คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 94

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 246 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 103/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้เช็คและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย สัญญาซื้อขายลดเช็ค
เจ้าหนี้รับเช็คทั้งหกฉบับซึ่งลูกหนี้เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายมาจาก บ. โดย บ.เป็นผู้นำมาขายลดแก่เจ้าหนี้โดยตรง มิใช่ บ. เป็นตัวแทนของลูกหนี้นิติสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหนี้กับ บ.จึงเป็นสัญญาขายลดเช็คส่วนลูกหนี้จะต้องผูกพันรับผิดต่อเจ้าหนี้ ซึ่งเป็น ผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 904 ในฐานะผู้สั่งจ่ายเช็คทั้งหกฉบับมิใช่คู่สัญญาขายลดเช็ค ดังนั้น เมื่อวันที่เช็คทั้งหกฉบับถึงกำหนดใช้เงินถึงวันที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ล่วงเลยระยะเวลา 1 ปีแล้วสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ต่อลูกหนี้จึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 ไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ จึงเป็นหนี้ที่ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ ตามมาตรา 94(1) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2634/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์: สิทธิเรียกร้องหนี้และการยอมรับสิทธิโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความ หรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22(3) ลูกหนี้ไม่มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับเจ้าหนี้ ทั้งนี้โดย ไม่ต้องคำนึงว่าเจ้าหนี้จะได้ทราบว่าลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วหรือไม่ หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ลูกหนี้ได้ทำขึ้นหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วจึงไม่สมบูรณ์ เพราะเกิดขึ้นโดย ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายตามมาตรา 94(1)เจ้าหนี้จึงขอรับชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวไม่ได้ เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่จะบังคับให้ลูกหนี้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่เจ้าหนี้ได้นั้น หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาภายในกำหนดเวลา3 เดือน นับแต่วันที่ทราบตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 122 แล้ว เจ้าหนี้จึงจะมีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับราคาที่ดินที่ได้ชำระแก่ลูกหนี้ไปแล้วและค่าเสียหายที่ได้รับตามมาตรา 92 เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 91 ก่อนพ้นกำหนดดังกล่าวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1190/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: เช็คที่ออกให้แทนการยืมเงินไม่ทำให้เจ้าหนี้เป็นผู้ทรงโดยชอบ
บุคคลอื่นให้เงินลูกหนี้ยืม ลูกหนี้ออกเช็คให้ผู้ขอรับชำระหนี้ยึดถือไว้แทนผู้ให้ยืม ดังนี้ ไม่ทำให้เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้เป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 904 แห่ง ป.พ.พ. ที่จะใช้สิทธิขอรับชำระหนี้โดยส่วนตัว เมื่อผู้ให้ยืมมิได้มอบอำนาจให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้แทน เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้รายนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6428/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ภาษีเกิดขึ้นเมื่อมีการประเมินและแจ้งการประเมินแล้ว ไม่ถือเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ในการชำระหนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน แม้ว่าผู้พึงชำระจะมีหน้าที่ต้องชำระเป็นรายปี แต่ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯมาตรา 38 ผู้รับการประเมินจะต้องชำระก็ต่อเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินและแจ้งการประเมินให้ทราบแล้ว เมื่อปรากฏว่าศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยที่ 1 วันที่ 30 ธันวาคม 2530กรุงเทพมหานครเจ้าหนี้ยังไม่ได้ประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี 2530 ซึ่งจัดเก็บในปี 2531 และแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบจำเลยที่ 1 จึงยังไม่ต้องชำระค่าภาษี ดังนี้เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธินำหนี้ค่าภาษีดังกล่าวมาขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯมาตรา 94.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3958/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีล้มละลาย: การนับอายุความและการชำระหนี้
หนี้จำนวนแรกศาลพิพากษาตามยอมให้ลูกหนี้กับ ท. และ ล.ชำระเงินแก่เจ้าหนี้พร้อมดอกเบี้ย โดยผ่อนชำระเป็นรายเดือนเริ่มตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2521 เป็นต้นไป เมื่อ ท.ชำระเงินจำนวน 107,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย และ ล. ชำระเงินจำนวน313,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยแล้วให้ไถ่ถอนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ ท. และ ล. จำนองไว้ เป็นมูลหนี้อันเป็นสิทธิเรียกร้อง อันตั้งฐานขึ้นโดยคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลจึงมีอายุความ 10 ปี หลังจากศาลมีคำพิพากษาแล้วลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ อายุความย่อมเริ่มนับตั้งแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ คือวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2521 เมื่อนับถึงวันที่ 12 เมษายน 2531ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นระยะเวลาเกิน 10 ปีแล้วจึงขาดอายุความ การที่ ท. และ ล. ลูกหนี้ร่วมชำระหนี้แก่โจทก์ในวันที่ 15 มีนาคม 2521 และ 19 มิถุนายน 2521 ตามลำดับ เป็นการไถ่ถอนจำนองตามสิทธิที่ระบุไว้ในคำพิพากษา ไม่เกี่ยวกับการชำระหนี้ในส่วนของลูกหนี้ ไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง หนี้จำนองที่สอง ศาลพิพากษาตามยอมให้ลูกหนี้กับพวกชำระหนี้แก่เจ้าหนี้โดยผ่อนชำระเป็นรายเดือน ทุกวันที่ 15 ของเดือนเริ่มตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2521 เป็นต้นไป หลังจากศาลพิพากษาแล้วมีการผ่อนชำระแก่เจ้าหนี้ 3 งวด แล้วไม่ชำระอีก อายุความเริ่มนับเมื่อผิดนัดงวดที่ 4 คือตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2521เมื่อนับถึงวันที่ 12 เมษายน 2531 ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ยังอยู่ในระยะเวลา 10 ปี หนี้จำนวนหลังจึงยังไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3485/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้จากการสมยอมและรู้ฐานะลูกหนี้ล้มละลาย เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิรับชำระหนี้
เจ้าหนี้นำหนี้ตามตั๋วแลกเงิน และตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งลูกหนี้ออกให้มายื่นเพื่อขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แต่หนี้ทั้งสองจำนวนเป็นหนี้ที่เกิดจากการสมยอมกันระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้โดยลูกหนี้ไม่ได้เป็นหนี้เจ้าหนี้ตามตั๋วเงินนั้นเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระต้นเงินและดอกเบี้ยตามตั๋วเงินดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94(1) ส่วนหนี้ที่เจ้าหนี้ชำระให้ธนาคารแทนลูกหนี้นั้นเจ้าหนี้ได้รู้อยู่แล้วว่าลูกหนี้เป็นบุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวดังนี้เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ดังกล่าวตามมาตรา 94(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2634/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้สมยอมและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: ความรู้และการยอมให้ก่อหนี้
เจ้าหนี้ฝากเงินไว้กับลูกหนี้ก่อนที่ลูกหนี้จะถูกธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าควบคุมกิจการเป็นเวลาหลายเดือน และก่อนที่ลูกหนี้จะถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายหรือถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดดังนั้น แม้เจ้าหนี้จะเป็นภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของกรรมการคนหนึ่งของลูกหนี้ และเจ้าหนี้มิได้ถอนเงินจากลูกหนี้ในช่วงเวลานั้นก็ตามจะถือว่าเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้ก่อหนี้ขึ้นทั้ง ๆที่รู้อยู่ว่า ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่ได้ เจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้ได้ ไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 94.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2371/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากเจ้าหนี้เป็นจำนวนไม่เกิน 20,000 บาท ในวันเดียวกันลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 2ยอมเข้าค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวตลอดจนดอกเบี้ยและเงื่อนไขในสัญญาโดยไม่ได้ระบุวงเงินค้ำประกันไว้ แสดงว่าลูกหนี้ที่ 2 ยอมเข้าค้ำประกันลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 ในวงเงินเพียง20,000 บาท ดังนี้ลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 2 จึงต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 ในวงเงิน 20,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญานับแต่วันผิดนัด จนถึงวันพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด คำพิพากษาในคดีแพ่งที่ให้ลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 2 ร่วมรับผิดกับลูกหนี้จำเลยที่ 1 เต็มตามจำนวนหนี้ที่ลูกหนี้ที่ 1 เป็นหนี้เจ้าหนี้นั้น ไม่ผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะสอบสวนและมีความเห็นให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯมาตรา 94,105 และศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งเห็นชอบด้วยกับความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ตามมาตรา 107(3) ค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 2 ชำระเป็นหนี้ที่ผูกพันลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 2 จะต้องชำระแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และเจ้าหนี้ย่อมขอรับชำระหนี้นี้ในคดีล้มละลายได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1596/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจสอบหนี้ในคดีล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และศาลมีอำนาจพิจารณาอิสระ แม้เป็นหนี้เดิมที่ใช้ฟ้องล้มละลาย
หนี้ที่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์นำมาขอรับชำระหนี้แม้จะเป็นหนี้รายเดียวกับที่เจ้าหนี้นำมาเป็นมูลฟ้องลูกหนี้ล้มละลาย และศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วก็ตาม แต่ก็หามีผลผูกพันให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และศาลจำต้องถือตามไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่ชำระภาษีบำรุงท้องที่แทนลูกหนี้ แม้หลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ ปรากฏว่าลูกหนี้เป็นหนี้ค่าภาษีบำรุงท้องที่ต่อโจทก์ เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์จึงได้แจ้งการประเมินไปยังจำเลยเพื่อให้ชำระค่าภาษีดังกล่าวดังนี้ การแจ้งการประเมินจึงเป็นการปฏิบัติตามวิธีการที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 มาตรา 48 ไม่ใช่เรื่องการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 91 การที่จำเลยมีหนังสือไปถึงผู้อำนวยการเขตลาดกระบังแจ้งว่าหนี้ค่าภาษีบำรุงท้องที่เป็นหนี้ไม่อาจขอรับชำระได้นั้นเป็นเรื่องที่นอกเหนืออำนาจตามกฎหมาย เท่ากับเป็นเพียงการแจ้งความคิดเห็นของจำเลยไปให้ผู้อำนวยการเขตลาดกระบังทราบเท่านั้นถือไม่ได้ว่าจำเลยมีคำวินิจฉัยในเรื่องคำขอรับชำระหนี้ จึงไม่มีผลผูกพันใด ๆ ต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องร้องคัดค้านความเห็นของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 146 ก่อน ฉะนั้น การที่จำเลยไม่ชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่แก่โจทก์จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของลูกหนี้เนื่องจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และได้จัดให้เช่าที่ดินของลูกหนี้ จำเลยจึงมีหน้าที่ชำระภาษีบำรุงท้องที่ ตามมาตรา 35 วรรคสอง หนี้เงินภาษีดังกล่าวเป็นหนี้ที่กฎหมายบังคับให้ต้องชำระ แม้จะเกิดขึ้นภายหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว จำเลยก็ยังมีหน้าที่ชำระหนี้แทนลูกหนี้.
of 25