คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 174

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 253 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการเปลี่ยนแปลงคำสั่งอนุญาตให้ฟ้องคดีอย่างคนอนาถา หากผู้ฟ้องมีทรัพย์สินเพียงพอชำระค่าธรรมเนียม
โดยปกติกระบวนพิจารณาใดที่ศาลได้สั่งไปแล้ว ต่อมาเห็นว่ายังไม่เหมาะสมเพื่อให้การพิจารณาได้ดำเนินไปด้วยความเที่ยงธรรมและเหมาะสม ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนคำสั่งนั้นเสียได้ แล้วสั่งใหม่ตามที่เห็นควร ในกรณีที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ว่าความอย่างคนอนาถา ในระหว่างพิจารณาปรากฎว่าโจทก์มีทรัพย์สินที่จะเสียค่าธรรมเนียมได้ศาลก็มีอำนาจสั่งให้โจทก์นำเงินค่าธรรมเนียมมาเสีย คำสั่งเช่นนี้ ถือเท่ากับศาลได้เพิกถอนคำสั่งที่อนุญาตให้โจทก์ว่าความอย่างคนอนาถาเสียแล้ว โจทก์จึงต้องอุทธรณ์คำสั่งนี้ภายในกำหนด 7 วัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฎีกา: ผลกระทบต่อการดำเนินคดีและการจำหน่ายคดีออกจากสารบบ
ศาลชั้นต้นสั่งรับเป็นฎีกาและสั่งให้ส่งสำเนาให้อีกฝ่ายภายใน 15 วัน เพื่อแก้ฎีกา แต่คู่ความฝ่ายที่ยื่นฎีกาซึ่งทราบคำสั่งศาลนั้นแล้วเพิกเฉยไม่นำส่งหมายนัดและสำเนาฎีกาให้แก่อีกฝ่ายภายในเวลาตามที่ศาลกำหนดโดยไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุแห่งการเพิกเฉยเช่นนี้ ต้องถือว่าคู่ความฝ่ายที่ยื่นฎีกานั้นทิ้งฎีกาที่ศาลชั้นต้นสั่งรับไว้เสียแล้ว ย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นฎีกานั้นเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฎีกาเลย ศาลฎีกาย่อมสั่งจำหน่ายคดี
หมายเหตุ เมื่อโจทก์ทิ้งฎีกา (ทิ้งฟ้อง) ศาลไม่มีอำนาจคืนค่าขึ้นศาล (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8 / 2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1298/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนัดพิจารณาคดีและการขาดนัด: ศาลต้องนัดให้คู่ความมาพร้อมกันเพื่อสอบคำให้การ หากโจทก์ไม่มาถือว่าขาดนัดได้ต่อเมื่อมีการนัดพิจารณาอย่างชัดเจน
โจทก์ฟ้องจำเลยหาว่าจำเลยหมิ่นประมาทใส่ความ ศาลนัดไต่สวนแล้ว สั่งว่าคดีมีมูลให้ประทับฟ้อง และให้หมายเรียกจำเลยมาแก้คดีในวันที่ 22 มีนาคม 2499 และให้โจทก์เซ็นทราบไว้ด้วย ครั้นถึงวันที่ 22 มีนาคม 2499 จำเลยยื่นคำให้การ ศาลเรียกคู่ความเพื่อสอบถามคำให้การจำเลย แต่โจทก์ไม่มาศาลในวันนี้ ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีเสียโดยหาว่าโจทก์ทิ้งฟ้องไม่ได้ เพราะไม่มีการนัดเป็นกิจลักษณะว่าจะดำเนินกระบวนพิจารณา และกรณีไม่เข้าตามมาตรา 174 แห่งวิธีพิจารณาความแพ่ง ไม่เป็นการทิ้งฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1298/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนัดแก้คดีและการขาดนัดพิจารณา: การนัดให้จำเลยแก้คดีไม่ใช่การนัดพิจารณาคดี และโจทก์ไม่ขาดนัด
โจทก์ฟ้องจำเลยหาว่าจำเลยหมิ่นประมาทใส่ความ ศาลนัดไต่สวนแล้ว สั่งว่าคดีมีมูลให้ประทับฟ้อง และให้หมายเรียกจำเลยมาแก้คดีในวันที่ 22 มีนาคม 2499 และให้โจทก์เซ็นทราบไว้ด้วย ครั้นถึงวันที่ 22 มีนาคม 2499 จำเลยยื่นคำให้การ ศาลเรียกคู่ความเพื่อสอบถามคำให้การจำเลยแต่โจทก์ไม่มาศาลในวันนี้ ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีเสียโดยหาว่าโจทก์ทิ้งฟ้องไม่ได้ เพราะไม่มีการนัดเป็นกิจลักษณะว่าจะดำเนินกระบวนพิจารณา และกรณีไม่เข้าตามมาตรา 174 แห่งวิธีพิจารณาความแพ่งฯไม่เป็นการทิ้งฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 798/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องในชั้นอุทธรณ์: การกำหนดระยะเวลาและหน้าที่ของคู่ความ
ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์.ศาลชั้นต้นเพียงแต่สั่งรับอุทธรณ์ส่งสำเนาอีกฝ่ายเพื่อแก้ แต่มิได้กำหนดวันให้ผู้อุทธรณ์จัดการส่งเมื่อปรากฏว่าผู้อุทธรณ์ไม่นำเจ้าพนักงานศาลส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเกินกำหนด 15 วัน ไป 6 วัน นับแต่วันศาลสั่งรับอุทธรณ์นั้นยังไม่พอถือว่าทิ้งฟ้องอุทธรณ์อันถึงกับจะให้จำหน่ายคดี
ส่วนกำหนดระยะเวลา 15 วัน ที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 174 ข้อ 1 นั้นหมายความเฉพาะในชั้นยื่นฟ้องและขอหมายเรียกให้จำเลยแก้คดีเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 798/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องในชั้นอุทธรณ์: การกำหนดระยะเวลาและการปฏิบัติตามคำสั่งศาล
ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์ศาลชั้นต้นเพียงแต่สั่งรับอุทธรณ์ส่งสำเนาอีกฝ่ายเพื่อแก้ แต่มิได้กำหนดวันให้ผู้อุทธรณ์จัดการส่ง เมื่อปรากฎว่าผู้อุทธรณ์ไม่นำเจ้าหนักงานศาลส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเกินกำหนด 15 วัน ไป 6 วัน นับแต่วันศาลสั่งรับอุทธรณ์นั้น ยังไม่พอถือว่าทิ้งฟ้องอุทธรณ์อันถึงกับจะให้จำหน่างคดี
ส่วนกำหนดระยะเวลา 15 วัน ที่บัญญัติไว้ใน ม. 174 ข้อ 1 นั้น หมายความเฉพาะในชั้นยื่นฟ้องและขอหมายเรียกให้จำเลยแก้คดีเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามกำหนดเวลาส่งสำเนาฎีกา ทำให้ศาลจำหน่ายคดีออกจากสารบบ
โจทก์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่ไม่นำส่งสำเนาฎีกาให้จำเลย จนเวลาล่วงเลยเกินกำหนดที่ศาลสั่งไว้ ศาลฎีกาย่อมสั่งให้จำหน่ายฎีกาของโจทก์ออกจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1318/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกเฉยไม่ดำเนินคดี: ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีได้เมื่อโจทก์ละเลย
การที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดพร้อมกันนั้น จะเรียกว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาไม่ได้
โจทก์จำเลยขอให้ศาลงดการพิจารณาไว้รอฟังผลของอีกคดีหนึ่ง เมื่อคดีนั้นได้ผลอย่างใดจะมาแถลงให้ศาลทราบ ครั้นเมื่อคดีนั้นพิพากษาถึงที่สุดแล้ว โจทก์ก็หาได้กระทำประการใดไม่ จนเวลาล่วงเลยไปร่วมปี และซ้ำเมื่อจำเลยยื่นคำแถลงให้ศาลทราบ ศาลนัดโจทก์จำเลยมาพร้อมกันโจทก์ได้รับหมายแล้ว ก็ยังหามาศาลไม่การละเลยของโจทก์ เช่นนี้ เรียกได้ว่า โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีได้แล้วและถือว่าเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 174(2) ด้วยซึ่งศาลมีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีโจทก์เสียได้แล้ว
อำนาจสั่งจำหน่ายคดีนั้นกฎหมายให้ศาลไว้เพื่อใช้ตามควรแก่กรณี ไม่ใช่บังคับว่าจะต้องจำหน่ายเสมอไป ศาลย่อมพิจารณาตามสมควรแก่พฤติการณ์(อ้างคำสั่งคำร้องฎีกาที่ 57/2493) ฉะนั้นอำนาจที่จะสั่งนั้นอย่างหนึ่งสมควรสั่งหรือไม่นั้นอีกอย่างหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1318/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีของโจทก์และการใช้ดุลยพินิจของศาลในการจำหน่ายคดี
การที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดพร้อมกันนั้น จะเรียกว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาไม่ได้
โจทก์จำเลยขอให้ศาลงดกาพิจารณาไว้รอฟังผลของอีกคดีหนึ่ง เมื่อคดีนั้นได้ผลอย่างใดจะมาแถลงให้ศาลทราบ ครั้นเมื่อคดีนั้นพิพากษาถึงที่สุดแล้ว โจทก์ก็หาได้กระทำประการใดไม่ จนเวลาล่วงเลยไปร่วมปี และซ้ำเมื่อจำเลยยื่นคำแถลงให้ศาลทราบ ศาลนัดโจทก์จำเลยมาพร้อมกัน โจทก์ได้รับหมายแล้ว ก้ยังหามาศาลไม่ การละเลยของโจทก์ เช่นนี้ เรียกได้ว่า โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีได้แล้ว และถือว่าเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดตามความใน ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 174(2) ด้วย ซึ่งศาลมีอำนาจสั้งจำหน่ายคดีโจทก์เสีสยได้แล้ว
อำนาจสั่งจำหน่ายคดีนั้นกฎหมายให้ศาลไว้เพื่อใช้ตามควรแก่กรณี ไม่ใช่บังคับว่าจะต้องจำหน่ายเสมอไป ศาลย่อมพิจารณาตามสมควรแก่พฤติการณ์(อ้างคำสั่งคำร้องฎีกาที่ 57/2493) ฉะนั้นอำนาจที่จะสั้งนั้นอย่างหนึ่งสมควรสั่งหรือไม่นั้นอีกอย่างหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1253/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้อง: การไม่ดำเนินการใดๆ หลังศาลสั่งให้จำเลยทราบเรื่อง
พฤติการณ์ที่ถือว่า ทิ้งฟ้องชั้นฎีกา
of 26