คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 94

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 246 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1987/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ต้องพิสูจน์มูลหนี้ในคดีล้มละลายด้วยเอกสารต้นฉบับ หรือแสดงเหตุผลที่ไม่อาจหาเอกสารต้นฉบับได้
ผู้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แม้จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่น หรือเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ในคดีล้มละลายนั้นเอง และในชั้น จ.พ.ท. นัดตรวจคำขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 104 แม้จะไม่มีผู้คัดค้านคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ก็ตาม เจ้าหนี้ผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้นั้น มีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาแสดงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า มูลหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้มีอยู่จริงและลูกหนี้ต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าว การที่เจ้าหนี้ส่งสำเนาคำแถลงที่เจ้าหนี้ขอคัดสำเนาคำพิพากษาและสำเนาบัญชีค่าฤชาธรรมเนียม กับขอต้นฉบับคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน การ์ดบัญชีกระแสรายวันและหนังสือทวงถามคืนจากศาลจังหวัดจันทบุรี กับแนบสำเนาคำพิพากษาคดีแพ่งที่รับรองสำเนาถูกต้องมาท้ายอุทธรณ์นั้นเป็นเวลาภายหลังจาก จ.พ.ท. ทำความเห็นเสนอต่อศาลชั้นต้นให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ และศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้แล้ว จึงพ้นกำหนดเวลาสอบสวนของ จ.พ.ท. และพ้นกำหนดเวลาพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ จ.พ.ท. หรือศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้เจ้าหนี้นำสำเนาเอกสารเหล่านั้นมาอ้างได้ สำหรับสำเนาคำพิพากษาคดีแพ่งที่มีการรับรองสำเนาถูกต้องที่เจ้าหนี้แนบมาท้ายอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่เจ้าหนี้จะส่งอ้างเอกสารเป็นพยานได้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก่อน จ.พ.ท. จะทำความเห็นเสนอต่อศาลชั้นต้น เจ้าหนี้ก็แถลงหมดพยาน และขอใช้สำเนาเอกสารที่ส่งอ้างไว้แล้วเป็นพยานเท่านั้น เท่ากับเจ้าหนี้ไม่ติดใจที่จะส่งอ้างต้นฉบับเอกสารดังกล่าวแล้ว จึงไม่ชอบที่เจ้าหนี้จะยกเอาเรื่องการที่ไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารและไม่สามารถคัดสำเนาคำพิพากษาคดีแพ่งกับสำเนาบัญชีค่าฤชาธรรมเนียมที่รับรองสำเนาถูกต้องมาแสดงต่อ จ.พ.ท.ขึ้นมาอ้างอีก ชอบที่ศาลจะพิจารณาพยานหลักฐานเท่าที่ปรากฏอยู่ในสำเนาการสอบสวนของ จ.พ.ท. เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5830/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิไล่เบี้ยและการรับช่วงสิทธิในคดีล้มละลาย ผลกระทบต่อการขอรับชำระหนี้
กรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ มาตรา 154เป็นเรื่องระหว่างคู่สัญญาด้วนกันเอง เจ้าหนี้ซึ่งเป็นประธานกรรมการของลูกหนี้ได้ค้ำประกันและจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ของลูกหนี้แล้ว ต่อมาภายหลังเจ้าหนี้ได้ทำหนังสือสละสิทธิไล่เบี้ย และสละสิทธิในการับช่วงสิทธิบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่เหนือลูกหนี้ทุกอันดับให้ไว้แก่บริษัทลูกหนี้เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทยเข้ามา ตรวจ กิจการของลูกหนี้แล้วพบว่าเจ้าหนี้ได้เอาเงินของลูกหนี้ไปซื้อที่ดินมาเป็นของเจ้าหนี้เป็นส่วนตัวและเพื่อให้เจ้าหนี้จะได้บริหารงานของลูกหนี้ต่อไป แม้หากเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กับลูกหนี้ทำหนังสือดังกล่าวขึ้นก็ตาม แต่เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยและเจ้าหนี้อื่นซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเป็นผู้ทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายแต่การแสดงเจตนาลวงนั้นได้เชื่อว่าเจ้าหนี้ได้สละสิทธิดังกล่าวจริง เจ้าหนี้จึงต้องห้ามมิให้ยกข้อไม่สมบูรณ์นี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคแรก ดังนี้เจ้าหนี้จึงไม่อาจขอรับชำระหนี้ดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5830/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิไล่เบี้ยและการรับช่วงสิทธิที่ขัดแย้งกับสุจริตของผู้รับประโยชน์
กรณีตาม ป.พ.พ.มาตรา 154 เป็นเรื่องระหว่างคู่สัญญาด้วยกันเอง
เจ้าหนี้ซึ่งเป็นประธานกรรมการของลูกหนี้ได้ค้ำประกันและจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ของลูกหนี้ไว้ ต่อมาภายหลังเจ้าหนี้ได้ทำหนังสือสละสิทธิไล่เบี้ย และสละสิทธิในการรับช่วงสิทธิบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่เหนือลูกหนี้ทุกอันดับให้ไว้แก่บริษัทลูกหนี้ เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทยเข้ามาตรวจกิจการของลูกหนี้แล้วพบว่าเจ้าหนี้ได้เอาเงินของลูกหนี้ไปซื้อที่ดินมาเป็นของเจ้าหนี้เป็นส่วนตัวและเพื่อให้เจ้าหนี้จะได้บริหารงานของลูกหนี้ต่อไป แม้หากเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กับลูกหนี้ทำหนังสือดังกล่าวขึ้นก็ตาม แต่เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยและเจ้าหนี้อื่นซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเป็นผู้ทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายแต่การแสดงเจตนาลวงนั้นได้เชื่อว่าเจ้าหนี้ได้สละสิทธิดังกล่าวจริง เจ้าหนี้จึงต้องห้ามมิให้ยกข้อไม่สมบูรณ์นี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 155 วรรคแรก ดังนี้ เจ้าหนี้จึงไม่อาจขอรับชำระหนี้ดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4716/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ค่าเช่าซื้อค้างชำระหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ไม่ได้
หนี้ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระเป็นหนี้ค่าเช่าและหนี้อย่างอื่นที่มีกำหนดระยะเวลาให้ชำระโดยกำหนดระยะเวลาให้ชำระตั้งแต่ งวดที่ 14 ประจำวันที่ 20 มกราคม 2538 เป็นต้นไปมิใช่กำหนดระยะเวลาให้ชำระก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2537 แต่เป็นการกำหนดระยะเวลาให้ชำระภายหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้จึงไม่อาจขอรับชำระหนี้ดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4716/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ค่าเช่าซื้อค้างชำระหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
หนี้ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระเป็นหนี้ค่าเช่าและหนี้อย่างอื่นซึ่งมีกำหนดระยะเวลาให้ชำระโดยกำหนดระยะเวลาให้ชำระตั้งแต่งวดที่ 14 ประจำวันที่ 20 มกราคม 2538เป็นต้นไป จึงมิใช่ได้กำหนดระยะเวลาให้ชำระก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2537 แต่เป็นการกำหนดระยะเวลาให้ชำระภายหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้จึงไม่อาจขอรับชำระหนี้ดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 99

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้จากสัญญากู้เป็นจำนอง และสิทธิในการขอรับชำระหนี้ที่เหลือ
เมื่อระหว่างปี2522ถึงปี2524เจ้าหนี้กับเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งเป็นภริยาม. กรรมการผู้จัดการลูกหนี้ได้ร่วมกันให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินไปรวม7ครั้งคิดเป็นเงิน2,093,300บาทโดยไม่ได้กำหนดเวลาใช้เงินคืนและอัตราดอกเบี้ยไว้เมื่อปี2528เจ้าหนี้แต่เพียงผู้เดียวรับจดทะเบียนจำนองที่ดินจากลูกหนี้เพื่อเป็นประกันเงินกู้ยืมดังกล่าวในวงเงิน2,000,000บาทอัตราดอกเบี้ยร้อยละ15ต่อปีและให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินด้วยดังนั้นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์กับเจ้าหนี้จึงเป็นเจ้าหนี้ร่วมกันและต่างมีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้โดยสิ้นเชิงและลูกหนี้จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้หรือเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนหนึ่งคนใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา298เจ้าหนี้แต่ผู้เดียวจึงมีสิทธิจดทะเบียนจำนองกับลูกหนี้เพื่อประกันหนี้ดังกล่าวได้โดยลำพังตนเองหาจำต้องให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ร่วมเข้าเป็นคู่สัญญาจำนองด้วยไม่การกระทำของเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นเรื่องการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้หนี้ตามสัญญากู้เงินมีอยู่อย่างไรก็คงมีอยู่เช่นเดิมเพียงแต่เจ้าหนี้ทำให้หนี้เดิมซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่มีประกันเป็นหนี้ที่ประกันเท่านั้นเมื่อเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้ไถ่ถอนจำนองจึงมีผลให้หนี้ที่มีประกันเป็นหนี้ที่ไม่มีประกันเช่นเดิมหนี้ตามสัญญากู้เงินยังหาระงับไปไม่หนี้ดังกล่าวจะระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อลูกหนี้ได้ชำระหนี้ดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้วส่วนสัญญาจำนองที่ว่าให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินด้วยนั้นก็มีความหมายตรงตัวว่านอกจากสัญญากู้เงินเดิมแล้วก็ยังถือเอาสัญญาจำนองเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินอีกชั้นหนึ่งเท่ากับเจ้าหนี้มีหลักฐานทั้งสัญญากู้เงินและหลักฐานตามสัญญาจำนองเป็นหลักฐานการฟ้องคดีได้ทั้งสองอย่างนั่นเองเมื่อในวันไถ่ถอนจำนองเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้เพียง980,000บาทเจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในส่วนที่เหลือได้ตามสัญญากู้เงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้จากสัญญากู้เงินเป็นสัญญาจำนอง และสิทธิการรับชำระหนี้คงเหลือ
เมื่อระหว่างปี 2522 ถึงปี 2524 เจ้าหนี้กับเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งเป็นภริยา ม. กรรมการผู้จัดการลูกหนี้ได้ร่วมกันให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินไปรวม 7 ครั้ง คิดเป็นเงิน2,093,300 บาท โดยไม่ได้กำหนดเวลาใช้เงินคืนและอัตราดอกเบี้ยไว้เมื่อปี 2528 เจ้าหนี้แต่เพียงผู้เดียวรับจดทะเบียนจำนองที่ดินจากลูกหนี้เพื่อเป็นประกันเงินกู้ยืมดังกล่าวในวงเงิน2,000,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี และให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินด้วย ดังนั้นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์กับเจ้าหนี้จึงเป็นเจ้าหนี้ร่วมกันและต่างมีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้โดยสิ้นเชิงและลูกหนี้จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้หรือเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนหนึ่งคนใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 298เจ้าหนี้แต่ผู้เดียวจึงมีสิทธิจดทะเบียนจำนองกับลูกหนี้เพื่อประกันหนี้ดังกล่าวได้โดยลำพังตนเอง หาจำต้องให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ร่วมเข้าเป็นคู่สัญญาจำนองด้วยไม่การกระทำของเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นเรื่องการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ หนี้ตามสัญญากู้เงินมีอยู่อย่างไร ก็คงมีอยู่เช่นเดิม เพียงแต่เจ้าหนี้ทำให้หนี้เดิมซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่มีประกันเป็นหนี้ที่ประกันเท่านั้นเมื่อเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้ไถ่ถอนจำนองจึงมีผลให้หนี้ที่มีประกันเป็นหนี้ที่ไม่มีประกันเช่นเดิม หนี้ตามสัญญากู้เงินยังหาระงับไปไม่ หนี้ดังกล่าวจะระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อลูกหนี้ได้ชำระหนี้ดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนสัญญาจำนองที่ว่าให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินด้วยนั้นก็มีความหมายตรงตัวว่า นอกจากสัญญากู้เงินเดิมแล้วก็ยังถือเอาสัญญาจำนองเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินอีกชั้นหนึ่งเท่ากับเจ้าหนี้มีหลักฐานทั้งสัญญากู้เงินและหลักฐานตามสัญญาจำนองเป็นหลักฐานการฟ้องคดีได้ทั้งสองอย่างนั่นเองเมื่อในวันไถ่ถอนจำนองเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้เพียง 980,000 บาท เจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในส่วนที่เหลือได้ตามสัญญากู้เงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ร่วมและการจำนองประกันหนี้: การไถ่ถอนจำนองไม่ทำให้หนี้ระงับ
เมื่อระหว่างปี 2522 ถึงปี 2524 เจ้าหนี้กับเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งเป็นภริยา ม.กรรมการผู้จัดการลูกหนี้ได้ร่วมกันให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินไปรวม 7 ครั้งคิดเป็นเงิน 2,093,300 บาท โดยไม่ได้กำหนดเวลาใช้เงินคืนและอัตราดอกเบี้ยไว้เมื่อปี 2528 เจ้าหนี้แต่เพียงผู้เดียวรับจดทะเบียนจำนองที่ดินจากลูกหนี้เพื่อเป็นประกันเงินกู้ยืมดังกล่าวในวงเงิน 2,000,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีและให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินด้วย ดังนั้น เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์กับเจ้าหนี้จึงเป็นเจ้าหนี้ร่วมกัน และต่างมีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้โดยสิ้นเชิงและลูกหนี้จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้หรือเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนหนึ่งคนใดก็ได้ตามป.พ.พ.มาตรา 298 เจ้าหนี้แต่ผู้เดียวจึงมีสิทธิจดทะเบียนจำนองกับลูกหนี้เพื่อประกันหนี้ดังกล่าวได้โดยลำพังตนเอง หาจำต้องให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ร่วมเข้าเป็นคู่สัญญาจำนองด้วยไม่ การกระทำของเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นเรื่องการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ หนี้ตามสัญญากู้เงินมีอยู่อย่างไร ก็คงมีอยู่เช่นเดิม เพียงแต่เจ้าหนี้ทำให้หนี้เดิมซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่มีประกันเป็นหนี้ที่มีประกันเท่านั้น เมื่อเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้ไถ่ถอนจำนองจึงมีผลให้หนี้ที่มีประกันเป็นหนี้ที่ไม่มีประกันเช่นเดิม หนี้ตามสัญญากู้เงินยังหาระงับไปไม่ หนี้ดังกล่าวจะระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อลูกหนี้ได้ชำระหนี้ดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนสัญญาจำนองที่ว่าให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินด้วยนั้น ก็มีความหมายตรงตัวว่า นอกจากสัญญากู้เงินเดิมแล้วก็ยังถือเอาสัญญาจำนองเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินอีกชั้นหนึ่งเท่ากับเจ้าหนี้มีหลักฐานทั้งสัญญากู้เงินและหลักฐานตามสัญญาจำนองเป็นหลักฐานการฟ้องคดีได้ทั้งสองอย่างนั่นเอง เมื่อในวันไถ่ถอนจำนองเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้เพียง 980,000 บาท เจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในส่วนที่เหลือได้ตามสัญญากู้เงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2436/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ในการถอนคำขอรับชำระหนี้ และอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการขอให้ยกเลิกการล้มละลาย
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าหนี้รายที่2ที่3และที่4ได้รับชำระหนี้และยกคำขอของเจ้าหนี้รายที่1การที่เจ้าหนี้รายที่2ที่3และที่4ยื่นคำร้องขอถอนคำขอรับชำระหนี้ก็เป็นสิทธิของเจ้าหนี้รายที่2ที่3และที่4ที่จะสละสิทธิในการที่จะได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นให้ถอนคำขอรับชำระหนี้กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะต้องอนุญาตอีกการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตจึงไม่ถูกต้องและเมื่อไม่มีกรณีที่ศาลชั้นต้นจะต้องอนุญาตเสียแล้วกรณีก็ไม่จำต้องสอบถามจำเลยหรือจะต้องไต่สวนคำร้องคัดค้านของจำเลยก่อน ศาลฎีกาได้พิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา84และ87มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้4รายสำหรับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่1ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งยกคำขอส่วนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่2ที่3และที่4ได้มีการขอถอนคำขอรับชำระหนี้แล้วจึงไม่มีเจ้าหนี้ที่จะขอรับชำระหนี้ต่อไปดังนั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจร้องขอให้ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลายได้ตามมาตรา135(2)แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2436/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ในการถอนคำขอรับชำระหนี้และการยกเลิกการล้มละลาย
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าหนี้รายที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ได้รับชำระหนี้และยกคำขอของเจ้าหนี้รายที่ 1 การที่เจ้าหนี้รายที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ยื่นคำร้องขอถอนคำขอรับชำระหนี้ ก็เป็นสิทธิของเจ้าหนี้รายที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ที่จะสละสิทธิในการที่จะได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ ไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นให้ถอนคำขอรับชำระหนี้ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะต้องอนุญาตอีกการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตจึงไม่ถูกต้อง และเมื่อไม่มีกรณีที่ศาลชั้นต้นจะต้องอนุญาตเสียแล้ว กรณีก็ไม่จำต้องสอบถามจำเลยหรือจะต้องไต่สวนคำร้องคัดค้านของจำเลยก่อน
ศาลฎีกาได้พิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของจำเลย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 84 และ 87 มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ 4 รายสำหรับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 1 ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งยกคำขอ ส่วนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ได้มีการขอถอนคำขอรับชำระหนี้แล้วจึงไม่มีเจ้าหนี้ที่จะขอรับชำระหนี้ต่อไป ดังนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจร้องขอให้ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลายได้ตามมาตรา 135 (2) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483
of 25