พบผลลัพธ์ทั้งหมด 253 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 589/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายละเมิด, การทิ้งฟ้อง, และอำนาจฟ้องของผู้รับมอบอำนาจ
จำเลยกล่าวในฟ้องแย้งว่าการที่โจทก์ฟ้องคดีเป็นการกลั่นแกล้งจำเลยอันเป็นละเมิดทำให้จำเลยเสียหายในทางการค้าและชื่อเสียงขอให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายเดือนละ5,000บาทนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปนั้นเป็นการฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดโดยตรงมิใช่เพียงต่อสู้ว่าจำเลยอยู่ในที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ น. ไม่ได้อาศัยสิทธิโจทก์เท่านั้นการที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยคำนวณตั้งทุนทรัพย์และชำระค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์โดยกำหนดเวลาให้จำเลยปฏิบัติจึงชอบแล้วเมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นการทิ้งฟ้องแย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2)ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการที่จำเลยไม่คำนวณตั้งทุนทรัพย์และชำระค่าขึ้นศาลภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นการทิ้งฟ้องแย้งนั้นจึงชอบแล้วไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแต่อย่างใดศาลอุทธรณ์ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์หรือไม่และไม่ต้องกำหนดเวลาให้จำเลยชำระค่าขึ้นศาลอีก หนังสือมอบอำนาจมีลักษณะเป็นหนังสือมอบอำนาจทั่วไปผู้มอบอำนาจอาจมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจกระทำการหลายสิ่งหลายอย่างแทนตนได้และในหนังสือมอบอำนาจก็ระบุว่าให้ผู้รับมอบอำนาจมีสิทธิฟ้องคดีแพ่งคดีล้มละลายเพื่อป้องกันและรักษาทรัพย์สินผลประโยชน์หรือสิทธิต่างๆของธนาคารโจทก์ได้เมื่อการฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายเป็นการฟ้องคดีแพ่งจึงถือได้ว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์มีสิทธิฟ้องคดีนี้ได้ เดิมศาลพิพากษาขับไล่ ว. และ ศ. คดีถึงที่สุดชั้นบังคับคดีจำเลยได้ยื่นคำร้องในคดีดังกล่าวว่าไม่ใช่บริวารของ ว. และ ศ. ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยเป็นบริวารให้ขับไล่จำเลยคดียังไม่ถึงที่สุดในคดีดังกล่าวจำเลยมิได้เป็นคู่ความดังนั้นคู่ความในคดีนี้กับคดีดังกล่าวจึงไม่ใช่คู่ความรายเดียวกันอันจะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148และ144ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีดังกล่าว จำเลยให้การเพียงว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมโดยไม่ได้แสดงเหตุแห่งการปฏิเสธจึงไม่มีประเด็นในเรื่องนี้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้และศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบและเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง ก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โจทก์ได้ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าได้ขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้บุคคลภายนอกแล้วก็ไม่ลบล้างสิทธิต่างๆของโจทก์ที่มีอยู่เดิมที่ได้ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายไว้ก่อนแล้วโจทก์อาจเสียสิทธิไปเฉพาะเรื่องค่าเสียหายหลังจากการขายที่ดินและตึกแถวพิพาทไปแล้วเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 589/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหาย, การทิ้งฟ้อง, ข้อหาฟ้องซ้ำ, และอำนาจฟ้องของผู้รับมอบอำนาจ
จำเลยกล่าวในฟ้องแย้งว่า การที่โจทก์ฟ้องคดีเป็นการกลั่นแกล้งจำเลยอันเป็นละเมิด ทำให้จำเลยเสียหายในทางการค้าและชื่อเสียงขอให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายเดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปนั้นเป็นการฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดโดยตรง มิใช่เพียงต่อสู้ว่าจำเลยอยู่ในที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ น. ไม่ได้อาศัยสิทธิโจทก์เท่านั้นการที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยคำนวณตั้งทุนทรัพย์และชำระค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์โดยกำหนดเวลาให้จำเลยปฏิบัติจึงชอบแล้ว เมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว จึงเป็นการทิ้งฟ้องแย้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การที่จำเลยไม่คำนวณตั้งทุนทรัพย์และชำระค่าขึ้นศาลภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด เป็นการทิ้งฟ้องแย้งนั้นจึงชอบแล้ว ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแต่อย่างใด ศาลอุทธรณ์ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์หรือไม่ และไม่ต้องกำหนดเวลาให้จำเลยชำระค่าขึ้นศาลอีก
หนังสือมอบอำนาจมีลักษณะเป็นหนังสือมอบอำนาจทั่วไปผู้มอบอำนาจอาจมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจกระทำการหลายสิ่งหลายอย่างแทนตนได้ และในหนังสือมอบอำนาจก็ระบุว่า ให้ผู้รับมอบอำนาจมีสิทธิฟ้องคดีแพ่งคดีล้มละลาย... เพื่อป้องกันและรักษาทรัพย์สินผลประโยชน์หรือสิทธิต่าง ๆ ของธนาคารโจทก์ได้ เมื่อการฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายเป็นการฟ้องคดีแพ่งจึงถือได้ว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์มีสิทธิฟ้องคดีนี้ได้
เดิมศาลพิพากษาขับไล่ ว. และ ศ. คดีถึงที่สุด ชั้นบังคับคดีจำเลยได้ยื่นคำร้องในคดีดังกล่าวว่า ไม่ใช่บริวารของ ว. และ ศ. ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยเป็นบริวารให้ขับไล่จำเลย คดียังไม่ถึงที่สุด ในคดีดังกล่าวจำเลยมิได้เป็นคู่ความ ดังนั้นคู่ความในคดีนี้กับคดีดังกล่าวจึงไม่ใช่คู่ความรายเดียวกันอันจะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 และ 144 ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีดังกล่าว
จำเลยให้การเพียงว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมโดยไม่ได้แสดงเหตุแห่งการปฏิเสธ จึงไม่มีประเด็นในเรื่องนี้ ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ และศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ และเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคหนึ่ง
ก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โจทก์ได้ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าได้ขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้บุคคลภายนอกแล้ว ก็ไม่ลบล้างสิทธิต่าง ๆ ของโจทก์ที่มีอยู่เดิมที่ได้ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายไว้ก่อนแล้วโจทก์อาจเสียสิทธิไปเฉพาะเรื่องค่าเสียหายหลังจากการขายที่ดินและตึกแถวพิพาทไปแล้วเท่านั้น
หนังสือมอบอำนาจมีลักษณะเป็นหนังสือมอบอำนาจทั่วไปผู้มอบอำนาจอาจมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจกระทำการหลายสิ่งหลายอย่างแทนตนได้ และในหนังสือมอบอำนาจก็ระบุว่า ให้ผู้รับมอบอำนาจมีสิทธิฟ้องคดีแพ่งคดีล้มละลาย... เพื่อป้องกันและรักษาทรัพย์สินผลประโยชน์หรือสิทธิต่าง ๆ ของธนาคารโจทก์ได้ เมื่อการฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายเป็นการฟ้องคดีแพ่งจึงถือได้ว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์มีสิทธิฟ้องคดีนี้ได้
เดิมศาลพิพากษาขับไล่ ว. และ ศ. คดีถึงที่สุด ชั้นบังคับคดีจำเลยได้ยื่นคำร้องในคดีดังกล่าวว่า ไม่ใช่บริวารของ ว. และ ศ. ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยเป็นบริวารให้ขับไล่จำเลย คดียังไม่ถึงที่สุด ในคดีดังกล่าวจำเลยมิได้เป็นคู่ความ ดังนั้นคู่ความในคดีนี้กับคดีดังกล่าวจึงไม่ใช่คู่ความรายเดียวกันอันจะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 และ 144 ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีดังกล่าว
จำเลยให้การเพียงว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมโดยไม่ได้แสดงเหตุแห่งการปฏิเสธ จึงไม่มีประเด็นในเรื่องนี้ ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ และศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ และเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคหนึ่ง
ก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โจทก์ได้ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าได้ขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้บุคคลภายนอกแล้ว ก็ไม่ลบล้างสิทธิต่าง ๆ ของโจทก์ที่มีอยู่เดิมที่ได้ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายไว้ก่อนแล้วโจทก์อาจเสียสิทธิไปเฉพาะเรื่องค่าเสียหายหลังจากการขายที่ดินและตึกแถวพิพาทไปแล้วเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7247/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมต้องฟ้องลูกหนี้ร่วมด้วย หากทิ้งฟ้องหรือจำหน่ายคดี ศาลไม่มีอำนาจพิพากษา
การฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237 จะต้องฟ้องลูกหนี้เข้ามาในคดีด้วย โจทก์ได้ฟ้องลูกหนี้คือจำเลยที่ 1 แล้ว แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มรณะก่อนฟ้องศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์แถลง โจทก์เพิกเฉย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176 ถือได้ว่าโจทก์มิได้ฟ้องลูกหนี้คือจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีเลย ดังนั้นศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้เพิกถอนการโอนโดยโจทก์มิได้ฟ้องลูกหนี้คือจำเลยที่ 1หรือทายาทผู้รับมรดกของจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6866/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่ตกตามฟ้องของโจทก์ทิ้ง แม้ฟ้องโจทก์เป็นเหตุลบล้างกระบวนการ แต่ไม่กระทบสิทธิฟ้องแย้งของจำเลย
ตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลย จำเลยมีสิทธิฟ้องโจทก์ได้อยู่แล้ว แม้โจทก์จะไม่ฟ้องจำเลย การที่จำเลยฟ้องแย้งมาในคำให้การก็เพื่อความสะดวกในการดำเนินคดีของจำเลยและการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลมิใช่เพิ่งจะเกิดมีสิทธิที่จะฟ้องโจทก์ขึ้นมาภายหลังจากที่โจทก์ฟ้องจำเลย การที่โจทก์ไม่นำค่าขึ้นศาลมาเสียเพิ่มภายในกำหนดตามคำสั่งศาลชั้นต้น และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง การทิ้งคำฟ้องของโจทก์แม้จะมีผลลบล้างแห่งการยื่นคำฟ้องรวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้อง แต่ก็มีผลเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องของโจทก์เท่านั้น หามีผลไปถึงฟ้องแย้งของจำเลยไม่ เพราะเป็นคนละส่วนกัน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่ตกไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6866/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเป็นสิทธิของผู้ถูกฟ้อง สั่งทิ้งฟ้องเฉพาะฟ้องโจทก์ ไม่กระทบฟ้องแย้งจำเลย
ตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลย จำเลยมีสิทธิฟ้องโจทก์ได้อยู่แล้ว แม้โจทก์จะไม่ฟ้องจำเลย การที่จำเลยฟ้องแย้งมาในคำให้การก็เพื่อความสะดวกในการดำเนินคดีของจำเลยและการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลมิใช่เพิ่งจะเกิดมีสิทธิที่จะฟ้องโจทก์ขึ้นมาภายหลังจากที่โจทก์ฟ้องจำเลย การที่โจทก์ไม่นำค่าขึ้นศาลมาเสียเพิ่มภายในกำหนดตามคำสั่งศาลชั้นต้นและศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง การทิ้งคำฟ้องของโจทก์จะมีผลลบล้างแห่งการยื่นคำฟ้องรวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้อง แต่ก็มีผลเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องของโจทก์เท่านั้น หามีผลไปถึงฟ้องแย้งของจำเลยไม่ เพราะเป็นคนละส่วนกัน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่ตกไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2028/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดและสำเนาฟ้องอุทธรณ์ หากส่งไม่ได้ ศาลต้องแจ้งโจทก์เพื่อให้ดำเนินการต่อ การไม่แจ้งถือไม่ได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง
วันที่โจทก์ยื่นฟ้องอุทธรณ์ ในวันที่ 30 ธันวาคม 2534ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า รับเป็นอุทธรณ์ของโจทก์ สำเนาให้จำเลยแก้ใน 15 วัน โดยให้โจทก์นำส่งใน 7 วัน หากวันส่งไม่ได้ให้แถลงใน 7 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ หากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งข้างต้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ ต่อมาวันที่ 3 มกราคม 2535 โจทก์ได้ยื่นคำแถลงว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลแพ่งธนบุรี ขอให้ศาลชั้นต้นมีหนังสือไปยังศาลแพ่งธนบุรีเพื่อให้ดำเนินการส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์ ให้จำเลยต่อไป ศาลชั้นต้นจัดการให้ตามคำแถลง ต่อมา วันที่ 23 มกราคม 2535 ศาลแพ่งธนบุรีได้มีหนังสือแจ้งให้ศาลชั้นต้นทราบว่าได้จัดการส่งหมายนัดและสำเนาฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลยแล้ว แต่ส่งไม่ได้ ศาลชั้นต้นรับทราบแล้วมีคำสั่งในวันที่ 28 มกราคม 2535 อีกว่า ให้โจทก์แถลงใน 7 วัน คำสั่ง ของศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้นมีความหมายว่าโจทก์ต้องทราบถึงผลของการส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ด้วยว่าส่งให้จำเลยไม่ได้ แต่ปรากฏว่า ศาลชั้นต้นยังไม่ได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าเจ้าพนักงานเดินหมาย ของศาลแพ่งธนบุรีส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลยไม่ได้ ฉะนั้นโจทก์จึงไม่มีโอกาสทราบถึงผลของการส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ ให้จำเลย ดังนั้นแม้โจทก์มิได้แถลงให้ศาลชั้นต้นทราบตามเวลา ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่ดำเนินคดีภายในเวลา ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด อันจะเป็นการทิ้งอุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5589/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเนื่องจากทิ้งฟ้อง การเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี และอำนาจศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกเมื่อวันที่ 11 เมษายน2531 ก่อนวันนัดโจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 7 เมษายน 2531ขอแก้ไขคำฟ้อง ศาลมีคำสั่งอนุญาต และสั่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องต่อไปว่า "สำเนาให้จำเลย ส่งธรรมดาไม่ได้ ให้ปิด"ขณะเดียวกันจำเลยได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไป วันที่ 15 มิถุนายน 2531 ต่อมาเจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่า โจทก์ไม่นำส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 ว่า ถือว่า โจทก์ทิ้งฟ้อง ให้จำหน่ายคดี และเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ วันที่ 15 มิถุนายน 2531 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้จำหน่ายคดีของโจทก์อีกครั้งหนึ่งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดี เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม2531 เป็นกรณีการอ้างเหตุตามมาตรา 132(1)แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และเมื่อมีคำสั่งจำหน่ายคดีแล้ว มีผลทำให้คดีเสร็จไปจากศาลชั้นต้นดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นกลับดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาจนมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา และมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ซ้ำอีก จึงเป็นการไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่มีผลใช้บังคับคงเหลือเพียงคำสั่งจำหน่ายคดีเมื่อวันที่19 พฤษภาคม 2531 เมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 ไม่ชอบโจทก์ย่อมอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเป็นการพิจารณาผิดระเบียบศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจสั่งให้เพิกถอนได้ตามมาตรา 27 คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่เป็นผลทำให้จำเลยเสียประโยชน์ จำเลยย่อมมีสิทธิฎีกาได้ตามหลักทั่วไป และคำพิพากษา ของศาลอุทธรณ์ในกรณีที่ให้เพิกถอนการพิจารณาของศาลชั้นต้น ที่ผิดระเบียบให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาพิพากษาใหม่ ตามรูปคดีหาได้มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นที่สุดไม่ จำเลย จึงฎีกาในข้อนี้ได้ ตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องขอแก้จากเดิมที่ขอเรียกค่าเสียหาย นับแต่วันทำละเมิดเป็นนับแต่วันที่โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้แก่ผู้เอาประกันภัย เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ ประสงค์จะแก้ไขให้ถูกต้องตามสิทธิของโจทก์ในฐานะที่โจทก์ เป็นผู้รับประกันภัยที่มีสิทธิเรียกเอาเงินที่ตนได้ใช้ ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันนับแต่วันที่ใช้เงินไปมิใช่นับแต่วันที่มีการละเมิด ทั้งการแก้ไขดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่โจทก์คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเช่นนี้จึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180,181 คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยก็เป็นเพียงเพื่อให้รับทราบเท่านั้น และเมื่อมิใช่คำฟ้องตั้งต้นคดีซึ่งโจทก์มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามมาตรา 174(1) แล้ว บทบัญญัตินี้ก็จะนำมาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์อันจะถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 134/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาฎีกา
เสมียนทนายจำเลยลงชื่อรับทราบข้อความที่ประทับไว้ในฎีกาว่าให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 11 ธันวาคม 2534 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบแล้ว ต่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาและให้จำเลยนำส่งสำเนาฎีกาแก่โจทก์ภายใน 7 วัน ดังนี้ ถือว่าจำเลยทราบคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้นำส่งสำเนาฎีกาภายใน 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2534 แล้ว เมื่อจำเลยมิได้นำส่งสำเนาฎีกาในกำหนด จึงเป็นการทิ้งฟ้องฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2925/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งคดี: โจทก์ไม่จัดการส่งสำเนาฎีกาและเสียค่าธรรมเนียมเป็นเวลานาน ทำให้ศาลจำหน่ายคดี
ฎีกาเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1(3) ซึ่งโจทก์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาฎีกา ให้จำเลย ตามมาตรา 70 วรรคสอง ปรากฏว่านับแต่ วันโจทก์ไปยื่นฎีกาไว้แล้ว โจทก์มิได้ไปจัดการนำส่งสำเนาฎีกา และเสียค่าธรรมเนียมในการส่งตามกฎหมาย คงปล่อยทิ้งไว้ จนถึงวันที่เจ้าพนักงานศาลได้รายงานให้ศาลชั้นต้น ทราบเป็นเวลา 1 ปี 8 เดือนเศษ อันเป็นเวลานานเกินสมควร ถือได้ว่าโจทก์ทิ้งฎีกาตามมาตรา 174(2)ประกอบด้วยมาตรา 246,247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2449/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาฎีกา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันที่จำเลยยื่นฎีกานั้นว่าให้จำเลยนำส่งสำเนาฎีกาให้แก่โจทก์ภายใน 7 วันมิฉะนั้นถือว่าทิ้งฎีกา ย่อมถือได้ว่าจำเลยทราบคำสั่ง ของศาลชั้นต้นแล้วตามข้อความท้ายฎีกาที่ว่า รอฟังคำสั่งอยู่ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว เมื่อจำเลยไม่ไปวางเงินค่าพาหนะและค่าป่วยการในการส่งสำเนาฎีกาอันเป็นการไม่นำส่งสำเนาฎีกาตามคำสั่งของศาลชั้นต้นย่อมเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการทิ้งฟ้องฎีกา