คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 254

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 217 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8462/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น: องค์ประชุม, มติซ้ำซ้อน, และผลกระทบจากคดีความอื่น
การที่จำเลยเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นตามบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีอยู่ ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1141 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องในข้อกระทงความบรรดาที่กฎหมายบังคับหรือให้อำนาจให้เอาลงไว้ในทะเบียนเพื่อพิจารณาและลงมติในเรื่องกิจการของบริษัทจึงชอบแล้วในเบื้องต้น โจทก์จะขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นโดยอ้างเพียงเหตุไม่เห็นด้วยกับมติที่ประชุมไม่ได้ เนื่องจากไม่ใช่เป็นมติที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1195 ส่วนมติในการประชุมผู้ถือหุ้นในครั้งนี้จะซ้ำซ้อนกับมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นในครั้งก่อนหรือไม่อย่างไร ก็ไม่ใช่สาระสำคัญเพราะต้องถือเอามติครั้งล่าสุดที่ชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับของบริษัทมาใช้บังคับ เมื่อวินิจฉัยดังนี้แล้ว คำฟ้องโจทก์ที่อ้างเหตุข้างต้นจึงไม่มีมูล และไม่มีเหตุที่จะนำวิธีคุ้มครองตามคำร้องของโจทก์มาใช้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14002/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: ยึดทรัพย์เพิ่มเติมได้แม้ยังไม่ได้ขายทรัพย์จำนอง เพื่อป้องกันการเสียสิทธิเมื่อระยะเวลาใกล้หมด
แม้การบังคับคดีตามคำพิพากษาจะต้องบังคับเอาแก่ทรัพย์สินจำนองก่อน หากไม่ครบจำนวนหนี้จึงจะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่น แต่ในวันที่โจทก์ร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 4 อีก ได้แก่ ที่ดินโฉนดเลขที่ 71474 ดังกล่าวที่พิพาท สืบเนื่องจากระยะเวลาการบังคับคดีใกล้สิ้นสุดลงแล้ว หากโจทก์ไม่ร้องขอให้ยึดทรัพย์สินที่พิพาททันที แต่ต้องรอให้มีการขายทรัพย์สินจำนองเสร็จก่อนถึงจะกลับมายึดทรัพย์สินที่พิพาทได้ก็จะเกิน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา เป็นเหตุให้โจทก์อาจเสียสิทธิในการบังคับคดี ทั้ง ๆ ที่การขายทอดตลาดทรัพย์สินจำนองยังไม่เสร็จสิ้นนั้น มิใช่เกิดจากความผิดของโจทก์แต่อย่างใด อีกประการหนึ่งจากสภาพราคาทรัพย์สินที่จำนองเป็นที่เห็นได้ชัดว่าไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา การยึดทรัพย์สินที่พิพาทไว้ก่อน แต่ยังไม่นำออกขายจนกว่ามีการขายทอดตลาดทรัพย์สินจำนองเสร็จสิ้นและได้เงินไม่พอชำระหนี้ จึงค่อยนำทรัพย์สินพิพาทออกขายก็ไม่ขัดต่อขั้นตอนการบังคับคดีตามคำพิพากษาและก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย โจทก์จึงมีสิทธินำยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 4 เพิ่มเติมได้ ส่วนที่โจทก์ขอให้ศาลฎีกาคุ้มครองชั่วคราวไม่ให้จำเลยทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินพิพาทจนกว่าศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในท้ายฎีกานั้น เห็นว่า คดีอยู่ในชั้นบังคับคดี กรณีคำขอดังกล่าวของโจทก์จึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลฎีกาที่จะมีคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5401/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาถึงที่สุดทำให้การอุทธรณ์คำสั่งชั่วคราวก่อนพิพากษาเป็นอันตกไป
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้มีคำพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ และไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ถือว่าคำพิพากษาดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์เกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาจึงไม่มีประโยชน์ที่จะต้องพิจารณาอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17438/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุ้มครองชั่วคราวหลังมีคำพิพากษา: ศาลฎีกาไม่พิจารณาคำร้องหากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว
ในเรื่องวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วจึงหมดความจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องพิจารณาเกี่ยวกับคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11455/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งอายัดชั่วคราวสิ้นผลเมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้ว การขอให้บังคับคดีต่อกับผู้ที่ถูกอายัดจึงไม่เป็นประโยชน์
คดีนี้ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2549 และตามคำพิพากษามิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ศาลชั้นต้นได้สั่งไว้ในระหว่างการพิจารณา คำสั่งอายัดชั่วคราวจึงมีผลใช้บังคับต่อไปเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 260 (2) แต่โจทก์เพิ่งมายื่นขอหมายบังคับคดีแก่จำเลยเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2551 เมื่อไม่ปรากฏเหตุจำเป็นเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น หมายอายัดตามคำขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ในระหว่างพิจารณาย่อมยกเลิกไป การที่โจทก์ฎีกาขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีแก่ผู้ร้องและดำเนินการไปเสมือนหนึ่งว่าผู้ร้องเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 312 วรรคสอง เท่ากับขอให้ดำเนินการตามคำสั่งอายัดชั่วคราวที่ยกเลิกไปแล้ว จึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีที่จะได้รับการวินิจฉัยอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3260-3261/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกัน - สิทธิเรียกร้องก่อนมีคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ - การคุ้มครองประโยชน์ก่อนเสียหาย
เมื่อการวินิจฉัยชี้ขาดว่าสัญญาเป็นโมฆะเพราะผู้คัดค้านเข้าทำสัญญาโดยสำคัญผิดในตัวบุคคลที่อยู่ในกิจการร่วมค้ากับผู้ร้องหรือไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทข้อหนึ่งในชั้นอนุญาโตตุลาการ ข้อเท็จจริงที่ว่าสัญญาเป็นโมฆะหรือไม่ จึงยังไม่ยุติ ผู้ร้องชอบที่จะเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทตามเงื่อนไขในสัญญาได้ทั้งการฟ้องคดีอาญาฐานฉ้อโกงต่อผู้ร้อง อันเกี่ยวเนื่องจากผู้คัดค้านสำคัญผิดในตัวบุคคลของคู่สัญญา ศาลยังมิได้มีคำพิพากษาลงโทษผู้ใด ข้อเท็จจริงเรื่องความสำคัญผิดในตัวบุคคลเกี่ยวพันกับการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงจึงยังไม่ยุติอันจะพึงถือว่าสัญญาเป็นโมฆะผู้ร้องยื่นคำร้องอ้างว่าผู้คัดค้านเรียกร้องให้กลุ่มธนาคารทั้งห้าชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันให้ผู้คัดค้านแล้ว ซึ่งเป็นการกระทำต่อไปในทำนองว่าผู้ร้องเป็นฝ่ายผิดสัญญา ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลมีคำสั่งจัดให้มีวิธีคุ้มครองป้องกันการกระทบสิทธิของผู้ร้องก่อนเกิดความเสียหายโดยห้ามชั่วคราวไม่ให้ผู้คัดค้านเรียกร้องเงินตามหนังสือค้ำประกันจากธนาคารไว้จนกว่าอนุญาโตตุลาการจะมีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) ได้โดยไม่จำต้องเป็นกรณีที่ผู้คัดค้านกระทำการใดๆ อันเป็นการก่อความเสียหายแก่ผู้ร้องโดยตรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1366/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองชั่วคราวกรณีทรัพย์สินพิพาท (ต้นยางพารา) ถูกทำลายหรือโอนไปยังผู้อื่นระหว่างพิจารณาคดี
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยทั้งสิบเอ็ด โดยกล่าวอ้างว่า การทำสวนยางพาราเป็นกิจการอย่างหนึ่งของโจทก์ และโจทก์ใช้ที่ดินพิพาทบางแปลงทำสวนยางพารา เมื่อต้นยางพาราซึ่งเป็นไม้ยืนต้นเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาท หากข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่โจทก์ฟ้อง โจทก์ย่อมมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทรวมทั้งต้นยางพารา การที่โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยทั้งสิบเอ็ด จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ 5 ถึงที่ 11 ให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ มีผลเท่ากับเป็นการโต้เถียงสิทธิความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทและต้นยางพารา ถือได้ว่าต้นยางพาราในที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่พิพาทกันในคดีด้วย เมื่อในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยที่ 2 ดำเนินการให้บุคคลภายนอกเข้ามาตัดต้นยางพาราในที่ดินพิพาทเพื่อนำออกขายอันเป็นการกระทำให้เปลืองไปเปล่าหรือบุบสลายหรือโอนไปยังผู้อื่นซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 255 (2) หากภายหลังโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีย่อมจะทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ได้ จึงมีเหตุสมควรสั่งห้ามไม่ให้จำเลยที่ 2 เข้าตัดฟันต้นยางพาราในที่ดินพิพาทระหว่างพิจารณาคดีไว้เป็นการชั่วคราวตามมาตรา 254 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3730/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองชั่วคราวต้องสอดคล้องกับคำขอท้ายฟ้องและประเด็นแห่งคดี
วัตถุประสงค์ของการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 ก็เพื่อให้โจทก์สามารถบังคับคดีได้เมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ดังนั้น สิ่งที่จะขอคุ้มครองจะต้องตรงกับการกระทำของจำเลยที่ถูกฟ้องร้องหรืออยู่ในประเด็นแห่งคดีและเป็นเรื่องที่อยู่ในคำขอท้ายฟ้องด้วย โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน โดยหลังจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินให้โจทก์แล้วกลับไปทำสัญญาจะซื้อจะขายและโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่จำเลยที่ 3 โดยมีคำขอท้ายฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 แต่ท้ายฟ้องของโจทก์ไม่มีคำขอให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่โจทก์และรับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือจากโจทก์ไป คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ที่ขอห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ทำนิติกรรมใดๆ เกี่ยวกับที่ดินและมีคำสั่งอายัดที่ดินไว้ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาจึงเป็นเรื่องนอกเหนือจากประเด็นแห่งคดีและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 มาใช้บังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3730/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาต้องสอดคล้องกับคำขอท้ายฟ้องและประเด็นแห่งคดี
วัตถุประสงค์ของการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 ก็เพื่อให้โจทก์สามารถบังคับคดีได้เมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ดังนั้น สิ่งที่จะขอคุ้มครองจะต้องตรงกับการกระทำของจำเลยที่ถูกฟ้องร้องหรืออยู่ในประเด็นแห่งคดีและเป็นเรื่องที่อยู่ในคำขอท้ายฟ้องด้วย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทโดยหลังจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินให้โจทก์แล้วกลับไปทำสัญญาจะซื้อจะขายและโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 โดยมีคำขอท้ายฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 แต่ท้ายฟ้องของโจทก์ไม่มีคำขอให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และรับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือจากโจทก์ไป คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ที่ขอห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทและมีคำสั่งอายัดที่ดินพิพาทไว้ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาจึงเป็นเรื่องนอกเหนือจากประเด็นแห่งคดีและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์จึงไม่มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 มาใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 178/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายัดทรัพย์สินชั่วคราว - สิทธิเรียกร้อง - จำเลยไม่มีทรัพย์สินในไทย - เหตุผลสมควรคุ้มครองโจทก์
จำเลยตั้งโจทก์เป็นตัวแทนประสานงานเพื่อผลประโยชน์ของจำเลยในการได้รับจ้างงานในโครงการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ต่อมาจำเลยได้เข้าเป็นคู่สัญญากับกิจการร่วมค้าไอทีโอโดยเป็นผลจากการดำเนินการของโจทก์ตามสัญญาตั้งตัวแทน โจทก์มีสิทธิเรียกร้องอันเป็นมูลหนี้ตามสัญญาดังกล่าวที่จะฟ้องร้องจำเลยได้ คดีของโจทก์จึงมีมูลที่จะฟ้องร้อง ส่วนปัญหาว่า โจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาตั้งตัวแทน หรือจำเลยได้รับการจ้างเหมาช่วงงานดังกล่าวโดยไม่ได้เป็นผลจากการปฏิบัติตามสัญญาของโจทก์หรือไม่ ยังเป็นที่โต้เถียงกันซึ่งต้องนำสืบพยานหลักฐานกันในชั้นพิจารณาต่อไป แม้จำเลยไม่ตั้งใจยักย้ายทรัพย์สินของตนไปให้พ้นจากอำนาจศาล ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 255 (1) (ก) แต่การที่จำเลยไม่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย ไม่มีสำนักงานสาขาในประเทศไทยแม้เคยมีก็ปิดสำนักงานสาขาไปแล้วเพราะใบอนุญาตประกอบกิจการของคนต่างด้าวไม่ถูกต้อง และการที่จำเลยไม่มีทรัพย์สินใดในประเทศไทย ทั้งจำเลยไม่มีทรัพย์สินอยู่ในประเทศไทยพอที่โจทก์จะบังคับคดีได้ ย่อมเป็นเหตุจำเป็นอื่นที่เป็นการยุติธรรมและสมควรที่จะคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 255 (1) (ข) จึงนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวตามที่โจทก์ขอมาใช้ในการสั่งให้อายัดเงินค่าจ้างที่กิจการร่วมค้าไอทีโอบุคคลภายนอกจะชำระให้แก่จำเลยได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 254 (1)
of 22