พบผลลัพธ์ทั้งหมด 772 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13894/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากเจ้าหน้าที่รัฐสั่งจ่ายเงินขาดบัญชี และการทุจริตยักยอกเงินของหน่วยงาน
ฎีกาโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันชำระเงิน 4,912,961.17 บาท พร้อมดอกเบี้ยโดยอ้างแต่เพียงว่าโจทก์ซึ่งเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3038/2530 ของศาลชั้นต้น มิได้ดำเนินการขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเกี่ยวกับจำนวนเงินค่าเสียหายในคดีดังกล่าว เพราะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ไปก่อนแล้วนั้น ไม่ใช่การโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ที่วินิจฉัยรับฟังข้อเท็จจริงในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3038/2530 ของศาลชั้นต้น มีผลผูกพันโจทก์ร่วมว่า จำเลยร่วมกันทุจริตยักยอกเงินของโจทก์ร่วมไปจำนวน 4,496,323.83 บาท ว่ามีเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องอย่างไร ฎีกาของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่มิได้ว่ากล่าวไว้โดยชัดแจ้งซึ่งข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นอ้างในฎีกา ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ปัญหาว่าจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทและปราศจากอำนาจเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจากการที่เงินงบประมาณขาดไปจำนวน 1,075,244.83 บาท หรือไม่ โดยโจทก์ฟ้องว่า เงินงบประมาณดำเนินการก่อสร้างชลประทานขนาดเล็กเร่งด่วนทั้ง 9 โครงการที่เกิดเหตุ โจทก์ได้รับมารวมกันเป็นเงิน 17,083,000 บาท การเบิกจ่ายเงินค่าก่อสร้างจนเสร็จสิ้นมีใบสำคัญค่าพัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างเป็นเงิน 9,048,728.17 บาท และใบสำคัญค่าจ้างเหมาแรงงานเป็นเงิน 6,959,027 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้นเพียง 16,007,755.17 บาท ต้องมีเงินงบประมาณเหลือ 1,075,244.83 บาท แต่หลังเกิดเหตุคดีนี้ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เบิกจ่ายเงินงบประมาณไปหมดสิ้นแล้ว จึงเป็นเรื่องเงินขาดบัญชีต่างหากนอกเหนือไปจากที่จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่ยักยอกไปโดยทำใบสำคัญจัดซื้อ ตรวจรับและเบิกจ่ายพัสดุเป็นเท็จ โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดเฉพาะส่วนนี้เป็นส่วนตัวในมูลละเมิดอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ จึงเป็นข้อเท็จจริงคนละประเด็นต่างหากจากคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3038/2530 ของศาลชั้นต้น ศาลมีอำนาจวินิจฉัยเรื่องนี้โดยไม่จำต้องถือเอาข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีอาญา เพราะไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าว
ปัญหาว่าจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทและปราศจากอำนาจเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจากการที่เงินงบประมาณขาดไปจำนวน 1,075,244.83 บาท หรือไม่ โดยโจทก์ฟ้องว่า เงินงบประมาณดำเนินการก่อสร้างชลประทานขนาดเล็กเร่งด่วนทั้ง 9 โครงการที่เกิดเหตุ โจทก์ได้รับมารวมกันเป็นเงิน 17,083,000 บาท การเบิกจ่ายเงินค่าก่อสร้างจนเสร็จสิ้นมีใบสำคัญค่าพัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างเป็นเงิน 9,048,728.17 บาท และใบสำคัญค่าจ้างเหมาแรงงานเป็นเงิน 6,959,027 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้นเพียง 16,007,755.17 บาท ต้องมีเงินงบประมาณเหลือ 1,075,244.83 บาท แต่หลังเกิดเหตุคดีนี้ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เบิกจ่ายเงินงบประมาณไปหมดสิ้นแล้ว จึงเป็นเรื่องเงินขาดบัญชีต่างหากนอกเหนือไปจากที่จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่ยักยอกไปโดยทำใบสำคัญจัดซื้อ ตรวจรับและเบิกจ่ายพัสดุเป็นเท็จ โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดเฉพาะส่วนนี้เป็นส่วนตัวในมูลละเมิดอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ จึงเป็นข้อเท็จจริงคนละประเด็นต่างหากจากคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3038/2530 ของศาลชั้นต้น ศาลมีอำนาจวินิจฉัยเรื่องนี้โดยไม่จำต้องถือเอาข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีอาญา เพราะไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9209/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: คำพิพากษาคดีอาญาเป็นข้อจำกัดในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงในคดีแพ่ง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันบุกรุกและขุดต้นยูคาลิปตัสของโจทก์ ขอให้ลงโทษและเรียกค่าเสียหาย 81,000 บาท ซึ่งความรับผิดทางแพ่งเกิดจากการกระทำผิดอาญาอันมีมูลคดีเดียวกัน จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อคำพิพากษาคดีส่วนอาญายุติแล้วว่า พยานหลักฐานตามทางนำสืบของโจทก์ยังไม่เพียงพอให้รับฟังลงโทษจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นแห่งคดีแล้วว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำความผิดฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ ดังนี้จะฟังข้อเท็จจริงใหม่เป็นอย่างอื่นหาได้ไม่
แม้ ป.วิ.อ. มาตรา 47 จะบัญญัติว่าคำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดหรือไม่ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไปกลับข้อเท็จจริงที่จำต้องรับฟังตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ศาลจึงไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงในส่วนแพ่งขัดกับข้อเท็จจริงที่ปรากฎในคำพิพากษาส่วนอาญาได้ จึงต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 มิได้ทำละเมิดอันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์
แม้ ป.วิ.อ. มาตรา 47 จะบัญญัติว่าคำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดหรือไม่ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไปกลับข้อเท็จจริงที่จำต้องรับฟังตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ศาลจึงไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงในส่วนแพ่งขัดกับข้อเท็จจริงที่ปรากฎในคำพิพากษาส่วนอาญาได้ จึงต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 มิได้ทำละเมิดอันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9209/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งต้องสอดคล้องข้อเท็จจริงในคำพิพากษาคดีอาญา ศาลไม่สามารถฟังข้อเท็จจริงใหม่ขัดแย้งกับคำพิพากษาอาญาได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันบุกรุกและร่วมกันขุดต้นยูคาลิปตัสที่โจทก์ปลูกไว้ออกจากที่ดินของโจทก์ทั้งแปลงและเรียกค่าเสียหายจำนวน 81,000 บาท ซึ่งความรับผิดทางแพ่งเกิดจากการกระทำผิดอาญาอันมีมูลคดีเดียวกัน จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อคำพิพากษาส่วนอาญายุติแล้วว่าพยานหลักฐานตามทางนำสืบของโจทก์ยังไม่เพียงพอให้รับฟังลงโทษจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีแล้วว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำความผิดฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ดังนี้ จะฟังข้อเท็จจริงใหม่เป็นอย่างอื่นหาได้ไม่ ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ว่าจ้าง ฮ. นำรถแบ็คโฮไปขุดถอนต้นยูคาลิปตัสในที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์แล้ว ฮ. ให้คนงานนำรถแบ็คโฮไปทำงานตามที่ตนรับจ้างโดยที่จำเลยที่ 1 ไม่ชี้แนวเขตที่ดินของตนถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำหรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้หรือในการเลือกหาผู้รับจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 428 จึงไม่ชอบนอกจากนี้ข้อเท็จจริงดังกล่าวโจทก์ก็ไม่ได้บรรยายมาในฟ้องจึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่งอีกด้วย แม้ ป.วิ.อ. มาตรา 47 จะบัญญัติว่าคำพิพากษาส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำผิดหรือไม่ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไปกลับข้อเท็จจริงที่จำต้องรับฟังตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ศาลจึงไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงในส่วนแพ่งขัดกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญาได้จึงต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 มิได้ทำละเมิดอันจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8875/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการนำข้อเท็จจริงจากคดีอาญามาใช้ในคดีแพ่ง และอายุความของการติดตามทรัพย์สิน
การจะนำข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาส่วนอาญามารับฟังในคดีแพ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ข้อเท็จจริงนั้นต้องเป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาและศาลได้วินิจฉัยไว้โดยชัดแจ้ง และผู้ที่จะถูกข้อเท็จจริงในคดีอาญามาผูกพันต้องเป็นคู่ความในคดีอาญาด้วย เมื่อข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยมีส่วนร่วมกระทำความผิดกับ ม. หรือไม่ ไม่ใช่ประเด็นโดยตรงในคดีอาญาและศาลชั้นต้นก็ไม่ได้วินิจฉัยไว้ ทั้งจำเลยไม่ได้ถูกพนักงานอัยการฟ้องเป็นจำเลยร่วมกับ ม. จำเลยจึงไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญา คดีนี้จึงไม่ใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
การที่โจทก์ฟ้องเรียกเอาเงินของโจทก์คืนจากจำเลยเนื่องจาก ม. ปลอมลายมือชื่อถอนเงินจากบัญชีลูกค้าของโจทก์แล้วฝากเข้าบัญชีของจำเลย จึงเป็นการฟ้องเพื่อติดตามเอาทรัพย์ของโจทก์คืนมาจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีอายุความ มิใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
การที่โจทก์ฟ้องเรียกเอาเงินของโจทก์คืนจากจำเลยเนื่องจาก ม. ปลอมลายมือชื่อถอนเงินจากบัญชีลูกค้าของโจทก์แล้วฝากเข้าบัญชีของจำเลย จึงเป็นการฟ้องเพื่อติดตามเอาทรัพย์ของโจทก์คืนมาจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีอายุความ มิใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4432/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้า ห้ามใช้ชื่อคล้ายทำให้สับสน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้ากล่าวหาว่าร่วมกันกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 271 และ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 109 และ 110 ซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้าโดยหลอกลวงในแหล่งกำเนิดของสินค้าและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ส่วนคดีนี้เป็นคดีแพ่งพิพาทกันในเรื่องสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่โจทก์และจำเลยที่ 3 ต่างได้รับการจดทะเบียนว่าใครมีสิทธิดีกว่าและมีเหตุเพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3 ได้หรือไม่ หรือเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับทะเบียนเครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าโดยตรง ประเด็นในคดีนี้จึงมีว่าใครมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าดีกว่ากัน คดีนี้ย่อมมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ซึ่งในการพิจารณาคดีส่วนแพ่งต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีส่วนอาญาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่งประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 46
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 3 ประกอบด้วยคำว่า KOBE และ GOBE เป็นสาระสำคัญ ซึ่งคำทั้งสองต่างใช้อักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ 4 ตัว มีเสียงเรียกขานเหมือนกันว่า โกเบ และใช้กับสินค้าลวดเชื่อมโลหะเหมือนกัน กล่องบรรจุสินค้ามีสีเหมือนกัน ขนาดเท่ากัน ตัวอักษรบนกล่องและการวางตำแหน่งตัวอักษรคล้ายกัน เมื่อคำนึงถึงว่าส่วนใหญ่ของสาธารณชนมิได้มีความรู้ภาษาอังกฤษดีพอที่จะแยกความแตกต่างของตัวอักษรด้วยแล้ว ย่อมเป็นไปได้ง่ายที่สาธารณชนจะเกิดความสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3 จึงเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ คำว่า KOBE จนถึงกับเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหรือหลงผิด โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3 ได้
คำว่า KOBE ที่โจทก์ใช้เป็นเครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าในการประกอบการค้าของโจทก์เป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเพื่อประกอบการค้าผลิตภัณฑ์ลวดเชื่อมโลหะเช่นเดียวกันกับโจทก์ โดยใช้ชื่อว่า บริษัทเค โอ บี อี เวลดิ้ง จำกัด ซึ่งเขียนด้วยอักษรโรมันว่า KOBE WELDING CO., LTD พ้องกับเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปและชื่อทางการค้าของโจทก์ กับนำชื่อภาษาอังกฤษของจำเลยที่ 1 ไปพิมพ์ที่กล่องบรรจุสินค้าของจำเลยที่ 1 ทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ เป็นการมุ่งแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์โดยไม่สุจริต การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงละเมิดสิทธิของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 5, 18, 420 และ 421 โจทก์ผู้มีสิทธิโดยชอบที่จะใช้ชื่อทางการค้าดังกล่าวซึ่งต้องเสื่อมเสียประโยชน์จากการใช้ชื่อโดยมิชอบของจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามจำเลยที่ 1 มิให้ใช้ชื่อ เค โอ บี อี เวลดิ้ง หรือ KOBE WELDING ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 18 แต่บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้ให้สิทธิแก่โจทก์ในการบังคับจำเลยที่ 1 ให้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อนิติบุคคลด้วยที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อของจำเลยที่ 1 โดยมิให้ใช้คำว่า เค โอ บี อี หรือ โกเบ ด้วยนั้น จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 3 ประกอบด้วยคำว่า KOBE และ GOBE เป็นสาระสำคัญ ซึ่งคำทั้งสองต่างใช้อักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ 4 ตัว มีเสียงเรียกขานเหมือนกันว่า โกเบ และใช้กับสินค้าลวดเชื่อมโลหะเหมือนกัน กล่องบรรจุสินค้ามีสีเหมือนกัน ขนาดเท่ากัน ตัวอักษรบนกล่องและการวางตำแหน่งตัวอักษรคล้ายกัน เมื่อคำนึงถึงว่าส่วนใหญ่ของสาธารณชนมิได้มีความรู้ภาษาอังกฤษดีพอที่จะแยกความแตกต่างของตัวอักษรด้วยแล้ว ย่อมเป็นไปได้ง่ายที่สาธารณชนจะเกิดความสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3 จึงเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ คำว่า KOBE จนถึงกับเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหรือหลงผิด โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3 ได้
คำว่า KOBE ที่โจทก์ใช้เป็นเครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าในการประกอบการค้าของโจทก์เป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเพื่อประกอบการค้าผลิตภัณฑ์ลวดเชื่อมโลหะเช่นเดียวกันกับโจทก์ โดยใช้ชื่อว่า บริษัทเค โอ บี อี เวลดิ้ง จำกัด ซึ่งเขียนด้วยอักษรโรมันว่า KOBE WELDING CO., LTD พ้องกับเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปและชื่อทางการค้าของโจทก์ กับนำชื่อภาษาอังกฤษของจำเลยที่ 1 ไปพิมพ์ที่กล่องบรรจุสินค้าของจำเลยที่ 1 ทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ เป็นการมุ่งแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์โดยไม่สุจริต การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงละเมิดสิทธิของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 5, 18, 420 และ 421 โจทก์ผู้มีสิทธิโดยชอบที่จะใช้ชื่อทางการค้าดังกล่าวซึ่งต้องเสื่อมเสียประโยชน์จากการใช้ชื่อโดยมิชอบของจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามจำเลยที่ 1 มิให้ใช้ชื่อ เค โอ บี อี เวลดิ้ง หรือ KOBE WELDING ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 18 แต่บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้ให้สิทธิแก่โจทก์ในการบังคับจำเลยที่ 1 ให้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อนิติบุคคลด้วยที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อของจำเลยที่ 1 โดยมิให้ใช้คำว่า เค โอ บี อี หรือ โกเบ ด้วยนั้น จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3729/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: การชดใช้ค่าเสียหายจากการบุกรุกป่า - ศาลต้องยึดตามข้อเท็จจริงในคำพิพากษาคดีอาญา
พนักงานอัยการเคยเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีอาญาในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ร.บ.ป่าไม้และ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ คดีถึงที่สุด โดยศาลวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินในป่าแก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่ และป่าเขาสะโตน อันเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตอุทยานแห่งชาติ โดยไม่ได้รับอนุญาต ทำให้ป่าสงวนแห่งชาติเสื่อมสภาพคิดเป็นจำนวนเนื้อที่ 15 ไร่ คดีนี้กรมป่าไม้ซึ่งเป็นผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายตามสิทธิเรียกร้องอันมีมูลมาจากการกระทำความผิดอาญาดังกล่าว จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 จำเลยที่ 1 จะฎีกาโต้เถียงว่า โจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนเนื้อที่เท่าใด จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเต็มตามจำนวนเนื้อที่ 15 ไร่ หาได้ไม่ เพราะเป็นการฝ่าฝืนข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3729/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาบุกรุกป่า ศาลต้องใช้ข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาอาญาในการตัดสิน
พนักงานอัยการเคยเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีอาญาในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติฯ พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ และ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติฯ คดีถึงที่สุดในศาลชั้นต้นแล้ว โดยศาลวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินในป่าแก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่และป่าเขาสะโตน อันเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตอุทยานแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต ทำให้ป่าสงวนแห่งชาติเสื่อมสภาพคิดเป็นจำนวนเนื้อที่ 15 ไร่ ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 110/2544 ของศาลชั้นต้น คดีนี้เมื่อผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายตามสิทธิเรียกร้องอันมีมูลมาจากการกระทำความผิดอาญาจึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ดังนั้น การพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 จำเลยที่ 1 จะฎีกาโต้เถียงว่า โจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนเนื้อที่เท่าใด จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเต็มตามจำนวนเนื้อที่ 15 ไร่ นั้นหาได้ไม่ เพราะเป็นการฝ่าฝืนข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3729/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การชดใช้ค่าเสียหายจากความผิดบุกรุกป่า ศาลต้องใช้ข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาอาญา
พนักงานอัยการเคยเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีอาญาในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ร.บ.ป่าไม้และพ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ คดีถึงที่สุดในศาลชั้นต้นแล้ว โดยศาลวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินในป่าแก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่และป่าเขาสะโตน อันเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตอุทยานแห่งชาติ โดยไม่ได้รับอนุญาต ทำให้ป่าสงวนแห่งชาติเสื่อมสภาพคิดเป็นจำนวนเนื้อที่ 15 ไร่ คดีนี้เมื่อผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายตามสิทธิเรียกร้องอันมีมูลมาจากการกระทำความผิดอาญาดังกล่าวจึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ดังนั้น ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 จำเลยที่ 1 จะฎีกาโต้เถียงว่า โจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่า โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนเนื้อที่เท่าใด จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเต็มตามจำนวนเนื้อที่ 15 ไร่ นั้น หาได้ไม่ เพราะเป็นการฝ่าฝืนข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2181/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปิดเผยความลับทางการค้าต้องทำให้ข้อมูลนั้นหมดสภาพความเป็นความลับ จึงจะเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า
การกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 33 ต่อเมื่อจำเลยเปิดเผยความลับทางการค้าให้เป็นที่ล่วงรู้โดยทั่วไปในประการที่ทำให้ความลับทางการค้าสิ้นสภาพการเป็นความลับทางการค้าตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว แต่ตามฟ้องโจทก์เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 นำข้อมูลที่โจทก์อ้างว่าเป็นความลับทางการค้าไปเปิดเผยแก่จำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นบริษัทที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ร่วมกันจัดตั้งขึ้น แม้ตามกฎหมายจำเลยที่ 6 ถือเป็นบุคคลแยกต่างหากจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 แต่ตามฟ้องเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 นำข้อมูลที่อ้างว่าเป็นความลับทางการค้าไปใช้เองโดยวิธีจัดตั้งจำเลยที่ 6 ขึ้นมาเพื่อประโยชน์ในทางธุรกิจการค้าของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ข้อมูลความลับทางการค้าดังกล่าวยังคงอยู่ในความรู้ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 หรือจำเลยที่ 6 เท่านั้น มิใช่การเปิดเผยข้อมูลให้เป็นที่ล่วงรู้แก่บุคคลอื่นโดยทั่วไป ส่วนฟ้องโจทก์ที่ว่าจำเลยทั้งหกขายเครื่องจักรบรรจุสินค้าลงซองอัตโนมัติให้แก่ลูกค้าของโจทก์หลายราย ก็มิใช่การเปิดเผยข้อมูลความลับทางการค้าเกี่ยวกับกระบวนการผลิตเครื่องจักรดังกล่าวแก่ลูกค้าของโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งหกตามที่โจทก์บรรยายฟ้องจึงไม่เป็นการร่วมกันเปิดเผยความลับทางการค้าของโจทก์เป็นฟ้องที่ไม่ครบองค์ประกอบความผิด จึงไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งหกตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 33 ได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งหกชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ในทางแพ่งและมี คำขออื่นรวมมาด้วย โดยมีมูลมาจากความรับผิดในทางอาญา พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 33 เมื่อตามฟ้องไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งหกตามบทกฎหมายดังกล่าวได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งหกหรือขอให้บังคับตามคำขอท้ายฟ้องในส่วนแพ่ง
คดีนี้มีคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญารวมอยู่ด้วย แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้มีคำสั่งเรื่องความรับผิดของคู่ความในค่าฤชาธรรมเนียม ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจึงแก้ไขให้ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งหกชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ในทางแพ่งและมี คำขออื่นรวมมาด้วย โดยมีมูลมาจากความรับผิดในทางอาญา พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 33 เมื่อตามฟ้องไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งหกตามบทกฎหมายดังกล่าวได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งหกหรือขอให้บังคับตามคำขอท้ายฟ้องในส่วนแพ่ง
คดีนี้มีคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญารวมอยู่ด้วย แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้มีคำสั่งเรื่องความรับผิดของคู่ความในค่าฤชาธรรมเนียม ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจึงแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1144-1146/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิสูจน์การทำสัญญาซื้อขาย และการชำระราคาสินค้า
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลยรวม 9 แปลง ชำระราคาครบถ้วนแล้วแต่จำเลยไม่โอนที่ดินให้โจทก์ จำเลยให้การในตอนแรกว่า โจทก์จำเลยไม่เคยตกลงซื้อขายที่ดินกัน สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญาปลอม แต่กลับให้การในอีกตอนหนึ่งว่า โจทก์จำเลยทำหนังสือสัญญาตกลงกันเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2527 ว่า หนังสือสัญญาที่ทำไว้ก่อนหรือหลังสัญญาฉบับนี้ให้ถือว่าเป็นโมฆะ ฉะนั้นหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินท้ายฟ้องทั้งสามฉบับซึ่งทำขึ้นภายหลังหนังสือสัญญาดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจทำสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวมาฟ้องบังคับจำเลยได้จึงเป็นคำให้การไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม แต่คำให้การจำเลยเข้าใจได้ว่าจำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง และเป็นเพียงข้อเถียงข้อกล่าวหาของโจทก์ว่าจำเลยมิได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ตามคำฟ้องเท่านั้น จะแปลว่าเป็นคำให้การที่ต่อสู้ว่าโจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินท้ายฟ้องทั้งสามฉบับภายหลังทำหนังสือสัญญาฉบับลงวันที่ 12 มกราคม 2527 ไม่ได้ เพราะจำเลยให้การว่าโจทก์จำเลยไม่เคยตกลงซื้อขายที่ดินกัน
จำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาว่าปลอมสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินทั้งสามฉบับในคดีนี้ ซึ่งโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายทั้งสามฉบับดังกล่าว คดีนี้จึงเป็นคดีที่มีมูลคดีเกี่ยวเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาดังกล่าว และโจทก์จำเลยในคดีแพ่งกับคดีอาญาเป็นคู่ความเดียวกัน จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 เมื่อข้อเท็จจริงซึ่งเป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาทั้งสองเรื่องดังกล่าวถึงที่สุดแล้วตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5237-5238/2539 การพิพากษาคดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ซึ่งในคดีส่วนอาญาดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานโจทก์ยังไม่พอฟังว่าสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินทั้งสี่ฉบับ (ซึ่งรวมถึงสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเอกสารหมาย จ.11, จ.22 และ จ.25 ด้วย) เป็นเอกสารปลอม เมื่อรับฟังประกอบพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์
จำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาว่าปลอมสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินทั้งสามฉบับในคดีนี้ ซึ่งโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายทั้งสามฉบับดังกล่าว คดีนี้จึงเป็นคดีที่มีมูลคดีเกี่ยวเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาดังกล่าว และโจทก์จำเลยในคดีแพ่งกับคดีอาญาเป็นคู่ความเดียวกัน จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 เมื่อข้อเท็จจริงซึ่งเป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาทั้งสองเรื่องดังกล่าวถึงที่สุดแล้วตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5237-5238/2539 การพิพากษาคดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ซึ่งในคดีส่วนอาญาดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานโจทก์ยังไม่พอฟังว่าสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินทั้งสี่ฉบับ (ซึ่งรวมถึงสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเอกสารหมาย จ.11, จ.22 และ จ.25 ด้วย) เป็นเอกสารปลอม เมื่อรับฟังประกอบพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์