คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 153

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8308/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้ใช้อำนาจปกครองในการทำนิติกรรมแทนบุตรผู้เยาว์ และผลของการไม่ขออนุญาตศาล
ว. เป็นมารดาของผู้คัดค้านทั้งสามย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของบุตรผู้เยาว์ ซึ่งทรัพย์สินหมายความรวมถึงสิทธิเรียกร้องอันเป็นวัตถุไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ บทบัญญัติมาตรา 1574 มีเจตนารมณ์คุ้มครองประโยชน์ของบุตรผู้เยาว์โดยให้ศาลกำกับดูแล การฝ่าฝืนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลก่อนก็ไม่ได้ตัดอำนาจทำนิติกรรมแทนของผู้ใช้อำนาจปกครอง ไม่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ทำให้นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะหรือโมฆียะกรรม คงมีผลเพียงไม่ผูกพันบุตรผู้เยาว์ที่กฎหมายมุ่งคุ้มครอง ผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่มีสิทธิกล่าวอ้างเพื่อตัดอำนาจของผู้ใช้อำนาจปกครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญา นายหน้า: กำหนดเวลาจดทะเบียนเป็นสาระสำคัญ หากไม่ทำตามสัญญาภายในกำหนด สัญญาเป็นอันสิ้นสุด
จำเลยตกลง ให้โจทก์เป็นนายหน้าขายที่ดินให้จำเลย โดยหนังสือสัญญานายหน้ามีข้อความว่า "...มอบให้นายหน้าไปจัดการให้จดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินให้เสร็จภายใน 10 วัน นับแต่วันทำสัญญานี้...ถ้า พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวสัญญานายหน้านี้เป็นอันระงับสิ้นสุดลง" ดังนี้เห็นได้ ว่าคู่สัญญามีเจตนากำหนดเวลาไว้แน่นอนว่าจะต้อง จด ทะเบียนซื้อ ขายโอนกรรมสิทธิ์ให้เสร็จภายในกำหนดเวลา10 วัน นับแต่วันทำสัญญา กำหนดเวลาดังกล่าวจึงเป็นข้อสาระสำคัญของสัญญานายหน้า ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ ผ่อนเวลาออกไปอีกแต่ อย่างใด แม้โจทก์จะเป็นผู้ติดต่อให้ ม. ซื้อ ที่ดินจากจำเลยก็ตาม แต่ เมื่อพ้นกำหนด 10 วัน ตาม สัญญาโจทก์ยังไม่สามารถจัดการให้มีการจดทะเบียนซื้อ ขายโอนกรรมสิทธิ์กันได้ ถือ ว่าสัญญาสิ้นสุดไม่มีผลผูกพันคู่กรณี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3249/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่มีเงื่อนเวลาเริ่มต้น ผู้รับโอนที่ดินต้องผูกพันตามสัญญาเดิม
การที่จำเลยทำสัญญาเช่าที่พิพาทจากเจ้าของเดิมเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2508 มีกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2525 เป็นต้นไป นั้นถือว่าเป็นสัญญาเช่าที่มีเงื่อนเวลาเริ่มต้นเมื่อได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ แม้โจทก์รับโอนที่พิพาทมาก่อนถึงกำหนดวันเริ่มต้นแห่งสัญญาเช่าก็ต้องรับมาทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนที่มีต่อผู้เช่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3249/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่มีเงื่อนเวลาเริ่มต้นและผลของการโอนกรรมสิทธิ์ ผู้รับโอนต้องผูกพันตามสัญญาเดิม
การที่จำเลยทำสัญญาเช่าที่พิพาทจากเจ้าของเดิมเมื่อวันที่4 มีนาคม 2508 มีกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2525 เป็นต้นไป นั้นถือว่าเป็นสัญญาเช่าที่มีเงื่อนเวลาเริ่มต้นเมื่อได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ แม้โจทก์รับโอนที่พิพาทมาก่อนถึงกำหนดวันเริ่มต้นแห่งสัญญาเช่าก็ต้องรับมาทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนที่มีต่อผู้เช่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3249/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่มีเงื่อนเวลาเริ่มต้น ผู้รับโอนทรัพย์สินต้องผูกพันตามสัญญาเช่าเดิม
การที่จำเลยทำสัญญาเช่าที่พิพาทจากเจ้าของเดิมเมื่อวันที่4 มีนาคม 2508 มีกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2525เป็นต้นไปนั้น ถือว่าเป็นสัญญาเช่าที่มีเงื่อนเวลาเริ่มต้น เมื่อได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้แม้โจทก์รับโอนที่พิพาทมาก่อนถึงกำหนดวันเริ่มต้นแห่งสัญญาเช่าก็ต้องรับมาทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนที่มีต่อผู้เช่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3648/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญานายหน้ามีผลผูกพันแม้ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ หากการเลิกสัญญาไม่กระทบสิทธิเรียกร้องค่านายหน้า
โจทก์เป็นนายหน้าติดต่อขายที่ดินให้จำเลยที่ 1 สัญญาจะซื้อขายระหว่างบริษัท น. กับจำเลยที่ 1 ได้ทำกันสำเร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่โจทก์ชี้ช่องจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดใช้ค่าบำเหน็จแก่โจทก์ตามสัญญา การที่ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์กันระหว่างบริษัท น. กับจำเลยที่ 1 ก็เนื่องจากบริษัท น. และจำเลยที่ 1 ตกลงเลิกสัญญากัน ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นความรับผิดใช้ค่าบำเหน็จนายหน้าแก่โจทก์
ข้อความในสัญญาจะซื้อขายที่ระบุไว้ความว่า จำเลยที่ 1จะจ่ายค่านายหน้าในวันที่โอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ซื้อขายกันนั้น ไม่ใช่เงื่อนไขเพราะเงื่อนไขต้องเป็นเหตุการณ์ที่จะมีขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอน ถ้าผู้ซื้อและจำเลยที่ 1 ไม่เปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเป็นอย่างอื่น หรือไม่เลิกสัญญากันก็ต้องมีการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ซื้อขายกันตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาอย่างแน่นอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3648/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญานายหน้ามีผลผูกพันแม้ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ หากการเลิกสัญญาไม่กระทบสิทธิเรียกร้องค่านายหน้า
โจทก์เป็นนายหน้าติดต่อขายที่ดินให้จำเลยที่1สัญญาจะซื้อขายระหว่างบริษัทน.กับจำเลยที่1ได้ทำกันสำเร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่โจทก์ชี้ช่องจำเลยที่1จึงต้องรับผิดใช้ค่าบำเหน็จแก่โจทก์ตามสัญญาการที่ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์กันระหว่างบริษัทน.กับจำเลยที่1ก็เนื่องจากบริษัทน.และจำเลยที่1ตกลงเลิกสัญญากันไม่ทำให้จำเลยที่1หลุดพ้นความรับผิดใช้ค่าบำเหน็จนายหน้าแก่โจทก์ ข้อความในสัญญาจะซื้อขายที่ระบุไว้ความว่าจำเลยที่1จะจ่ายค่านายหน้าในวันที่โอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ซื้อขายกันนั้นไม่ใช่เงื่อนไขเพราะเงื่อนไขต้องเป็นเหตุการณ์ที่จะมีขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอนถ้าผู้ซื้อและจำเลยที่1ไม่เปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเป็นอย่างอื่นหรือไม่เลิกสัญญากันก็ต้องมีการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ซื้อขายกันตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาอย่างแน่นอน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3648/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าบำเหน็จนายหน้า: สัญญาสำเร็จผล แม้ไม่มีโอนกรรมสิทธิ์ การเลิกสัญญายังต้องชำระ
โจทก์เป็นนายหน้าติดต่อขายที่ดินให้จำเลยที่ 1 สัญญาจะซื้อขายระหว่างบริษัท น. กับจำเลยที่ 1 ได้ทำกันสำเร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่โจทก์ชี้ช่องจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดใช้ค่าบำเหน็จแก่โจทก์ตามสัญญา การที่ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์กันระหว่างบริษัท น. กับจำเลยที่ 1 ก็เนื่องจากบริษัท น. และจำเลยที่ 1 ตกลงเลิกสัญญากัน ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นความรับผิดใช้ค่าบำเหน็จนายหน้าแก่โจทก์
ข้อความในสัญญาจะซื้อขายที่ระบุไว้ความว่า จำเลยที่ 1 จะจ่ายค่านายหน้าในวันที่โอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ซื้อขายกันนั้น ไม่ใช่เงื่อนไขเพราะเงื่อนไขต้องเป็นเหตุการณ์ที่จะมีขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอน ถ้าผู้ซื้อและจำเลยที่ 1 ไม่เปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเป็นอย่างอื่น หรือไม่เลิกสัญญากันก็ต้องมีการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ซื้อขายกันตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาอย่างแน่นอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2194/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงประมูลค่าเช่าที่ดินมีผลผูกพันจนคดีถึงที่สุด แม้จำเลยจะขอเลิกสัญญาระหว่างคดี
ระหว่างเป็นความกันในคดีก่อนเรื่องแย่งสิทธิครอบครองในที่พิพาทนั้นโจทก์จำเลยได้ตกลงประมูลเข้าทำสวนยางและ นาพิพาท โดยตกลงกันให้นำเงินที่ประมูลได้มาวางศาลจนกว่าคดีจะถึงที่สุดเพื่อให้ฝ่ายชนะคดีรับไป โจทก์เสนอราคาปีละ 16,000 บาท จำเลยเสนอราคาปีละ 16,500 บาทจึงเป็นฝ่ายประมูลได้ ศาลได้จดบันทึกข้อตกลงระหว่างคู่ความไว้ว่าจำเลยจะต้องนำเงินมาวางศาลภายในเดือนพฤษภาคมของทุกปีเริ่มตั้งแต่ปี 2520เป็นต้นไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด เมื่อคดีก่อนได้ถึงที่สุดในชั้นศาลฎีกาโดยเพิ่งอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2523 และจำเลยได้ชำระค่าประมูลในปี 2520 แล้ว ก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าประมูลสำหรับปี 2521, 2522 และ 2523 ตามข้อตกลงที่ทำไว้ต่อหน้าศาลซึ่งมีผลบังคับได้ ส่วนที่ข้อตกลงนั้นได้มีเงื่อนไขไว้ด้วยว่าหากจำเลยผิดนัดยอมให้โจทก์เข้าทำประโยชน์โดยนำเงินมาวางศาลปีละ16,000 บาทนั้น เป็นเงื่อนไขที่บังคับไว้ในกรณีที่จำเลยผิดนัดสำหรับค่าประมูลในปีเริ่มต้นคือในปี 2520 นั้นเอง แต่ปรากฏว่าจำเลยได้ชำระค่าประมูลในปี 2520 แล้ว ปัญหาที่โจทก์จะเข้าทำประโยชน์เสียเองในที่พิพาทจึงหมดไป
ที่โจทก์ฎีกาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเพิ่มขึ้นโดยรวมค่าจ้างทนายความค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตลอดจนการที่จำเลยทำให้ต้นยางของโจทก์เสียหายนั้น โจทก์มิได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายเกี่ยวกับค่าเสียหายเหล่านี้มาโดยชัดแจ้งในฎีกาว่า ศาลล่างพิพากษามาโดยไม่ชอบอย่างไร โดยเฉพาะโจทก์มิได้ กล่าวมาโดยชัดแจ้งตั้งแต่ในชั้นอุทธรณ์จนศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้มาแล้ว ฎีกาส่วนนี้จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2194/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงประมูลค่าเช่าที่ดินมีผลผูกพันจนคดีถึงที่สุด แม้จำเลยชำระค่าเช่าปีแรกแล้วก็ต้องชำระค่าเช่าปีถัดไป
ระหว่างเป็นความกันในคดีก่อนเรื่องแย่งสิทธิครอบครองในที่พิพาทนั้น โจทก์จำเลยได้ตกลงประมูลเข้าทำสวนยางและนาพิพาท โดยตกลงกันให้นำเงินที่ประมูลได้มาวางศาลจนกว่าคดีจะถึงที่สุดเพื่อให้ฝ่ายชนะคดีรับไปโจทก์เสนอราคาปีละ 16,000 บาท จำเลยเสนอราคาปีละ 16,500 บาทจึงเป็นฝ่ายประมูลได้ ศาลได้จดบันทึกข้อตกลงระหว่างคู่ความไว้ว่าจำเลยจะต้องนำเงินมาวางศาลภายในเดือนพฤษภาคมของทุกปีเริ่มตั้งแต่ปี 2520เป็นต้นไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด เมื่อคดีก่อนได้ถึงที่สุดในชั้นศาลฎีกาโดยเพิ่งอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2523 และจำเลยได้ชำระค่าประมูลในปี 2520 แล้ว ก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าประมูลสำหรับปี 2521,2522 และ 2523 ตามข้อตกลงที่ทำไว้ต่อหน้าศาลซึ่งมีผลบังคับได้ ส่วนที่ข้อตกลงนั้นได้มีเงื่อนไขไว้ด้วยว่าหากจำเลยผิดนัดยอมให้โจทก์เข้าทำประโยชน์โดยนำเงินมาวางศาลปีละ 16,000 บาทนั้น เป็นเงื่อนไขที่บังคับไว้ในกรณีที่จำเลยผิดนัดสำหรับค่าประมูลในปีเริ่มต้นคือในปี 2520 นั้นเอง แต่ปรากฏว่าจำเลยได้ชำระค่าประมูลในปี 2520 แล้ว ปัญหาที่โจทก์จะเข้าทำประโยชน์เสียเองในที่พิพาทจึงหมดไป
ที่โจทก์ฎีกาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเพิ่มขึ้นโดยรวมค่าจ้างทนายความค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตลอดจนการที่จำเลยทำให้ต้นยางของโจทก์เสียหายนั้นโจทก์มิได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายเกี่ยวกับค่าเสียหายเหล่านี้มาโดยชัดแจ้งในฎีกาว่า ศาลล่างพิพากษามาโดยไม่ชอบอย่างไร โดยเฉพาะโจทก์มิได้ กล่าวมาโดยชัดแจ้งตั้งแต่ในชั้นอุทธรณ์จนศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้มาแล้ว ฎีกาส่วนนี้จึงไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 4