คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 174

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 253 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5475/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งอุทธรณ์: อำนาจสั่งและหน้าที่ของโจทก์ในการดำเนินการส่งหมาย
คดีแพ่ง เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์แล้วต้องถือว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ การที่จะสั่งว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ต้องเป็นผู้สั่ง
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ ให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วันเพื่อดำเนินการต่อไป มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ โจทก์เซ็นชื่อรับทราบคำสั่งในตรายางประทับซึ่งมีข้อความว่า ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 6 มิถุนายน 2542 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว พนักงานเดินหมายรายงานเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2542 ว่านำสำเนาอุทธรณ์เพื่อส่งให้แก่จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2542 ไม่พบจำเลยทั้งสองจึงส่งไม่ได้ ต่อมาวันที่ 2 มิถุนายน 2542 เจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่า โจทก์มิได้ยื่นคำแถลงภายในเวลาที่ศาลกำหนด ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ได้แถลงขอให้ปิดหมายและเสียค่าธรรมเนียมในการปิดหมายให้แก่เจ้าหน้าที่แล้วไม่อาจรับฟังได้ เมื่อโจทก์ยอมรับในฎีกาว่า โจทก์เป็นผู้นำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยด้วยตนเองแต่ส่งให้จำเลยไม่ได้ การที่โจทก์ไม่แถลงต่อศาลภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดถือว่าโจทก์ไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยชอบ ตามป.วิ.พ.มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246 ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์และสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งรับฎีกาและการส่งสำเนาฎีกา: ศาลชั้นต้นผิดพลาดเมื่อสั่งซ้ำซ้อน ทำให้จำเลยสำคัญผิดและไม่ต้องถูกปรับโทษ
ในชั้นร้องขอฎีกาอย่างคนอนาถา จำเลยส่งสำเนาคำร้องและสำเนาฎีกาให้แก่โจทก์แล้ว เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอฎีกาอย่างคนอนาถา ต่อมาศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลกึ่งหนึ่ง จำเลยนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่มิได้รับยกเว้นมาวางศาลแล้ว ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งให้รับเงินและรับฎีกาของจำเลยไว้แล้วดำเนินการออกหมายนัดแจ้งให้โจทก์ทราบกับกำหนดให้โจทก์แก้ฎีกาของจำเลยภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหมายนัดไม่มีเหตุต้องสั่งให้จำเลยนำส่งสำเนาฎีกาให้แก่โจทก์ซ้ำอีก อันเป็นคำสั่งที่ผิดหลงและเป็นเหตุให้จำเลยสำคัญผิดว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้นแล้วไม่จำต้องปฏิบัติซ้ำอีก ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจไม่ดำเนินคดีในการนำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8391/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกเฉยต่อคำสั่งให้นำค่าธรรมเนียมมาวางศาล ถือเป็นการทิ้งอุทธรณ์ตามกฎหมาย
การที่ศาลชั้นต้นมีหมายนัดถึงจำเลยให้นำค่าธรรมเนียมที่จะชดใช้ให้แก่โจทก์มาวางต่อศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหมาย หากไม่ยื่นภายในกำหนดให้ถือว่าไม่ติดใจที่จะวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมให้กับทางฝ่ายโจทก์ และมิได้ระบุว่าหากไม่นำเงินมาวางถือว่าทิ้งอุทธรณ์ก็ตาม แต่ผลตามกฎหมายของการที่จำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลถือว่าเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)ประกอบด้วยมาตรา 246 จึงมีผลให้ถือว่าจำเลยทิ้งอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7193/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ถือว่าทิ้งคำร้องแม้ผู้ร้องไม่ดำเนินการทันตามกำหนด หากศาลมิได้แจ้งคำสั่งและผู้ร้องยังมีความพยายาม
เมื่อเจ้าพนักงานเดินหมายส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องให้แก่จำเลยครั้งแรกไม่ได้ผู้ร้องได้ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นขอให้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่จำเลยใหม่ แม้จะไม่ได้ยื่นภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นก็มิได้ถือว่าผู้ร้องทิ้งคำร้อง กลับสั่งให้คำแถลงของผู้ร้องว่า "ไม่พบ ให้ปิด" โดยไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาคำร้องให้แก่จำเลย และเมื่อพนักงานเดินหมายนำหมายนัดและสำเนาคำร้องไปส่งให้แก่จำเลยครั้งที่สอง ก็ส่งให้แก่จำเลยไม่ได้ เพราะไม่พบป้ายชื่อจำเลย ผู้จัดการจำเลย และไม่มีผู้รับหมายไว้แทนแต่มีผู้แจ้งว่าจำเลยย้ายสำนักงานไปนานแล้ว พนักงานเดินหมายจึงไม่ได้ปิดหมายศาลชั้นต้นสั่งในรายงานการเดินหมายว่า "รอผู้ร้องแถลง" โดยมิได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้ผู้ร้องทราบผู้ร้องไม่ทราบคำสั่งศาลชั้นต้น ฉะนั้นแม้ผู้ร้องจะมิได้แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปจนกระทั่งมายื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องต่อไป ซึ่งเป็นเวลาล่วงเลยถึงเกือบ 8 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า "รอผู้ร้องแถลง" ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่ผู้ร้องเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันเป็นการทิ้งคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8125/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งสำเนาฎีกาในคดีอาญา: หน้าที่ศาลและผลของการไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง
ในคดีอาญา ศาลชั้นต้นต้องมีหน้าที่ส่งสำเนาฎีกาให้จำเลยโดยตรงจะให้โจทก์เป็นผู้นำส่งหาชอบไม่ ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 200 ประกอบมาตรา216 และจะนำ ป.วิ.พ.มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15มาใช้บังคับให้โจทก์เป็นผู้นำส่งสำเนาฎีกาหาได้ไม่ เพราะได้มีบทบัญญัติเรื่องการส่งสำเนาฎีกาไว้ตาม ป.วิ.อ.โดยชัดแจ้งแล้ว
เมื่อคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์นำส่งสำเนาฎีกาในคดีอาญาเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ แม้โจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด กรณีก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทิ้งฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8125/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ส่งสำเนาฎีกา: ศาลต้องส่งให้จำเลยโดยตรง โจทก์ไม่ต้องส่ง
ในคดีอาญา ศาลชั้นต้นต้องมีหน้าที่ส่งสำเนาฎีกาให้จำเลยโดยตรงจะให้โจทก์เป็นผู้นำส่งหาชอบไม่ ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 200 ประกอบมาตรา216 และจะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 วรรคสองประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 มาใช้บังคับให้โจทก์เป็นผู้นำส่งสำเนาฎีกาหาได้ไม่เพราะได้มีบทบัญญัติเรื่องการส่งสำเนาฎีกาไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยชัดแจ้งแล้ว เมื่อมีคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์นำส่งสำเนาฎีกาในคดีอาญาเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ แม้โจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด กรณีก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทิ้งฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6986/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งอุทธรณ์และการใช้ดุลพินิจศาลในการจำหน่ายคดี โดยคำนึงถึงความผิดพลาดจากเจ้าหน้าที่
ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ ให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายใน 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ ผู้ร้องวางเงินค่าธรรมเนียมการนำหมาย แต่มิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ตามคำสั่งศาล ดังนี้ การที่ผู้ร้องได้วางเงินค่านำหมายหาทำให้ผู้ร้องหมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นไม่จึงต้องถือว่าผู้ร้องทิ้งอุทธรณ์ แต่แม้จะถือว่าผู้ร้องทิ้งอุทธรณ์ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 ก็ไม่ใช่บทบังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องจำหน่ายคดีเสมอไป เพียงแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าจะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้ โดยคำนึงถึงเหตุผลอันสมควรและยุติธรรม เมื่อคดีนี้ปรากฏว่า ผู้ร้องได้วางเงินค่าธรรมเนียมการส่งหมายและสำเนาอุทธรณ์แล้วแต่เกิดขัดข้องทางฝ่ายเจ้าพนักงานศาลเองที่ไม่ส่งเงินไปให้เจ้าพนักงานเดินหมายเช่นนี้กรณีจึงไม่สมควรที่จะจำหน่ายคดีของผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6986/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งอุทธรณ์และการใช้ดุลพินิจของศาลในการจำหน่ายคดีล้มละลาย การวางค่าธรรมเนียมยังไม่ปลดหน้าที่นำส่งสำเนา
ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ ให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายใน 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ ผู้ร้องวางเงินค่าธรรมเนียมการนำหมาย แต่มิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ตามคำสั่งศาล ดังนี้ การที่ผู้ร้องได้วางเงินค่านำหมายหาทำให้ผู้ร้องหมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นไม่จึงต้องถือว่าผู้ร้องทิ้งอุทธรณ์ แต่แม้จะถือว่าผู้ร้องทิ้งอุทธรณ์ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 ก็ไม่ใช่บทบังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องจำหน่ายคดีเสมอไป เพียงแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าจะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้ โดยคำนึงถึงเหตุผลอันสมควรและยุติธรรม เมื่อคดีนี้ปรากฏว่า ผู้ร้องได้วางเงินค่าธรรมเนียมการส่งหมายและสำเนาอุทธรณ์แล้วแต่เกิดขัดข้องทางฝ่ายเจ้าพนักงานศาลเองที่ไม่ส่งเงินไปให้เจ้าพนักงานเดินหมายเช่นนี้กรณีจึงไม่สมควรที่จะจำหน่ายคดีของผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5224/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากไม่ชำระค่าขึ้นศาล ทำให้ศาลจำหน่ายคดีออกจากสารบบ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ตามสัญญาเช่าและเรียกค่าเสียหายจากจำเลย จำเลยฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ยกอุทธรณ์ของจำเลยเนื่องจากเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคสอง ขอให้ศาลวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลย เสียใหม่ จึงเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็น ราคาเงินได้ ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาราง 1 ข้อ 2(ข) ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นเรียกค่าขึ้นศาลดังกล่าวและศาลชั้นต้นได้มีหมายแจ้งให้จำเลยชำระค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาแล้ว แต่จำเลย ไม่ยอมชำระถือได้ว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลา ที่ศาลกำหนด เป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาแพ่ง มาตรา 174(2),246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4957/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลฎีกา, การทิ้งฎีกา, กรรมสิทธิ์ที่ดิน, ครอบครองปรปักษ์, ผลกระทบต่อค่าเสียหาย
จำเลยเข้าไปล้อมรั้วสังกะสีทำเป็นร้านอาหารในที่ดินพิพาทของโจทก์โดยถือวิสาสะ มิใช่เจตนาอย่างเป็นเจ้าของ ส่วนที่จำเลยมุงหลังคากระเบื้องและทำรั้วด้านข้างและด้านหลังนั้น จำเลยก็เพิ่งทำหลังคาและรั้วดังกล่าวเมื่อนับถึงวันที่จำเลยฟ้องแย้งยังไม่ถึง 10 ปี จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายก่อนฟ้อง 30,000 บาท กับค่าเสียหายอนาคตอีกเดือนละ 10,000 บาท จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นกรณีพิพาทกันในเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินด้วย เมื่อศาลอุทธรณ์ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ฎีกาโดยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียงตามจำนวนทุนทรัพย์ในค่าเสียหายก่อนฟ้อง โดยไม่ได้เสียค่าขึ้นศาลตามราคาที่ดินพิพาทมาด้วย ศาลฎีกาสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาตามราคาที่ดินพิพาทให้ครบถ้วน แต่โจทก์ไม่ชำระ จึงต้องถือว่าโจทก์ทิ้งฎีกาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับปัญหาในเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 ประกอบมาตรา 246 และ 247 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว จึงคงมีปัญหาวินิจฉัยในปัญหาค่าเสียหายก่อนฟ้องเท่านั้น แต่เมื่อโจทก์ทิ้งฟ้องในปัญหาที่พิพาทกันในเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินเสียแล้ว ทั้งปัญหาเรื่องค่าเสียหายก็เกี่ยวเนื่องกับปัญหาที่โจทก์ทิ้งฟ้องไม่สามารถวินิจฉัยแยกออกจากกันได้และไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง ปัญหาเรื่องค่าเสียหายก่อนฟ้องจึงไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา249 วรรคหนึ่ง
of 26