คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 94

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 246 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 944/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอรับชำระหนี้โดยอาศัยเช็คเป็นมูลหนี้ แม้ไม่ใช่หลักฐานกู้ยืม แต่มีสิทธิรับชำระหนี้ได้
คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้อ้างว่าลูกหนี้เป็นหนี้อยู่ 20,000 บาท เป็นค่ายืมโดยจ่ายเช็คไว้ให้มีเช็คเป็นหลักฐานดังนี้แม้เช็คไม่เป็นหลักฐานที่จะใช้บังคับคดีในทางกู้ยืมเงิน แต่เช็คก็เป็นมูลหนี้ประการหนึ่ง ซึ่งคำขอรับชำระหนี้ดังกล่าวเป็นคำขอรับชำระหนี้โดยอาศัยเช็คเป็นมูลหนี้รวมอยู่ด้วย ไม่ใช่เป็นแต่เพียงคำขอชำระหนี้ โดยอาศัยการกู้ยืมเป็นมูลหนี้อย่างเดียว เจ้าหนี้จึงมีสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 944/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอรับชำระหนี้โดยอาศัยเช็คเป็นมูลหนี้ แม้ไม่ใช่หลักฐานกู้ยืม ก็มีสิทธิรับชำระหนี้ได้
คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้อ้างว่าลูกหนี้เป็นหนี้อยู่ 20,000 บาท เป็นค่ายืมโดยจ่ายเช็คไว้ให้มีเช็คเป็นหลักฐานดังนี้แม้เช็คไม่เป็นหลักฐานที่จะใช้บังคับคดีในทางกู้ยืมเงิน แต่เช็คก็เป็นมูลหนี้ประการหนึ่ง ซึ่งคำขอรับชำระหนี้ดังกล่าวเป็นคำขอรับชำระหนี้โดยอาศัยเช็คเป็นมูลหนี้รวมอยู่ด้วย ไม่ใช่เป็นแต่เพียงคำขอชำระหนี้ โดยอาศัยการกู้ยืมเป็นมูลหนี้อย่างเดียว เจ้าหนี้จึงมีสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 865/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มูลหนี้เกิดเมื่อรับเงินและมอบเช็คลงวันล่วงหน้า แม้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ เจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
กรณีที่ลูกหนี้รับเงินไปจากเจ้าหนี้ผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ แล้วออกเช็คสั่งจ่ายเงินลงวันล่วงหน้าให้เจ้าหนี้ผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ยึดถือนั้น ถือได้ว่ามูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ลูกหนี้รับเงินไปและมอบเช็คลงวันล่วงหน้าให้เจ้าหนี้ผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ยึดถือแล้ว (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 865/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ตามเช็คลงวันล่วงหน้า: เกิดเมื่อรับเงินและมอบเช็ค แม้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ ก็มีสิทธิรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
กรณีที่ลูกหนี้รับเงินไปจากเจ้าหนี้-ผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ แล้วออกเช็คสั่งจ่ายเงินลงวันล่วงหน้าให้เจ้าหนี้ผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ยึดถือนั้น ถือได้ว่ามูลแห่งหนี้ไดเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ลูกหนี้รับเงินไปและมอบเช็คลงวันล่วงหน้าให้เจ้าหนี้ผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ยึดถือแล้ว (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ค้ำประกันร่วมกันมีสิทธิไล่เบี้ยกันได้ตามหลักทั่วไป
ผู้ค้ำประกันร่วมกัน 2 คน เมื่อผู้ค้ำประกันคนหนึ่งได้ชำระหนี้ทั้งหมดแทนลูกหนี้ไป ย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ยเอากับผู้ค้ำประกันอีกคนหนึ่งได้กึ่งหนึ่งตามมาตรา 229(3) และ 296 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 682 วรรค 2 บัญญัตินิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ค้ำประกันกับเจ้าหนี้ และมาตรา 693บัญญัตินิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ค้ำประกันกับลูกหนี้แต่ในระหว่างผู้ค้ำประกันด้วยกันบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันมิได้กำหนดความรับผิดต่อกันไว้จึงต้องใช้หลักทั่วไปตามมาตรา 229,296

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ค้ำประกันร่วมกัน ไล่เบี้ยเรียกคืนหนี้ได้กึ่งหนึ่งตามหลักทั่วไป
ผู้ค้ำประกันร่วมกัน 2 คน เมื่อผู้ค้ำประกันคนหนึ่งได้ชำระหนี้ทั้งหมดแทนลูกหนี้ไป ย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ยเอากับผู้ค้ำประกันอีกคนหนึ่งได้กึ่งหนึ่งตามมาตรา 229(3) และ 296 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 682 วรรค 2 บัญญัตินิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ค้ำประกันกับเจ้าหนี้ และมาตรา 693 บัญญัตินิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ค้ำประกันกับลูกหนี้ แต่ในระหว่างผู้ค้ำประกันด้วยกัน บทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันมิได้กำหนดความรับผิดต่อกันไว้ จึงต้องใช้หลักทั่วไปตามมาตรา 229,296.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1460/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการดำเนินคดีล้มละลายแทนเจ้าหนี้: ขอบเขตและระยะเวลา
คดีล้มละลาย การที่เจ้าหนี้มอบอำาจให้ทนายความเป็นผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้แทน และให้มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมเจ้าหนี้ ประนีประนอมยอมความ รับเงิน ตลอดจนทำการอื่นใดที่เกี่ยวกับคดีล้มละลายเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้น ทนายผู้รับมอบอำนาจย่อมมีสิทธิที่จะดำเนินคดีแทนเจ้าหนี้คนนั้นได้ตลอดไปจนถึงชั้นอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งศาลด้วย เพราะเป็นเรื่องของกระบวนพิจารณาที่สืบต่อจากการยื่นคำขอรับชำระหนี้นั้นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1460/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการดำเนินคดีล้มละลายแทนเจ้าหนี้: การมอบอำนาจครอบคลุมถึงการอุทธรณ์ฎีกา
คดีล้มละลาย การที่เจ้าหนี้มอบอำนาจให้ทนายความเป็นผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้แทน และให้มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมเจ้าหนี้ ประนีประนอมยอมความ รับเงิน ตลอดจนทำการอื่นใดที่เกี่ยวกับคดีล้มละลายเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้น ทนายผู้รับมอบอำนาจย่อมมีสิทธิที่จะดำเนินคดีแทนเจ้าหนี้คนนั้นได้ตลอดไปจนถึงชั้นอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งศาลด้วย เพราะเป็นเรื่องของกระบวนพิจารณาที่สืบต่อจากการยื่นคำขอรับชำระหนี้นั้นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1350/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์: การแก้ไขค่าเช่าและผลผูกพันตามสัญญา แม้ไม่ได้จดทะเบียน
การเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น กฎหมายมิได้บังคับว่า ถ้ามิได้ทำให้ถูกต้องตามมาตรา 538 การเช่าจะต้องเป็นโมฆะ กฎหมายบังคับแต่ว่า ถ้ามิได้ทำให้ถูกต้องตามมาตรา 538ก็จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้เท่านั้น มิได้เกี่ยวกับปัญหาที่ว่าจะเป็นสัญญาเช่าหรือไม่อย่างใด
การเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้นย่อมไม่ระงับไปเพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์ แม้ผู้สุจริตก็จะดูหลักฐานแต่ทางทะเบียนอย่างเดียวไม่ได้ จะต้องดูหลักฐานการเช่าที่เป็นหนังสือด้วย ฉะนั้น การทำสัญญาเพิ่มค่าเช่านั้น แม้การเช่าเดิมจะได้จดทะเบียนไว้ ก็อาจนับว่าเป็นหลักฐานการเช่าที่เป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด ซึ่งตามกฎหมายบัญญัติให้ฟ้องร้องบังคับได้สามปีด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 336/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ภาษีที่ประเมินเพิ่มเติมหลังล้มละลาย: สิทธิการรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิ
ประมวลรัษฎากรมาตรา 78 บัญญัติให้ผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าจากรายรับของทุกเดือนภาษี โดยผู้ประกอบการค้าจะต้องยื่นแบบแสดงรายการต่อเจ้าพนักงานภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปพร้อมกับชำระค่าภาษีตามมาตรา 85 ทวิ และ 86 ด้วยนั้น เป็นการชำระค่าภาษีการค้าล่วงหน้าไปก่อนตามรายการที่ยื่นไว้เท่านั้น ซึ่งเมื่อเจ้าพนักงานตรวจสอบรายการที่ยื่นเห็นว่าถูกต้องและพอใจ ก็ถือว่าเป็นการชำระหนี้ค่าภาษีโดยสมบูรณ์แล้ว ส่วนเงินค่าภาษีที่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการหรือยื่นแบบแสดงรายการไว้ไม่ครบถ้วนบริบูรณ์ จะถือว่าค่าภาษีสำหรับรายการดังกล่าวนั้นได้ถึงกำหนดชำระด้วยแล้วหาได้ไม่ เพราะเมื่อยังไม่ได้ยื่นแสดงรายการก็ยังไม่มีค่าภาษีที่ต้องชำระ แต่เมื่อเจ้าพนักงานอาศัยอำนาจตามมาตรา 19, 20 ทำการไต่สวนและประเมินค่าภาษีใหม่สำหรับรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องครบถ้วน และสั่งให้นำเงินภาษีไปชำระเพิ่มเติมภายใน 30 วันแล้ว ค่าภาษีที่จะต้องเสียเพิ่มเติมใหม่นี้ก็ย่อมถึงกำหนดชำระภายใน 30 วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานได้แจ้งไป
หนี้ค่าภาษีอากรที่ลูกหนี้จะต้องเสียและถึงกำหนดชำระภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น กฎหมายยอมให้เจ้าหนี้เข้ามาขอรับชำระหนี้ได้ และเมื่อหนี้ค่าภาษีนี้เป็นหนี้ที่จะได้รับในลำดับก่อนหนี้อื่น ๆ แล้ว ก็หาทำให้การที่จะได้รับชำระหนี้นั้นเปลี่ยนแปลงไปแต่ประการใดไม่
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2506)
of 25