พบผลลัพธ์ทั้งหมด 253 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาฎีกา ทำให้ศาลสั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากทิ้งฟ้อง
จำเลยยื่นฎีกาไว้ แล้วเพิกเฉยไม่มาติดต่อนำพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์แก้นานเกินกว่ากำหนดเวลาที่ศาลได้กำหนดไว้ ถือว่าจำเลยทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาฎีกา
จำเลยยื่นฎีกาไว้ แล้วเพิกเฉยไม่มาติดต่อนำพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์แก้นานเกินกว่ากำหนดเวลาที่ศาลได้กำหนดไว้ถือว่าจำเลยทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 113/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเลยดำเนินคดีของโจทก์ ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
ศาลชั้นต้นสั่งเลื่อนการไต่สวนมูลฟ้องจากวันที่ 28 ตุลาคม 2508 โดยให้นัดไต่สวนมูลฟ้องใหม่ในวันที่ 13 ธันวาคม 2508 อันให้เวลาโจทก์ถึง 46 วัน และศาลก็สั่งให้แจ้งวันนัดให้จำเลยทราบถ้าส่งหมายนัดไม่ได้ ก็ให้ปิดหมายซึ่งถ้าโจทก์จะยื่นคำร้องขอแก้ไขฟ้อง ก็น่าจะกระทำได้ก่อนกำหนดไม่ใช่รอให้ถึงวันนัดโดยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งแล้วมายื่นคำร้องขอแก้ฟ้องเอาในวันนัด เพื่ออาศัยเป็นเหตุที่จะเลื่อนคดีต่อไป เช่นนี้ ย่อมเป็นการละเลยเพิกเฉยในการดำเนินคดี ศาลย่อมสั่งจำหน่ายคดีโจทก์เสียจากสารบบความได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 113/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเลยดำเนินคดีโดยโจทก์ ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีจากสารบบความได้
ศาลชั้นต้นสั่งเลื่อนการไต่สวนมูลฟ้องจากวันที่ 28 ตุลาคม 2508 โดยให้นัดไต่สวมมูลฟ้องใหม่ในวันที่ 13 ธันวาคม 2508 อันให้เวลาโจทก์ถึง 46 วัน และศาลก็สั่งให้แจ้งวันนัดให้จำเลยทราบ ถ้าส่งหมายนัดไม่ได้ ก็ให้ปิดหมาย ซึ่งถ้าโจทก์จะยื่นคำร้องขอแก้ไขฟ้อง ก็น่าจะกระทำได้ก่อนกำหนด ไม่ใช่รอให้ถึงวันนัดโดยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งแล้วมายื่นคำร้องขอแก้ฟ้องเอาในวันนัด เพื่ออาศัยเป็นเหตุที่จะเลื่อนคดีต่อไป เช่นนี้ ย่อมเป็นการละเลยเพิกเฉยในการดำเนินคดี ศาลย่อมสั่งจำหน่ายคดี
โจทก์เสียจากสารบบความได้
โจทก์เสียจากสารบบความได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 553/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ละทิ้งคดี: แม้จะพ้นอายุความฎีกา หากศาลยังมิได้พิจารณาคดี และคู่ความมิได้ขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณา
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานต่อไปจนสิ้นกระแสความ แล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดีศาลชั้นต้นเพียงแต่อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเท่านั้นถือว่าศาลชั้นต้นยังมิได้ปฏิบัติการอันจะพึงให้ถือได้ว่าผู้ร้องละทิ้งคดีดังนั้น การที่ผู้ร้องไม่ขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาภายใน 15 วันเมื่อพ้นอายุความฎีกาแล้วจึงไม่เป็นเหตุที่จะให้ศาลชั้นต้นจำหน่ายคดีของผู้ร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162-163/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในคดีอาญา: การจำหน่ายคดีมิใช่การระงับสิทธิฟ้องใหม่
คดีอาญานั้น เมื่อโจทก์ทิ้งฟ้องก็เท่ากับโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความผิดของจำเลย ศาลจึงควรพิพากษายกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 แต่ศาลชั้นต้นกลับสั่งจำหน่ายคดีนั้น เมื่อจำเลยไม่อุทธรณ์ผลแห่งคดีจึงคงเป็นว่า ศาลสั่งจำหน่ายคดีอยู่นั่นเองซึ่งไม่ทำให้สิทธินำคดีมาฟ้องใหม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39ฉะนั้นโจทก์จึงฟ้องใหม่ได้ภายในอายุความ โดยไม่ถือว่าเป็นการฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1098/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ส่งสำเนาฎีกาและการทิ้งฟ้อง: ศาลสั่งซ้ำความในกฎหมายไม่ได้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง
ตามปกติในคดีแพ่ง เมื่อศาลสั่งรับอุทธรณ์หรือฎีกาแล้ว ก็สั่งไว้ด้วยว่าให้คู่ความที่ยื่นอุทธรณ์หรือฎีกานั้นนำส่งสำเนาให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งแก้ภายในกี่วันก็ตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด หมายความว่า คู่ความฝ่ายนั้นจะต้องมานำส่งสำเนาภายในกำหนดเวลานั้นนับแต่วันทราบคำสั่งศาล ถ้าไม่ปฏิบัติตามและไม่สามารถชี้แจงเหตุขัดข้อง ศาลก็อาจวินิจฉัยสั่งว่าเป็นการทิ้งฟ้องได้
เมื่อศาลสั่งว่า "ให้รับฎีกาและนำส่งสำเนาให้จำเลยแก้ภายใน 15 วันนับแต่วันรับสำเนาฎีกา" เป็นการสั่งซ้ำความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 237, 247 และมิได้สั่งกำหนดวันให้โจทก์นำส่งสำเนาฎีกา ครบกำหนด 15 วันแล้ว โจทก์ยังไม่ติดต่อนำส่งสำเนาฎีกา ศาลก็จะสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องฎีกาไม่ได้
เมื่อศาลสั่งว่า "ให้รับฎีกาและนำส่งสำเนาให้จำเลยแก้ภายใน 15 วันนับแต่วันรับสำเนาฎีกา" เป็นการสั่งซ้ำความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 237, 247 และมิได้สั่งกำหนดวันให้โจทก์นำส่งสำเนาฎีกา ครบกำหนด 15 วันแล้ว โจทก์ยังไม่ติดต่อนำส่งสำเนาฎีกา ศาลก็จะสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องฎีกาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 178/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่นำส่งเอกสาร หมายถึงการสละสิทธิ์ในการอุทธรณ์
การที่ผู้อุทธรณ์ไม่นำส่งหมายนัดและสำเนาฟ้องอุทธรณ์ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งจะเป็นไปโดยจงใจหรือหลงลืมก็เป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง มาตรา 174,
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 178/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ส่งหมายนัดและสำเนาฟ้องอุทธรณ์
การที่ผู้อุทธรณ์ไม่นำส่งหมายนัด และสำเนาฟ้องอุทธรณ์ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งจะเป็นโดยจงใจหรือหลงลืมก็เป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กระบวนการล้มละลาย: การนัดหมายเจ้าหนี้และการขาดนัด
พระราชบัญญัติล้มละลายได้บัญญัติกระบวนพิจารณาเรื่องการขอรับชำระหนี้ไว้โดยเฉพาะเพื่อให้เจ้าหนี้ได้รับความสะดวกรวดเร็วและเสียค่าใช้จ่ายน้อย มีลักษณะไม่เหมือนกับการฟ้องคดีฉะนั้น จะนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการทิ้งฟ้องเช่น คดีแพ่งสามัญมาใช้ไม่ได้
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หมายนัดให้เจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้นำพยานหลักฐานไปให้สอบสวนนั้น เมื่อเจ้าหนี้ไม่ไปตามนัด จะถือว่าขาดนัดพิจารณาโดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งย่อมไม่ได้
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หมายนัดให้เจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้นำพยานหลักฐานไปให้สอบสวนนั้น เมื่อเจ้าหนี้ไม่ไปตามนัด จะถือว่าขาดนัดพิจารณาโดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งย่อมไม่ได้