พบผลลัพธ์ทั้งหมด 217 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 704/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคุ้มครองชั่วคราวห้ามโอนที่ดินพิพาท และการกำหนดจำนวนเงินประกันค่าเสียหายที่เหมาะสม
โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 20 และ จ. ตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 20 ได้ตกลงซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างรวม 272 โฉนดเนื้อที่ 49 ไร่ ให้แก่โจทก์ในราคา 90 ล้านบาท โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางส่วนและเข้าครอบครองเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ต่อมาจำเลยที่ 1 ถึงที่ 20 สมรู้ร่วมคิดกับจำเลยที่ 21 แสดงเจตนาลวงบุคคลภายนอกทำนิติกรรมซื้อขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหมดไปเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 21 จึงเห็นได้ว่าตามคำฟ้องของโจทก์ หากจำเลยที่ 21 โอนที่ดินพิพาททั้งหมดให้แก่บุคคลอื่นในระหว่างพิจารณาย่อมจะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เพราะแม้โจทก์ชนะคดีก็ไม่อาจโอนที่ดินพิพาทกลับมาเป็นของโจทก์ได้ กรณีนับว่ามีเหตุจำเป็นและสมควรเพียงพอที่โจทก์จะขอให้ศาลมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(2) ประกอบมาตรา 255(2) ห้ามมิให้จำเลยที่ 21 โอนที่ดินพิพาทแก่บุคคลอื่นจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงได้ แต่เมื่อได้ความว่าที่ดินพิพาทดังกล่าวตั้งอยู่ในย่านที่เจริญสิ่งปลูกสร้างในที่ดินเป็นบ้านจัดสรร มีตลาดพาณิชย์ มูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในขณะฟ้องมีราคาเกินกว่า 500 ล้านบาท การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์วางเงินประกันค่าเสียหายเพียง 1 แสนบาทจึงไม่เหมาะสม เพราะจำเลยที่ 21 ก็ต่อสู้คดีว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่ดินพิพาท และฟ้องโจทก์เป็นเท็จ ซึ่งหากทางพิจารณาได้ความในภายหลังว่าโจทก์นำคดีมาสู่ศาลโดยไม่มีมูลแล้ว เงินจำนวนดังกล่าวย่อมไม่อาจชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งได้ จึงเห็นสมควรให้โจทก์วางเงินประกันจำนวน 20 ล้านบาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 585/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา กับ การทุเลาการบังคับ: ศาลชี้ว่าแยกกันชัดเจน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ใช้วิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามที่โจทก์ร้องขอเป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติหรือดำเนินการก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ส่วนการทุเลาการบังคับจะต้องเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดประเด็นแห่งคดีแล้ว คู่ความได้ขอให้ศาลสั่งอนุญาตให้ยังไม่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้นไว้ก่อน คำว่า "คำสั่งของศาลชั้นต้น" ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 231 แห่ง ป.วิ.พ. ย่อมหมายถึง คำสั่งของศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี หาได้หมายถึงคำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาไม่ ดังนี้ จำเลยจะยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ขอให้มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยไม่ต้องปฏิบัติหรือดำเนินการตามคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยถือว่าเป็นการขอทุเลาการบังคับตามมาตรา 231 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 193/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการถอนเงินตามคำสั่งศาลเพิกถอนการอายัดก่อนพิพากษา การถอนเกินจำนวนที่ศาลสั่งต้องคืน
โจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้เลิกห้างจำเลยที่ 1 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดเงินฝากในธนาคารของจำเลยที่ 1 ไว้ก่อนพิพากษาตามคำร้องของโจทก์ทั้งสาม จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการอายัดดังกล่าวศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้เพิกถอนการอายัดเงินก่อนพิพากษาโดยคิดตามอัตราส่วนการลงหุ้นระหว่างโจทก์ทั้งสามกับจำเลยที่ 2 โดยแบ่งเป็น9 ส่วน และให้เพิกถอนเพียง 4 ส่วนใน 9 ส่วน เป็นเงิน 26,492,000 บาทเพื่อให้จำเลยที่ 2 มีโอกาสใช้เงินหมุนเวียนดำเนินกิจการของห้างจำเลยที่ 1ต่อไปได้ แม้ตามคำร้องของจำเลยที่ 2 จะแสดงรายละเอียดว่าเงินที่ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการอายัด 4 ส่วนนั้น เป็นเงิน 48,496,745.08 บาทก็ตามแต่เมื่อศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการอายัดเพียง 26,492,000 บาท ซึ่งจำเลยที่ 2มิได้โต้แย้งในยอดเงินดังกล่าว แสดงว่าจำเลยที่ 2 เห็นด้วยกับจำนวนเงินที่ศาลสั่งให้เพิกถอนการอายัดนั้นว่าเพียงพอที่จะนำไปใช้หมุนเวียนในกิจการของจำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 2 จึงไม่อาจถอนเงินเกินกว่าจำนวนที่ศาลสั่งได้แม้ส่วนที่เกินจะเป็นเงินดอกเบี้ยของเงินฝากที่ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการอายัดก็ตาม แต่เงินดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลและจะเป็นประโยชน์แก่โจทก์ทั้งสามและจำเลยที่ 2 เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เลิกห้างและมีการชำระบัญชีต่อไป จำเลยที่ 2 จึงต้องนำเงินส่วนที่ถอนจากธนาคารเกินไปมาคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7221/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภารจำยอม: ศาลคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาเมื่อถูกปิดกั้นทางเข้าออก
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนกำแพงพิพาทซึ่งจำเลยได้ก่อสร้างปิดทางภารจำยอมอันเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ในการใช้ทางภารจำยอมเข้าสู่ที่ดินของโจทก์ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยให้จำเลยรื้อถอนกำแพงพิพาทออกไปก่อน เพื่อโจทก์จะได้ใช้ทางภารจำยอมได้นั้น จึงเป็นการขอให้ศาลมีคำสั่งในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนที่โจทก์ได้รับเนื่องจากการกระทำของจำเลยที่ถูกฟ้องร้องดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(2) กรณีตามคำร้องมีเหตุที่โจทก์จะขอให้ศาลมีคำสั่งใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ได้ และเมื่อคดีปรากฏว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินภารยทรัพย์ได้ก่อสร้างกำแพงปิดทางภารจำยอม ทำให้โจทก์ไม่สามารถผ่านเข้าออกที่ดินของโจทก์ซึ่งเป็นสามยทรัพย์ได้โดยสะดวก เช่นนี้กรณีมีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองที่โจทก์ขอมาใช้บังคับตามมาตรา 255เฉพาะบริเวณที่ติดกับที่ดินของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1375/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของผู้ร้องที่เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากจำเลย แม้จำเลยมีอำนาจกระทำการแทน
ประเด็นว่าผู้ร้องใช้สิทธิในการร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโดยสุจริตหรือไม่นั้น เมื่อผู้ร้องเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากจำเลยถึงแม้ว่าจำเลยจะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการมีอำนาจกระทำการแทนผู้ร้องโดยประทับตราของผู้ร้องก็ตาม แต่เงินตามบัญชีเงินฝากดังกล่าวเป็นของผู้ร้อง มิใช่ของจำเลยตราบเท่าที่ผู้ร้องยังเป็นนิติบุคคลอยู่ การใช้สิทธิของผู้ร้องไม่ถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 692/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งคุ้มครองชั่วคราว การอายัดทรัพย์ และการบังคับคดี: การเปลี่ยนแปลงสถานะของทรัพย์หลังมีคำสั่งอายัด
คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาของศาลชั้นต้น ครั้งแรก ที่ให้อายัดที่ดินของจำเลยที่ 1 กับคำสั่งครั้งที่สองที่ให้อายัดเงินที่ จำเลยที่ 1 มีสิทธิจะได้รับจากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่ขอบังคับให้ จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งศาลมีคำสั่งห้ามทำนิติกรรมชั่วคราว และคำสั่งให้อายัดเงินสุทธิที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิ จะได้รับจากการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าว คงมีผลบังคับเฉพาะแก่จำเลยที่ 1 เท่านั้น มิได้มีผลบังคับถึง จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 4 จึงไม่มีสิทธิที่จะ อุทธรณ์ฎีกาคำสั่งดังกล่าว
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาครั้งแรกดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นคำขอให้ยกเลิกคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267 วรรคสอง หรือ ใช้สิทธิอุทธรณ์ภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 228 วรรคสอง คำสั่งดังกล่าวจึงถึงที่สุด ที่ดินที่ศาลชั้นต้น มีคำสั่งอายัดชั่วคราวจึงเป็นหลักประกันเบื้องต้นในการที่โจทก์ จะบังคับคดีได้ เมื่อต่อมาปรากฏว่าข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับตัวทรัพย์ ได้เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำพิพากษา ของจำเลยที่ 1 ได้ใช้สิทธิบังคับคดีแก่ที่ดินดังกล่าวจนทำให้คำสั่งอายัดที่ดินชั่วคราวไร้ผล และทำให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะได้รับเงิน จากการบังคับคดีของเจ้าหนี้ จึงถือเสมือนว่าเงินจำนวนดังกล่าว เป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 ได้มาแทนที่ที่ดินที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัด ไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา ประกอบกับเงินเป็นทรัพย์ที่สามารถยักย้าย ถ่ายเทหรือปิดบังซ่อนเร้นโดยง่าย กรณีจึงมีเหตุสมควรที่ศาลจะมี คำสั่งให้อายัดเงินดังกล่าวไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา
การขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาครั้งแรก โจทก์ขอให้อายัด ที่ดินของจำเลยที่ 1 ส่วนการขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาครั้งที่สอง โจทก์ขอให้อายัดเงินที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิจะได้รับจากการที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 บังคับคดีให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ที่ถูกอายัดให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งเป็นเหตุที่เกิดขึ้นใหม่ภายหลัง เป็นคนละประเด็นกัน จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาครั้งแรกดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นคำขอให้ยกเลิกคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267 วรรคสอง หรือ ใช้สิทธิอุทธรณ์ภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 228 วรรคสอง คำสั่งดังกล่าวจึงถึงที่สุด ที่ดินที่ศาลชั้นต้น มีคำสั่งอายัดชั่วคราวจึงเป็นหลักประกันเบื้องต้นในการที่โจทก์ จะบังคับคดีได้ เมื่อต่อมาปรากฏว่าข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับตัวทรัพย์ ได้เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำพิพากษา ของจำเลยที่ 1 ได้ใช้สิทธิบังคับคดีแก่ที่ดินดังกล่าวจนทำให้คำสั่งอายัดที่ดินชั่วคราวไร้ผล และทำให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะได้รับเงิน จากการบังคับคดีของเจ้าหนี้ จึงถือเสมือนว่าเงินจำนวนดังกล่าว เป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 ได้มาแทนที่ที่ดินที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัด ไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา ประกอบกับเงินเป็นทรัพย์ที่สามารถยักย้าย ถ่ายเทหรือปิดบังซ่อนเร้นโดยง่าย กรณีจึงมีเหตุสมควรที่ศาลจะมี คำสั่งให้อายัดเงินดังกล่าวไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา
การขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาครั้งแรก โจทก์ขอให้อายัด ที่ดินของจำเลยที่ 1 ส่วนการขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาครั้งที่สอง โจทก์ขอให้อายัดเงินที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิจะได้รับจากการที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 บังคับคดีให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ที่ถูกอายัดให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งเป็นเหตุที่เกิดขึ้นใหม่ภายหลัง เป็นคนละประเด็นกัน จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6793/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลตเตอร์ออฟเครดิต: ธนาคารมีหน้าที่ชำระเงินตามเงื่อนไข แม้ไม่ใช่คู่สัญญาโดยตรง
ธนาคารผู้ร้องไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 4 แต่การที่โจทก์จำเป็นต้องขอให้ผู้ร้องออกเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่จำเลยที่ 4 ก็เพื่อให้ผู้ร้องที่เป็นธนาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นผู้มีความน่าเชื่อถือในฐานะการเงินเข้ารับภาระในการจ่ายเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตอันมีผลให้ผู้ขายคือจำเลยที่ 4 มั่นใจว่าจะได้รับเงินค่าสินค้าอย่างแน่นอนเมื่อได้ปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขในเลตเตอร์ออฟเครดิต กล่าวคือ เมื่อมีการเสนอเอกสารถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขในเลตเตอร์ออฟเครดิตแล้ว ผู้ร้องก็มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้น หากผู้ร้องไม่ชำระเงินโดยปราศจากเหตุผลที่มีน้ำหนักเป็นที่ยอมรับได้ในวงการค้าระหว่างประเทศก็ย่อมก่อให้เกิดผลเสียต่อความน่าเชื่อถือในวงการค้าระหว่างประเทศของผู้ร้อง และมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการในการออกเลตเตอร์ออฟเครดิตของผู้ร้องและลูกค้าที่ขอให้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อการชำระเงินค่าสินค้าแก่ผู้ขายสินค้าในต่างประเทศในภายหน้าด้วยเหตุนี้การที่ศาลจะออกคำสั่งอายัด ห้ามผู้ร้องชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตจึงต้องพิจารณาด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง
ตามคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่า จำเลยที่ 4 มีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี การที่โจทก์ขอให้ธนาคารผู้ร้องออกเลตเตอร์ออฟเครดิตก็เพื่อการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่จำเลยที่ 4 ที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีมาแต่แรกจึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยที่ 4 ยักย้ายนำทรัพย์สินของตนจากประเทศไทยไปยังประเทศสาธารณรัฐเกาหลี
ตามคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่า จำเลยที่ 4 มีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี การที่โจทก์ขอให้ธนาคารผู้ร้องออกเลตเตอร์ออฟเครดิตก็เพื่อการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่จำเลยที่ 4 ที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีมาแต่แรกจึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยที่ 4 ยักย้ายนำทรัพย์สินของตนจากประเทศไทยไปยังประเทศสาธารณรัฐเกาหลี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6793/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลตเตอร์ออฟเครดิต: หน้าที่ธนาคารจ่ายเงินเมื่อเอกสารครบถ้วน แม้มีข้อพิพาทสัญญาซื้อขาย
ธนาคารผู้ร้องไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 4 การที่โจทก์ขอให้ธนาคารผู้ร้องออกเลตเตอร์ออฟเครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้เพื่อการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่จำเลยที่ 4 ก็เพื่อให้ธนาคารผู้ร้องที่เป็นธนาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นผู้มีความน่าเชื่อถือในฐานะการเงินเข้ารับภาระในการจ่ายเงินอันมีผลให้ผู้ขายมั่นใจว่าจะได้รับเงินค่าสินค้าอย่างแน่นอนเมื่อได้ปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขในเลตเตอร์ออฟเครดิต โดยนำเอกสารต่าง ๆซึ่งถูกต้องครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในเลตเตอร์ออฟเครดิตมาเสนอต่อธนาคารเพื่อการรับเงิน ธนาคารผู้ร้องจึงมีหน้าที่ในการตรวจสอบเอกสารให้ถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขก่อนจ่ายเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตเท่านั้น นอกจากนั้นเลตเตอร์ออฟเครดิตฉบับนี้มีเงื่อนไขให้จำเลยที่ 4 สามารถนำเอกสารและตั๋วแลกเงินไปเสนอขอรับเงินจากธนาคารใดธนาคารหนึ่งก่อนได้ ซึ่งมีผลให้ธนาคารที่รับซื้อเอกสารและตั๋วแลกเงินไว้นั้น (NegotiatingBank)เป็นผู้มีสิทธิรับเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตจากธนาคารผู้ร้องที่กรุงนิวยอร์กได้หากธนาคารผู้ร้องไม่ชำระเงินโดยปราศจากเหตุผลที่เป็นที่ยอมรับได้ในวงการค้าระหว่างประเทศย่อมก่อให้เกิดผลเสียต่อความน่าเชื่อถือในวงการค้าระหว่างประเทศและการประกอบกิจการในการออกเลตเตอร์ออฟเครดิตของธนาคารผู้ร้องและลูกค้าที่ขอให้ธนาคารผู้ร้องออกเลตเตอร์ออฟเครดิตทั้งยังก่อให้เกิดผลเสียต่อเนื่องถึงธนาคารหรือบุคคลอื่นที่มีความผูกพันเกี่ยวข้องกันในอีกหลายกรณีด้วย การที่ศาลจะออกคำสั่งอายัดห้ามธนาคารผู้ร้องชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตจึงต้องพิจารณาด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6793/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลตเตอร์ออฟเครดิต: ธนาคารมีหน้าที่จ่ายเงินตามเงื่อนไข แม้โจทก์มีข้อพิพาทกับผู้ขาย ศาลมิอาจอายัดการจ่ายเงิน
ธนาคารผู้ร้องไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 4 แต่การที่โจทก์จำเป็นต้องขอให้ผู้ร้องออกเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่จำเลยที่ 4ก็เพื่อให้ผู้ร้องที่เป็นธนาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นผู้มีความน่าเชื่อถือในฐานะการเงินเข้ารับภาระในการจ่ายเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตอันมีผลให้ผู้ขายคือจำเลยที่ 4 มั่นใจว่าจะได้รับเงินค่าสินค้าอย่างแน่นอน เมื่อได้ปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขในเลตเตอร์ออฟเครดิตกล่าวคือ เมื่อมีการเสนอเอกสารถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขในเลตเตอร์ออฟเครดิตแล้ว ผู้ร้องก็มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้น หากผู้ร้องไม่ชำระเงินโดยปราศจากเหตุผลที่มีน้ำหนักเป็นที่ยอมรับได้ในวงการค้าระหว่างประเทศก็ย่อมก่อให้เกิดผลเสียต่อความน่าเชื่อถือในวงการค้าระหว่างประเทศของผู้ร้อง และมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการในการออกเลตเตอร์ออฟเครดิตของผู้ร้องและลูกค้าที่ขอให้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อการชำระเงินค่าสินค้าแก่ผู้ขายสินค้าในต่างประเทศในภายหน้าด้วยเหตุนี้การที่ศาลจะออกคำสั่งอายัดห้ามผู้ร้องชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตจึงต้องพิจารณาด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง
ตามคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่า จำเลยที่ 4 มีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี การที่โจทก์ขอให้ธนาคารผู้ร้องออกเลตเตอร์ออฟเครดิตก็เพื่อการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่จำเลยที่ 4ที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีมาแต่แรกจึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยที่ 4ยักย้ายนำทรัพย์สินของตนจากประเทศไทย ไปยังประเทศสาธารณรัฐเกาหลี
ตามคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่า จำเลยที่ 4 มีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี การที่โจทก์ขอให้ธนาคารผู้ร้องออกเลตเตอร์ออฟเครดิตก็เพื่อการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่จำเลยที่ 4ที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีมาแต่แรกจึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยที่ 4ยักย้ายนำทรัพย์สินของตนจากประเทศไทย ไปยังประเทศสาธารณรัฐเกาหลี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4743/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำสั่งอายัดเงินชั่วคราวเมื่อจำเลยเปลี่ยนแปลงบัญชีเงินฝาก ศาลชอบที่จะแก้ไขเพื่อให้คำสั่งสัมฤทธิ์ผล
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยพร้อมกับยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องแล้วมีคำสั่งห้ามจำเลยจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและให้อายัดเงินในบัญชีเงินฝากประจำหลายบัญชี แต่ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอายัดเงินในบัญชีเงินฝากไปยังธนาคาร จำเลยถอนเงินจากบัญชีและปิดบัญชีดังกล่าวทั้งหมดแล้วนำเงินฝากไปเปิดบัญชีเงินฝากประจำใหม่ที่ธนาคารอื่นนั้นเมื่อการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดเงินในบัญชีเงินฝากของธนาคารซึ่งปิดบัญชีแล้วเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ทำให้ศาลชั้นต้นสั่งไปโดยหลงผิด ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะเพิกถอนคำสั่งเดิมและมีคำสั่งใหม่ให้ตรงกับความเป็นจริงเพื่อให้คำสั่งนั้นสัมฤทธิผลในทางปฏิบัติได้โดยโจทก์ทั้งสามหาจำต้องยื่นคำร้องขอให้คุ้มครองชั่วคราวอีกครั้งหนึ่งไม่ทั้งศาลชั้นต้นก็ไม่จำต้องไต่สวนแต่ประการใดอีก