คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 94

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 246 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้เป็นหนี้เพิ่ม ทั้งที่ทราบว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว การรับชำระหนี้เป็นโมฆะ
การที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้เป็นหนี้เพิ่มขึ้นอีกครั้งตามเช็ค7ฉบับที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้รวมเป็นเงิน306,000บาททั้งๆที่หนี้เงินกู้ที่ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่ก็ยังไม่ชำระถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติวิสัยที่วิญญูชนจะพึงกระทำโดยเฉพาะเมื่อเช็คฉบับแรกถึงกำหนดแล้วลูกหนี้ไม่นำเงินมาใช้เพื่อนำเช็คกลับคืนไปตามที่ตกลงไว้เจ้าหนี้ยังยอมให้ลูกหนี้กู้ยืมเพิ่มไปอีกโดยวิธีการออกเช็คเพิ่มเติมเรื่อยไปถึง7ฉบับทั้งนี้โดยไม่มีหลักประกันในการกู้และเจ้าหนี้เพิ่งนำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินพร้อมกันก่อนลูกหนี้ถูกฟ้องล้มละลายไม่ถึง2เดือนซึ่งเจ้าหนี้ทราบดีอยู่แล้วว่าลูกหนี้ได้ปิดบัญชีกับธนาคารแล้วทั้งในขณะนั้นก็เป็นช่วงเวลาที่ลูกหนี้กำลังยักย้ายทรัพย์หลบหนีเจ้าหนี้พฤติการณ์เห็นได้ชัดว่าหนี้ตามเช็ค7ฉบับเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4114/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกหนี้ที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่จ่ายค่าชดเชย
เมื่อจำเลยที่ 1 (ลูกหนี้) ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้วย่อมหมดอำนาจ ที่จะดำเนินกิจการงานของตนต่อไป แต่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจตามกฎหมายที่จะจัดการหรือกระทำการ ที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของจำเลยที่ 1 ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไปแทน จำเลยที่ 1 และไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าลูกจ้างของลูกหนี้ หมดสิทธิที่จะทำงานให้ลูกหนี้ต่อไปดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 2 บอกเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46
เงินค่าชดเชยซึ่งกฎหมายแรงงานบังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องจ่าย ให้แก่โจทก์นั้นเกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ย่อมเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระได้ตามมาตรา 94 แห่ง พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้จัดการกิจการทรัพย์สินแทน จำเลยที่ 1 แล้วเกิดมีเงินที่กฎหมายบังคับให้จ่ายเกิดขึ้น จำเลยที่ 2 ก็มีหน้าที่ต้องเอาเงินของจำเลยที่ 1 จ่ายแทนจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้จ่ายเงินค่าชดเชยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4114/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างหลังการพิทักษ์ทรัพย์: หน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการชำระหนี้ค่าชดเชย
เมื่อจำเลยที่ 1(ลูกหนี้) ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้วย่อมหมดอำนาจ ที่จะดำเนินกิจการงานของตนต่อไป แต่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจตามกฎหมายที่จะจัดการหรือกระทำการ ที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของจำเลยที่ 1 ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไปแทน จำเลยที่ 1 และไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าลูกจ้างของลูกหนี้ หมดสิทธิที่จะทำงานให้ลูกหนี้ต่อไปดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 2 บอกเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 เงินค่าชดเชยซึ่งกฎหมายแรงงานบังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องจ่าย ให้แก่โจทก์นั้นเกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ย่อมเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระได้ตามมาตรา94 แห่ง พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้จัดการกิจการทรัพย์สินแทน จำเลยที่ 1 แล้วเกิดมีเงินที่กฎหมายบังคับให้จ่ายเกิดขึ้น จำเลยที่ 2 ก็มีหน้าที่ต้องเอาเงินของจำเลยที่ 1 จ่ายแทนจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้จ่ายเงินค่าชดเชยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3274/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่สมบูรณ์ หนี้เดิมยังคงมีผลบังคับใช้ ผู้ขอรับชำระหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้
ลูกหนี้เป็นหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค ซึ่งเป็นหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94 แม้ต่อมาจะมีการทำสัญญาขายลดเช็คฉบับใหม่เพื่อเปลี่ยนกับสัญญาเดิมอันเป็นการแปลงหนี้ใหม่หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วซึ่งลูกหนี้ต้องห้ามมิให้กระทำตามมาตรา 24 การ แปลงหนี้ใหม่จึงไม่สมบูรณ์หนี้เดิมย่อมยังไม่ระงับสิ้นไปตามบทบัญญัติมาตรา 351 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ผู้ขอรับชำระหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำขอรับชำระหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3274/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้หลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่สมบูรณ์ หนี้เดิมยังคงมีผล ผู้ขอรับชำระหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้
ลูกหนี้เป็นหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค ซึ่งเป็นหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94แม้ต่อมาจะมีการทำสัญญาขายลดเช็คฉบับใหม่ เพื่อเปลี่ยนกับสัญญาเดิมอันเป็นการแปลงหนี้ใหม่หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วซึ่งลูกหนี้ต้องห้ามมิให้กระทำตามมาตรา 24 การ แปลงหนี้ใหม่จึงไม่สมบูรณ์หนี้เดิมย่อมยังไม่ระงับสิ้นไปตามบทบัญญัติมาตรา 351 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ขอรับชำระหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำขอรับชำระหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2124/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาเช่าซื้อและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย สิทธิสมบูรณ์ของผู้รับโอน
เดิม ธ. ทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินกับจำเลยที่ 2 ต่อมา ธ. ได้โอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อที่ดินดังกล่าวให้แก่ เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ได้ชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยที่ 2 จนครบถ้วนแล้ว แต่ยังไม่ทันได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เช่าซื้อ จำเลยที่ 2 ก็ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ดังนี้หนี้ขอรับชำระจึงเป็นหนี้ที่มีมูลมาจากการเช่าซื้อที่ดินซึ่งเจ้าหนี้ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องมาจาก ธ. ผู้เช่าซื้อเดิม อันเป็นหนี้ที่มูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จึงเป็นหนี้ที่ขอรับชำระได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 และเจ้าหนี้ เป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อนี้มาโดยชอบตามมาตรา 303 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการโอนสิทธิเรียกร้องก็ทำโดยถูกต้องสมบูรณ์ตามมาตรา 306 โดย ธ. ผู้โอนได้บันทึกการโอนสิทธิเป็นหนังสือ และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธินั้นได้บันทึกยินยอมไว้เป็น หนังสือในสัญญาเช่าซื้อโดยแจ้งชัด เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้จึงมีสิทธิสมบูรณ์ในฐานะเป็นผู้รับโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ โดยชอบ และกรณีไม่จำต้องมีการทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อกัน ใหม่ระหว่างเจ้าหนี้ผู้รับโอนกับจำเลยที่ 2 ผู้ให้เช่าซื้ออีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 249/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มูลหนี้เกิดขึ้นเมื่อรับเงินและออกตั๋วสัญญาใช้เงินหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ไม่ได้
มูลหนี้แต่ละรายเกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้รับเงินไปแล้วออกตั๋วสัญญาใช้เงินและทำสัญญารับชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ หาได้เกิดตั้งแต่วันที่เจ้าหนี้ตกลงจะให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ไม่
แม้จะยังไม่ประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ในราชกิจจานุเบกษา และเจ้าหนี้จะจ่ายเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่นำมาขอรับชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้โดยสุจริตและไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้ก็จะขอรับชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวไม่ได้ตามมาตรา 94 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 249/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มูลหนี้เกิดเมื่อรับเงินและออกตั๋วสัญญาใช้เงิน แม้ตกลงให้สินเชื่อก่อนศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้
มูลหนี้แต่ละรายเกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้รับเงินไปแล้วออกตั๋วสัญญาใช้เงินและทำสัญญารับชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ หาได้เกิดตั้งแต่วันที่เจ้าหนี้ตกลงจะให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ไม่ แม้จะยังไม่ประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ในราชกิจจานุเบกษา และเจ้าหนี้จะจ่ายเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่นำมาขอรับชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้โดยสุจริตและไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้ก็จะขอรับชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวไม่ได้ตามมาตรา 94 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 159/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและการขอรับชำระหนี้ซ้ำในคดีล้มละลาย เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิ
เจ้าหนี้ได้รับเงินทดรองจ่ายร้อยละ 20 ของตั๋วแลกเงินแล้วทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามตั๋วแลกเงินที่นำมาขอรับชำระหนี้ให้กับธนาคารกรุงไทยโดยสมัครใจ ข้อตกลงดังกล่าวมิได้ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ไม่เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และธนาคารได้ใช้สิทธิเรียกร้องนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในหนี้จำนวนนี้ทั้งหมดแล้ว ดังนี้ เจ้าหนี้ย่อมไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ซ้ำอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและการใช้สิทธิรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ผู้รับโอนสิทธิเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องแต่เพียงผู้เดียว
เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ยอมรับเงินจำนวน 20,000 บาทที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด จ่ายทดรองให้ไป แล้วทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งบริษัทลูกหนี้ออกให้แก่เจ้าหนี้จำนวนเงิน 100,000 บาท ให้แก่ธนาคารกรุงไทยจำกัด เพื่อให้ธนาคารฯเป็นผู้ขอรับเงินส่วนเฉลี่ยที่จะได้รับทั้งหมดจากผู้ชำระบัญชีหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้จะโต้เถียงอ้างว่าตนมีสิทธิตามตั๋วสัญญาใช้เงินรายนี้ส่วนที่ยังไม่ได้ชำระฝืนข้อสัญญาที่ทำให้ไว้หาได้ไม่ ทั้งธนาคารกรุงไทย จำกัดได้ใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้แล้ว เจ้าหนี้ไม่มีสิทธินำตั๋วสัญญาใช้เงินรายนี้มาขอรับชำระหนี้ซ้ำอีก
of 25