พบผลลัพธ์ทั้งหมด 246 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6907/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: การยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามสัญญาที่ถูกต้อง แม้หลักฐานไม่ครบถ้วน
ศาลอุทธรณ์ภาค1ฟังข้อเท็จจริงว่าแม้ชั้นยื่นคำขอรับชำระหนี้เจ้าหนี้ได้แนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่5ตุลาคม2521ซึ่งเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ครบถ้วนแล้วเป็นหลักฐานประกอบหนี้แต่ความจริงเมื่อพิจารณาจากบัญชีแสดงรายละเอียดแห่งหนี้สินค้านหลังคำขอรับชำระหนี้ในช่องหลักฐานประกอบหนี้แล้วมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้คือมูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่28มีนาคม2527หาใช่มูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่5ตุลาคม2521ที่มีการชำระหนี้ครบถ้วนแล้วไม่น่าเชื่อว่าเจ้าหนี้แนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีผิดพลาดถือว่าเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่28มีนาคม2527ภายในกำหนดสองเดือนเจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่28มีนาคม2527เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ฎีกาว่าหนี้ที่จะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้เจ้าหนี้ต้องนำมูลหนี้นั้นไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดสองเดือนการที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้โดยแนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่5ตุลาคม2521ซึ่งได้มีการชำระหนี้ครบถ้วนแล้วเป็นหลักฐานประกอบหนี้และได้นำมูลหนี้และได้นำมูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกิดบัญชีฉบับลงวันที่28มีนาคม2527ซึ่งไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดสองเดือนมาให้การสอบสวนทำให้เจ้าหนี้อื่นไม่สามารถตรวจสอบหลักฐานประกอบหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่28มีนาคม2527ได้จึงขัดต่อมาตรา94และมาตรา91แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483เป็นมูลหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ฎีกาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค1ในปัญหาที่ว่าตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้เป็นการขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่5ตุลาคม2521มิใช่ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่28มีนาคม2527และเจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดอันจะเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค1ที่ฟังข้อเท็จจริงว่าการที่เจ้าหนี้แนบสำเนาสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่5ตุลาคม2521มาท้ายคำขอรับชำระหนี้เป็นการผิดพลาดความจริงแล้วมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้คือมูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่28มีนาคม2527และถือว่าเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่28มีนาคม2527ภายในกำหนดสองเดือนแล้วซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153หากแต่เป็นฎีกาข้อกฎหมายในปัญหาที่ว่าการที่ศาลอุทธรณ์ภาค1พิพากษาให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่28มีนาคม2527นั้นเป็นการชอบด้วยมาตรา91และมาตรา94แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483หรือไม่เมื่อคดีนี้เป็นคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายการวินิจฉัยปัญหาเช่นว่านี้ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค1ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำเนาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา247ประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153 ศาลอุทธรณ์ภาค1วินิจฉัยพยานหลักฐานของเจ้าหนี้แล้วฟังข้อเท็จจริงว่าการที่เจ้าหนี้แนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่5ตุลาคม2521เป็นหลักฐานประกอบหนี้มาท้ายคำขอรับชำระหนี้เป็นการผิดพลาดความจริงแล้วมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้คือมูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่28มีนาคม2527ซึ่งถือว่าเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับดังกล่าวภายในกำหนดสองเดือนแล้วดังนั้นเมื่อลูกหนี้ยังเป็นหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับดังกล่าวอยู่แก่เจ้าหนี้ทั้งไม่ปรากฎว่าเป็นมูลหนี้ที่ฝ่าฝืนข้อต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา94แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ ตามสำนวนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้นอกจากเจ้าหนี้ได้แนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่5ตุลาคม2521เป็นหลักฐานประกอบหนี้แล้วเจ้าหนี้ยังได้แนบสำเนารายการบัญชีเดินสะพัดเป็นหลักฐานประกอบหนี้และเป็นรายการบัญชีเดินสะพัดที่ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่28มีนาคม2527มาด้วยแล้วเช่นนี้ย่อมนับเป็นหลักฐานประกอบหนี้เพียงพอที่เจ้าหนี้อื่นสามารถตรวจสอบได้หาได้เป็นการฝ่าฝืนไม่ชอบด้วยมาตรา91แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483แต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6907/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: การพิจารณาหลักฐานประกอบหนี้และการยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนด
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังข้อเท็จจริงว่า แม้ชั้นยื่นคำขอรับชำระหนี้เจ้าหนี้ได้แนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 5 ตุลาคม 2521 ซึ่งเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว เป็นหลักฐานประกอบหนี้ แต่ความจริงเมื่อพิจารณาจากบัญชีแสดงรายละเอียดแห่งหนี้สินด้านหลังคำขอรับชำระหนี้ในช่องหลักฐานประกอบหนี้แล้วมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้คือมูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่28 มีนาคม 2527 หาใช่มูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 5 ตุลาคม2521 ที่มีการชำระหนี้ครบถ้วนแล้วไม่ น่าเชื่อว่าเจ้าหนี้แนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีผิดพลาด ถือว่าเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 ภายในกำหนดสองเดือน เจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ฎีกาว่า หนี้ที่จะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ เจ้าหนี้ต้องนำมูลหนี้นั้นไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดสองเดือน การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้โดยแนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 5 ตุลาคม 2521 ซึ่งได้มีการชำระหนี้ครบถ้วนแล้วเป็นหลักฐานประกอบหนี้ และได้นำมูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 ซึ่งไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดสองเดือนมาให้การสอบสวน ทำให้เจ้าหนี้อื่นไม่สามารถตรวจสอบหลักฐานประกอบหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 ได้ จึงขัดต่อมาตรา 94และมาตรา 91 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เป็นมูลหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ ฎีกาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในปัญหาที่ว่า ตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้เป็นการขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 5 ตุลาคม 2521 มิใช่ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28มีนาคม 2527 และเจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนด อันจะเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่ฟังข้อเท็จจริงว่าการที่เจ้าหนี้แนบสำเนาสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 5 ตุลาคม2521 มาท้ายคำขอรับชำระหนี้เป็นการผิดพลาดความจริงแล้วมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้คือมูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 และถือว่าเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28มีนาคม 2527 ภายในกำหนดสองเดือนแล้วซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ประกอบกับ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153หากแต่เป็นฎีกาข้อกฎหมายในปัญหาที่ว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 นั้นเป็นการชอบด้วยมาตรา 91 และมาตรา 94 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483หรือไม่ เมื่อคดีนี้เป็นคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมาย การวินิจฉัยปัญหาเช่นว่านี้ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 238 และมาตรา 247 ประกอบกับ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยพยานหลักฐานของเจ้าหนี้แล้วฟังข้อเท็จจริงว่า การที่เจ้าหนี้แนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 5ตุลาคม 2521 เป็นหลักฐานประกอบหนี้มาท้ายคำขอรับชำระหนี้ เป็นการผิดพลาดความจริงแล้วมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้คือมูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 ซึ่งถือว่าเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับดังกล่าวภายในกำหนดสองเดือนแล้ว ดังนั้นเมื่อลูกหนี้ยังเป็นหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับดังกล่าวอยู่แก่เจ้าหนี้ ทั้งไม่ปรากฏว่าเป็นมูลหนี้ที่ฝ่าฝืนข้อต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้
ตามสำนวนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้นอกจากเจ้าหนี้ได้แนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 5 ตุลาคม 2521 เป็นหลักฐานประกอบหนี้แล้ว เจ้าหนี้ยังได้แนบสำเนารายการบัญชีเดินสะพัดเป็นหลักฐานประกอบหนี้และเป็นรายการบัญชีเดินสะพัดที่ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 มาด้วยแล้ว เช่นนี้ย่อมนับเป็นหลักฐานประกอบหนี้เพียงพอที่เจ้าหนี้อื่นสามารถตรวจสอบได้ หาได้เป็นการฝ่าฝืนไม่ชอบด้วยมาตรา91 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พะ.ศ.2483 แต่อย่างใดไม่
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยพยานหลักฐานของเจ้าหนี้แล้วฟังข้อเท็จจริงว่า การที่เจ้าหนี้แนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 5ตุลาคม 2521 เป็นหลักฐานประกอบหนี้มาท้ายคำขอรับชำระหนี้ เป็นการผิดพลาดความจริงแล้วมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้คือมูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 ซึ่งถือว่าเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับดังกล่าวภายในกำหนดสองเดือนแล้ว ดังนั้นเมื่อลูกหนี้ยังเป็นหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับดังกล่าวอยู่แก่เจ้าหนี้ ทั้งไม่ปรากฏว่าเป็นมูลหนี้ที่ฝ่าฝืนข้อต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้
ตามสำนวนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้นอกจากเจ้าหนี้ได้แนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 5 ตุลาคม 2521 เป็นหลักฐานประกอบหนี้แล้ว เจ้าหนี้ยังได้แนบสำเนารายการบัญชีเดินสะพัดเป็นหลักฐานประกอบหนี้และเป็นรายการบัญชีเดินสะพัดที่ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 มาด้วยแล้ว เช่นนี้ย่อมนับเป็นหลักฐานประกอบหนี้เพียงพอที่เจ้าหนี้อื่นสามารถตรวจสอบได้ หาได้เป็นการฝ่าฝืนไม่ชอบด้วยมาตรา91 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พะ.ศ.2483 แต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6848/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันลูกหนี้ร่วมชำระหนี้จริง ไม่เป็นหนี้สมยอม
ลูกหนี้และบริษัท ส.ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับเจ้าหนี้โดยยอมรับผิดร่วมกันชำระเงินแก่เจ้าหนี้ ไม่ว่าลูกหนี้จะต้องรับผิดตามเช็คมูลหนี้เดิมเป็นส่วนตัวหรือไม่ก็ตาม การที่ลูกหนี้ยินยอมระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ดังกล่าวรวมทั้งคดีอาญาข้อหาความผิดเกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คซึ่งลูกหนี้และบริษัทถูกเจ้าหนี้ฟ้องอยู่ทั้งเพื่อประสงค์ให้เจ้าหนี้ลดยอดหนี้ให้แก่ลูกหนี้และบริษัท ส. โดยยอมตนเข้าผูกพันทำสัญญาประนีประนอมยอมความชำระเงินแก่เจ้าหนี้ร่วมกับบริษัท ส.เช่นนี้ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 ซึ่งหมายความว่าลูกหนี้กับบริษัท ส.มีหน้าที่ที่จะต้องร่วมกันชำระเงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความแก่เจ้าหนี้ ถือว่าลูกหนี้มีความผูกพันที่ต้องชำระหนี้ที่มีอยู่จริงแก่เจ้าหนี้ หาใช่เป็นหนี้สมยอมโดยปราศจากมูลหนี้ซึ่งต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94ไม่ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6848/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันลูกหนี้ร่วม แม้ไม่มีหนี้ส่วนตัว เจ้าหนี้มีสิทธิรับชำระหนี้จากทรัพย์สินลูกหนี้
ลูกหนี้และบริษัทส.ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับเจ้าหนี้โดยยอมรับผิดร่วมกันชำระเงินแก่เจ้าหนี้ไม่ว่าลูกหนี้จะต้องรับผิดตามเช็คมูลหนี้เดิมเป็นส่วนตัวหรือไม่ก็ตามการที่ลูกหนี้ยินยอมระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ดังกล่าวรวมทั้งคดีอาญาข้อหาความผิดเกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คซึ่งลูกหนี้และบริษัทถูกเจ้าหนี้ฟ้องอยู่ทั้งเพื่อประสงค์ให้เจ้าหนี้ลดยอดหนี้ให้แก่ลูกหนี้และบริษัทส.โดยยอมตนเข้าผูกพันทำสัญญาประนีประนอมยอมความชำระเงินแก่เจ้าหนี้ร่วมกับบริษัทส.เช่นนี้ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปและทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา852ซึ่งหมายความว่าลูกหนี้กับบริษัทส.มีหน้าที่ที่จะต้องร่วมกันชำระเงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความแก่เจ้าหนี้ถือว่าลูกหนี้มีความผูกพันที่ต้องชำระหนี้ที่มีอยู่จริงแก่เจ้าหนี้หาใช่เป็นหนี้สมยอมโดยปราศจากมูลหนี้ซึ่งต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา94ไม่เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6621/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: สิทธิเจ้าหนี้และการจัดการทรัพย์สินในคดีล้มละลาย
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดและขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยได้เงินจำนวน 2,100,000 บาทเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2534 ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2533 การขายทอดตลาดดังกล่าวจึงเป็นการบังคับคดีในระหว่างที่จำเลยถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดซึ่งอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยเพื่อจัดการแบ่งในระหว่างเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22, 124 เมื่อความปรากฏเช่นนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดดังกล่าวมาเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายได้ตามมาตรา 111 ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับเงินจากการขายทอดตลาดจึงมิใช่เป็นการรับชำระหนี้ไว้ในฐานะเป็นผู้แทนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
แม้โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลย แต่โจทก์จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยก็โดยยื่นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27, 91 และมาตรา 94 เท่านั้นเมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดโจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับคดีเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์อีกต่อไป ดังนั้นเมื่อเจ้าหนื้ที่ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้รับชำระหนี้โดยเต็มจำนวนหมดแล้ว เงินที่เหลืออยู่ย่อมค้องคืนให้แก่จำเลยในคดีล้มละลายต่อไปตามมาตรา 132
แม้โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลย แต่โจทก์จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยก็โดยยื่นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27, 91 และมาตรา 94 เท่านั้นเมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดโจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับคดีเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์อีกต่อไป ดังนั้นเมื่อเจ้าหนื้ที่ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้รับชำระหนี้โดยเต็มจำนวนหมดแล้ว เงินที่เหลืออยู่ย่อมค้องคืนให้แก่จำเลยในคดีล้มละลายต่อไปตามมาตรา 132
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานะลูกหนี้ตั๋วแลกเงิน: เจ้าหนี้ผู้รับรองมีสิทธิไล่เบี้ยหรือไม่
เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้จ่ายและได้รับรองตั๋วแลกเงินอันต้องผูกพันจ่ายเงินตามเนื้อความแห่งคำรับรองของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 937 ย่อมอยู่ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นอย่างเดียวกับลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงิน ลูกหนี้ไม่ได้อยู่ในฐานะที่มีความผูกพันอยู่แล้วก่อนเจ้าหนี้ตามมาตรา 967 วรรคสาม เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยบังคับเอาแก่ลูกหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองตั๋วเงิน: เจ้าหนี้ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้น สิทธิไล่เบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้จ่ายและได้รับรองตั๋วแลกเงินอันต้องผูกพันจ่ายเงินตามเนื้อความแห่งคำรับรองของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา937ย่อมอยู่ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นอย่างเดียวกับลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินลูกหนี้ไม่ได้อยู่ในฐานะที่มีความผูกพันอยู่แล้วก่อนเจ้าหนี้ตามมาตรา967วรรคสามเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยบังคับเอาแก่ลูกหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมรับผิดชำระหนี้ตามคำพิพากษา แม้มีการชำระหนี้บางส่วนโดยลูกหนี้อื่น
แม้หนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้ลูกหนี้ที่2ร่วมรับผิดกับลูกหนี้ที่1และจำเลยอื่นในต้นเงิน40,000,000บาทพร้อมดอกเบี้ยลูกหนี้ที่2จึงต้องผูกพันชำระหนี้ในส่วนที่ลูกหนี้ที่2จะต้องรับผิดจนกว่าจะชำระหนี้ส่วนที่ตนต้องรับผิดจนครบหรือจนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ทั้งหมดเสร็จสิ้นแล้วเมื่อเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากการบังคับจำนองและมีลูกหนี้ร่วมอื่นชำระหนี้ให้เจ้าหนี้จำนวน16,774,820บาทแต่ก็นำไปชำระหนี้ได้เพียงดอกเบี้ยส่วนหนึ่งของหนี้ที่ค้างชำระเท่านั้นจึงมีหนี้ที่ลูกหนี้ที่1ต้องชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยอยู่เป็นจำนวน76,321,642.55บาทส่วนที่ลูกหนี้ที่2ยังไม่ได้ชำระให้แก่เจ้าหนี้ในส่วนที่ลูกหนี้ที่2ต้องรับผิดเลยเมื่อเจ้าหนี้ยังมิได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้นแล้วลูกหนี้ที่2ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมจึงต้องรับผิดชำระหนี้ในส่วนที่ตนต้องรับผิดตามคำพิพากษาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมรับผิดชอบหนี้ตามคำพิพากษาจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น แม้มีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว
แม้หนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ให้ลูกหนี้ที่ 2 ร่วมรับผิดกับลูกหนี้ที่ 1 และจำเลยอื่นในต้นเงิน 40,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยลูกหนี้ที่ 2 จึงต้องผูกพันชำระหนี้ในส่วนที่ลูกหนี้ที่ 2 จะต้องรับผิดจนกว่าจะชำระหนี้ส่วนที่ตนต้องรับผิดจนครบหรือจนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ทั้งหมดเสร็จสิ้นแล้วเมื่อเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากการบังคับจำนอง และมีลูกหนี้ร่วมอื่นชำระหนี้ให้เจ้าหนี้จำนวน 16,774,820 บาท แต่ก็นำไปชำระหนี้ได้เพียงดอกเบี้ยส่วนหนึ่งของหนี้ที่ค้างชำระเท่านั้น จึงมีหนี้ที่ลูกหนี้ที่ 1 ต้องชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยอยู่เป็นจำนวน 76,321,642.55 บาท ส่วนที่ลูกหนี้ที่ 2 ยังไม่ได้ชำระให้แก่เจ้าหนี้ในส่วนที่ลูกหนี้ที่ 2 ต้องรับผิดเลย เมื่อเจ้าหนี้ยังมิได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้นแล้วลูกหนี้ที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมจึงต้องรับผิดชำระหนี้ในส่วนที่ตนต้องรับผิดตามคำพิพากษาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 524/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าปรับจากสัญญาซื้อขาย: การบอกเลิกสัญญาส่งผลให้สิทธิเรียกร้องค่าปรับสิ้นสุดลง
สัญญาซื้อขายข้อ10มีความว่าเมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญานี้แล้วถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อหรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้องหรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวนผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ9เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้แล้วแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควรและข้อ11มีความว่าในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ10ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ0.2ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วนในระหว่างที่มีการปรับนั้นถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ9กับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ10วรรคสองนอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ดังนั้นแม้ครบกำหนดตามสัญญาแล้วเจ้าหนี้จะได้เร่งรัดให้ลูกหนี้ส่งมอบสิ่งของอีกก็ตามแต่ลูกหนี้ก็มิได้ปฏิบัติตามสัญญาอย่างใดเลยจนกระทั่งเจ้าหนี้ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังลูกหนี้แล้วแม้การที่เจ้าหนี้จะได้แจ้งสงวนสิทธิการปรับตามสัญญาไปด้วยก็หาใช่เป็นการใช้สิทธิปรับลูกหนี้เป็นรายวันตามสัญญาแล้วไม่เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าปรับเป็นรายวันจากลูกหนี้โดยอาศัยสัญญาซื้อขายข้อ11ได้อีก