัญญาแทนจำเลย ทั้งบริษัทจำเลยก็ยอมรับเอาผลแห่งการกระทำของ ป. ตลอดมาเพื่อจะอ้างว่า ป. ไม่มีอำนาจ หลังจากที่มีการเปลี่ยนกรรมการใหม่จึงไม่มีผลลบล้างสัญญาที่ทำไว้แล้ว สัญญาดังกล่าวจึงผูกพันจำเลย
จำเลยปฏิเสธสิทธิของโจทก์ซึ่งมีอยู่ตามสัญญาตลอดมา ตั้งแต่ก่อนโจทก์ฟ้องและเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยแล้ว จำเลยก็ยังคงให้การปฏิเสธสิทธิของโจทก์อยู่เช่นเดิม ดังนั้น ไม่ว่าตามสัญญาจะมีเงื่อนเวลาอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นประโยชน์แก่จำเลยถือได้ว่าจำเลยสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1642/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการ, การผูกพันสัญญา, การปฏิเสธสิทธิ, และการสละเงื่อนเวลาในการบังคับตามสัญญา
การเป็นหม้ายเป็นเพียงรายละเอียดข้อเท็จจริง มิใช่สภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับหรือข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่ง ข้อหา แม้โจทก์จะมิได้ระบุไว้ในคำฟ้องและหนังสือมอบอำนาจ โจทก์นำสืบได้ว่าโจทก์เป็นหม้าย หาเป็นการนำสืบนอกฟ้อง แต่อย่างใดไม่
ฎีกาของจำเลยที่มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกา ไม่รับวินิจฉัย
สัญญามัดจำก่อสร้างมีข้อความระบุว่า ป. ทำสัญญาในฐานะที่เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลย มิใช่ทำในนามของตนเองแม้อำนาจกรรมการของบริษัทจำเลยที่จดทะเบียนไว้จะต้องมีกรรมการสองคนร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทเมื่อ ป. เป็นกรรมการและคณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งให้ ป. เป็นผู้จัดการบริษัทจำเลย ป. แต่ผู้เดียวย่อมมีอำนาจ ทำสัญญาแทนจำเลย ทั้งบริษัทจำเลยก็ยอมรับเอาผลแห่งการกระทำของ ป. ตลอดมาเพื่อจะอ้างว่า ป. ไม่มีอำนาจ หลังจากที่มีการเปลี่ยนกรรมการใหม่ จึงไม่มีผลลบล้างสัญญาที่ทำไว้แล้ว สัญญาดังกล่าวจึงผูกพันจำเลย
จำเลยปฏิเสธสิทธิของโจทก์ซึ่งมีอยู่ตามสัญญาตลอดมาตั้งแต่ก่อนโจทก์ฟ้องและเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยแล้ว จำเลยก็ยังคงให้การปฏิเสธสิทธิของโจทก์อยู่เช่นเดิม ดังนั้น ไม่ว่าตามสัญญาจะมีเงื่อนเวลาอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็น ประโยชน์แก่จำเลยถือได้ว่าจำเลยสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลา นั้นแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา ได้
ฎีกาของจำเลยที่มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกา ไม่รับวินิจฉัย
สัญญามัดจำก่อสร้างมีข้อความระบุว่า ป. ทำสัญญาในฐานะที่เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลย มิใช่ทำในนามของตนเองแม้อำนาจกรรมการของบริษัทจำเลยที่จดทะเบียนไว้จะต้องมีกรรมการสองคนร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทเมื่อ ป. เป็นกรรมการและคณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งให้ ป. เป็นผู้จัดการบริษัทจำเลย ป. แต่ผู้เดียวย่อมมีอำนาจ ทำสัญญาแทนจำเลย ทั้งบริษัทจำเลยก็ยอมรับเอาผลแห่งการกระทำของ ป. ตลอดมาเพื่อจะอ้างว่า ป. ไม่มีอำนาจ หลังจากที่มีการเปลี่ยนกรรมการใหม่ จึงไม่มีผลลบล้างสัญญาที่ทำไว้แล้ว สัญญาดังกล่าวจึงผูกพันจำเลย
จำเลยปฏิเสธสิทธิของโจทก์ซึ่งมีอยู่ตามสัญญาตลอดมาตั้งแต่ก่อนโจทก์ฟ้องและเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยแล้ว จำเลยก็ยังคงให้การปฏิเสธสิทธิของโจทก์อยู่เช่นเดิม ดังนั้น ไม่ว่าตามสัญญาจะมีเงื่อนเวลาอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็น ประโยชน์แก่จำเลยถือได้ว่าจำเลยสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลา นั้นแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์: การรังวัดแบ่งแยกที่ดินมิใช่เงื่อนเวลา สิทธิฟ้องบังคับตามสัญญาเกิดเมื่อทำสัญญา
จำเลยทำสัญญาจะขายที่พิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยให้แก่โจทก์โดยจำเลยรับจะไปดำเนินการรังวัดแบ่งที่ดินระหว่างเจ้าของรวม เมื่อแบ่งแยกและคำนวณเนื้อที่ดินในโฉนดส่วนของจำเลยได้เท่าไร โจทก์จะชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือให้ และจำเลยจะโอนขายที่ดินให้แก่โจทก์ต่อไป ดังนี้ ข้อตกลงที่ว่าให้จำเลยไปดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินก่อนแล้วจึงจะโอนขายให้แก่โจทก์ มิใช่ข้อตกลงอันบังคับไว้ให้นิติกรรมเป็นผล จึงมิใช่เงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 144 ทั้งข้อตกลงดังกล่าวมิได้กำหนดเวลาไว้แน่นอนว่าจำเลยจะดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินมาให้แล้วเสร็จเมื่อใด จึงมิใช่เงื่อนเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 153 ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงวิธีการหรือขั้นตอนที่จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน เท่านั้น เมื่อโจทก์สละสิทธิที่จะให้จำเลยจัดการรังวัดแบ่งแยกก่อนโอนกรรมสิทธิ์และยอมรับแบ่งที่พิพาทส่วนกลางตามสัญญา จำเลยจึงต้องโอนขายที่พิพาทให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์: การรังวัดแบ่งแยกที่ดินไม่ใช่เงื่อนไขบังคับสัญญา
จำเลยทำสัญญาจะขายที่พิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยให้แก่โจทก์โดยจำเลยรับจะไปดำเนินการรังวัดแบ่งที่ดินระหว่างเจ้าของรวม เมื่อแบ่งแยกและคำนวณเนื้อที่ดินในโฉนดส่วนของจำเลยได้เท่าไร โจทก์จะชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือให้ และจำเลยจะโอนขายที่ดินให้แก่โจทก์ต่อไป ดังนี้ ข้อตกลงที่ว่าให้จำเลยไปดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินก่อนแล้วจึงจะโอนขายให้แก่โจทก์ มิใช่ข้อตกลงอันบังคับไว้ให้นิติกรรมเป็นผล จึงมิใช่เงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 144 ทั้งข้อตกลงดังกล่าวมิได้กำหนดเวลาไว้แน่นอนว่าจำเลยจะดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินมาให้แล้วเสร็จเมื่อใด จึงมิใช่เงื่อนเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 153 ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงวิธีการหรือขั้นตอนที่จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเท่านั้น เมื่อโจทก์สละสิทธิที่จะให้จำเลยจัดการรังวัดแบ่งแยกก่อนโอนกรรมสิทธิ์และยอมรับแบ่งที่พิพาทส่วนกลางตามสัญญา จำเลยจึงต้องโอนขายที่พิพาทให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2329-2330/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถ, การประนีประนอมยอมความมีเงื่อนเวลา, และผลของการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง
จำเลยขับรถโดยใช้ความเร็วขณะฝนตกหนักและถนนลื่นจึงเสียหลักเข้าปะทะกับรถของโจทก์ซึ่งจอดคร่อมอยู่ในผิวจราจรถือได้ว่าเหตุเกิดขึ้นเพราะจำเลยขับรถโดยประมาท แม้จะฟังว่าโจทก์จอดรถอยู่ในผิวจราจร 90 เซนติเมตร แต่ถนนบริเวณนั้นผิวจราจรกว้างถึง 8 เมตร ยังเหลือผิวจราจรกว้างพอที่จำเลยจะขับรถผ่านไปได้โดยสะดวก จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนประมาทด้วย
โจทก์และจำเลยได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับเรื่องค่าเสียหายไว้ว่า จำเลยยินยอมชำระเงินจำนวนหนึ่งให้แก่โจทก์ หากจำเลยชำระเงินภายในกำหนด โจทก์จะไม่เรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่งต่อไป ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีเงื่อนเวลาสิ้นสุดกำหนดไว้ เมื่อจำเลยไม่ชำระเงินภายในกำหนด ข้อตกลงย่อมสิ้นผลบังคับ มูลหนี้ละเมิดจึงไม่ระงับ และเมื่อจำเลยยกเรื่องข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยเป็นข้อต่อสู้ว่ามูลหนี้ละเมิดระงับ ศาลก็ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าข้อตกลงตามเอกสารดังกล่าวมีผลให้มูลหนี้ละเมิดระงับหรือไม่ แม้โจทก์จะมิได้ยกประเด็นข้อนี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ก็ตาม
โจทก์และจำเลยได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับเรื่องค่าเสียหายไว้ว่า จำเลยยินยอมชำระเงินจำนวนหนึ่งให้แก่โจทก์ หากจำเลยชำระเงินภายในกำหนด โจทก์จะไม่เรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่งต่อไป ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีเงื่อนเวลาสิ้นสุดกำหนดไว้ เมื่อจำเลยไม่ชำระเงินภายในกำหนด ข้อตกลงย่อมสิ้นผลบังคับ มูลหนี้ละเมิดจึงไม่ระงับ และเมื่อจำเลยยกเรื่องข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยเป็นข้อต่อสู้ว่ามูลหนี้ละเมิดระงับ ศาลก็ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าข้อตกลงตามเอกสารดังกล่าวมีผลให้มูลหนี้ละเมิดระงับหรือไม่ แม้โจทก์จะมิได้ยกประเด็นข้อนี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 827/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายโดยมีกำหนดเวลา สัญญาสิ้นสุดหากไม่ผ่อนเวลา แม้มีการเจรจาแต่ยังไม่ตกลง
สัญญานายหน้าระบุให้นายหน้าจัดการขายที่ดินให้เสร็จภายในพ.ศ.2518 เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยเจ้าของที่ดินจะผ่อนเวลาต่อไปให้อีกตามที่เห็นสมควรนั้น แสดงให้เห็นถึงเจตนาของคู่สัญญาว่า ได้กำหนดระยะเวลาไว้แน่นอนแล้วว่าจะต้องขายที่ดินให้เสร็จภายในสิ้นปี พ.ศ.2518 หากไม่มีการผ่อนเวลา ย่อมถือได้ว่าสัญญาดังกล่าวได้สิ้นสุดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 345/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนในการปลูกสร้างบ้าน: สิทธิการอยู่อาศัย 30 ปี และการฟ้องขับไล่ก่อนครบกำหนด
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ได้ตกลงให้ฝ่ายจำเลยและผู้ร้องสอดปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่ดินของโจทก์เป็นเวลา 30 ปี โดยไม่คิดมูลค่า เพื่อเป็นการตอบแทนในการที่ฝ่ายจำเลยและผู้ร้องสอดได้ปลูกบ้านให้โจทก์อยู่อาศัยหนึ่งหลัง ดังนี้ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทน โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยก่อนครบกำหนดตามสัญญาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 345/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนในการปลูกสร้างบ้าน: โจทก์ฟ้องขับไล่ก่อนครบกำหนดไม่ได้
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ได้ตกลงให้ฝ่ายจำเลยและผู้ร้องสอดปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่ดินของโจทก์เป็นเวลา 30 ปี โดยไม่คิดมูลค่า เพื่อเป็นการตอบแทนในการที่ฝ่ายจำเลยและผู้ร้องสอดได้ปลูกบ้านให้โจทก์อยู่อาศัยหนึ่งหลัง ดังนี้ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทน โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยก่อนครบกำหนดตามสัญญาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052-1054/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในทรัพย์มรดก การเช่าที่ดิน และการใช้สิทธิโดยสุจริตของผู้ซื้อ
ร. ทำพินัยกรรมยกที่ดินแปลงพิพาทกับแปลงอื่นอีก 2 แปลงให้ ส. อ. และ ล. แต่ให้ตกเป็นของผู้รับต่อเมื่อ ล. มีอายุครบ 20 ปีคนใดจะได้แปลงไหนให้จับสลากเอาเมื่อ ร. ตายแล้ว มีบุคคลผู้หนึ่งได้เป็นผู้จัดการมรดก แต่ต่อมาขอออกไป ระหว่างที่ยังไม่มีผู้จัดการมรดกคนใหม่ บ. ซึ่งเป็นมารดาของ ส. อ. ล. ได้ให้จำเลยเช่าตึกแถวในที่ดินแปลงพิพาท ซึ่งตึกนี้มีคนสร้างและยกกรรมสิทธิ์ให้แก่ บ. ดังนี้ ตึกแถวย่อมตกติดเป็นของเจ้าของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1310 แม้ตามพินัยกรรมจะยังไม่ให้สิทธิในที่ดินแปลงใดตกทอดไปยัง ส. อ. และ ล. ในทันที ตึกแถวนั้นก็คงต้องตกไปเป็นของคนใดคนหนึ่งในสามคนนี้ แต่ก็ไม่ใช่เป็นของ บ. แม้จำเลยจะหลงเชื่อโดยสุจริตว่า บ. เป็นเจ้าของก็ไม่ทำให้จำเลยเกิดสิทธิในการเช่าอันจะใช้ยันเจ้าของที่ดินและตึกอันแท้จริงได้ เพราะ บ. ผู้ให้เช่าไม่ใช่เจ้าของตึกหรือมีสิทธิให้เช่าได้ โจทก์ซึ่งรู้เรื่องอยู่แล้ว รับโอนกรรมสิทธิ์ไปจากเจ้าของแล้วใช้อำนาจกรรมสิทธิ์ปฏิเสธไม่รับรู้การเช่าของจำเลยและฟ้องขับไล่ ดังนี้ จะถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหาได้ไม่ เพราะย่อมถือได้ว่าโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์มา โดยเห็นว่าการเช่าของจำเลยไม่มีผลผูกพันเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง ไม่ใช่ว่าทำไปทั้งที่รู้อยู่ว่าตนไม่มีสิทธิที่จะทำได้
เมื่อ ล. มีอายุครบ 20 ปีแล้ว ศาลตั้งให้ ส. อ. และ ล.เป็นผู้จัดการมรดกของ ร. ส. อ. และ ล. จึงเป็นทั้งผู้จัดการมรดกและทายาทตามพินัยกรรมที่จะรับมรดกที่ดินกับตึกแถวรายนี้ การที่ ส. อ.และ ล. ขายที่ดินพิพาทกับตึกแถวให้แก่โจทก์ไปในฐานะที่เป็นผู้จัดการมรดก จึงเป็นการขายตามความประสงค์ของเจ้าของกรรมสิทธิ์จำเลยไม่อาจอ้างได้ว่าผู้จัดการมรดกไม่มีอำนาจขาย
เมื่อ ล. มีอายุครบ 20 ปีแล้ว ศาลตั้งให้ ส. อ. และ ล.เป็นผู้จัดการมรดกของ ร. ส. อ. และ ล. จึงเป็นทั้งผู้จัดการมรดกและทายาทตามพินัยกรรมที่จะรับมรดกที่ดินกับตึกแถวรายนี้ การที่ ส. อ.และ ล. ขายที่ดินพิพาทกับตึกแถวให้แก่โจทก์ไปในฐานะที่เป็นผู้จัดการมรดก จึงเป็นการขายตามความประสงค์ของเจ้าของกรรมสิทธิ์จำเลยไม่อาจอ้างได้ว่าผู้จัดการมรดกไม่มีอำนาจขาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052-1054/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหลังพินัยกรรม: สิทธิของผู้รับมรดกและผลของการเช่าที่ไม่สุจริต
ร. ทำพินัยกรรมยกที่ดินแปลงพิพาทกับแปลงอื่นอีก 2 แปลงให้ ส. อ. และ ล. แต่ให้ตกเป็นของผู้รับต่อเมื่อ ล. มีอายุครบ 20 ปี คนใดจะได้แปลงไหนให้จับสลากเอาเมื่อ ร. ตายแล้ว มีบุคคลผู้หนึ่งได้เป็นผู้จัดการมรดก แต่ต่อมาขอออกไป ระหว่างที่ยังไม่มีผู้จัดการมรดกคนใหม่ บ. ซึ่งเป็นมารดาของ ส. อ. ล. ได้ให้จำเลยเช่าตึกแถวในที่ดินแปลงพิพาท ซึ่งตึกนี้มีคนสร้างและยกกรรมสิทธิ์ให้แก่ บ. ดังนี้ ตึกแถวย่อมตกติดเป็นของเจ้าของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 แม้ตามพินัยกรรมจะยังไม่ให้สิทธิในที่ดินแปลงใดตกทอดไปยัง ส. อ. และ ล. ในทันที ตึกแถวนั้นก็คงต้องตกไปเป็นของคนใดคนหนึ่งในสามคนนี้ แต่ก็ไม่ใช่เป็นของ บ. แม้จำเลยจะหลงเชื่อโดยสุจริตว่า บ. เป็นเจ้าของก็ไม่ทำให้จำเลยเกิดสิทธิในการเช่าอันจะใช้ยันเจ้าของที่ดินและตึกอันแท้จริงได้ เพราะ บ. ผู้ให้เช่าไม่ใช่เจ้าของตึกหรือมีสิทธิให้เช่าได้ โจทก์ซึ่งรู้เรื่องอยู่แล้ว รับโอนกรรมสิทธิ์ไปจากเจ้าของแล้วใช้อำนาจกรรมสิทธิ์ปฏิเสธไม่รับรู้การเช่าของจำเลยและฟ้องขับไล่ดังนี้ จะถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหาได้ไม่ เพราะย่อมถือได้ว่าโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์มา โดยเห็นว่าการเช่าของจำเลยไม่มีผลผูกพันเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง ไม่ใช่ว่าทำไปทั้งที่รู้อยู่ว่าตนไม่มีสิทธิที่จะทำได้
เมื่อ ล. มีอายุครบ 20 ปีแล้ว ศาลตั้งให้ ส. อ. และ ล. เป็นผู้จัดการมรดกของ ร. ส. อ. และ ล. จึงเป็นทั้งผู้จัดการมรดกและทายาทตามพินัยกรรมที่จะรับมรดกที่ดินกับตึกแถวรายนี้ การที่ ส. อ. และ ล. ขายที่ดินพิพาทกับตึกแถวให้แก่โจทก์ไปในฐานะที่เป็นผู้จัดการมรดก จึงเป็นการขายตามความประสงค์ของเจ้าของกรรมสิทธิ์จำเลยไม่อาจอ้างได้ว่าผู้จัดการมรดกไม่มีอำนาจขาย
เมื่อ ล. มีอายุครบ 20 ปีแล้ว ศาลตั้งให้ ส. อ. และ ล. เป็นผู้จัดการมรดกของ ร. ส. อ. และ ล. จึงเป็นทั้งผู้จัดการมรดกและทายาทตามพินัยกรรมที่จะรับมรดกที่ดินกับตึกแถวรายนี้ การที่ ส. อ. และ ล. ขายที่ดินพิพาทกับตึกแถวให้แก่โจทก์ไปในฐานะที่เป็นผู้จัดการมรดก จึงเป็นการขายตามความประสงค์ของเจ้าของกรรมสิทธิ์จำเลยไม่อาจอ้างได้ว่าผู้จัดการมรดกไม่มีอำนาจขาย