คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 174

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 253 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำละเมิดของผู้จัดการ การขัดต่อความประสงค์ของตัวการ และอายุความฟ้องคดี
อำนาจสั่งจำหน่ายคดีในกรณีทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 นั้น กฎหมายให้อำนาจศาลไว้เพื่อใช้ตามสมควรแก่กรณี ไม่ใช่บังคับว่าจะต้องจำหน่ายคดีเสมอไป ถ้าศาลใช้ดุลพินิจไม่สั่งจำหน่ายคดีก็ต้องชี้ขาดตัดสินไปตามมาตรา 133 กรมโจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ละเว้นไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ ไม่ควบคุมดูแลและไม่ตรวจสอบติดตามว่าได้ใช้เงินจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นไปเกินกว่างบประมาณที่โจทก์จัดสรร และไม่รายงานให้จำเลยที่ 1 ทราบ ทำให้จำเลยที่ 1 ไม่ได้รายงานถึงจำนวนหนี้ให้โจทก์ทราบก่อนวันสิ้นปีงบประมาณทำให้โจทก์ไม่สามารถขออนุมัติงบประมาณเพิ่มเติม เป็นเหตุให้โจทก์ต้องชำระเงินให้กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. เป็นคำฟ้องให้รับผิดในลักษณะละเมิดซึ่งมีอายุความ 1 ปี มิใช่เป็นการฟ้องใช้สิทธิไล่เบี้ยซึ่งมีอายุความ 10 ปี จำเลยที่ 1 จัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. นำไปใช้ในหน่วยงานในสังกัดของกรมโจทก์หลังจากหมดงบประมาณแล้ว แต่โจทก์ก็รับแจ้งให้จัดสรรงบประมาณเพื่อนำไปชำระหนี้ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดว. ซึ่งโจทก์ก็รับรู้และยอมรับการปฏิบัติดังกล่าวเรื่อยมากรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ทำไปตามอำนาจหน้าที่ในฐานะผู้บริหารหน่วยงานไม่ใช่ทำไปโดยขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 396 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดี, การจัดการงานที่ขัดต่อความประสงค์ของตัวการ, และขอบเขตความรับผิดของผู้จัดการ
อำนาจสั่งจำหน่ายคดีในกรณีทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา132นั้นกฎหมายให้อำนาจศาลไว้เพื่อใช้ตามควรแก่กรณีมิใช่เป็นบทบัญญัติบังคับว่าจะต้องจำหน่ายคดีเสมอไปถ้าศาลให้ดุลพินิจไม่สั่งจำหน่ายคดีก็ต้องวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา133การที่ศาลอุทธรณ์ภาค1วินิจฉัยคดีไปโดยมิได้สั่งจำหน่ายฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่1นั้นเป็นการใช้ดุลพินิจตามควรแก่กรณีแล้วและมีอำนาจวินิจฉัยฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่1ได้ตามกฎหมาย โจทก์บรรยายฟ้องให้รับผิดในลักษณะละเมิดจึงต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแม้ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อใดแต่โจทก์ได้มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฟ้องคดีถือว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่ในวันดังกล่าวเมื่อโจทก์มาฟ้องคดีเมื่อเกินหนึ่งปีนับแต่วันมอบอำนาจฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา396เป็นกรณีผู้จัดการได้เข้าจัดการงานอันเป็นการขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของตัวการทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าตัวการไม่ประสงค์เช่นนั้นการที่จำเลยที่1กระทำไปตามอำนาจหน้าที่ที่เคยปฏิบัติมาและโจทก์เองก็รับรู้และยอมรับข้อปฏิบัติดังกล่าวจึงมิใช่ทำไปโดยขัดกับความประสงค์แท้จริงของโจทก์จำเลยที่3ซึ่งปฏิบัติงานตามที่จำเลยที่1มอบหมายจึงไม่ต้องรับผิดเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7975/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ชำระค่าขึ้นศาล: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจจำหน่ายคดี
ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์ในรูปคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง แต่อุทธรณ์ของผู้ร้องเป็นการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ผู้ร้องเลื่อนคดีและยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็น ราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 วรรคหนึ่งและตาราง 1(2)(ก) ในอัตรา 200 บาท แต่ผู้ร้องเสียเป็นค่าคำร้อง 40 บาท เท่านั้นจึงไม่ถึงต้อง ซึ่งศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นเรียกค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จากผู้ร้องเพิ่มเติม ผู้ร้องทราบคำสั่งแล้วไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระภายในระยะเวลาตามคำสั่งของศาลชั้นต้นตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ ถือได้ว่าผู้ร้องเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีอันเป็นการทิ้งฟ้องตามมาตรา 174(2) ประกอบมาตรา 246ศาลอุทธรณ์ต้องมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตาม มาตรา 132(1) แต่ศาลอุทธรณ์กลับวินิจฉัยว่าการที่ผู้ร้องไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระเพิ่มเติมจึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมายและพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ร้องเช่นนี้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7857/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งทิ้งอุทธรณ์: ศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งเอกสาร แต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม อำนาจสั่งทิ้งอุทธรณ์เป็นของศาลอุทธรณ์
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้แล้วมีคำสั่งให้โจทก์คัดสำเนาทะเบียนบ้านมาแสดงเพื่อจะสั่งเรื่องการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 2 ตามคำแถลงของโจทก์แต่โจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด อำนาจหน้าที่ที่จะสั่งว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์หรือไม่ จึงเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลอุทธรณ์ที่จะเป็นผู้สั่งไม่ใช่เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7812/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายแจ้งคำสั่งศาลไปยังทนายโจทก์ชอบด้วยกฎหมาย แม้จะไม่ได้ส่งถึงตัวโจทก์โดยตรง ไม่ถือว่าทิ้งฟ้อง
คำว่า"โจทก์"ในคดีแพ่งแม้ไม่มีบทวิเคราะห์ศัพท์ไว้โดยตรงก็ตามย่อมหมายความว่าผู้ยื่นคำร้องต่อศาลหรือนัยหนึ่งหมายความถึงผู้เป็นคู่ความตามบทวิเคราะห์ศัพท์ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา1(11)ซึ่งรวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้นๆตามกฎหมายหรือในฐานะทนายความด้วยฉะนั้นการส่งหมายหรือแจ้งคำสั่งของศาลไปยังตัวโจทก์หรือทนายโจทก์ก็ย่อมมีผลตามกฎหมายเช่นเดียวกันและไม่มีกฎหมายใดบังคับไว้ว่าต้องส่งหมายหรือแจ้งคำสั่งของศาลไปให้ตัวโจทก์เมื่อพนักงานเดินหมายได้นำหมายแจ้งคำสั่งดังกล่าวที่แจ้งถึงการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยไม่ได้และให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน7วันนับแต่วันทราบไปส่งให้แก่ทนายโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลที่โจทก์ได้แต่งตั้งและให้มีอำนาจดำเนินคดีแทนตามใบแต่งทนายและเป็นคู่ความตามมาตรา1(11)จึงถือว่าเป็นการส่งหมายให้โจทก์ทราบโดยชอบเมื่อโจทก์ไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดจึงถือว่าทิ้งอุทธรณ์ตามมาตรา174(2)ประกอบมาตรา246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6488/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกและการทิ้งฟ้อง: ศาลต้องแจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบชัดเจนก่อนจำหน่ายคดี
โจทก์ยื่นฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่ารับคำฟ้อง หมายเรียกและสำเนาให้จำเลยแบบคดีมโนสาเร่ ให้โจทก์นำส่งภายใน 7 วัน ถ้าส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 7 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องซึ่งเมื่อโจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทั้งสอง ในครั้งแรกไม่ได้ โจทก์ได้ยื่นคำแถลงภายในกำหนด ขอให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองอีกครั้งหนึ่งอันเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวแล้ว ส่วนในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองครั้งที่สองนั้นศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดในกรณีที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองไม่ได้ ทั้งไม่ได้สั่งให้โจทก์นำส่ง และเมื่อศาลแขวงตลิ่งชันมีหนังสือแจ้งให้ศาลชั้นต้นทราบว่าได้นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้จำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2537 แต่ส่งไม่ได้ศาลชั้นต้นก็เพียงมีคำสั่งว่า "รอโจทก์แถลง" ทั้งเมื่อพนักงานเดินหมายของศาลชั้นต้นรายงานว่าส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องในครั้งที่สองให้แก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้เมื่อวันที่6 กุมภาพันธ์ 2537 ศาลชั้นต้นก็เพียงมีคำสั่งเช่นเดิมว่า"รอโจทก์แถลง" โดยศาลชั้นต้นมิได้ส่งคำสั่งที่สั่งในรายงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวทั้งสองฉบับให้โจทก์ทราบ ดังนั้นแม้โจทก์มิได้แถลงว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปจนกระทั่งเจ้าหน้าที่ของศาลชั้นต้นรายงานเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2537 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากวันที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 1และที่ 2 ไม่ได้ ถึง 25 วัน และ 32 วัน ตามลำดับแล้วก็ตามก็ไม่เป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5372/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ถือเป็นการทิ้งฟ้อง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา234และมาตรา236ไม่ได้ห้ามมิให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งสำเนาคำร้องอุทธรณ์คำสั่งแก่อีกฝ่ายศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจที่จะสั่งให้โจทก์นำส่งสำเนาคำร้องอุทธรณ์คำสั่งให้อีกฝ่ายได้เพื่อให้อีกฝ่ายได้ทราบถึงข้ออุทธรณ์ซึ่งหากมีข้อคัดค้านอย่างใดก็จะได้แก้อุทธรณ์เพื่อประกอบการพิจารณาของศาลเมื่อโจทก์ทราบคำสั่งให้โจทก์นำส่งสำเนาคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์แก่จำเลยโดยชอบแล้วแต่โจทก์ไม่ปฎิบัติตามกรณีต้องด้วยมาตรา134(2)ถือได้ว่าเป็นการทิ้งฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5372/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลส่งสำเนาคำร้องอุทธรณ์ ถือเป็นการทิ้งฟ้องตามมาตรา 174(2)
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 และมาตรา 236 ไม่ได้ห้ามมิให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งสำเนาคำร้องอุทธรณ์คำสั่งแก่อีกฝ่าย ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจที่จะสั่งให้โจทก์นำส่งสำเนาคำร้องอุทธรณ์คำสั่งให้อีกฝ่ายได้เพื่อให้อีกฝ่ายได้ทราบถึงข้ออุทธรณ์ซึ่งหากมีข้อคัดค้านอย่างใดก็จะได้แก้อุทธรณ์เพื่อประกอบการพิจารณาของศาลเมื่อโจทก์ได้ทราบคำสั่งให้โจทก์นำส่งสำเนาคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์แก่จำเลยโดยชอบแล้วแต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม กรณีต้องด้วยมาตรา 174(2) ถือได้ว่าเป็นการทิ้งฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3744/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียค่าขึ้นศาลใหม่ในคดีมีทุนทรัพย์ และผลของการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล การทิ้งฟ้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ซึ่งเสียค่าขึ้นศาลมาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์เสียค่าขึ้นศาลใหม่อย่างคดีมีทุนทรัพย์ภายใน15วันโจทก์อุทธรณ์คำสั่งเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาศาลฎีกามีคำสั่งว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ให้ยกคำร้องของโจทก์ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์และให้โจทก์นำเงินค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องมาวางศาลภายใน15วันเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นกำหนดเวลาใหม่ให้โจทก์นำเงินค่าขึ้นศาลมาชำระคำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นนี้มิใช่คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีไม่ต้องด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา144 ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลใหม่ตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องภายใน15วันโจทก์กลับแถลงขออนุญาตไม่เสียค่าขึ้นศาลก่อนโดยอ้างว่าจะอุทธรณ์ฎีกาต่อไปในภายหลังซึ่งศาลชั้นต้นไม่อนุญาตจนเมื่อล่วงพ้นระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดแล้วถือได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2) คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเติมเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาแม้โจทก์จะเป็นว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องอย่างไรโจทก์กระทำได้แต่เพียงโต้แย้งคำสั่งนั้นเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาในโอกาสต่อไปเท่านั้นการที่โจทก์มีข้อโต้แย้งหรือเห็นว่าคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นไม่ถูกต้องไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่ไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องขัดทรัพย์บังคับคดี: สถานะคู่ความ, การขาดนัดยื่นคำให้การ, และการจำหน่ายคดี
โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานฉ้อโกงนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยขายทอดตลาดเพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาขั้นร้องขัดทรัพย์ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา288วรรคสองให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดคดีเหมือนอย่างคดีธรรมดาโดยโจทก์ร่วมมีฐานะเป็นจำเลยโจทก์หาใช่ผู้ร้องขอให้บังคับคดีจึงไม่มีฐานะเป็นจำเลยดังนั้นแม้ศาลจะมีคำสั่งในคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ให้โจทก์ให้การแก้คดีแต่เมื่อโจทก์ร่วมซึ่งมีฐานะเป็นจำเลยได้ให้การแก้คดีแล้วจึงมิใช่กรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา198วรรคแรกผู้ร้องในฐานะโจทก์ไม่จำต้องยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา198วรรคสองหาได้ไม่ การที่ศาลมีคำสั่งในคำให้การโจทก์ร่วมแต่เพียงว่า"รอฟังโจทก์จำเลยก่อน"เท่านั้นมิได้กำหนดให้ผู้ร้องดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรและได้ส่งคำสั่งโดยชอบจะถือว่าผู้ร้องทิ้งฟ้องและจำหน่ายคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา132หาได้ไม่
of 26