พบผลลัพธ์ทั้งหมด 59 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6188/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กลฉ้อฉลในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ทำให้สัญญามีโมฆียะ ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกคืนเงินมัดจำ
จำเลยทราบดีว่าที่ดินที่จำเลยเสนอขายที่ดินให้แก่โจทก์ที่ระบุว่าที่ดินมีเนื้อที่ 10 ไร่ 2 งาน 37 ตารางวา ความจริงที่ดินมีเนื้อที่เพียง 4 ไร่ 3 งาน72 ตารางวา เท่านั้น จึงเป็นกรณีที่จำเลยใช้กลฉ้อฉลลวงโจทก์ให้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลยเพื่อนำไปขายต่อให้บุคคลอื่นดังนี้ จำนวนเนื้อที่ของที่ดินย่อมเป็นข้อสาระสำคัญของสัญญา การที่จำเลยทราบจำนวนเนื้อที่ดินในขณะทำสัญญาว่าขาดจำนวนไปกว่าครึ่งหนึ่งของเนื้อที่ดินที่ระบุไว้ในสัญญา แต่กลับนิ่งเฉยเสีย ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบ กรณีถือได้ว่าเป็นกลฉ้อฉลที่ถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าวสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยคงจะมิได้กระทำขึ้น สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นโมฆียะ เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยดังกล่าวจึงเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกคู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินมัดจำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6188/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กลฉ้อฉลในการซื้อขายที่ดิน สัญญาเป็นโมฆียะ ผู้ขายต้องคืนเงินมัดจำ
จำเลยทราบดีว่าที่ดินที่จำเลยเสนอขายที่ดินให้แก่โจทก์ที่ระบุว่าที่ดินมีเนื้อที่ 10 ไร่ 2 งาน 37 ตารางวาความจริงที่ดินมีเนื้อที่เพียง 4 ไร่ 3 งาน 72 ตารางวาเท่านั้น จึงเป็นกรณีที่จำเลยใช้กลฉ้อฉล ลวงโจทก์ให้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลยเพื่อนำไปขายต่อให้บุคคลอื่น ดังนี้จำนวนเนื้อที่ของที่ดินย่อมเป็นข้อสาระสำคัญของสัญญา การที่จำเลยทราบจำนวนเนื้อที่ดินในขณะทำสัญญาว่าขาดจำนวนไปกว่าครึ่งหนึ่งของเนื้อที่ดินที่ระบุไว้ในสัญญาแต่กลับนิ่งเฉย เสีย ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบ กรณีถือได้ว่าเป็นกลฉ้อฉลที่ถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าวสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยคงจะมิได้กระทำขึ้นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นโมฆียะ เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญา สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลย ดังกล่าวจึงเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินมัดจำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5975/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงเนื้อที่ดินในการซื้อขาย ทำให้สัญญาเป็นโมฆียะ และมีสิทธิบอกล้างได้
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับจำเลยโดยโจทก์ไม่เคยไปดูที่ดินที่ซื้อ จำเลยยืนยันว่าที่ดินมีเนื้อที่ตรงตาม ส.ค.1 ซึ่งไม่เป็นความจริง จึงเป็นการหลอกลวงฉ้อฉลโจทก์ให้เข้าทำสัญญา หากไม่มีการหลอกลวงโจทก์จะไม่เข้าทำสัญญา สัญญาจะซื้อขายที่ดินจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 159 วรรคหนึ่งและวรรคสอง โจทก์มีสิทธิบอกล้างตามมาตรา 175(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3579/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของพินัยกรรม, การจัดการมรดก, และผลกระทบต่อสิทธิบุคคลภายนอก
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า พินัยกรรมฉบับพิพาทระบุสถานที่ทำพินัยกรรมไม่ตรงความจริง วัน เดือน ปี ที่ระบุไว้ในพินัยกรรมเป็นที่น่าสงสัยทั้งผู้ตายได้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรมโดยพยานมิได้อยู่ในขณะนั้น การทำพินัยกรรมจึงขัดต่อบทบัญญัติ มาตรา 1656 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.พ.พ. มีผลให้พินัยกรรมเป็นโมฆะตามมาตรา 1705 จำเลยมิได้อุทธรณ์ ข้อเท็จจริงจึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าผู้ตายมิได้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรมต่อหน้าพยานอันเป็นข้อเท็จจริงแม้ศาลอุทธรณ์จะหยิบยกปัญหาว่าพินัยกรรมฉบับพิพาทเป็นโมฆะหรือไม่ขึ้นวินิจฉัยก็เป็นการไม่ชอบ จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหานี้ต่อมา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ผู้ตายได้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรมขณะรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลและผู้ตายมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์อยู่และได้ลงลายมือชื่ออย่างมีสติ ผู้ตายเห็นข้อความคำว่าพินัยกรรมและทราบว่าเป็นการลงลายมือชื่อในพินัยกรรม ส่วนที่พินัยกรรมระบุสถานที่ไม่ตรงตามสถานที่จริง และวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรมไม่ตรงตามวันเดือนปีที่แท้จริงนั้น ข้อความดังกล่าวก็ปรากฏอยู่แล้วในขณะที่ผู้ตายลงลายมือชื่อ แม้จำเลยจะเป็นผู้จัดทำมาก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปลอมพินัยกรรม และการลงลายมือชื่อของผู้ตายยังถือไม่ได้ว่าถูกจำเลยฉ้อฉลให้ทำพินัยกรรม จำเลยจึงไม่ถูกกำจัดมิให้รับมรดกตามฟ้อง
โจทก์มิได้ฟ้องผู้รับจำนองเข้ามาด้วย การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้เพิกถอนการจำนองกระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความในคดีต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 เป็นการไม่ชอบ
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาล แม้จำเลยจะโอนที่ดินเป็นของตนแล้วนำไปจำนองกับบุคคลภายนอกเป็นการโอนตามพินัยกรรมที่จำเลยเข้าใจว่าสมบูรณ์ และไม่ปรากฏว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องในการเป็นผู้จัดการมรดกหรือมีเหตุอันจะให้เพิกถอนผู้จัดการมรดก ดังนี้ จำเลยย่อมมีสิทธิจัดการมรดกได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1719 โจทก์จึงไม่มีสิทธิห้ามจำเลยยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ผู้ตายได้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรมขณะรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลและผู้ตายมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์อยู่และได้ลงลายมือชื่ออย่างมีสติ ผู้ตายเห็นข้อความคำว่าพินัยกรรมและทราบว่าเป็นการลงลายมือชื่อในพินัยกรรม ส่วนที่พินัยกรรมระบุสถานที่ไม่ตรงตามสถานที่จริง และวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรมไม่ตรงตามวันเดือนปีที่แท้จริงนั้น ข้อความดังกล่าวก็ปรากฏอยู่แล้วในขณะที่ผู้ตายลงลายมือชื่อ แม้จำเลยจะเป็นผู้จัดทำมาก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปลอมพินัยกรรม และการลงลายมือชื่อของผู้ตายยังถือไม่ได้ว่าถูกจำเลยฉ้อฉลให้ทำพินัยกรรม จำเลยจึงไม่ถูกกำจัดมิให้รับมรดกตามฟ้อง
โจทก์มิได้ฟ้องผู้รับจำนองเข้ามาด้วย การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้เพิกถอนการจำนองกระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความในคดีต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 เป็นการไม่ชอบ
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาล แม้จำเลยจะโอนที่ดินเป็นของตนแล้วนำไปจำนองกับบุคคลภายนอกเป็นการโอนตามพินัยกรรมที่จำเลยเข้าใจว่าสมบูรณ์ และไม่ปรากฏว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องในการเป็นผู้จัดการมรดกหรือมีเหตุอันจะให้เพิกถอนผู้จัดการมรดก ดังนี้ จำเลยย่อมมีสิทธิจัดการมรดกได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1719 โจทก์จึงไม่มีสิทธิห้ามจำเลยยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3579/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะของพินัยกรรม, การจัดการมรดก, และการเพิกถอนนิติกรรมจำนอง: สิทธิของผู้จัดการมรดก
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า พินัยกรรมฉบับพิพาทระบุสถานที่ทำพินัยกรรมไม่ตรงความจริง วัน เดือน ปี ที่ระบุไว้ในพินัยกรรมเป็นที่น่าสงสัยทั้งผู้ตายได้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรมโดยพยานมิได้อยู่ในขณะนั้น การทำพินัยกรรมจึงขัดต่อบทบัญญัติ มาตรา 1656 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีผลให้พินัยกรรมเป็นโมฆะตามมาตรา 1705 จำเลยมิได้อุทธรณ์ ข้อเท็จจริงจึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าผู้ตายมิได้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรมต่อหน้าพยานอันเป็นข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์จะหยิบยกปัญหาว่าพินัยกรรมฉบับพิพาทเป็นโมฆะหรือไม่ขึ้นวินิจฉัยก็เป็นการไม่ชอบ จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหานี้ต่อมาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ผู้ตายได้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรมขณะรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลและผู้ตายมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์อยู่และได้ลงลายมือชื่ออย่างมีสติ ผู้ตายเห็นข้อความคำว่าพินัยกรรมและทราบว่าเป็นการลงลายมือชื่อในพินัยกรรมส่วนที่พินัยกรรมระบุสถานที่ไม่ตรงตามสถานที่จริง และวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรมไม่ตรงตามวันเดือนปีที่แท้จริงนั้นข้อความดังกล่าวก็ปรากฏอยู่แล้วในขณะที่ผู้ตายลงลายมือชื่อแม้จำเลยจะเป็นผู้จัดทำมาก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปลอมพินัยกรรม และการลงลายมือชื่อของผู้ตายยังถือไม่ได้ว่าถูกจำเลยฉ้อฉลให้ทำพินัยกรรม จำเลยจึงไม่ถูกกำจัดมิให้รับมรดกตามฟ้อง โจทก์มิได้ฟ้องผู้รับจำนองเข้ามาด้วย การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้เพิกถอนการจำนองกระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความในคดีต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 เป็นการไม่ชอบ จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาล แม้จำเลยจะโอนที่ดินเป็นของตนแล้วนำไปจำนองกับบุคคลภายนอกเป็นการโอนตามพินัยกรรมที่จำเลยเข้าใจว่าสมบูรณ์และไม่ปรากฏว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องในการเป็นผู้จัดการมรดกหรือมีเหตุอันจะให้เพิกถอนผู้จัดการมรดกดังนี้ จำเลยย่อมมีสิทธิจัดการมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 โจทก์จึงไม่มีสิทธิห้ามจำเลยยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5309/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายที่ดินแล้วเช่าทำไร่ การผิดสัญญาเช่าและสิทธิบอกเลิกสัญญา
หนังสือสัญญาขายที่ดินพิพาทไม่มีข้อความตอนใดเขียนไว้เลยว่าให้สิทธิแก่จำเลยที่ 1 ในอันที่จะเรียกร้องเอาที่ดินคืนจากโจทก์คนใดได้ ทั้งพฤติการณ์ตามที่จำเลยที่ 1 เบิกความมา อาจปรับได้กับลักษณะขายฝากหรือคำมั่นว่าจะขายคืนให้ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงจำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะบังคับเอาแก่โจทก์ที่ 3 ได้ แต่ทางนำสืบที่จำเลยที่ 1 เบิกความมาไม่มีสัญญาขายฝากหรือหลักฐานใด ๆที่จำเลยที่ 1 จะเรียกร้องเอาที่ดินพิพาทคืนจากฝ่ายโจทก์ได้เลยที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าโจทก์ที่ 3 หลอกนั้น ก็มีแต่คำเบิกความของจำเลยที่ 1 ส่วนคำเบิกความของพยานจำเลยนั้นแม้จะได้ความว่าพยานดังกล่าวจะตกอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้โจทก์ที่ 3 เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 มาก่อนก็ตาม ก็ไม่อาจรับฟังได้ว่าพยานจำเลยอยู่ในฐานะถูกหลอกเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 พฤติการณ์คงรับฟังได้เพียงว่าจำเลยที่ 1 และพยานจำเลยทุกปากอยู่ในฐานะถูกเอาเปรียบจากโจทก์ที่ 3 ที่มีกฎหมายเป็นฐานรองรับเท่านั้น โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเช่าที่ดินพิพาทแล้วผิดนัดชำระค่าเช่าจำเลยทั้งสองให้การว่าที่ดินพิพาทใช้ทำไร่ ไม่เคยเช่าจากโจทก์ในชั้นสืบพยานคู่ความนำสืบรับกันว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ใช้ทำไร่ แม้ในคำฟ้องและคำให้การจะกล่าวอ้าง พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 แต่ พระราชบัญญัติดังกล่าวคงใช้บังคับสำหรับการเช่าที่ดินเพื่อการทำนาเท่านั้น ส่วนการเช่าที่ดินเพื่อการทำไร่ ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บังคับแต่อย่างใดที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในปัญหาดังกล่าว กับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 หยิบยก พระราชบัญญัติดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5309/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายที่ดินแล้วเช่าทำไร่ การผิดสัญญาเช่า และสิทธิบอกเลิกสัญญา
หนังสือสัญญาขายที่ดินพิพาทไม่มีข้อความตอนใดเขียนไว้เลยว่าให้สิทธิแก่จำเลยที่1ในอันที่จะเรียกร้องเอาที่ดินคืนจากโจทก์คนใดได้ทั้งพฤติการณ์ตามที่จำเลยที่1เบิกความมาอาจปรับได้กับลักษณะขายฝากหรือคำมั่นว่าจะขายคืนให้ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงจำเลยที่1ก็ชอบที่จะบังคับเอาแก่โจทก์ที่3ได้แต่ทางนำสืบที่จำเลยที่1เบิกความมาไม่มีสัญญาขายฝากหรือหลักฐานใดๆที่จำเลยที่1จะเรียกร้องเอาที่ดินพิพาทคืนจากฝ่ายโจทก์ได้เลยที่จำเลยที่1อ้างว่าโจทก์ที่3หลอกนั้นก็มีแต่คำเบิกความของจำเลยที่1ส่วนคำเบิกความของพยานจำเลยนั้นแม้จะได้ความว่าพยานดังกล่าวจะตกอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้โจทก์ที่3เช่นเดียวกับจำเลยที่1มาก่อนก็ตามก็ไม่อาจรับฟังได้ว่าพยานจำเลยอยู่ในฐานะถูกหลอกเช่นเดียวกับจำเลยที่1พฤติการณ์คงรับฟังได้เพียงว่าจำเลยที่1และพยานจำเลยทุกปากอยู่ในฐานะถูกเอาเปรียบจากโจทก์ที่3ที่มีกฎหมายเป็นฐานรองรับเท่านั้น โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเช่าที่ดินพิพาทแล้วผิดนัดชำระค่าเช่าจำเลยทั้งสองให้การว่าที่ดินพิพาทใช้ทำไร่ไม่เคยเช่าจากโจทก์ในชั้นสืบพยานคู่ความนำสืบรับกันว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ใช้ทำไร่แม้ในคำฟ้องและคำให้การจะกล่าวอ้างพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524แต่พระราชบัญญัติดังกล่าวคงใช้บังคับสำหรับการเช่าที่ดินเพื่อการทำนาเท่านั้นส่วนการเช่าที่ดินเพื่อการทำไร่ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บังคับแต่อย่างใดที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในปัญหาดังกล่าวกับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค2หยิบยกพระราชบัญญัติดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5568/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมซื้อขายเป็นโมฆะจากเจตนาลวงร่วมกัน และสิทธิในทรัพย์สินยังคงเป็นของผู้ซื้อเดิม
ที่ดินและบ้านพิพาทเดิมโจทก์เป็นผู้ซื้อจาก บ. และจำนองไว้กับธนาคาร แม้ได้จดทะเบียนโอนขายให้แก่จำเลยแต่โจทก์และครอบครัวยังคงอยู่อาศัยในที่พิพาท และเป็นผู้ชำระหนี้จำนองเป็นรายเดือนตลอดมา สาเหตุที่โจทก์ต้องทำนิติกรรมพิพาท เพื่อป้องกันมิให้เจ้าหนี้ยึดทรัพย์ไปชำระหนี้อีกทั้งสัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทมีข้อตกลงเป็นเงื่อนไขพิเศษให้โจทก์มีสิทธิซื้อคืนได้ตลอดเวลาแสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้มีความประสงค์ที่จะได้กรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์ที่ซื้อโดยแท้จริง นิติกรรมซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทจึงเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยมิได้ซื้อขายกันจริง จึงไม่มีผลบังคับได้ตามกฎหมายนิติกรรมจึงตกเป็นโมฆะ กรณีที่ศาลล่างทั้งสองยังไม่ได้วินิจฉัยในราคาที่ดินและบ้านพิพาทตามที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้อง คู่กรณีทั้งสองฝ่ายได้นำสืบพยานจนสิ้นกระแสความแล้ว ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยไปได้ โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5568/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะเนื่องจากเจตนาลวงและเพื่อหลีกเลี่ยงเจ้าหนี้
ที่ดินและบ้านพิพาทเดิมโจทก์เป็นผู้ซื้อจาก บ. และจำนองไว้กับธนาคาร แม้ได้จดทะเบียนโอนขายให้แก่จำเลย แต่โจทก์และครอบครัวยังคงอยู่อาศัยในที่พิพาท และเป็นผู้ชำระหนี้จำนองเป็นรายเดือนตลอดมา สาเหตุที่โจทก์ต้องทำนิติกรรมพิพาท เพื่อป้องกันมิให้เจ้าหนี้ยึดทรัพย์ไปชำระหนี้ อีกทั้งสัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทมีข้อตกลงเป็นเงื่อนไขพิเศษให้โจทก์มีสิทธิซื้อคืนได้ตลอดเวลาแสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้มีความประสงค์ที่จะได้กรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์ที่ซื้อโดยแท้จริง นิติกรรมซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทจึงเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยมิได้ซื้อขายกันจริง จึงไม่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย นิติกรรมจึงตกเป็นโมฆะ
กรณีที่ศาลล่างทั้งสองยังไม่ได้วินิจฉัยในราคาที่ดินและบ้านพิพาทตามที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้อง คู่กรณีทั้งสองฝ่ายได้นำสืบพยานจนสิ้นกระแสความแล้ว ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยไปได้ โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยใหม่
กรณีที่ศาลล่างทั้งสองยังไม่ได้วินิจฉัยในราคาที่ดินและบ้านพิพาทตามที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้อง คู่กรณีทั้งสองฝ่ายได้นำสืบพยานจนสิ้นกระแสความแล้ว ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยไปได้ โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1310/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การไม่อุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมทำให้สิทธิในการเพิกถอนสัญญาหมดไป
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาล และศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ถ้าโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมดังกล่าวได้หากเข้ากรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์จนคดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความได้