คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 254

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 217 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4426/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวต้องมีเหตุผลอันสมควร การนำที่ดินมาเป็นหลักประกันต้องมีราคาที่แท้จริงและสามารถใช้ชำระหนี้ได้
ตามบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 261 วรรคสาม ศาลจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาต่อเมื่อจำเลยยื่นคำขอให้เห็นว่าวิธีการที่กำหนดไว้ตามมาตรา 254 นั้น ไม่มีเหตุเพียงพอหรือมีเหตุอันสมควรประการอื่น คำร้องของจำเลยที่ว่าฟ้องของโจทก์ไม่มีมูลที่จะชนะคดีก็ดี โจทก์มีเจตนาทุจริตในการร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยึดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของจำเลยก็ดี เป็นการคัดค้านว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบไม่พอที่จะออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา หาใช่วิธีการกำหนดไปนั้นไม่มีเหตุเพียงพอหรือมีเหตุอันสมควรประการอื่นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2177/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว: สิทธิในการยื่นคำขอในคดีเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 261
ป.วิ.พ. มาตรา 261 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "จำเลยหรือบุคคลภายนอกซึ่งได้รับหมายยึด หมายอายัดหรือคำสั่งตามมาตรา 254 (1) (2) หรือ (3) หรือจะต้องเสียหายเพราะหมายยึด หมายอายัด หรือคำสั่งดังกล่าว อาจมีคำขอต่อศาลให้ถอนหมาย เพิกถอนคำสั่งหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่ง หมายยึด หรือหมายอายัด ซึ่งออกตามคำสั่งดังกล่าวได้?" การที่ศาลชั้นต้นมีหมายห้ามชั่วคราวถึง ภ. จำเลยที่ 2 ในคดีแพ่งเดิม หากโจทก์ทั้งยี่สิบสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอก เห็นว่าจะต้องเสียหายเพราะหมายห้ามชั่วคราวของศาลชั้นต้น และประสงค์จะขอให้ศาลเพิกถอนหมายห้ามชั่วคราวดังกล่าวก็ชอบที่จะใช้สิทธิยื่นคำร้องขอเพิกถอนคำสั่งฯได้ในคดีแพ่งเดิม ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 261 วรรคหนึ่ง จะมาฟ้องให้เพิกถอนคำสั่ง ฯ เป็นคดีใหม่หาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7363/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกทางจำเป็นและการจำกัดสิทธิในที่ราชพัสดุ: การใช้สิทธิเรียกทางจำเป็นต้องเป็นทางออกไปยังที่ดินเดิมที่เคยรวมกัน
โจทก์ฟ้องเรียกเอาทางในที่ราชพัสดุอ้างว่าเป็นทางมากกว่า 50 ปี โดยไม่ได้กล่าวอ้างว่าเป็นทางสาธารณะ จึงเป็นที่เข้าใจได้ว่า โจทก์เรียกเอาทางในฐานะทางภารจำยอมหรือไม่ก็ทางจำเป็น ปรากฏว่าที่ราชพัสดุดังกล่าวเดิมเป็นที่ดินที่สงวนไว้เพื่อราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน ต่อมาจึงสร้างโรงเรียนลงในที่ดิน ดังนั้น ที่ราชพัสดุดังกล่าวย่อมเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304 ซึ่งมาตรา 1306 ห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นต่อสู้กับแผ่นดิน ทางที่โจทก์ฟ้องเรียกให้เปิดหากมีอยู่จริง จึงไม่ใช่ทางภารจำยอมที่จะได้มาโดยอายุความส่วนในกรณีทางจำเป็นได้ความว่าเดิมที่ดินของโจทก์รวมอยู่ในที่ดินแปลงใหญ่ซึ่งอยู่ติดทางสาธารณะ โดยโจทก์แบ่งซื้อมา โจทก์ย่อมมีสิทธิและชอบที่จะเรียกเอาทางออกผ่านที่ดินแปลงที่เคยรวมเป็นแปลงเดียวกันอยู่นั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 ไม่ชอบที่จะเรียกเอาจากที่ราชพัสดุดังนั้น คำฟ้องโจทก์จึงยังไม่มีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 โดยให้จำเลยเปิดทางมาใช้ศาลไม่อาจอนุญาตตามคำขอของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3504/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งอายัดหลักประกันหลังศาลพิพากษาคดี และผลผูกพันถึงผู้ค้ำประกันที่ไม่ได้อุทธรณ์
คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ค้ำประกันทั้งสามนำ น.ส.3 มาเป็นหลักประกันแทนที่ดินของจำเลย หลังจากที่ศาลมีคำสั่งห้ามจำเลยกระทำนิติกรรมชั่วคราวในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 265 และมาตรา 259 ประกอบมาตรา 274 นั้นเป็นคำสั่งที่กำหนดใช้วิธีการชั่วคราวก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาวิธีการหนึ่ง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชนะคดีโดยมิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา และโจทก์มิได้ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาแสดงว่าโจทก์ประสงค์จะยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาและมีเหตุสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้วิธีการชั่วคราวเช่นว่านั้นมีผลบังคับต่อไป คำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวแก่ผู้ค้ำประกันทั้งสามจึงเป็นอันยกเลิก ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 260 (1) ผู้ค้ำประกันทั้งสามจึงมีสิทธิรับหลักประกันคืนไป และศาลต้องมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งอายัดที่ดินให้แก่ผู้ค้ำประกันทั้งสามด้วย และเมื่อคดีหนี้ของผู้ค้ำประกันทั้งสามเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงผู้ค้ำประกันซึ่งมิได้อุทธรณ์ฎีกาได้ด้วยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3504/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลอนุญาตให้ใช้หลักประกันชั่วคราวของผู้ค้ำประกัน ย่อมสิ้นผลเมื่อศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดและโจทก์ไม่ขอต่ออายุ
คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ค้ำประกันทั้งสามนำ น.ส.3 มาเป็นหลักประกันแทนที่ดินของจำเลย หลังจากที่ ศาลมีคำสั่งห้ามจำเลยกระทำนิติกรรมชั่วคราวในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 265และมาตรา 259 ประกอบมาตรา 274 เป็นคำสั่งที่กำหนดใช้ วิธีการชั่วคราวก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาวิธีการหนึ่งเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชนะคดีโดยมิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา และโจทก์มิได้ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาแสดงว่าโจทก์ประสงค์จะยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาและมีเหตุสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้วิธีการชั่วคราวเช่นว่านั้นมีผล บังคับต่อไป คำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวแก่ผู้ค้ำประกันทั้งสามจึงเป็นอันยกเลิก ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 260(1)ผู้ค้ำประกันทั้งสามจึงมีสิทธิรับหลักประกันคืนไป และศาล ต้องมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งอายัดที่ดินให้แก่ผู้ค้ำประกันทั้งสามด้วย และเมื่อคดีหนี้ของผู้ค้ำประกันทั้งสามเป็น หนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผล ถึงผู้ค้ำประกันซึ่งมิได้อุทธรณ์ฎีกาได้ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2724/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาวางเงินประกันค่าเสียหาย: พฤติการณ์พิเศษที่ศาลจะพิจารณา
คำสั่งศาลชั้นต้นให้โจทก์วางเงินประกันค่าเสียหายเพิ่มภายใน45 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ซึ่งต่อมาศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้น เป็นกรณีที่ศาลกำหนดระยะเวลาโดยอาศัยอำนาจศาลที่มีอยู่ทั่วไปในการดำเนินกระบวนพิจารณาใดที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะหรือห้ามไว้ไปในทางที่เห็นว่ายุติธรรมและสมควร แต่เมื่ออ่านคำพิพากษาฎีกาแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอีกครั้งหนึ่งให้โจทก์วางประกันเพิ่มภายในกำหนด 45 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งของศาลชั้นต้น ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องอขยายระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23 และศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะขยายระยะเวลาดังกล่าวได้แต่การขยายระยะเวลาเช่นว่านี้ให้พึงกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย
โจทก์อ้างเหตุผลตามคำร้องของโจทก์ในการขอขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 แต่เพียงว่า จำนวนเงินที่ต้องวางศาลมีจำนวนสูงถึง70,000,000 บาท โจทก์พยายามหาเงินเพื่อนำมาวางศาลให้ทันในกำหนดแต่หาไม่ทัน ทั้งโจทก์ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ นอกจากรายได้พอใช้จ่ายเป็นเดือน ๆ เท่านั้นเหตุผลในคำร้องของโจทก์ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาการวางเงินประกันค่าเสียหายให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2724/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาวางหลักประกันชั่วคราวหลังคดีถึงที่สุด ศาลพิจารณาพฤติการณ์พิเศษตามมาตรา 23
คำสั่งศาลชั้นต้นให้โจทก์วางเงินประกันค่าเสียหายเพิ่มภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งซึ่งต่อมาศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้น เป็นกรณีที่ศาลกำหนดระยะเวลาโดยอาศัยอำนาจศาลที่มีอยู่ทั่วไปในการดำเนินกระบวนพิจารณาใดที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะหรือห้ามไว้ไปในทางที่เห็นว่ายุติธรรมและสมควร แต่เมื่ออ่านคำพิพากษาฎีกาแล้วศาลชั้นต้นมีคำสั่งอีกครั้งหนึ่งให้โจทก์วางประกันเพิ่มภายในกำหนด 45 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23 และศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะขยายระยะเวลาดังกล่าวได้แต่การขยายระยะเวลาเช่นว่านี้ให้พึงกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย โจทก์อ้างเหตุผลตามคำร้องของโจทก์ในการขอขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23แต่เพียงว่า จำนวนเงินที่ต้องวางศาลมีจำนวนสูงถึง70,000,000 บาท โจทก์พยายามหาเงินเพื่อนำมาวางศาลให้ทันในกำหนดแต่หาไม่ทัน ทั้งโจทก์ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ นอกจาก รายได้พอใช้จ่ายเป็นเดือน ๆ เท่านั้นเหตุผลในคำร้องของโจทก์ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะ เวลาการวางเงินประกันค่าเสียหายให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4929/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทหุ้นส่วนธุรกิจ: ศาลคุ้มครองชั่วคราวให้ร่วมกันจัดการรายได้-รายจ่าย ภัตตาคาร
โจทก์จำเลยเข้าหุ้นกันประกอบกิจการภัตตาคาร มีข้อตกลงให้โจทก์เก็บรายได้และจ่ายรายจ่ายจากการประกอบกิจการ ซึ่งโจทก์จำเลยได้ปฏิบัติตามข้อตกลงตลอดมา 6 เดือน การที่จำเลยห้ามโจทก์และพนักงานของโจทก์จัดเก็บรายได้ตามข้อตกลงดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาและเรียกค่าเสียหาย เป็นเรื่องที่ถือได้ว่าจำเลยตั้งใจกระทำซ้ำและกระทำต่อไปซึ่งเป็นการผิดสัญญา เป็นกรณีมีเหตุผลเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนคำพิพากษามาใช้บังคับ ทั้งเป็นกรณีที่มีเหตุผลเพียงพอที่จะสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาเพื่อบังคับตามคำพิพากษาศาลจึงมีอำนาจสั่งและพิพากษาห้ามมิให้จำเลยหรือตัวแทนของจำเลยทำการจัดเก็บรายได้และจ่ายรายจ่ายเพียงฝ่ายเดียวในกิจการภัตตาคาร โดยให้โจทก์หรือตัวแทนของโจทก์และจำเลยหรือตัวแทนของจำเลยร่วมกันจัดเก็บรายได้และจ่ายรายจ่ายในกิจการภัตตาคาร และให้ร่วมกันทำบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อควบคุมรายได้และรายจ่ายในกิจการภัตตาคารในระหว่างพิจารณาคดีจนกว่าจะมีคำพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3194/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลาย: สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และการพิสูจน์สิทธิเจ้าหนี้
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 2 โดยผู้ร้อง มีสิทธิได้รับค่าเสียหายเดือนละ 50,000 บาท นับแต่ วันที่ 1 กรกฎาคม 2528 จนกว่าจำเลยที่ 2 และบริวารจะออกไปจากที่พิพาท จึงเท่ากับศาลพิพากษากำหนดค่าเสียหาย ให้ผู้ร้องได้รับเป็นรายเดือนทุกเดือนไปจนกว่าจำเลยที่ 2จะส่งมอบที่ดินและอาคารพิพาทให้ผู้ร้อง ดังนั้น มูลหนี้รายนี้จึงสามารถแบ่งแยกกันได้ว่าค่าเสียหายเดือนใดเกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ถ้าหากค่าเสียหายเดือนใดที่ผู้ร้องมีสิทธิได้รับก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยที่ 2ก็ย่อมมีสิทธินำมาหักกลบลบหนี้ได้ แต่ภายหลังจำเลยที่ 2ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวในวันที่ 16 เมษายน 2529 แล้วมูลหนี้ค่าเสียหายนับแต่วันที่ 16 เมษายน 2529 เป็นต้นไปจึงเป็นสิทธิเรียกร้องที่ผู้ร้องได้รับภายหลังจากมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งเข้าข้อยกเว้นตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 102ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธินำค่าเสียหายส่วนนี้มาหักกลบลบหนี้ จำเลยที่ 4 เคยฟ้องจำเลยที่ 2 กับพวกเป็นจำเลยฐานผิดสัญญา ขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลมีคำสั่ง ให้ใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยให้จำเลยที่ 4 เข้าทำ ประโยชน์ในที่ดินและอาคารพิพาทมีกำหนด 3 เดือน แต่จำเลยที่ 4 ต้องวางเงินต่อศาลชั้นต้นเดือนละ 400,000 บาท ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 ไม่ได้วางเงินต่อศาลชั้นต้น ต่อมาศาลชั้นต้นได้เปลี่ยนแปลงคำสั่งใหม่โดยให้บริษัทอ.และบริษัทท. เข้าทำประโยชน์มีกำหนด 3 เดือน โดยให้วางเงินต่อศาลชั้นต้นเดือนละ 200,000 บาทบริษัททั้งสองได้วางเงินเพียง 200,000 บาท และผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอรับเงินค่าตอบแทนดังกล่าวอ้างว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองในอาคารที่ปลูกสร้างบนที่ดินปรากฏผลคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิที่จะขอรับเงินค่าตอบแทนดังกล่าว ดังนี้ จึงเท่ากับผู้ร้องไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินค่าตอบแทนในคดีดังกล่าว จำเลยที่ 2ไม่มีมูลหนี้ที่จะต้องรับผิดต่อผู้ร้อง เพราะการที่ศาลชั้นต้นให้คู่ความในคดีวางเงินต่อศาลเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา จะผูกพันก็เฉพาะคู่ความในคดีนั้น ผู้ร้องจึงมิใช่เป็นเจ้าหนี้ในจำนวนเงินค่าตอบแทนดังกล่าวแม้มูลหนี้จะเกิดก่อนจำเลยที่ 2 ถูกพิทักษ์ทรัพย์ ผู้ร้องจะต้องไปว่ากล่าวเป็นกรณีต่างหาก ผู้ร้องไม่มีสิทธินำเงินค่าตอบแทนในคดีดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ได้เลิกกันในวันที่ 30 พฤษภาคม 2528 เนื่องจากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือและผู้ร้องมีสิทธิริบเงินตามสัญญาเพียง7,000,000 บาท โดยผู้ร้องต้องคืนเงินแก่จำเลยที่ 2 จำนวน4,400,000 บาท ดังนั้นเมื่อผู้ร้องไม่คืนจึงต้องถือว่าผู้ร้องผิดนัดชำระหนี้ตั้งแต่วันที่ผู้ร้องบอกเลิกสัญญา ผู้ร้องต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันที่สัญญาเลิกกันคือวันที่ 30 พฤษภาคม 2528จนกว่าชำระเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3194/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลาย และสิทธิเรียกร้องที่จำกัดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 2 โดยผู้ร้องมีสิทธิได้รับค่าเสียหายเดือนละ 50,000 บาท นับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2528จนกว่าจำเลยที่ 2 และบริวารจะออกไปจากที่พิพาท จึงเท่ากับศาลพิพากษากำหนดค่าเสียหายให้ผู้ร้องได้รับเป็นรายเดือนทุกเดือนไปจนกว่าจำเลยที่ 2 จะส่งมอบที่ดินและอาคารพิพาทให้ผู้ร้อง ดังนั้น มูลหนี้รายนี้จึงสามารถแบ่งแยกกันได้ว่าค่าเสียหายเดือนใดเกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ถ้าหากค่าเสียหายเดือนใดที่ผู้ร้องมีสิทธิได้รับก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยที่ 2 ก็ย่อมมีสิทธินำมาหักกลบลบหนี้ได้ แต่ภายหลังจำเลยที่ 2 ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวในวันที่ 16 เมษายน 2529 แล้วมูลหนี้ค่าเสียหายนับแต่วันที่ 16 เมษายน2529 เป็นต้นไปจึงเป็นสิทธิเรียกร้องที่ผู้ร้องได้รับภายหลังจากมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 102 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธินำค่าเสียหายส่วนนี้มาหักกลบลบหนี้
จำเลยที่ 4 เคยฟ้องจำเลยที่ 2 กับพวกเป็นจำเลยฐานผิดสัญญา ขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลมีคำสั่งให้ใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยให้จำเลยที่ 4 เข้าทำประโยชน์ในที่ดินและอาคารพิพาทมีกำหนด 3 เดือน แต่จำเลยที่ 4 ต้องวางเงินต่อศาลชั้นต้นเดือนละ 400,000บาท ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 ไม่ได้วางเงินต่อศาลชั้นต้น ต่อมาศาลชั้นต้นได้เปลี่ยนแปลงคำสั่งใหม่โดยให้บริษัท อ. และบริษัท ท. เข้าทำประโยชน์มีกำหนด 3 เดือน โดยให้วางเงินต่อศาลชั้นต้นเดือนละ 200,000 บาทบริษัททั้งสองได้วางเงินเพียง 200,000 บาท และผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอรับเงินค่าตอบแทนดังกล่าวอ้างว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองในอาคารที่ปลูกสร้างบนที่ดิน ปรากฏผลคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิที่จะขอรับเงินค่าตอบแทนดังกล่าว ดังนี้ จึงเท่ากับผู้ร้องไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินค่าตอบแทนในคดีดังกล่าว จำเลยที่ 2 ไม่มีมูลหนี้ที่จะต้องรับผิดต่อผู้ร้อง เพราะการที่ศาลชั้นต้นให้คู่ความในคดีวางเงินต่อศาลเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา จะผูกพันก็เฉพาะคู่ความในคดีนั้น ผู้ร้องจึงมิใช่เป็นเจ้าหนี้ในจำนวนเงินค่าตอบแทนดังกล่าวแม้มูลหนี้จะเกิดก่อนจำเลยที่ 2 ถูกพิทักษ์ทรัพย์ ผู้ร้องจะต้องไปว่ากล่าวเป็นกรณีต่างหาก ผู้ร้องไม่มีสิทธินำเงินค่าตอบแทนในคดีดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ได้เลิกกันในวันที่ 30 พฤษภาคม 2528 เนื่องจากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือและผู้ร้องมีสิทธิริบเงินตามสัญญาเพียง 7,000,000 บาท โดยผู้ร้องต้องคืนเงินแก่จำเลยที่ 2 จำนวน 4,400,000 บาท ดังนั้นเมื่อผู้ร้องไม่คืนจึงต้องถือว่าผู้ร้องผิดนัดชำระหนี้ตั้งแต่วันที่ผู้ร้องบอกเลิกสัญญา ผู้ร้องต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่สัญญาเลิกกันคือวันที่ 30 พฤษภาคม 2528จนกว่าชำระเสร็จ
of 22