พบผลลัพธ์ทั้งหมด 246 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6464/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าฤชาธรรมเนียมในการล้มละลาย: สิทธิเรียกร้องในคดีล้มละลาย vs การใช้สิทธิซ้ำซ้อน
เงินค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมิใช่เงินที่วางเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ แต่เป็นเงินที่วางเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ ตราบใดที่ศาลอุทธรณ์ยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์ชนะคดี เงินดังกล่าวก็ยังคงเป็นของจำเลย เมื่อจำเลยถูกศาลล้มละลายกลางสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จึงเป็นเงินที่จำเลยมีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจรวบรวมเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยเพื่อแบ่งแก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 109 (1) โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอรับเงินค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนที่จำเลยวางไว้
จำเลยถูกศาลล้มละลายกลางสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด โจทก์จะได้รับชำระหนี้ค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นอันเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยไว้เด็ดขาดก็แต่โดยการยื่นคำขอรับชำระหนี้เข้ามาในคดีล้มละลายที่จำเลยเป็นลูกหนี้อยู่ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27, 91 และ 94 เท่านั้น โจทก์ได้นำมูลหนี้ค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิจะได้รับเงินค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนจากกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายอยู่แล้ว หากศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์ได้รับเงินค่าฤชาธรรมเนียมตามที่โจทก์ร้องขอในคดีนี้อีกก็จะเป็นการใช้สิทธิซ้ำซ้อน ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งยกคำร้อง
จำเลยถูกศาลล้มละลายกลางสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด โจทก์จะได้รับชำระหนี้ค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นอันเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยไว้เด็ดขาดก็แต่โดยการยื่นคำขอรับชำระหนี้เข้ามาในคดีล้มละลายที่จำเลยเป็นลูกหนี้อยู่ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27, 91 และ 94 เท่านั้น โจทก์ได้นำมูลหนี้ค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิจะได้รับเงินค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนจากกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายอยู่แล้ว หากศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์ได้รับเงินค่าฤชาธรรมเนียมตามที่โจทก์ร้องขอในคดีนี้อีกก็จะเป็นการใช้สิทธิซ้ำซ้อน ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งยกคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์หนี้ในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้ต้องนำสืบหลักฐานเอง และหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังรู้ฐานะลูกหนี้ไม่อาจขอรับชำระได้
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 105 ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเรื่องหนี้สินที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้และให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่ขอรับชำระนั้นต่อศาลโดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาโต้แย้งคำขอรับชำระหนี้นั้นว่าต้องกระทำเมื่อใด การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำความเห็นเสนอต่อศาลล้มละลายกลางว่าเห็นควรให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้เสียนั้นมีผลเท่ากับว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้โต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ การทำความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในส่วนนี้จึงชอบแล้ว
เจ้าหนี้ทราบว่าลูกหนี้อยู่ในฐานะมีหนี้สินล้นพ้นตัวถูกฟ้องให้ล้มละลาย เมื่อลูกหนี้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการและศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการปรากฏว่าที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่มีมติยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการ ต่อมาศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แสดงให้เห็นว่ากิจการของลูกหนี้ไม่อาจดำเนินต่อไปได้ การที่เจ้าหนี้ให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินไปย่อมไม่ใช่หนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้กระทำขึ้นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ดำเนินต่อไปได้ซึ่งเป็นข้อยกเว้นที่เจ้าหนี้อาจนำไปขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94 (2) ตอนท้าย แต่เป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ซึ่งต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94 (2) ตอนต้น
เจ้าหนี้ทราบว่าลูกหนี้อยู่ในฐานะมีหนี้สินล้นพ้นตัวถูกฟ้องให้ล้มละลาย เมื่อลูกหนี้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการและศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการปรากฏว่าที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่มีมติยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการ ต่อมาศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แสดงให้เห็นว่ากิจการของลูกหนี้ไม่อาจดำเนินต่อไปได้ การที่เจ้าหนี้ให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินไปย่อมไม่ใช่หนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้กระทำขึ้นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ดำเนินต่อไปได้ซึ่งเป็นข้อยกเว้นที่เจ้าหนี้อาจนำไปขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94 (2) ตอนท้าย แต่เป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ซึ่งต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94 (2) ตอนต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5370/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาชดใช้ค่าเสียหายจากการค้ำประกัน และสิทธิในการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
มูลหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้นั้นเนื่องมาจากลูกหนี้ที่ 1 ขอให้เจ้าหนี้ออกหนังสือค้ำประกันผลงานและหนังสือค้ำประกันเงินเบิกล่วงหน้าของบริษัท ฮ. ต่อบริษัท ก. ต่อมาเจ้าหนี้ถูกบริษัท ก. ฟ้องเป็นคดีแพ่งและศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าหนี้ซึ่งเป็นจำเลยในคดีแพ่งดังกล่าวรับผิดต่อบริษัท ก. ภายหลังจากศาลมีคำพิพากษาเจ้าหนี้ได้ชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่บริษัท ก. แล้วจึงมายื่นขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ ดังนั้นการที่ลูกหนี้ที่ 1 ขอให้เจ้าหนี้ค้ำประกันผลงานและค้ำประกันเงินเบิกล่วงหน้าของบริษัท ฮ. ต่อบริษัท ก. โดยลูกหนี้ที่ 1 รับรองกับเจ้าหนี้ผู้ค้ำประกันว่าถ้าเจ้าหนี้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอย่างใด ๆ ในการค้ำประกันนั้น ลูกหนี้ที่ 1 จะใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าหนี้ผู้ค้ำประกันทั้งสิ้น การรับรองเช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นสัญญาค้ำประกันแต่ถือได้ว่าเป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่มีผลบังคับได้ในระหว่างเจ้าหนี้ผู้ค้ำประกันกับลูกหนี้ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขอให้เจ้าหนี้ออกหนังสือค้ำประกัน เมื่อเจ้าหนี้ต้องเสียหายโดยชำระหนี้แทนบุคคลที่ตนค้ำประกันไปตามคำพิพากษาของศาล เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ที่ 1 ใช้เงินนั้นได้ตามสัญญา เมื่อต่อมาปรากฏว่าลูกหนี้ที่ 1 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้จึงนำหนี้ดังกล่าวมาขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ หนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและไม่ต้องห้ามที่จะขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5369/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องหลังล้มละลาย: การรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้เดิม และข้อจำกัดในการยื่นคำขอรับชำระหนี้
จำเลยที่ 1 ขอสินเชื่อจาก บ. โดยมีโจทก์ จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ทำสัญญาไว้แก่โจทก์อีกว่า หากโจทก์ต้องชำระหนี้แก่ บ. แทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 และที่ 4 จะชำระหนี้แก่โจทก์โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ปรากฏว่าในวันที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญาไว้แก่โจทก์นั้น มูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์อาจถูก บ. เรียกร้องให้ชำระหนี้ได้เกิดขึ้นแล้ว เพียงแต่ บ. ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขในสัญญาค้ำประกัน โจทก์จึงเป็นผู้ที่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามสัญญารับจะชำระหนี้ในเวลาภายหน้าได้ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาด โจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่โจทก์อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าจากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27, 91, 94 และ 101 แต่ บ. ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาดแล้ว โจทก์จึงยื่นคำขอรับชำระหนี้ไม่ได้เพราะต้องห้ามตามมาตรา 101 วรรคหนึ่งตอนท้าย แต่การที่โจทก์ชำระหนี้ให้แก่ บ. ภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาดมีผลให้โจทก์เข้ารับช่วงสิทธิของ บ. ไปใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่กองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 229 โจทก์จะนำหนี้ที่มูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาดมาฟ้องให้จำเลยดังกล่าวล้มละลายซ้ำอีกคดีหนึ่งหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5369/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายซ้ำหลังเจ้าหนี้อื่นยื่นคำขอรับชำระหนี้แล้ว โจทก์เข้ารับช่วงสิทธิเจ้าหนี้เดิมไม่ได้
จำเลยที่ 1 ขอสินเชื่อจาก บ. โดยมีโจทก์ จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ทำสัญญาไว้แก่โจทก์อีกว่า หากโจทก์ต้องชำระหนี้แก่ บ. แทนจำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 3 และที่ 4 จะชำระหนี้แก่โจทก์โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในวันที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญาไว้แก่โจทก์นั้นมูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์อาจถูก บ. เรียกร้องให้ชำระหนี้ได้เกิดขึ้นแล้ว โจทก์จึงเป็นผู้ที่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามสัญญารับจะชำระหนี้ในเวลาภายหน้าได้ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาดโจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่โจทก์อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าจากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27, 91, 94 และ 101 ปรากฏว่า บ. ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาดแล้ว โจทก์จึงยื่นคำขอรับชำระหนี้ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 101 วรรคหนึ่งตอนท้าย แต่การที่โจทก์ชำระหนี้ให้แก่ บ. ภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาดและปลดจากล้มละลายแล้วมีผลให้โจทก์เข้ารับช่วงสิทธิของ บ. ไปใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่กองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ตามป.พ.พ. มาตรา 229 โจทก์จึงไม่อาจนำหนี้ที่มูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาดมาฟ้องให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ล้มละลายซ้ำอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6087/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับชำระหนี้ภาษีอากรในคดีล้มละลาย: อายุความ, เอกสาร, และความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ
เจ้าหนี้เป็นหน่วยงานราชการครอบครองต้นฉบับเอกสารอยู่แล้ว ได้นำส่งสำเนาเอกสารอันเกิดจากการรับรองความถูกต้องของเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานของรัฐ จึงรับฟังเอกสารที่เจ้าหนี้ส่งเป็นพยานเอกสารได้
เจ้าหนี้ได้มีหนังสือเตือนให้ลูกหนี้ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. นำเงินภาษีอากรไปชำระตามแบบแจ้งการประเมินจำนวน 2 ครั้ง โดยลูกหนี้ได้รับหนังสือเตือนแล้ว เป็นกรณีที่เจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการรับผิดในหนี้ภาษีอากรของห้าง นับจากวันที่ลูกหนี้ได้รับหนังสือเตือนครั้งแรกวันที่ 11 พฤศจิกายน 2537 ถึงวันที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้วันที่ 24 พฤษภาคม 2543 หนี้ดังกล่าวจึงยังไม่ขาดอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 และมูลหนี้ค่าภาษีอากรดังกล่าวเป็นมูลหนี้ค่าภาษีอากรค้างชำระที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 13 ธันวาคม 2542 อันเป็นวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด จึงไม่ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ และเป็นหนี้ที่หุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. ผิดนัดชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1070 ประกอบมาตรา 1077 (2) โดยเจ้าหนี้ไม่จำต้องไปใช้สิทธิเรียกร้องเอากับลูกหนี้ตามมาตรา 55 แห่ง ป.วิ.พ. แต่อย่างใด กรณีไม่ต้องด้วย มาตรา 88 และ 89 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ เพราะเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิดำเนินคดีกับตัวลูกหนี้โดยตรงแล้ว
การใช้อำนาจตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 12 สั่งยึดและอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้นำออกขายทอดตลาดเพื่อหักชำระหนี้ภาษีได้นั้น เป็นกระบวนการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหนี้ และลูกหนี้มิได้โต้แย้งจำนวนหนี้ค่าภาษีอากรที่เจ้าหนี้ได้แจ้งการประเมินเรียกให้ลูกหนี้ชำระแต่อย่างใด จึงไม่ได้มีปัญหาที่ศาลจะบังคับใช้กฎหมายตามมาตรา 12 แห่ง ป.รัษฎากรฯ ที่จะต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาตราดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
เจ้าหนี้ได้มีหนังสือเตือนให้ลูกหนี้ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. นำเงินภาษีอากรไปชำระตามแบบแจ้งการประเมินจำนวน 2 ครั้ง โดยลูกหนี้ได้รับหนังสือเตือนแล้ว เป็นกรณีที่เจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการรับผิดในหนี้ภาษีอากรของห้าง นับจากวันที่ลูกหนี้ได้รับหนังสือเตือนครั้งแรกวันที่ 11 พฤศจิกายน 2537 ถึงวันที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้วันที่ 24 พฤษภาคม 2543 หนี้ดังกล่าวจึงยังไม่ขาดอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 และมูลหนี้ค่าภาษีอากรดังกล่าวเป็นมูลหนี้ค่าภาษีอากรค้างชำระที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 13 ธันวาคม 2542 อันเป็นวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด จึงไม่ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ และเป็นหนี้ที่หุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. ผิดนัดชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1070 ประกอบมาตรา 1077 (2) โดยเจ้าหนี้ไม่จำต้องไปใช้สิทธิเรียกร้องเอากับลูกหนี้ตามมาตรา 55 แห่ง ป.วิ.พ. แต่อย่างใด กรณีไม่ต้องด้วย มาตรา 88 และ 89 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ เพราะเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิดำเนินคดีกับตัวลูกหนี้โดยตรงแล้ว
การใช้อำนาจตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 12 สั่งยึดและอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้นำออกขายทอดตลาดเพื่อหักชำระหนี้ภาษีได้นั้น เป็นกระบวนการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหนี้ และลูกหนี้มิได้โต้แย้งจำนวนหนี้ค่าภาษีอากรที่เจ้าหนี้ได้แจ้งการประเมินเรียกให้ลูกหนี้ชำระแต่อย่างใด จึงไม่ได้มีปัญหาที่ศาลจะบังคับใช้กฎหมายตามมาตรา 12 แห่ง ป.รัษฎากรฯ ที่จะต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาตราดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4388/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: ค่าเช่าล่วงหน้าและเงินประกัน
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 94 บัญญัติว่าเจ้าหนี้ไม่มีประกันอาจขอรับชำระหนี้ได้ ถ้ามูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนดชำระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม ดังนั้น เมื่อเจ้าหนี้ทำสัญญาเช่าอาคารกับลูกหนี้เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2544 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2546 มูลแห่งหนี้จึงเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ สำหรับค่าเช่าล่วงหน้าของเดือนตุลาคม 2544 จำนวน 85,000 บาท ที่เจ้าหนี้ชำระให้แก่ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าอาคารข้อ 2 นั้น เจ้าหนี้ยังเช่าอาคารอยู่โดยนำเงินค่าเช่าที่ต้องชำระให้ลูกหนี้ส่งให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แสดงว่าลูกหนี้ได้ให้เจ้าหนี้ใช้ประโยชน์ในอาคารที่เช่าตามสัญญาซึ่งรวมถึงเดือนตุลาคม 2544 แล้ว เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าล่วงหน้าของเดือนดังกล่าวคืน จึงขอรับชำระหนี้ส่วนนี้ไม่ได้
เงินประกันการเช่าอาคารจำนวน 300,000 บาท และเงินประกันค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ จำนวน 100,000 บาท ที่เจ้าหนี้ชำระให้แก่ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าอาคารข้อ 3 รวมเป็นเงิน 400,000 บาท ลูกหนี้จะคืนให้เจ้าหนี้เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า และได้ส่งมอบอาคารที่เช่าพร้อมทรัพย์สินในอาคารเป็นที่เรียบร้อยถูกต้องครบถ้วนแล้ว โดยสัญญาเช่าอาคารจะครบกำหนดวันที่ 30 กันยายน 2547 จึงเป็นหนี้ในอนาคตแม้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ เจ้าหนี้ก็มีสิทธินำมาขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ทั้งขณะที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้สัญญาเช่าอาคารได้ครบกำหนดแล้วก็ตาม
เงินประกันการเช่าอาคารจำนวน 300,000 บาท และเงินประกันค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ จำนวน 100,000 บาท ที่เจ้าหนี้ชำระให้แก่ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าอาคารข้อ 3 รวมเป็นเงิน 400,000 บาท ลูกหนี้จะคืนให้เจ้าหนี้เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า และได้ส่งมอบอาคารที่เช่าพร้อมทรัพย์สินในอาคารเป็นที่เรียบร้อยถูกต้องครบถ้วนแล้ว โดยสัญญาเช่าอาคารจะครบกำหนดวันที่ 30 กันยายน 2547 จึงเป็นหนี้ในอนาคตแม้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ เจ้าหนี้ก็มีสิทธินำมาขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ทั้งขณะที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้สัญญาเช่าอาคารได้ครบกำหนดแล้วก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2420/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายจากหนังสือค้ำประกันที่มีเงื่อนไข แม้ยังมิได้ใช้สิทธิเรียกร้อง
ตามคำขอของ ส. ที่ขอให้ธนาคารเจ้าหนี้ออกหนังสือสัญญาค้ำประกัน 20 ฉบับ มีข้อความเช่นเดียวกันว่า ธนาคารเจ้าหนี้ได้ออกหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้ต่อบุคคลภายนอกเพื่อเป็นประกันหนี้ของ ส. กำหนดเวลาค้ำประกัน 1 ปี ตั้งแต่วันออกหนังสือสัญญาค้ำประกันแต่ละฉบับเป็นต้นไป และปรากฏว่ามีหนังสือสัญญาค้ำประกัน 2 ฉบับ รวม 800,000 บาท เท่านั้นที่มีการเวนคืนหนังสือค้ำประกันแล้ว ส่วนหนังสือสัญญาค้ำประกันอีก 18 ฉบับ รวม 13,444,800 บาท ไม่ได้มีการยกเลิกสัญญาหรือเวนคืนหนังสือสัญญาค้ำประกัน ธนาคารเจ้าหนี้จึงยังคงผูกพันต้องรับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันจำนวน 18 ฉบับ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 วรรคหนึ่ง แม้เจ้าหนี้ยังมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องให้ธนาคารเจ้าหนี้ชำระหนี้แทน ส. ทั้งลูกหนี้ที่ 2 ได้ตกลงทำสัญญาไว้กับธนาคารเจ้าหนี้ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันว่า หากธนาคารเจ้าหนี้ได้ชำระหนี้แทน ส. ไป ลูกหนี้ที่ 2 ยินยอมชำระหนี้ให้แก่ธนาคารเจ้าหนี้ภายในวงเงินไม่เกิน 15,000,000 บาท ดังนี้ แม้หนี้ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่ลูกหนี้ที่ 2 ทำไว้กับธนาคารเจ้าหนี้จะเป็นหนี้ที่มีเงื่อนไข แต่มูลหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 2 เด็ดขาด ธนาคารเจ้าหนี้จึงมีสิทธินำหนี้ดังกล่าวมายื่นขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2543 มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2420/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินลูกหนี้ในคดีล้มละลาย แม้เป็นหนี้มีเงื่อนไข หากมูลหนี้เกิดก่อนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
บริษัท ส. ขอให้เจ้าหนี้ออกหนังสือสัญญาค้ำประกันบริษัทต่อบุคคลอื่นมีข้อตกลงว่าหากเจ้าหนี้ชำระหนี้ให้แก่บุคคลอื่นแล้ว บริษัท ส. จะชดใช้ให้เจ้าหนี้โดยมีจำเลย (ลูกหนี้) ที่ 2 ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันบริษัท ส. ดังนี้ แม้หนี้ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลย (ลูกหนี้) ที่ 2 ทำไว้กับเจ้าหนี้จะเป็นหนี้ที่มีเงื่อนไข แต่มูลหนี้ตามสัญญาดังกล่าวล้วนเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลย (ลูกหนี้) ที่ 2 เด็ดขาด เจ้าหนี้จึงมีสิทธินำหนี้ที่มีเงื่อนไขดังกล่าวมายื่นขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1438/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์หนี้ในคดีล้มละลาย: หลักฐานสำเนาสัญญา และการยอมรับของลูกหนี้เพียงพอต่อการรับชำระหนี้
ในชั้นตรวจคำขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 104 เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เพียง 2 ราย คือ เจ้าหนี้และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ศ. เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้กู้ยืมและจำนองโดยมีสำเนาสัญญากู้เงินและสำเนาหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นหลักฐานประกอบคำขอรับชำระหนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีผู้โต้แย้งคำขอรับชำระหนี้รายนี้และลูกหนี้ได้ให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยอมรับว่าเป็นเจ้าหนี้จริงและยังไม่ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ กรณีจึงน่าเชื่อว่าหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้เป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและไม่ต้องห้ามที่จะขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94