พบผลลัพธ์ทั้งหมด 772 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดและสัญญาประกันภัย: การวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและการแยกความรับผิดของจำเลย
แม้ว่าในการพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญาดังกล่าวด้วย ข้อเท็จจริงในคำพิพากษาคดีอาญาของศาลชั้นต้นที่ฟังว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จึงมีผลผูกพันเฉพาะจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้น ไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญาดังกล่าวด้วย
ป.วิ.พ. มาตรา 142 (6) กำหนดให้ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงขึ้นกว่าที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายแต่ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ได้ต้องเป็นกรณีที่ศาลเห็นสมควรโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีด้วย เมื่อผู้ตายมีส่วนประมาทในการทำละเมิด ย่อมเป็นเหตุให้ฝ่ายจำเลยต่อสู้คดีและฝ่ายจำเลยก็ได้ดำเนินคดีไปตามข้อต่อสู้และสิทธิของตน โดยไม่ปรากฏว่าได้ดำเนินคดีไปโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยของค่าเสียหายในอัตราร้อยละ 7.5 ตามที่โจทก์มีสิทธิได้รับตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 จึงสมควรแล้ว
เมื่อจำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมมิได้ยื่นอุทธรณ์ฉบับเดียวกันโดยจำเลยที่ 2 แยกยื่นอุทธรณ์อีกฉบับต่างหาก จึงต้องวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์มาพร้อมกับอุทธรณ์ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 แม้ว่าจำเลยที่ 2 จะได้ขอให้ศาลชั้นต้นเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี แต่มาตรา 59 ห้ามมิให้โจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมแทนซึ่งกันและกัน เว้นแต่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ คดีนี้จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องให้รับผิดในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิด ซึ่งเป็นความรับผิดในมูลละเมิดโดยผลของกฎหมาย ส่วนจำเลยร่วมถูกจำเลยที่ 2 ขอให้ศาลชั้นต้นเรียกเข้ามาให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันเกิดเหตุซึ่งเป็นความรับผิดในมูลสัญญา ความรับผิดของจำเลยที่ 2 และความรับผิดของจำเลยร่วมจึงแตกต่างกัน มูลความแห่งคดีมิได้เป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความเต็มจำนวนที่ตนจะต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ด้วย
การวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229 เป็นการวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมในการใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์และเพื่อเป็นประกันการชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้แก่โจทก์ มิใช่เป็นการชำระหนี้ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล โจทก์ย่อมบังคับชำระหนี้ได้เพียงจำนวนตามคำพิพากษาเท่านั้น จะบังคับชำระเอาทั้งหมดตามที่จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมวางไม่ได้ เงินค่าธรรมเนียมส่วนที่วางเกินหรือเหลือจากการบังคับคดี จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมย่อมขอคืนตามส่วนที่ตนวาง และหากจำเลยที่ 2 หรือจำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ก็ย่อมขอเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความที่วางไว้คืนได้ ซึ่งจำเลยร่วมได้ใช้สิทธิขอเงินที่วางไว้ดังกล่าวคืนไปแล้วด้วย คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 2 นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์มาวางให้ครบถ้วนโดยไม่ยอมให้หักเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์ที่จำเลยร่วมวางไว้แล้วนั้น จึงไม่เป็นการให้วางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์เกินกว่าที่จำเลยที่ 2 จะต้องใช้ให้แก่โจทก์หรือเป็นการวางเงินซ้ำซ้อน ไม่ขัดต่อมาตรา 229 และ 162
ป.วิ.พ. มาตรา 142 (6) กำหนดให้ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงขึ้นกว่าที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายแต่ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ได้ต้องเป็นกรณีที่ศาลเห็นสมควรโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีด้วย เมื่อผู้ตายมีส่วนประมาทในการทำละเมิด ย่อมเป็นเหตุให้ฝ่ายจำเลยต่อสู้คดีและฝ่ายจำเลยก็ได้ดำเนินคดีไปตามข้อต่อสู้และสิทธิของตน โดยไม่ปรากฏว่าได้ดำเนินคดีไปโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยของค่าเสียหายในอัตราร้อยละ 7.5 ตามที่โจทก์มีสิทธิได้รับตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 จึงสมควรแล้ว
เมื่อจำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมมิได้ยื่นอุทธรณ์ฉบับเดียวกันโดยจำเลยที่ 2 แยกยื่นอุทธรณ์อีกฉบับต่างหาก จึงต้องวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์มาพร้อมกับอุทธรณ์ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 แม้ว่าจำเลยที่ 2 จะได้ขอให้ศาลชั้นต้นเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี แต่มาตรา 59 ห้ามมิให้โจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมแทนซึ่งกันและกัน เว้นแต่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ คดีนี้จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องให้รับผิดในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิด ซึ่งเป็นความรับผิดในมูลละเมิดโดยผลของกฎหมาย ส่วนจำเลยร่วมถูกจำเลยที่ 2 ขอให้ศาลชั้นต้นเรียกเข้ามาให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันเกิดเหตุซึ่งเป็นความรับผิดในมูลสัญญา ความรับผิดของจำเลยที่ 2 และความรับผิดของจำเลยร่วมจึงแตกต่างกัน มูลความแห่งคดีมิได้เป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความเต็มจำนวนที่ตนจะต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ด้วย
การวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229 เป็นการวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมในการใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์และเพื่อเป็นประกันการชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้แก่โจทก์ มิใช่เป็นการชำระหนี้ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล โจทก์ย่อมบังคับชำระหนี้ได้เพียงจำนวนตามคำพิพากษาเท่านั้น จะบังคับชำระเอาทั้งหมดตามที่จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมวางไม่ได้ เงินค่าธรรมเนียมส่วนที่วางเกินหรือเหลือจากการบังคับคดี จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมย่อมขอคืนตามส่วนที่ตนวาง และหากจำเลยที่ 2 หรือจำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ก็ย่อมขอเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความที่วางไว้คืนได้ ซึ่งจำเลยร่วมได้ใช้สิทธิขอเงินที่วางไว้ดังกล่าวคืนไปแล้วด้วย คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 2 นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์มาวางให้ครบถ้วนโดยไม่ยอมให้หักเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์ที่จำเลยร่วมวางไว้แล้วนั้น จึงไม่เป็นการให้วางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์เกินกว่าที่จำเลยที่ 2 จะต้องใช้ให้แก่โจทก์หรือเป็นการวางเงินซ้ำซ้อน ไม่ขัดต่อมาตรา 229 และ 162
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2361/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาคดีอาญาฐานบุกรุกต่อคดีแพ่งเรียกร้องค่าเสียหายและการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
ในคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดฐานบุกรุกนั้น ข้อวินิจฉัยที่ว่าที่ดินพิพาทที่จำเลยเข้ามาสร้างบ้านสองชั้นเป็นของโจทก์หรือไม่ เป็นปัญหาโดยตรงในการวินิจฉัยคดีส่วนอาญา ดังนั้น ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาซึ่งถึงที่สุดแล้วดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 โดยต้องฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ จะให้ฟังว่าเป็นของจำเลยหรือเป็นลำห้วยสาธารณประโยชน์หรือออกโฉนดที่ดินทับลำห้วยสาธารณประโยชน์มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง: การประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย
คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่มีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ ศ. ได้รับอันตรายแก่กาย ถือว่าพนักงานอัยการได้ดำเนินคดีอาญาแทน ศ. ผู้เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ในฐานะเป็นผู้เสียหาย ข้อเท็จจริงในคดีอาญาย่อมผูกพันโจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิจาก ศ. ด้วย เมื่อคดีส่วนอาญาถึงที่สุดแล้ว โดยศาลฎีกาเห็นว่าพยานหลักฐานที่โจทก์ในคดีอาญานำสืบมายังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 บัญญัติให้ศาลในคดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ศาลฎีกาจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ยุติในคดีอาญาว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อ เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งกระทำการแทนจำเลยที่ 2 มิได้ประมาทเลินเล่อ จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องร่วมรับผิดชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 825/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การพิสูจน์สาเหตุ และความรับผิดของนายจ้าง
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดที่มีโทษถึงขั้นไล่ออก เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ขอให้เพิกถอนคำสั่งเลิกจ้างและรับโจทก์กลับเข้าทำงาน มิฉะนั้นให้จ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมพร้อมดอกเบี้ย เป็นคดีที่โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานและกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นสิทธิในทางแพ่งโดยเฉพาะ ไม่ได้อาศัยมูลความผิดทางอาญา แม้จำเลยทั้งสองจะให้การว่าจำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินใด ๆ เพราะโจทก์กระทำความผิดอาญาโดยทำร้ายร่างกาย พ. และถูกศาลแขวงพระนครเหนือพิพากษาลงโทษไปแล้ว ก็ไม่ทำให้คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าวจะนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 46 มาใช้บังคับไม่ได้ ที่ศาลแรงงานกลางให้โจทก์นำสืบถึงสาเหตุและพฤติการณ์ที่โจทก์ทำร้าย พ. และนำมาวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ได้จงใจทำผิดข้อบังคับและไม่เป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายแต่อย่างใด
แม้จำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างตาม พ.ร.บ. แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ มาตรา 6 (2) แต่จำเลยที่ 1 เป็นรัฐวิสาหกิจ จำเลยที่ 2 เป็นผู้อำนวยการผู้มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่ 1 ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 77 ประกอบมาตรา 820 กระทำไปภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว
แม้จำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างตาม พ.ร.บ. แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ มาตรา 6 (2) แต่จำเลยที่ 1 เป็นรัฐวิสาหกิจ จำเลยที่ 2 เป็นผู้อำนวยการผู้มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่ 1 ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 77 ประกอบมาตรา 820 กระทำไปภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งประทับฟ้องคดีอาญาไม่ผูกพันคดีแพ่ง การพิสูจน์เอกสารปลอมต้องมีผลชี้ขาดในคดีอาญา
ในคดีอาญาที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาว่าร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีมีมูลเฉพาะจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 คดีไม่มีมูล จึงประทับฟ้องจำเลยที่ 1 และยกฟ้องจำเลยที่ 2 คำสั่งของศาลชั้นต้นให้ประทับฟ้องจำเลยที่ 1 มีผลให้คดีเข้าสู่การพิจารณาของศาลเท่านั้น ยังไม่ได้ชี้ว่าหนังสือมอบอำนาจปลอมหรือไม่ และคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ยังไม่ถึงที่สุด ทั้งไม่อาจนำมาผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่งศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำผิด จึงมิใช่ข้อเท็จจริงที่จะฟังในคดีแพ่งว่าหนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งประทับฟ้องคดีอาญาไม่ผูกพันคดีแพ่ง แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้องจำเลยบางส่วน ก็ไม่ได้หมายความว่าเอกสารพิพาทเป็นเอกสารปลอม
ในคดีอาญาที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาว่าร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีมีมูลเฉพาะจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 คดีไม่มีมูล จึงประทับฟ้องจำเลยที่ 1 และยกฟ้องจำเลยที่ 2 คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ประทับฟ้องจำเลยที่ 1 มีผลให้คดีเข้าสู่การพิจารณาของศาลเท่านั้น ยังไม่ได้ชี้ว่าหนังสือมอบอำนาจปลอมหรือไม่ และคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ยังไม่ถึงที่สุด ทั้งไม่อาจนำมาผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่งศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำผิด จึงมิใช่ข้อเท็จจริงที่จะฟังในคดีแพ่งว่าหนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง เหตุจากประเด็นไม่ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง และฎีกาไม่ชัดแจ้ง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ปลอมลายมือชื่อโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจ แต่โจทก์ฎีกาในทำนองว่า จำเลยที่ 1 นำหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์ลงลายชื่อไว้ไปใช้ทำการจดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์ไม่ยินยอม ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยเฉพาะปัญหาที่ว่าลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจเป็นลายมือชื่อโจทก์หรือไม่และเชื่อว่าเป็นลายมือชื่อของโจทก์ไม่ใช่ลายมือชื่อปลอมจึงพิพากษายกฟ้อง โดยไม่ได้วินิจฉัยปัญหาที่ว่า จำเลยที่ 1 นำหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์ลงลายมือชื่อไว้ไปใช้ทำการจดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์ไม่ยินยอมหรือไม่ เมื่อปัญหาว่าจำเลยที่ 1 นำหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ไปใช้โดยโจทก์มิได้ยินยอมเป็นข้อที่โจทก์มิได้กล่าวไว้ในคำฟ้อง ไม่เป็นประเด็นที่ศาลล่างทั้งสองจะต้องวินิจฉัย ดังนั้น ฎีกาของโจทก์ข้อนี้จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคดีอาญาข้อหาปลอมเอกสารให้ประทับฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 มีผลให้คดีเข้าสู่การพิจารณาของศาลเท่านั้น ยังไม่ได้ชี้ว่าหนังสือมอบอำนาจปลอมหรือไม่และคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ก็ยังไม่ถึงที่สุด ทั้งไม่อาจนำมาผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่งศาลพิพากษายกฟ้องเนื่องจากฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำผิด จึงมิใช่ข้อเท็จจริงที่จะฟังในคดีแพ่งได้ว่าหนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารปลอม
ฎีกาโจทก์ในส่วนที่คัดลอกข้อความในอุทธรณ์มาทั้งข้อ มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงไว้ว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบอย่างไร เป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคดีอาญาข้อหาปลอมเอกสารให้ประทับฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 มีผลให้คดีเข้าสู่การพิจารณาของศาลเท่านั้น ยังไม่ได้ชี้ว่าหนังสือมอบอำนาจปลอมหรือไม่และคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ก็ยังไม่ถึงที่สุด ทั้งไม่อาจนำมาผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่งศาลพิพากษายกฟ้องเนื่องจากฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำผิด จึงมิใช่ข้อเท็จจริงที่จะฟังในคดีแพ่งได้ว่าหนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารปลอม
ฎีกาโจทก์ในส่วนที่คัดลอกข้อความในอุทธรณ์มาทั้งข้อ มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงไว้ว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบอย่างไร เป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8032/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญายืมและซื้อขายสินค้า การผิดนัดชำระหนี้และดอกเบี้ย
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาต่อศาลแขวงพระโขนง จากมูลหนี้ที่จำเลยทั้งสองไม่คืนวาล์วประตูน้ำพิพาทแก่โจทก์ในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ศาลแขวงพระโขนงพิพากษายกฟ้องโดยฟังว่าการที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระราคาเป็นเรื่องผิดสัญญาในทางแพ่งไม่ใช่เป็นการยักยอกทรัพย์สินของโจทก์ จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ส่วนคดีแพ่งโจทก์ฟ้องขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยืมโดยอาศัยมูลหนี้ในเรื่องยืม อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จะนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 46 มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4492/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งในคดีแรงงานไม่เป็นฟ้องซ้ำ หากประเด็นเสียหายต่างจากคดีอาญา แม้มีมูลเหตุจากเหตุการณ์เดียวกัน
ในคดีอาญา อัยการโจทก์กล่าวหาว่าโจทก์ในคดีนี้ซึ่งครอบครองดูแลรักษาสินค้าของผู้เสียหาย (จำเลยในคดีนี้) แล้วโจทก์ได้เบียดบังเอาไปเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต และมีคำขอให้โจทก์คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไปเป็นเงิน 310,145 บาทพร้อมดอกเบี้ย แต่คดีนี้นอกจากจำเลยจะอ้างว่าโจทก์ร่วมกับบุคคลอื่นยักยอกทรัพย์ของจำเลยไปแล้ว จำเลยยังอ้างในฟ้องแย้งด้วยว่าโจทก์ครอบครองทรัพย์สินของจำเลย โจทก์มีหน้าที่จะต้องส่งคืนทรัพย์สินดังกล่าวแก่จำเลย แต่โจทก์มิได้ส่งคืนให้กลับนำไปมอบให้แก่บุคคลอื่น จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย เป็นการกระทำผิดต่อสัญญาจ้างแรงงาน ดังนี้ เห็นได้ว่าข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งนั้นมาจากข้ออ้างเนื่องจากการกระทำผิดทางอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลละเมิด แต่คดีนี้จำเลยอ้างว่าโจทก์ทำผิดสัญญาจ้างแรงงานเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายรวมอยู่ด้วย แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้องคดีอาญา แต่ก็วินิจฉัยเพียงว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่เพียงพอที่จะฟังว่าจำเลย (โจทก์คดีนี้) มีส่วนร่วมรู้เห็นกับผู้ที่มารับสินค้า ซึ่งเท่ากับฟังว่ายังไม่เป็นความผิดฐานยักยอกเท่านั้น โดยยังมิได้วินิจฉัยว่าการกระทำดังกล่าวของโจทก์เป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานทำให้จำเลยได้รับความเสียหายดังที่จำเลยถือเป็นข้ออ้างในคดีนี้หรือไม่ ที่จำเลยฟ้องแย้งจึงมิใช่เป็นกรณีที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่งเกี่ยวเนื่อง และการแก้ไขจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาซึ่งยกฟ้องจำเลยที่ 2 ในข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย ได้รับอันตรายสาหัส และถึงแก่ความตาย มีประเด็นตรงกับประเด็นในคดีนี้ที่ว่า จำเลยที่ 2 ขับรถด้วยความประมาทเลินเล่อปราศจากความระมัดระวังตามที่โจทก์ที่ 1 ฟ้องหรือไม่ เมื่อโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว จึงต้องผูกพันตามคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าว คดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาจึงต้องฟังว่าจำเลยที่ 2 มิได้ขับรถด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายได้รับอันตรายสาหัสและได้รับอันตรายแก่กายตามฟ้อง เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 1 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่โจทก์ที่ 1 ฟ้องด้วย
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ชดใช้เงินแก่โจทก์ที่ 3 ที่ 8 ที่ 17 ที่ 56 และที่ 63 เกินกว่าจำนวนที่ปรากฏในคำขอท้ายฟ้องโจทก์แต่ละคนดังกล่าวนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 โดยให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ชดใช้เงินเป็นจำนวนตามคำขอของโจทก์แต่ละคนดังกล่าว พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดเป็นต้นไป
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ชดใช้เงินแก่โจทก์ที่ 3 ที่ 8 ที่ 17 ที่ 56 และที่ 63 เกินกว่าจำนวนที่ปรากฏในคำขอท้ายฟ้องโจทก์แต่ละคนดังกล่าวนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 โดยให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ชดใช้เงินเป็นจำนวนตามคำขอของโจทก์แต่ละคนดังกล่าว พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดเป็นต้นไป