พบผลลัพธ์ทั้งหมด 772 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8725/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์คดีอาญา-แพ่ง: การพิจารณาค่าสินไหมทดแทนตามคดีอาญา และสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตาม ป.อ. มาตรา 44/1 ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ดังนั้น สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนในคดีส่วนแพ่งต้องถือคดีส่วนอาญาเป็นหลัก หากคดีส่วนอาญาขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา คดีส่วนแพ่งก็ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์หรือฎีกา ฉะนั้น จำเลยจึงไม่จำต้องขออนุญาตฎีกาในคดีส่วนแพ่ง และการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยเฉพาะคดีส่วนอาญา และให้ส่งคำร้องขออนุญาตฎีกาในคดีส่วนแพ่งดังกล่าวมาให้ศาลฎีกาพิจารณาสั่งจึงเป็นการไม่ชอบ จึงให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นเฉพาะในส่วนที่ให้ส่งคำร้องขออนุญาตฎีกาในคดีส่วนแพ่งมาให้ศาลฎีกาพิจารณาสั่ง และเมื่อคดีส่วนอาญาขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรมีคำสั่งใหม่เป็นรับฎีกาในคดีส่วนแพ่งของจำเลย และหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนลงไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5233/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท: ศาลพิจารณาจากคำพิพากษาคดีอาญาถึงที่สุดเพื่อความยุติธรรมและความสงบเรียบร้อย
การที่ผู้ร้องบรรยายคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยอ้างว่า ผู้ร้องซื้อที่ดินพิพาทซึ่งเดิมเป็นที่ดินมือเปล่ามาจากผู้คัดค้านและได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา เป็นผลเพียงให้ผู้ร้องไม่อาจอ้างการได้มาซึ่งที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1382 ได้ ไม่ใช่กรณีที่ผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอ และคดียังคงมีตัวผู้ร้องตามคำร้องและฟ้องแย้ง เมื่อผู้ร้องและผู้คัดค้านยังโต้แย้งความเป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทอยู่ คดีจึงยังมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องหรือของผู้คัดค้าน ฟ้องแย้งหาตกไปไม่คำพิพากษาในคดีอาญาของศาลชั้นต้นเป็นพยานหลักฐานสำคัญอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีที่ศาลฎีกาเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องเรียกมาเป็นพยานหลักฐานเพิ่มเติมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคท้าย เมื่อศาลชั้นต้นในคดีอาญาดังกล่าววินิจฉัยไว้โดยชัดแจ้งว่า ผู้ร้องในคดีนี้ซึ่งเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาดังกล่าวเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทในคดีนี้ ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาซึ่งถึงที่สุดแล้วตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบมาตรา 252
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2656/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานแสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน, หน่วงเหนี่ยวกักขัง, และกรรโชกทรัพย์ ร่วมกันกระทำผิดและรับผิดทางแพ่ง
เมื่อในคดีส่วนอาญาศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นตัวการร่วมกันในการกระทำความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้ร้องที่ 2 และฐานกรรโชกทรัพย์ผู้ร้องที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้องที่ 1 และที่ 2 ด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 มิได้กำหนดความรับผิดของจำเลยที่ 2 ในส่วนนี้มา โดยผู้ร้องทั้งสองไม่ได้ฎีกามาด้วยนั้น ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกคดีส่วนแพ่งขึ้นวินิจฉัยเพื่อให้เป็นไปตามผลแห่งคดีอาญาได้ เพราะเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1377/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กเพื่อแสวงหาประโยชน์ทางเพศและค้ามนุษย์ จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
เมื่อข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบมามีน้ำหนักให้รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยเป็นผู้ชักชวนผู้เสียหายที่ 1 ให้ไปมีเพศสัมพันธ์กับ ส. พฤติการณ์ของจำเลยที่ชักชวนผู้เสียหายที่ 1 นับตั้งแต่ครั้งแรกในคืนที่จำเลยพบผู้เสียหายที่ 1 ในร้านอาหาร โดยการตามผู้เสียหายที่ 1 ไปที่ห้องน้ำเพื่อบอกว่า ส. ต้องการมีเพศสัมพันธ์กับผู้เสียหายที่ 1 และ ส. จะให้ทุกอย่างตามที่ต้องการ จนกระทั่งวันเกิดเหตุจำเลยไปหาผู้เสียหายที่ 1 ที่บ้านเพื่อนของผู้เสียหายที่ 1 และยังคงพูดจาชักชวนผู้เสียหายที่ 1 ไปมีเพศสัมพันธ์กับ ส. อีก จนผู้เสียหายที่ 1 ยอมตามที่จำเลยชักชวนและหลังจาก ส. พาผู้เสียหายที่ 1 ไปมีเพศสัมพันธ์ แล้วกลับมาที่ร้านอาหารดังกล่าว จำเลยได้รับเงินจากผู้เสียหายที่ 1 จำนวน 500 บาท นอกจากนี้ ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 ยังอยู่ในอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ปกครองหรือผู้ดูแล การที่จำเลยชักชวนผู้เสียหายที่ 1 ไปพบ ส. ที่ร้านอาหารเพื่อค้าประเวณีย่อมเป็นการล่วงอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 แม้ผู้เสียหายที่ 1 จะสมัครใจยินยอมไปกับจำเลยก็ถือไม่ได้ว่าได้รับความยินยอมเห็นชอบจากผู้เสียหายที่ 2 เช่นนี้แล้ว จำเลยจึงมีความผิดฐานพรากผู้เสียหายที่ 1 ไปเสียจากผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อหากำไรและเพื่อการอนาจาร ฐานเป็นธุระจัดหาซึ่งบุคคลใดเพื่อให้บุคคลนั้นกระทำการค้าประเวณีแม้บุคคลนั้นจะยินยอมก็ตาม และเป็นการกระทำต่อเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี เป็นธุระจัดหาเด็กเพื่อเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ อันเป็นการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ เพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น เป็นธุระจัดหา หรือพาไปเพื่ออนาจาร แม้ผู้นั้นจะยินยอมก็ตาม และเป็นการกระทำแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี และชักจูงส่งเสริมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควร
สำหรับค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้น ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษายกคำร้อง แม้ผู้ร้องจะไม่ได้ฎีกาแต่คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ศาลฎีกามีอำนาจหยิกยกขึ้นวินิจฉัยเพื่อให้เป็นไปตามผลของคดีอาญาได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานพรากผู้เสียหายที่ 1 ไปเสียจากผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อหากำไรและเพื่อการอนาจาร การกระทำของจำเลยจึงเป็นการละเมิดและจำต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้อง
สำหรับค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้น ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษายกคำร้อง แม้ผู้ร้องจะไม่ได้ฎีกาแต่คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ศาลฎีกามีอำนาจหยิกยกขึ้นวินิจฉัยเพื่อให้เป็นไปตามผลของคดีอาญาได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานพรากผู้เสียหายที่ 1 ไปเสียจากผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อหากำไรและเพื่อการอนาจาร การกระทำของจำเลยจึงเป็นการละเมิดและจำต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับบัญชีทรัพย์มรดกของคนต่างด้าว, อายุความมรดก, และอำนาจศาลในการบังคับจำหน่ายทรัพย์สินตามกฎหมาย
คดีนี้กับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 5172/2547 ของศาลแขวงสมุทรปราการซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยกล่าวหาว่าการกระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์มรดกที่ดินพิพาท มีประเด็นเป็นเรื่องเดียวกัน คือ ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายหรือเป็นของจำเลย และคดีอาญาดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว กรณีจึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 บัญญัติว่า ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ซึ่งข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่คดีแพ่งจะต้องถือตามนั้น ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่วินิจฉัยไว้ในคดีอาญาแล้ว คดีดังกล่าวศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า พยานหลักฐานโจทก์รับฟังลงโทษจำเลยไม่ได้เท่านั้น ยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแน่นอนว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายหรือของจำเลย จึงรับฟังเป็นยุติในคดีนี้ไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงไม่ผูกพันให้การพิพากษาคดีนี้ต้องถือข้อเท็จจริงดังที่ปรากฏในคำพิพากษาในคดีอาญาดังกล่าวเมื่อที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย โจทก์ย่อมมีสิทธิบังคับให้จำเลยส่งมอบที่ดินพิพาทส่วนที่ตนถือกรรมสิทธิ์แทนผู้ตายแก่กองมรดกได้ แต่เมื่อจำเลยเป็นทายาทของผู้ตายคนหนึ่งซึ่งยังมีสิทธิรับมรดกตามส่วนเช่นเดียวกับทายาทคนอื่น จำเลยย่อมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทร่วมกับทายาทอื่นและมีอำนาจใช้สอยที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360 ประกอบมาตรา 1336 จนกว่าจะมีการแบ่งกันเสร็จสิ้น โจทก์จึงมีสิทธิเพียงบังคับให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้กลับคืนกองมรดกของผู้ตายเท่านั้น หาอาจให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทเสียเลยไม่ กำหนดอายุความมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ที่บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกนั้น ใช้บังคับสำหรับกรณีที่ทายาทฟ้องเรียกร้องทรัพย์มรดกจากทายาทที่ครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งปันกัน แต่คดีนี้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องคดีนี้เพื่อขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทเข้าสู่กองมรดกของผู้ตายเพื่อแบ่งให้แก่ผู้เป็นทายาททุกคนซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 กรณีดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความในการติดตามเอาทรัพย์สินคืน จะนำอายุความมรดก 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับไม่ได้ ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยฎีกาว่าโจทก์ต้องแบ่งที่ดินและอาคารตึกแถวพิพาทหรือไม่ แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทเข้าสู่กองมรดก เพื่อจัดการแบ่งมรดกให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกต่อไป จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกและคดีขาดอายุความ ฎีกาของจำเลยข้อนี้เป็นข้ออ้างที่จำเลยไม่ได้ให้การไว้และไม่ได้ฟ้องแย้งทั้งเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม เป็นการฎีกานอกฟ้องนอกประเด็นข้อพิพาท ทั้งมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์และไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 (เดิม)แม้ขณะทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทผู้ตายเป็นคนต่างด้าว แล้วให้จำเลยเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทน ถือได้ว่าเป็นการได้ที่ดินพิพาทมาโดยไม่ชอบด้วย ป.ที่ดิน มาตรา 86 แต่การได้ที่ดินพิพาทมาก็หาใช่จะไม่มีผลใด ๆ เสียเลย เพราะผู้ตายยังมีสิทธิได้รับผลตามบทบัญญัติมาตรา 94 แห่ง ป.ที่ดิน ในอันที่จะจัดการจำหน่ายที่ดินพิพาทนั้นได้ภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนด หรืออธิบดีกรมที่ดินอาจจำหน่ายที่ดินนั้นได้ กรณีต้องถือว่าตราบใดที่ผู้ตายหรืออธิบดีกรมที่ดินยังไม่ได้จำหน่ายที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของผู้ตาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทย่อมเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์หรือนำไปจำหน่ายตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 แล้วนำเงินมาแบ่งแก่ทายาทได้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นการบังคับโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกให้ขายที่ดินพิพาทของผู้ตายซึ่งเป็นคนต่างด้าวตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 และกรณีที่ดินพิพาทตกทอดแก่ทายาทโดยทางมรดกนั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นการจำหน่ายที่ดินตามเจตนารมณ์ ป.ที่ดิน มาตรา 94 เมื่อต้องจำหน่ายที่ดินดังกล่าวจึงเป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่ผู้ตายมีอยู่ขณะถึงแก่ความตายย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของผู้ตายด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599, 1600 และเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของโจทก์ในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกในอันต้องดำเนินการเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 ประกอบกับบทบัญญัติตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 เป็นกฎหมายที่จำกัดสิทธิการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินของคนต่างด้าวและเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายนี้ได้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ส่วนนี้จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 361/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตราย ศาลฎีกายืนโทษจำคุก รอการลงโทษ และพิพากษาให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเฉพาะคดีส่วนอาญาเท่านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิฎีกาในคดีส่วนแพ่งได้ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อคดีส่วนอาญาฟังได้ว่าจำเลยใช้อาวุธมีดแทงทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ดังนั้น ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 คดีส่วนแพ่งย่อมฟังได้ว่า จำเลยทำละเมิดต่อผู้เสียหายและต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ร้องในคดีนี้ และถึงแม้ผู้ร้องไม่ได้ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกวินิจฉัยให้จำเลยรับผิดในคดีส่วนแพ่งได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6721-6722/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดร่วมกันทำร้ายร่างกาย: การแบ่งแยกความรับผิดชอบเมื่อการกระทำรุนแรงเกินเจตนาเริ่มต้น
เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้พูดจาหรือกระทำการใด ๆ อันอาจถือได้ว่าเป็นตัวการหรือผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ในการใช้อาวุธมีดแทงโจทก์ร่วม ตามพฤติการณ์จึงเชื่อว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีเจตนาเพียงต้องการชกต่อยทำร้ายโจทก์ร่วมเท่านั้น การที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดแทงโจทก์ร่วมจึงเป็นการกระทำโดยลำพังของจำเลยที่ 1 อันเป็นการตัดสินใจของจำเลยที่ 1 โดยฉับพลันในขณะนั้นเอง ดังนั้นการที่โจทก์ร่วมได้รับอันตรายสาหัสจากการถูกจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดแทง จึงมิใช่ผลโดยตรงอันเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่มีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส คงมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายเท่านั้นการพิจารณาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 เมื่อคดีอาญาฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ทำร้ายโจทก์ร่วม ซึ่งแม้จะไม่ปรากฏโดยชัดแจ้งว่าโจทก์ร่วมได้รับบาดเจ็บจากการถูกชกต่อยทำร้ายแต่ก็ต้องถือว่าโจทก์ร่วมได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้ว ศาลย่อมมีอำนาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้ชดใช้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5830/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในคดีแพ่งและอาญา, อำนาจฟ้อง, ข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีอาญา
พนักงานอัยการฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในความผิดฐานฉ้อโกง กับมีคำขอให้คืนหรือใช้เงิน ที่ผู้เสียหายส่งมอบให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 แก่ผู้เสียหาย อันเป็นคำขอในส่วนแพ่งที่พนักงานอัยการฟ้องคดีแทนผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์คดีนี้ เมื่อเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินรายเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 คืนในคดีนี้ การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ในระยะเวลาที่คดีอาญาดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ฟ้องโจทก์ในส่วนเงินที่ส่งมอบอันเป็นต้นเงินจึงเป็นฟ้องซ้อน แต่ในส่วนดอกเบี้ย พนักงานอัยการไม่ได้ขอให้ชดใช้ในคดีอาญาดังกล่าว จึงไม่เป็นฟ้อนซ้อน
เมื่อข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่ได้หลอกลวงโจทก์ และเงินที่โจทก์ส่งมอบให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ถูกส่งเป็นทอด ๆ ไปให้จำเลยที่ 4 โดยมิได้อยู่ในครอบครองของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่โจทก์จะใช้สิทธิติดตามเอาคืนจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ชำระดอกเบี้ยในเงินจำนวนนั้น
เมื่อข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่ได้หลอกลวงโจทก์ และเงินที่โจทก์ส่งมอบให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ถูกส่งเป็นทอด ๆ ไปให้จำเลยที่ 4 โดยมิได้อยู่ในครอบครองของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่โจทก์จะใช้สิทธิติดตามเอาคืนจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ชำระดอกเบี้ยในเงินจำนวนนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5310/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยค้ำจุน: ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดชอบค่าสินไหมทดแทนแม้ผู้ขับขี่ประมาทตามคำพิพากษาอาญา
ผู้คัดค้านรับประกันภัยรถยนต์โดยสารประจำทางซึ่งเป็นสัญญาประกันภัยค้ำจุน เมื่อ ว. ผู้ขับขี่รถยนต์โดยสารประจำทางที่เอาประกันภัยไว้กับผู้คัดค้านต้องรับผิดฐานละเมิดต่อผู้ร้องทั้งสามเพราะขับรถยนต์โดยสารประจำทางโดยประมาทไปทับ จ. ถึงแก่ความตายตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญา แม้ในคดีอาญาผู้คัดค้านจะไม่ได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยจึงไม่ถูกผูกพันในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งที่ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ก็ตาม แต่ผู้คัดค้านเป็นผู้รับประกันภัย ตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลอีกคนหนึ่งและซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคหนึ่ง ซึ่งผู้คัดค้านก็ไม่ได้โต้แย้งว่าผู้เอาประกันภัยไม่ต้องร่วมรับผิดกับ ว. ผู้คัดค้านไม่อาจนำสืบเปลี่ยนแปลงให้ผิดไปจากความรับผิดของ ว. ได้ ผู้คัดค้านจึงต้องรับผิดต่อผู้ร้องทั้งสามตามสัญญาประกันภัย ที่อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยว่าคำพิพากษาของศาลอาญาที่วินิจฉัยว่า ว. กระทำโดยประมาทไม่ผูกพันผู้คัดค้านเพราะผู้คัดค้านมิได้เป็นคู่ความในคดี แล้ววินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่า ว. มิได้เป็นฝ่ายขับรถโดยประมาท เป็นคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การยอมรับหรือบังคับตามคำชี้ขาดจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ศาลมีอำนาจเพิกถอนคำชี้ขาดได้ ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคสาม (2) (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4839/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามฎีกาคดีอาญาและแพ่งเกี่ยวเนื่อง: ข้อจำกัดการฎีกาในคดีอาญา, ข้อจำกัดทุนทรัพย์คดีแพ่ง, และอำนาจศาล
การที่โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 เป็นการใช้สิทธิยื่นคำร้องในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ มิใช่เป็นคดีที่โจทก์ร่วมฟ้องเองโดยตรง จึงต้องถือว่าคำพิพากษาในส่วนที่โจทก์ร่วมเรียกค่าสินไหมทดแทนเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาในคดีส่วนอาญา ทั้งการพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ดังนั้น สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนในคดีส่วนแพ่งดังกล่าวต้องถือคดีส่วนอาญาเป็นหลัก หากคดีส่วนอาญาขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา คดีส่วนแพ่งก็ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์หรือฎีกา แต่หากคดีอาญาต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกา คดีส่วนแพ่งก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง คดีนี้คดีส่วนอาญาต้องห้ามฎีกา การพิจารณาคดีส่วนแพ่งในชั้นฎีกาจึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 40 โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2558 ก่อนที่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 27) พ.ศ.2558 มีผลใช้บังคับ สิทธิในการฎีกาจึงเป็นไปตามกฎหมายฉบับเดิมก่อนมีการแก้ไข ดังนั้น เมื่อโจทก์ร่วมฎีกาขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วม 100,000 บาท เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 9 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่เรียกร้องอันเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท คดีจึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะฟ้องคดี ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกามาจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย