คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 174

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 253 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9319/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากจำเลยทิ้งฟ้องฎีกา และการพิจารณาคดีตามรูปคดีเดิมหลังยกคำร้อง
หลังจากที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยทั้งสองแล้ว โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองทิ้งฟ้องฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องดังกล่าวว่า จำเลยทั้งสองนำส่งสำเนาคำฟ้องฎีกาแล้ว ค่าคำร้องเป็นพับ อันมีผลเป็นการยกคำร้องของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวต่อศาลฎีกา ที่จำเลยทั้งสองแก้อุทธรณ์ว่าโจทก์ทั้งสองต้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์นั้น ปัญหาดังกล่าวเป็นกระบวนพิจารณาที่เกี่ยวเนื่องกับฎีกาของจำเลยทั้งสอง เนื่องจากหากฟังว่าจำเลยทั้งสองทิ้งฟ้องฎีกา ศาลฎีกาก็ไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวต่อศาลฎีกาได้ การพิจารณาสั่งว่าจำเลยทั้งสองทิ้งฟ้องฎีกาหรือไม่ เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลฎีกา ที่ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องของโจทก์ทั้งสองดังกล่าวเสียเอง จึงเป็นการไม่ชอบ แต่คดีนี้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยทั้งสอง โดยให้จำเลยทั้งสองนำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ทั้งสองภายใน 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งฟ้องฎีกาและจำเลยทั้งสองได้เสียค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาฟ้องฎีกาเมื่อล่วงพ้นกำหนด 7 วันไปแล้ว ซึ่งถือได้ว่าจำเลยทั้งสองทิ้งฟ้องฎีกาซึ่งศาลฎีกามีอำนาจจำหน่ายคดีได้ก็ตาม แต่การจะจำหน่ายคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล คดีนี้ปรากฎว่าจำเลยทั้งสองเสียค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาฎีกาเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2543 ภายหลังล่วงพ้นระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดเพียง 2 วัน ในขณะที่ยังไม่มีการจำหน่ายคดี ทั้งต่อมาในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2543 เจ้าหน้าที่ศาลก็ได้ไปส่งสำเนาฎีกาให้แก่โจทก์ทั้งสองและส่งได้ ศาลฎีกาจึงไม่เห็นสมควรที่จะสั่งจำหน่ายคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8885/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งสำเนาอุทธรณ์ที่ไม่จำเป็นเมื่อทนายจำเลยและผู้ร้องสอดเป็นคนเดียวกัน ศาลฎีกายกคำสั่งจำหน่ายคดี
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องสอดส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยก็เพื่อให้จำเลยได้มีโอกาสยื่นคำแก้อุทธรณ์ของผู้ร้องสอดเท่านั้น แต่ปรากฏว่าคดีนี้ทนายผู้ร้องสอดผู้ยื่นอุทธรณ์และทนายจำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกันมีผลเท่ากับว่าทนายจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าผู้ร้องสอดได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นมาแต่ต้นและจำเลยอาจยื่นคำแก้อุทธรณ์ได้แล้ว โดยศาลชั้นต้นไม่จำต้องสั่งให้ผู้ร้องสอดนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยแก้อีก และชอบที่จะสั่งให้ทนายจำเลยซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกับทนายผู้ร้องสอดยื่นคำแก้อุทธรณ์เข้ามาภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดได้เลยเมื่อปรากฏว่าคดีนี้ผู้ร้องสอดได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์และโจทก์ได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์เข้ามาแล้ว ทั้งทนายจำเลยก็ได้แถลงต่อศาลว่าจำเลยไม่ติดใจยื่นคำแก้อุทธรณ์ แม้จะเป็นการแถลงเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่ผู้ร้องสอดจะต้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยแก้แล้วก็ตาม ตามพฤติการณ์ศาลฎีกาก็เห็นเป็นการสมควรที่จะให้ดำเนินคดีของผู้ร้องสอดต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8464/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์จากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเรื่องค่าขึ้นศาล แม้คดีก่อนหน้าจะเกี่ยวข้องกับที่ดินเดียวกัน
แม้ที่ดินที่เป็นเหตุให้โจทก์จำเลยพิพาทกันในคดีนี้เป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินพิพาทในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นอีกคดีหนึ่งก็ตามแต่ก็เป็นคนละคดีกัน เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคดีเรื่องนี้เป็นคดีมีทุนทรัพย์และมีคำสั่งให้จำเลยวางเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มจำเลยก็ชอบที่จะต้องนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาวางต่อศาลชั้นต้นให้ครบตามระยะเวลาที่กำหนด ส่วนที่จำเลยเห็นว่าจำเลยไม่ควรต้องวางเงินค่าขึ้นศาลอุทธรณ์ซ้ำอีก เพราะได้วางเงินค่าขึ้นศาลในอีกคดีหนึ่งแล้ว ก็เป็นกรณีที่จำเลยมีสิทธิที่จะคัดค้านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ไว้แล้วฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวในภายหลังได้ แต่การที่จำเลยไม่นำเงินมาวางตามกำหนดโดยการขอขยายระยะเวลาวางเงินออกไปอีกหลายครั้ง ทั้งมีการอุทธรณ์คำสั่งของศาลที่ไม่อนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาลอุทธรณ์เพิ่มด้วย เป็นพฤติการณ์ที่ทำให้เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาประวิงเวลาให้ชักช้า ถือได้ว่าเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรกำหนดให้จำเลยปฏิบัติและจำเลยก็ได้ทราบคำสั่งโดยชอบแล้ว จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2) ประกอบมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7548/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกเฉยไม่ชำระค่าธรรมเนียมส่งสำเนาอุทธรณ์ ทำให้ศาลจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
ในชั้นตรวจอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์และให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยภายใน 15 วัน แต่จำเลยมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นที่ตั้งทำการของศาลชั้นต้น แม้จะได้ความว่าตามทางปฏิบัติศาลชั้นต้นจะมีหนังสือแจ้งให้ศาลจังหวัดชลบุรีที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลดำเนินการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยแทนดังที่โจทก์ฎีกาก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวโจทก์ก็มีหน้าที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาอุทธรณ์ไปชำระแก่เจ้าหน้าที่ของศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 วรรคสอง แม้โจทก์จะได้วางเงินไว้ในขณะยื่นคำฟ้องจำนวน 5,000 บาท แต่ก็เป็นเงินที่โจทก์ต้องวางเป็นประกันค่าใช้จ่ายไว้ต่อศาลตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 11 จึงมิใช่เงินที่โจทก์ได้วางไว้เป็นการชำระค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาอุทธรณ์ล่วงหน้า หากโจทก์ประสงค์จะให้หักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อันเป็นค่าธรรมเนียมในคดีจากเงินประกันดังกล่าว ก็ชอบที่โจทก์จะแถลงให้ศาลชั้นต้นทราบและได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นก่อนเช่นดังที่โจทก์เคยปฏิบัติมาแต่ในชั้นดำเนินการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยขณะยื่นฟ้องคดี ดังนั้น ข้อที่โจทก์อ้างว่าได้แจ้งแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายนำหมายของศาลชั้นต้นว่า ได้วางเงินประกันค่าใช้จ่ายไว้ต่อศาลแล้ว และเจ้าหน้าที่ได้แจ้งว่าจะดำเนินการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลย โดยจะหักเงินค่าธรรมเนียมในการส่งจากเงินประกันดังกล่าว แม้เป็นความจริงดังที่โจทก์อ้าง แต่ก็เป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบ ไม่อาจยกขึ้นอ้างเพื่อโจทก์ไม่ต้องวางเงินค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาอุทธรณ์ตามคำสั่งศาลชั้นต้นได้ เมื่อโจทก์มิได้ชำระเงินค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาอุทธรณ์แก่เจ้าหน้าที่ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงถือได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลย เป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) และมาตรา 246 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5714/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ต้องวางค่าฤชาธรรมเนียมและชำระหนี้ตามคำพิพากษา เพื่อให้การบังคับคดีดำเนินต่อไปได้
การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 แม้จะเป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยในเรื่องที่ขอให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยต่อไป มิใช่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ตาม จำเลยก็ต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาหลักประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง เพราะการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยกระทำขึ้นภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีแล้ว เมื่อมีการอุทธรณ์เช่นนี้ย่อมทำให้การบังคับคดีต้องล่าช้าออกไป อาจเสียหายแก่โจทก์ผู้ชนะคดีได้ จำเลยผู้อุทธรณ์จึงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวให้ครบถ้วน เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามบทบังคับให้ผู้อุทธรณ์ต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 234 ศาลอุทธรณ์จึงไม่อาจพิจารณาคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นของจำเลยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ ต้องยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2333/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ถูกต้องและการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยที่ไม่เกี่ยวข้อง ทำให้การพิพากษาทิ้งฟ้องอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอกันส่วนในที่ดิน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องผู้ร้องอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นกำหนดให้ผู้ร้องมาทราบคำสั่งในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2541 แต่ถึงวันดังกล่าวศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งต่อมาวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2541 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์และให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ จำเลย และเจ้าพนักงานบังคับคดีภายใน 15 วัน ดังนี้เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้ส่งคำสั่งดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องโดยชอบ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงไม่ถูกต้อง แม้จะได้ความว่าผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 ส่วนจำเลยที่ 9 ถึงที่ 15 มิได้นำส่ง ก็ยังถือไม่ได้ว่าผู้ร้องทิ้งฟ้องอุทธรณ์
ผู้ร้องร้องขอกันส่วนอ้างว่า ส. ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินแทนจำเลยที่ 2 ที่ 3 และ อ. ผู้ร้องในฐานะภรรยาจำเลยที่ 2 ขอกันเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวกึ่งหนึ่งเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเห็นได้ว่าคำร้องของผู้ร้องไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 9ถึงที่ 15 ทั้งในการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้น ก็มิได้ส่งหมายนัดให้จำเลยที่ 9 ถึงที่ 15 แต่อย่างใด จำเลยที่ 9 ถึงที่ 15จึงไม่ใช่จำเลยอุทธรณ์ กรณีไม่จำต้องส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 9ถึงที่ 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ดำเนินการตามคำสั่งศาลภายในกำหนด และการจำหน่ายคดีออกจากสารบบ
โจทก์ยื่นอุทธรณ์และขอให้ศาลชั้นต้นมีหนังสือไปยังศาลจังหวัดสงขลาเพื่อจัดส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลย ต่อมาโจทก์แถลงต่อศาลชั้นต้นว่า ส่งสำเนาอุทธรณ์ไม่ได้ ขอสืบหาภูมิลำเนา ศาลชั้นต้นสั่งว่า "อนุญาตให้สืบหาภูมิลำเนาได้ภายในวันที่ 20 มกราคม 2542" วันที่ 6 มกราคม 2542 โจทก์ยื่นคำร้องว่า จำเลยตาย ขอตรวจสอบทายาทหรือผู้จัดการมรดก หรือผู้ปกครองทรัพย์มรดก และสืบว่ามีทรัพย์มรดกหรือไม่แล้วจะขอให้เรียกเข้ามาแทนที่จำเลย หรือกรณีที่จำเลยไม่มีทรัพย์มรดกโจทก์จะถอนอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งว่า "อนุญาตถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2542" คำสั่งดังกล่าวไม่เป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 42 แต่เป็นดุลพินิจที่จะสั่งได้เพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปโดยรวดเร็ว โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการ การที่โจทก์ไม่ดำเนินการ ถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246 และตามมาตรา 132 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกเฉยต่อคำสั่งศาลในการดำเนินคดีอุทธรณ์ ส่งผลให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีได้
โจทก์ยื่นอุทธรณ์และขอให้มีหนังสือไปยังศาลจังหวัดสงขลาเพื่อจัดส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลย ต่อมาโจทก์แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าส่งสำเนาอุทธรณ์ไม่ได้ ขอสืบหาภูมิลำเนา ศาลชั้นต้นสั่งว่า "อนุญาตให้สืบหาภูมิลำเนาได้ภายในวันที่ 20 มกราคม 2542" วันที่ 6 มกราคม2542 โจทก์ยื่นคำร้องว่า จำเลยตาย ขอตรวจสอบทายาทหรือผู้จัดการมรดก หรือผู้ปกครองทรัพย์มรดก และสืบว่ามีทรัพย์มรดกหรือไม่แล้วจะขอให้เรียกเข้ามาแทนที่จำเลย หรือกรณีที่จำเลยไม่มีทรัพย์มรดกโจทก์จะถอนอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งว่า "อนุญาตถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์2542" คำสั่งดังกล่าวไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 42 แต่เป็นดุลพินิจที่จะสั่งได้เพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปโดยรวดเร็ว โจทก์มีหน้าที่ต้องดำเนินการ การที่โจทก์ไม่ดำเนินการจึงถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามมาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 246 และตามมาตรา 132(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 579/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำสั่งรับอุทธรณ์และการทิ้งอุทธรณ์: จำเลยไม่ทราบคำสั่งจึงไม่ถือว่าทิ้งฟ้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์หลังจากจำเลยยื่นอุทธรณ์แล้วถึง 2 วัน และในการสั่งรับอุทธรณ์ศาลชั้นต้นก็มิได้สั่งให้แจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบ ทั้งศาลชั้นต้นยังให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ทั้งสี่ภายใน 15 วันนับแต่วันสั่ง (แม้ตอนท้ายอุทธรณ์มีข้อความว่าข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว) เมื่อจำเลยยังไม่ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้น การที่จำเลยมิได้นำส่งหมายและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ทั้งสี่ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นย่อมไม่เป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด อันจะถือว่าเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการซ่อมแซมเสาเข็มและผลของการไม่ถอนฟ้องตามกำหนด การทิ้งฟ้องตามมาตรา 174(2)
คู่ความตกลงกันว่าให้ศาลตั้งผู้เชี่ยวชาญ 1 คน โจทก์ตั้ง 1 คนและจำเลยตั้ง 1 คน ร่วมกันตรวจสอบชี้ขาดว่า สามารถซ่อมแซมเสาเข็มต้นที่ 167 ได้ดีเป็นปกติได้มาตรฐานเหมือนเสาเข็มต้นอื่น ที่โจทก์ส่งมอบ งานให้จำเลยแล้วหรือไม่ ถ้าเสียงข้างมากว่าซ่อมไม่ได้โจทก์จะถอนฟ้องหากเสียงข้างมากว่าซ่อมได้ จำเลยจะจ่ายเงินประกันผลงานให้โจทก์ดังนั้น เมื่อเสียงข้างมากของผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าซ่อมไม่ได้ โจทก์จึงต้องถอนฟ้องไปตามข้อตกลง การที่โจทก์ไม่ถอนฟ้องภายในเวลาที่ศาลกำหนด จึงเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนดไว้อันเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)
of 26