พบผลลัพธ์ทั้งหมด 59 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1871/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความตั๋วสัญญาใช้เงิน ผลกระทบจากการทวงหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และการนับอายุความตามกฎหมาย
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือไปยังผู้ร้องให้ชำระหนี้ตามตั๋ว สัญญาใช้เงินแก่ลูกหนี้ซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคแรก เป็นการบังคับตามสิทธิเรียกร้องลูกหนี้ ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจทำได้โดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล ถือว่าเป็นการทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดี อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 โดยไม่ต้องรอให้มีการออกหนังสือแจ้งยืนยันหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคสอง เสียก่อน อายุความเป็นระยะเวลาอย่างหนึ่ง การนับอายุความจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 158 ประกอบด้วย มาตรา 159 วรรคสองกล่าวคือ กรณีที่นับเป็นปี มิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลารวมคำนวณเข้าด้วย เมื่อระยะเวลามิได้เริ่มนับจากวันแรกของปี ระยะเวลาที่นับนั้นจึงสิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งปีสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับเริ่มระยะเวลา อายุความตามตั๋ว สัญญาใช้เงินพิพาทมีกำหนด 3 ปี นับแต่วันทวงถาม คือ วันที่ 2 กันยายน 2526 วันสุดท้ายของอายุความจึงได้แก่วันที่ 2 กันยายน 2529เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือทวงหนี้ไปยังผู้ร้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคแรก เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2529 จึงยังไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1517/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมีทุนทรัพย์ การขยายเวลาชำระค่าขึ้นศาล และผลของการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
กรมที่ดินมีคำสั่งให้เพิกถอนโฉนด ที่ดินของโจทก์ เพราะที่ดินอยู่ในเขตที่ดินสงวนหวงห้าม ย่อมมีผลให้โจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งและให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนด ที่ดินให้กับโจทก์ใหม่ ย่อมมีผลทำให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินกลับคืนมา คดีของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอซึ่งอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ศาลมีคำสั่งขยายเวลาให้โจทก์นำค่าขึ้นศาลมาชำระใน 15 วันนับแต่วันสั่งซึ่งจะครบกำหนดวันที่ 11 สิงหาคม 2527 โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายเวลาอีก 30 วัน ศาลก็อนุญาตอีก จึงเริ่มนับ 1 ในวันที่12 สิงหาคม 2527 จะครบ 30 วันในวันที่ 10 กันยายน 2527 แต่เมื่อถึงวันที่ 10 กันยายน 2527 โจทก์ก็ไม่ได้นำค่าขึ้นศาลมาวางเพิ่มกลับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาไปอีก 1 เดือน ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตและให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ โจทก์ก็มิได้นำค่าขึ้นศาลมาวางในวันนั้นถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีก่อนถึงเวลากำหนดที่ให้โจทก์นำค่าขึ้นศาลมาวางเพิ่ม จึงเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3075/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับวันจ่ายค่าทดแทนกรณีลูกจ้างประสบอันตราย: หลักทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 54 กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเมื่อลูกจ้างประสบอันตรายเป็นรายเดือน หมายความว่าต้องจ่ายค่าทดแทนทุกเดือน เพื่อคุ้มครองมิให้ลูกจ้างต้องขาดรายได้นานเกินไปไม่ใช่ข้อกำหนดในการนับระยะเวลา ข้อความที่ว่าให้นับแต่วันแรกที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้ไปจนตลอดเวลาที่ไม่สามารถทำงานติดต่อกันได้ ไม่อาจแปลความได้ว่า ให้นับระยะเวลาเป็นรายวันติดต่อกัน กรณีถือได้ว่ากฎหมายแรงงานมิได้กำหนดการนับระยะเวลาไว้เป็นพิเศษ จึงต้องนับตามหลักทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 159
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3075/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาจ่ายค่าทดแทนกรณีประสบอันตราย: นับตามหลักทั่วไปประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 54กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเมื่อลูกจ้างประสบอันตรายเป็น รายเดือน หมายความว่าต้องจ่ายค่าทดแทนทุกเดือน เพื่อคุ้มครองมิให้ลูกจ้างต้องขาดรายได้นานเกินไปไม่ใช่ข้อกำหนดในการนับระยะเวลา ข้อความที่ว่าให้นับแต่วันแรกที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้ไปจนตลอดเวลาที่ไม่สามารถทำงานติดต่อกันได้ ไม่อาจแปลความได้ว่าให้นับระยะเวลาเป็นรายวันติดต่อกัน กรณีถือได้ว่ากฎหมายแรงงานมิได้กำหนดการนับระยะเวลาไว้เป็นพิเศษ จึงต้องนับตามหลักทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 159
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2799/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาฎีกา: เริ่มนับในวันรุ่งขึ้นของวันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ทำให้การยื่นฎีกาภายในกำหนด
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 28กุมภาพันธ์ 2526 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเดือน คู่ความย่อมฎีกาได้จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2526 เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 158 เริ่มนับอายุฎีกา 1 ในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 1 มีนาคม ซึ่งเป็น วันต้นของเดือน และครบ 1 เดือนตามปฏิทินในวันที่ 31 มีนาคมจำเลยยื่นฎีกาในวันที่ 29 มีนาคม 2526 จึงอยู่ภายในกำหนด1 เดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247
(อ้างคำสั่งคำร้องของศาลฎีกา ที่ 37/2484)
(อ้างคำสั่งคำร้องของศาลฎีกา ที่ 37/2484)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2799/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาฎีกา: การนับอายุความเริ่มต้นในวันรุ่งขึ้นของวันอ่านคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2526 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเดือนคู่ความย่อมฎีกาได้จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2526 เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158 เริ่มนับอายุฎีกา 1 ในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 1 มีนาคม ซึ่งเป็น วันต้นของเดือน และครบ 1 เดือนตามปฏิทินในวันที่ 31 มีนาคมจำเลยยื่นฎีกาในวันที่ 29 มีนาคม 2526 จึงอยู่ภายในกำหนด1 เดือน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 (อ้างคำสั่งคำร้องของศาลฎีกา ที่ 37/2484)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2152/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลายื่นฎีกา: การยื่นฎีกาเกินกำหนด แม้ศาลชั้นต้นรับไว้ ก็ไม่เป็นผล
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2526 ครบกำหนดยื่นฎีกาภายใน 1 เดือนในวันที่ 2 มีนาคม 2526 ซึ่งมิใช่วันหยุดราชการ แต่จำเลยยื่นฎีกาในวันที่ 4 มีนาคม 2526 จึงเกินกำหนดหนึ่งเดือนแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาของจำเลย ไว้ก็ตามศาลฎีกาก็รับฎีกาของจำเลยซึ่งยื่นมาเกินกำหนดที่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216ได้บัญญัติไว้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงิน, การหักดอกเบี้ยล่วงหน้า, การคำนวณดอกเบี้ย, และการฟ้องแย้งเรื่องเงินเกินจำนวน
โจทก์นำสืบเพื่อแสดงให้เห็นว่าได้มอบเงินครบจำนวนตามสัญญากู้ให้จำเลยแล้ว แต่จำเลยยอมให้หักดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้า เป็นการนำสืบถึงความเป็นมาของเงินต้นตามสัญญากู้ ไม่เป็นการรับฟังพยานบุคคลแก้ไขเพิ่มเติมสัญญากู้ ส่วนการที่โจทก์นำพยานบุคคลเข้าสืบว่าจำเลยชำระดอกเบี้ยให้โจทก์แล้วในวันทำสัญญากู้ ก็เป็นการนำสืบแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องดอกเบี้ย ซึ่งกฎหมายมิได้บังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงการรับฟังพยานบุคคลเกี่ยวกับกฎหมายดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
เมื่อไม่ปรากฏว่าในวันกู้ยืมเงินโจทก์ได้มอบเงินให้แก่จำเลยตั้งแต่เวลาใด ถือไม่ได้ว่าเริ่มการในวันนั้นตั้งแต่เวลาอันเป็นกำหนดเริ่มทำการงานตามประเพณี จึงต้องห้ามมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลารวมคำนวณเข้าด้วย
เมื่อสัญญากู้เงินระบุให้คิดดอกเบี้ยกันในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีและในปี พ.ศ. 2519 ที่กู้ยืมกันมี 366 วัน การคำนวณดอกเบี้ยต้องถือว่าระยะเวลา 1 ปีมี 366 วัน
เมื่อไม่ปรากฏว่าในวันกู้ยืมเงินโจทก์ได้มอบเงินให้แก่จำเลยตั้งแต่เวลาใด ถือไม่ได้ว่าเริ่มการในวันนั้นตั้งแต่เวลาอันเป็นกำหนดเริ่มทำการงานตามประเพณี จึงต้องห้ามมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลารวมคำนวณเข้าด้วย
เมื่อสัญญากู้เงินระบุให้คิดดอกเบี้ยกันในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีและในปี พ.ศ. 2519 ที่กู้ยืมกันมี 366 วัน การคำนวณดอกเบี้ยต้องถือว่าระยะเวลา 1 ปีมี 366 วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงิน, การหักดอกเบี้ยล่วงหน้า, การคำนวณดอกเบี้ย, และการรับฟังพยานบุคคลแก้ไขเพิ่มเติมสัญญากู้
โจทก์นำสืบเพื่อแสดงให้เห็นว่าได้มอบเงินครบจำนวนตามสัญญากู้ให้จำเลยแล้ว แต่จำเลยยอมให้หักดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้า เป็นการนำสืบถึงความเป็นมาของเงินต้นตามสัญญากู้ ไม่เป็นการรับฟังพยานบุคคลแก้ไขเพิ่มเติมสัญญากู้ ส่วนการที่โจทก์นำพยานบุคคลเข้าสืบว่าจำเลยชำระดอกเบี้ยให้โจทก์แล้วในวันทำสัญญากู้ ก็เป็นการนำสืบแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องดอกเบี้ยซึ่งกฎหมายมิได้บังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงการรับฟังพยานบุคคลเกี่ยวกับกฎหมายดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
เมื่อไม่ปรากฏว่าในวันกู้ยืมเงินโจทก์ได้มอบเงินให้แก่จำเลยตั้งแต่เวลาใด ถือไม่ได้ว่าเริ่มการในวันนั้นตั้งแต่เวลาอันเป็นกำหนดเริ่มทำการงานตามประเพณีจึงต้องห้ามมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลารวมคำนวณเข้าด้วย
เมื่อสัญญากู้เงินระบุให้คิดดอกเบี้ยกันในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีและในปี พ.ศ. 2519 ที่กู้ยืมกันมี 366 วัน การคำนวณดอกเบี้ยต้องถือว่าระยะเวลา 1 ปีมี 366 วัน
เมื่อไม่ปรากฏว่าในวันกู้ยืมเงินโจทก์ได้มอบเงินให้แก่จำเลยตั้งแต่เวลาใด ถือไม่ได้ว่าเริ่มการในวันนั้นตั้งแต่เวลาอันเป็นกำหนดเริ่มทำการงานตามประเพณีจึงต้องห้ามมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลารวมคำนวณเข้าด้วย
เมื่อสัญญากู้เงินระบุให้คิดดอกเบี้ยกันในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีและในปี พ.ศ. 2519 ที่กู้ยืมกันมี 366 วัน การคำนวณดอกเบี้ยต้องถือว่าระยะเวลา 1 ปีมี 366 วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1947/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีละเมิด: วันหยุดราชการมีผลต่อการนับอายุความ
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2516 ฉะนั้นอายุความเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแก่มูลละเมิดซึ่งมี 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์นั้น จึงครบกำหนดในวันที่ 2 มีนาคม 2517 แต่ปรากฎว่าวันที่ 2 และวันที่ 3 มีนาคม 2517 ตรงกับวันเสาร์และวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีในวันที่ 4 มีนาคม 2517 ซึ่งเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161 และข้อเท็จจริงที่ว่าวันที่ 2 และวันที่ 3 มีนาคม 2517 เป็นวันเสาร์และวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันหยุดราชการนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันทั่วไป ศาลรู้ได้เองและหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้คู่ความไม่จำเป็นต้องนำสืบ