พบผลลัพธ์ทั้งหมด 253 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4957/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และผลกระทบต่อค่าขึ้นศาล หากไม่ชำระค่าขึ้นศาลครบถ้วน ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดี
จำเลยเข้าไปล้อมรั้วสังกะสีทำเป็นร้านอาหารในที่ดินพิพาทของโจทก์โดยถือวิสาสะ มิใช่เจตนาอย่างเป็นเจ้าของ ส่วนที่จำเลยมุงหลังคากระเบื้องและทำรั้วด้านข้างและด้านหลังนั้น จำเลยก็เพิ่งทำหลังคาและรั้วดังกล่าวเมื่อนับถึงวันที่จำเลยฟ้องแย้งยังไม่ถึง 10 ปี จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายก่อนฟ้อง 30,000 บาท กับค่าเสียหายอนาคตอีกเดือนละ 10,000 บาท จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นกรณีพิพาทกันในเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินด้วย เมื่อศาลอุทธรณ์ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ฎีกาโดยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียงตามจำนวนทุนทรัพย์ในค่าเสียหายก่อนฟ้อง โดยไม่ได้เสียค่าขึ้นศาลตามราคาที่ดินพิพาทมาด้วย ศาลฎีกาสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาตามราคาที่ดินพิพาทให้ครบถ้วนแต่โจทก์ไม่ชำระ จึงต้องถือว่าโจทก์ทิ้งฎีกาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับปัญหาในเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 ประกอบมาตรา 246 และ 247 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงคงมีปัญหาวินิจฉัยในปัญหาค่าเสียหายก่อนฟ้องเท่านั้น แต่เมื่อโจทก์ทิ้งฟ้องในปัญหาที่พิพาทกันในเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินเสียแล้ว ทั้งปัญหาเรื่องค่าเสียหายก็เกี่ยวเนื่องกับปัญหาที่โจทก์ทิ้งฟ้องไม่สามารถวินิจฉัยแยกออกจากกันได้และไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง ปัญหาเรื่องค่าเสียหายก่อนฟ้องจึงไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายก่อนฟ้อง 30,000 บาท กับค่าเสียหายอนาคตอีกเดือนละ 10,000 บาท จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นกรณีพิพาทกันในเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินด้วย เมื่อศาลอุทธรณ์ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ฎีกาโดยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียงตามจำนวนทุนทรัพย์ในค่าเสียหายก่อนฟ้อง โดยไม่ได้เสียค่าขึ้นศาลตามราคาที่ดินพิพาทมาด้วย ศาลฎีกาสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาตามราคาที่ดินพิพาทให้ครบถ้วนแต่โจทก์ไม่ชำระ จึงต้องถือว่าโจทก์ทิ้งฎีกาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับปัญหาในเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 ประกอบมาตรา 246 และ 247 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงคงมีปัญหาวินิจฉัยในปัญหาค่าเสียหายก่อนฟ้องเท่านั้น แต่เมื่อโจทก์ทิ้งฟ้องในปัญหาที่พิพาทกันในเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินเสียแล้ว ทั้งปัญหาเรื่องค่าเสียหายก็เกี่ยวเนื่องกับปัญหาที่โจทก์ทิ้งฟ้องไม่สามารถวินิจฉัยแยกออกจากกันได้และไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง ปัญหาเรื่องค่าเสียหายก่อนฟ้องจึงไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4102/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ไม่ดำเนินการส่งหมายภายในกำหนด ศาลต้องพิจารณาถึงความขวนขวายของโจทก์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายภายใน 7 วันถ้าส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 7 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ แต่จำเลยมีภูมิลำเนานอกเขตศาลชั้นต้นโจทก์จึงยื่นคำแถลงขอให้ศาลอื่นช่วยส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง โดยโจทก์ชำระค่าส่งเป็นตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ไปให้ ศาลชั้นต้นสั่งจัดการให้และมีหนังสือถึงศาลอื่นขอให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแทนซึ่งมิได้ระบุว่าโจทก์จะไปนำส่ง จึงเห็นได้ว่าศาลชั้นต้นไม่บังคับให้โจทก์ต้องไปนำส่ง การที่โจทก์ไปติดตามขอทราบผลการส่งหมายถึง 5 ครั้ง และได้รับแจ้งว่าสำนวนไม่อยู่บ้าง สำนวนเสนอผู้พิพากษาบ้างแม้ในวันที่โจทก์ไปยื่นคำร้องคำขอและคำแถลงต่าง ๆ ก็ไม่มีโอกาสได้เห็นสำนวนจนกระทั่งวันที่ 23 ธันวาคม 2539 โจทก์จึงทราบผลการส่งหมาย หลังจากนั้นโจทก์ไปขอหลักฐานไว้ยื่นคำแถลงขอให้ส่งหมายใหม่ โดยจะยื่นในวันรุ่งขึ้นคือวันที่25 ธันวาคม 2539 อันเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์ที่ ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ตั้งแต่วันรับคำฟ้อง ครั้นเมื่อถึงวันนัดหมายโจทก์จึงทราบจากเจ้าหน้าที่ศาลว่าศาลสั่งจำหน่ายคดีไปแล้วดังนี้เห็นได้ว่าโจทก์ขวนขวายติดตามคดี โจทก์มิได้เพิกเฉยหรือละเลยต่อการดำเนินคดี กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3460/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งในคดีหย่า: แม้คดีโจทก์จำหน่ายไป ฟ้องแย้งยังดำเนินต่อไปได้
จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ว่าโจทก์ประพฤติชั่ว ขอให้ถอนอำนาจ ปกครองบุตรของโจทก์ โดยให้จำเลยเป็นผู้มีอำนาจปกครองบุตร แต่ผู้เดียว ให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร กับให้ชำระ ค่าเลี้ยงชีพแก่จำเลย เมื่อเป็นเรื่องเกี่ยวกับฟ้องเดิม พอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้แล้ว แม้ต่อมาโจทก์จะทิ้งฟ้องเดิมเป็นเหตุให้ศาลมีคำสั่งจำหน่าย คดีโจทก์ ก็คงมีผลเฉพาะคดีโจทก์ว่าไม่มีฟ้องเดิมที่จะ ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเท่านั้น หามีผลให้ฟ้องแย้งของ จำเลยตกไปด้วยไม่ เพราะยังมีตัวโจทก์ซึ่งเป็นจำเลยของฟ้องแย้ง อยู่พร้อมที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง การที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องว่า ฟ้องแย้งย่อมตกไปด้วยกรณีจึงไม่ต้องพิจารณาสั่งคำร้องขอให้โจทก์ขาดนัดยื่น คำให้การแก้ฟ้องแย้งอีกต่อไป จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2228/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลฎีกา: เจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์รวมของที่ดินที่ถูกเวนคืน หากไม่ปฏิบัติตามศาลมีสิทธิไม่รับฎีกา
เมื่อโจทก์ทั้งสี่ยื่นฎีกาแล้ว ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์ทั้งสี่เสียค่าขึ้นศาลในส่วนของแต่ละคนเพิ่มภายใน10 วัน แม้โจทก์ทั้งสี่เห็นว่าโจทก์ทั้งสี่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินโฉนดที่ถูกเวนคืน ในการจ่ายค่าทดแทนของจำเลยจะจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งสี่ร่วมกัน ในการคำนวณทุนทรัพย์เสียค่าฤชาธรรมเนียมในคดีจึงต้องคำนวณ จากทุนทรัพย์ที่เป็นข้อโต้แย้งของการจ่ายค่าทดแทนในที่ดินโฉนดที่ถูกเวนคืน มิใช่เสียค่าขึ้นศาลในแต่ละคนตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งก็ตาม โจทก์ทั้งสี่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวก่อน หากโจทก์ทั้งสี่ไม่เห็นพ้องกับคำสั่งของศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งในภายหลังได้เมื่อโจทก์ทั้งสี่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ทั้งสี่จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2228/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลในคดีเวนคืนที่ดินร่วม: คำนวณจากทุนทรัพย์ข้อโต้แย้ง ไม่ใช่รายบุคคล
เมื่อโจทก์ทั้งสี่ยื่นฎีกาแล้ว ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์ทั้งสี่เสียค่าขึ้นศาลในส่วนของแต่ละคนเพิ่มภายใน 10 วัน แม้โจทก์ทั้งสี่เห็นว่าโจทก์ทั้งสี่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินโฉนดที่ถูกเวนคืน ในการจ่ายค่าทดแทนของจำเลยจะจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งสี่ร่วมกัน ในการคำนวณทุนทรัพย์เสียค่าฤชาธรรมเนียมในคดีจึงต้องคำนวณจากทุนทรัพย์ที่เป็นข้อโต้แย้งของการจ่ายค่าทดแทนในที่ดินโฉนดที่ถูกเวนคืน มิใช่เสียค่าขึ้นศาลในแต่ละคนตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งก็ตาม โจทก์ทั้งสี่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวก่อน หากโจทก์ทั้งสี่ไม่เห็นพ้องกับคำสั่งของศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งในภายหลังได้ เมื่อโจทก์ทั้งสี่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ทั้งสี่จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลในคดีล้มละลาย: การพิจารณาประเภทคดีมีทุนทรัพย์ การทิ้งฟ้อง และคำสั่งระหว่างพิจารณา
แม้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา119วรรคสองและวรรคสามจะกำหนดให้การร้องคัดค้านหนังสือแจ้งยืนยันหนี้ของผู้คัดค้านให้ทำเป็นคำร้องก็ตามแต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่ผู้คัดค้านผู้ร้องอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์กลับคำสั่งศาลชั้นต้นโดยขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้คัดค้านที่มีหนังสือแจ้งยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้และให้จำหน่ายชื่อผู้ร้องออกจากบัญชีลูกหนี้ซึ่งแม้ผู้ร้องจะอ้างว่าหนี้จะระงับสิ้นไปแล้วโดยการหักกลบลบหนี้ก็ตามแต่ผลก็คือขอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าผู้ร้องไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระตามที่ผู้คัดค้านมีหนังสือแจ้งยืนยันไปและหากศาลอุทธรณ์ให้ผู้ร้องชนะคดีทุกข์ของผู้ร้องย่อมปลดเปลื้องไปตามจำนวนเงินที่ผู้ร้องไม่ต้องชำระคดีของผู้ร้องจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ตามตาราง1ข้อ(1)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา179วรรคท้ายซึ่งกำหนดให้ค่าธรรมเนียมนอกจากที่บัญญัติไว้ให้คิดอัตราเดียวกันกับค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้ถูกต้องซึ่งศาลชั้นต้นแจ้งให้ผู้ร้องทราบคำสั่งนั้นแล้วผู้ร้องเพิกเฉยจึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2),246ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา153ต้องจำหน่ายคดีของผู้ร้องออกจากสารบบความ คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้ถูกต้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาแม้ผู้ร้องจะเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องก็มีสิทธิเพียงโต้แย้งคำสั่งนั้นเพื่อใช้สิทธิฎีกาต่อไปเท่านั้นหามีสิทธิที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นไม่การที่ผู้ร้องฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ดังกล่าวอันเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา226(1)ประกอบมาตรา247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลในคดีล้มละลาย: การทิ้งฟ้องอุทธรณ์จากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล
แม้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคสอง และวรรคสามจะกำหนดให้การร้องคัดค้านหนังสือแจ้งยืนยันหนี้ของผู้คัดค้านให้ทำเป็นคำร้องก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่ผู้คัดค้าน ผู้ร้องอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์กลับคำสั่งศาลชั้นต้นโดยขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้คัดค้านที่มีหนังสือแจ้งยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้และให้จำหน่ายชื่อผู้ร้องออกจากบัญชีลูกหนี้ ซึ่งแม้ผู้ร้องจะอ้างว่าหนี้จะระงับสิ้นไปแล้วโดยการหักกลบลบหนี้ก็ตาม แต่ผลก็คือขอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระตามที่ผู้คัดค้านมีหนังสือแจ้งยืนยันไป และหากศาลอุทธรณ์ให้ผู้ร้องชนะคดี ทุกข์ของผู้ร้องย่อมปลดเปลื้องไปตามจำนวนเงินที่ผู้ร้องไม่ต้องชำระ คดีของผู้ร้องจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ตามตาราง 1 ข้อ (1) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 179 วรรคท้าย ซึ่งกำหนดให้ค่าธรรมเนียมนอกจากที่บัญญัติไว้ให้คิดอัตราเดียวกันกับค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้ถูกต้อง ซึ่งศาลชั้นต้นแจ้งให้ผู้ร้องทราบคำสั่งนั้นแล้ว ผู้ร้องเพิกเฉยจึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2),246 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 ต้องจำหน่ายคดีของผู้ร้องออกจากสารบบความ คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้ถูกต้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แม้ผู้ร้องจะเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องก็มีสิทธิเพียงโต้แย้งคำสั่งนั้นเพื่อใช้สิทธิฎีกาต่อไปเท่านั้น หามีสิทธิที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นไม่ การที่ผู้ร้องฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ดังกล่าวอันเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1578/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความประกันภัย: การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเกินกำหนดตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นสั่งฎีกาของจำเลยร่วมทั้งสองสำนวนในวันที่ 30เมษายน 2539 ซึ่งเป็นวันเดียวกันกับที่จำเลยร่วมยื่นฎีกาว่า รับฎีกาจำเลยร่วมสำเนาให้โจทก์ทั้งสี่ให้จำเลยร่วมส่งภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ให้แถลงให้ทราบภายใน 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งฎีกา จำเลยร่วมจึงทราบคำสั่งดังกล่าวแล้ว ต่อมาปรากฏว่าส่งสำเนาฎีกาให้แก่โจทก์ที่ 1 ไม่ได้ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2539ตามรายงานเจ้าหน้าที่ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2539 หลังจากนั้นจำเลยร่วมไม่ได้แถลงให้ศาลชั้นต้นทราบเพื่อดำเนินการต่อไปแต่อย่างใด ถือว่าจำเลยร่วมทิ้งฎีกาสำนวนแรกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174
จำเลยร่วมผู้รับประกันภัยให้การเกี่ยวกับอายุความว่า โจทก์นำคดีมาฟ้องในมูลละเมิดเหตุเกิดเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2526 โจทก์ไม่ติดใจใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาจากจำเลยร่วมมาแต่แรก คงมีจำเลยที่ 3 เท่านั้นที่ใช้สิทธิเรียกให้จำเลยร่วมเข้ามารับผิด แต่ก็เพิ่งเรียกเข้ามาเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2531อันเป็นเวลาล่วงเลยจากวันเกิดเหตุถึง 5 ปี คดีย่อมขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 ดังนี้ จำเลยร่วมให้การโดยชัดแจ้งและแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความเรื่องการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว แม้จำเลยร่วมจะยกบทกฎหมายขึ้นอ้างว่าขาดอายุความละเมิดตามมาตรา 448 ก็ตาม แต่ถ้าตัดข้อความคำว่า "ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448" ออกเสียคำให้การของจำเลยร่วมเกี่ยวกับอายุความในส่วนที่เหลือก็ยังพออนุมานได้ว่าจำเลยร่วมได้ยกอายุความตามมาตรา 882 ขึ้นต่อสู้แล้ว และการจะปรับบทมาตราใดเป็นหน้าที่ของศาลจะยกขึ้นปรับแก่คดี คำให้การของจำเลยร่วมจึงมีประเด็นเรื่องอายุความการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยตาม ป.พ.พ.มาตรา 882 วรรคแรก
คดีนี้เหตุวินาศภัยเกิดในวันที่ 5 กันยายน 2526 จำเลยร่วมผู้รับประกันภัยถูกเรียกเข้ามาในคดีเพื่อให้รับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย เมื่อวันที่7 มิถุนายน 2531 เป็นเวลาล่วงเลยจากวันเกิดเหตุกว่า 2 ปี คดีจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 882 วรรคแรก
จำเลยร่วมผู้รับประกันภัยให้การเกี่ยวกับอายุความว่า โจทก์นำคดีมาฟ้องในมูลละเมิดเหตุเกิดเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2526 โจทก์ไม่ติดใจใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาจากจำเลยร่วมมาแต่แรก คงมีจำเลยที่ 3 เท่านั้นที่ใช้สิทธิเรียกให้จำเลยร่วมเข้ามารับผิด แต่ก็เพิ่งเรียกเข้ามาเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2531อันเป็นเวลาล่วงเลยจากวันเกิดเหตุถึง 5 ปี คดีย่อมขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 ดังนี้ จำเลยร่วมให้การโดยชัดแจ้งและแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความเรื่องการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว แม้จำเลยร่วมจะยกบทกฎหมายขึ้นอ้างว่าขาดอายุความละเมิดตามมาตรา 448 ก็ตาม แต่ถ้าตัดข้อความคำว่า "ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448" ออกเสียคำให้การของจำเลยร่วมเกี่ยวกับอายุความในส่วนที่เหลือก็ยังพออนุมานได้ว่าจำเลยร่วมได้ยกอายุความตามมาตรา 882 ขึ้นต่อสู้แล้ว และการจะปรับบทมาตราใดเป็นหน้าที่ของศาลจะยกขึ้นปรับแก่คดี คำให้การของจำเลยร่วมจึงมีประเด็นเรื่องอายุความการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยตาม ป.พ.พ.มาตรา 882 วรรคแรก
คดีนี้เหตุวินาศภัยเกิดในวันที่ 5 กันยายน 2526 จำเลยร่วมผู้รับประกันภัยถูกเรียกเข้ามาในคดีเพื่อให้รับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย เมื่อวันที่7 มิถุนายน 2531 เป็นเวลาล่วงเลยจากวันเกิดเหตุกว่า 2 ปี คดีจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 882 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5739/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งจำหน่ายคดีทิ้งฎีกา และการกำหนดจำนวนหนี้ในคดีล้มละลาย
เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทิ้งฎีกา เป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะพิจารณาสั่งจำหน่ายคดี มิใช่เป็นอำนาจของศาลชั้นต้น
กรณีจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทิ้งฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา132 (1) ไม่ได้บังคับว่าศาลจะต้องสั่งจำหน่ายคดีเสมอไป บทบัญญัติดังกล่าวให้ศาลใช้ดุลพินิจตามพฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่อง ๆ ไป
ปัญหาว่าจำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์กำหนดจำนวนได้แน่นอนหรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสามมิได้ให้การไว้และมิได้ยกขึ้นว่ากันมาในชั้นศาลอุทธรณ์ จำเลยทั้งสามก็ยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามล้มละลาย ล้วนแต่เป็นหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งจำเลยทั้งสามให้การยอมรับว่าเป็นหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวจริง หนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวจึงผูกพันจำเลยทั้งสามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145และหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวสามารถคิดคำนวณเป็นจำนวนแน่นอนได้ จึงเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (3) โดยไม่จำต้องมีพยานบุคคลมาเบิกความประกอบ
กรณีจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทิ้งฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา132 (1) ไม่ได้บังคับว่าศาลจะต้องสั่งจำหน่ายคดีเสมอไป บทบัญญัติดังกล่าวให้ศาลใช้ดุลพินิจตามพฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่อง ๆ ไป
ปัญหาว่าจำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์กำหนดจำนวนได้แน่นอนหรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสามมิได้ให้การไว้และมิได้ยกขึ้นว่ากันมาในชั้นศาลอุทธรณ์ จำเลยทั้งสามก็ยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามล้มละลาย ล้วนแต่เป็นหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งจำเลยทั้งสามให้การยอมรับว่าเป็นหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวจริง หนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวจึงผูกพันจำเลยทั้งสามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145และหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวสามารถคิดคำนวณเป็นจำนวนแน่นอนได้ จึงเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (3) โดยไม่จำต้องมีพยานบุคคลมาเบิกความประกอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2077/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องทำให้ฎีกาคดีคุ้มครองชั่วคราวเป็นอันสิ้นผล
เมื่อโจทก์ได้ขอถอนฟ้องและศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องไปแล้ว ฎีกาในชั้นการคุ้มครองชั่วคราวระหว่างพิจารณาซึ่งเป็นคดีสาขาเป็นอันสิ้นผลบังคับไปโดยปริยาย คดีไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาตามที่โจทก์ฎีกาต่อไป